ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิหารแซ็ง-เดอนี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mjbmrbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.7.1) (โรบอต แก้ไข: fa:کلیسای سن‌دنی
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: he:בזיליקת סן-דני
บรรทัด 142: บรรทัด 142:
[[fr:Basilique Saint-Denis]]
[[fr:Basilique Saint-Denis]]
[[gl:Basílica de Saint-Denis]]
[[gl:Basílica de Saint-Denis]]
[[he:בזיליקת סן דני]]
[[he:בזיליקת סן-דני]]
[[hr:Bazilika Saint-Denis]]
[[hr:Bazilika Saint-Denis]]
[[hu:Saint-Denis-székesegyház]]
[[hu:Saint-Denis-székesegyház]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:32, 20 มกราคม 2554

ราชมหาวิหารแซ็ง-เดอนี
Cathédrale royale de Saint-Denis
มหาวิหารแซ็ง-เดอนี
แผนที่
แม่แบบ:Coor dms
ที่ตั้งแซ็ง-เดอนีในประเทศฝรั่งเศส
ประเทศ ฝรั่งเศส
นิกายอังกลิคันโรมันคาทอลิก
สถานะมหาวิหาร
เหตุการณ์ที่บรรจุพระบรมศพและพระศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสยกเว้นสามพระองค์
สถาปนิกพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1
ประเภทสถาปัตย์กางเขน
รูปแบบสถาปัตย์กอธิค
ปีสร้างคริสต์ศตวรรษที่ 7
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์
สถานีรถใต้ดิน:Basilique de Saint-Denis

มหาวิหารแซ็ง-เดอนี หรือ บาซิลิกาแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส: Cathédrale royale de Saint-Denis หรือ Basilique Saint-Denis; อังกฤษ: Cathedral Basilica of St Denis หรือ Basilica of St Denis) เดิมเป็นสำนักสงฆ์ชื่อ แอบบีแซ็ง-เดอนี ที่ตั้งอยู่ที่แซ็ง-เดอนีที่ปัจจุบันอยู่ทางเหนือของปารีส แซ็ง-เดอนีเป็นวัดคริสต์ศาสนาที่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 1966 และเป็นศูนย์กลางสังฆมณฑลของสังฆราชแห่งแซ็ง-เดอนี มหาวิหารแซ็ง-เดอนีมีความสำคัญทั้งทางสถาปัตยกรรมและทางประวัติศาสตร์ต่อประเทศฝรั่งเศส

มหาวิหารแซ็ง-เดอนีก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 บนที่ตั้งของที่ฝังศพของนักบุญเดอนีส์ผู้เป็นนักบุญผู้พิทักษ์ประเทศฝรั่งเศสองค์หนึ่งในสามองค์ มหาวิหารกลายเป็นสถานที่สำหรับการแสวงบุญและใช้เป็นที่บรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสเกือบทุกพระองค์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และบางพระองค์จากก่อนหน้านั้น (แต่ไม่ใช่สถานที่สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ทำกันที่มหาวิหารแร็งส์ แต่พระราชพิธีราชาภิเษกพระราชินีมักทำกันที่นี่) มหาวิหารจึงกลายเป็นสิ่งก่อสร้างกลุ่มที่ซับซ้อน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 แอ็บบ็อทซูแฌร์สร้างบางส่วนของมหาวิหารใหม่โดยใช้วิธีการก่อสร้างที่ล้ำสมัยสำหรับยุคนั้น และใช้การตกแต่งที่นำมาจากสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ การก่อสร้างครั้งนี้ถือกันว่าเป็นก่อสร้างสิ่งก่อสร้างแบบกอธิคที่แท้จริงเป็นครั้งแรก[1] นอกจากนั้นมหาวิหารก็ยังเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแรยอน็อง และกลายมาเป็นแบบการก่อสร้างของมหาวิหารและแอบบีอื่น ๆ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่น ๆ ต่อมา

เบื้องหลัง

นักบุญเดอนีส์เป็นนักบุญผู้พิทักษ์องค์หนึ่งของประเทศฝรั่งเศสและตามตำนานแล้วก็เป็นพระสังฆราชแห่งปารีสองค์แรกด้วย ก่อนหน้าที่สร้างเป็นมหาวิหารก็มีวัดเล็ก ๆ สร้างเป็นอนุสรณ์สำหรับพระองค์ ต่อมาพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 พระเจ้าแผ่นดินของชนแฟรงค์ผู้ทรงปกครองระหว่าง ค.ศ. 628 ถึง ค.ศ. 637 ทรงก่อตั้งสำนักสงฆ์แซ็ง-เดอนีเป็นสำนักสงฆ์เบ็นเนดิคติน ตัวหีบอนุสรณ์ (Shrine) เองสร้างโดยนักบุญอีลิเจียส (Saint Eligius) ผู้ที่เป็นช่างทองมาก่อน ที่บรรยายในชีวประวัติของนักบุญว่า:

“นอกไปจากนั้นอีลิเจียสก็สร้างหีบอนุสรณ์สำหรับนักบุญเดอนีส์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองปารีสด้วยหินอ่อนอันสวยงามโดยมีซุ้มชิโบเรียมครอบ และตกแต่งด้วยทองและอัญมณีอย่างวิจิตร [อีลิเจียส]สร้างตราเหนือสถูปและด้านหน้าและล้อมรอบด้วยแท่นบูชาด้วยขวานทองเป็นวงกลม วางแอปเปิลที่ตกแต่งด้วยอัญมณี และสร้างแท่นเทศน์และประตูด้วยเงินและหลังคาสำหรับบัลลังก์และและแท่นบูชาบนเงิน [อีลิเจียส]สร้างส่วนที่คลุมก่อนที่จะสร้างที่เก็บกระดูกและสร้างแท่นบูชาด้านนอกที่เท้าของนักบุญเดอนีส์ [อีลิเจียส]สร้างงานด้วยความบรรจงตามพระประสงค์ของพระมหากษัตริย์และใช้สิ่งต่างไปในการสร้างจนแทบจะไม่เหลือสิ่งมีค่าอย่างใดในกอล และเป็นงานที่งดงามที่สุดในบรรดางานฝีมือต่าง ๆ จนปัจจุบันนี้[2]

แต่งานชิ้นนี้ก็ไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว

สถาปัตยกรรม

บริเวณจรมุขด้านหลังของมหาวิหาร
ที่สร้างโดยแอ็บบ็อทซูแฌร์ที่ยังไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใดตั้งแต่สร้างมา
หน้าต่างกุหลาบบนผนังแขนกางเขนด้านเหนือที่เป็นภาพพระเจ้าสร้างโลก

มหาวิหารแซ็ง-เดอนีเป็นจุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมเพราะเป็นสิ่งก่อสร้างสิ่งแรกที่ส่วนใหญ่ออกแบบและก่อสร้างเป็นแบบกอธิค ทั้งทางทางด้านโครงสร้างและลักษณะของการก่อสร้างเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ไปเป็นสถาปัตยกรรมกอธิค ก่อนที่คำว่า “กอธิค” จะมาเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปลักษณะสถาปัตยกรรมนี้เรียกกันว่า “แบบฝรั่งเศส” (The French Style หรือ Opus Francigenum)

แผนผังมหาวิหารในปัจจุบันเป็นผังแบบกางเขนแบบ “บาซิลิกา” คือมีทางเดินกลางที่สูงกว่าทางเดินข้างที่กระหนาบโดยมีหน้าต่างชั้นบนรอบตัวสิ่งก่อสร้าง ทางด้านเหนือมีทางเดินข้างเพื่มอีกหนึ่งทางที่เรียงด้วยชาเปลหรือคูหาสวดมนต์ ด้านหน้าวัดมีประตูทางเข้าสามประตูและมีหน้าต่างกุหลาบเหนือประตู และหอหนึ่งหอทางด้านไต้ ทางด้านตะวันออกบริเวณพิธีที่สร้างเหนือคริพต์มีจรมุข และชาเปลดาวกระจาย (chevette) ที่ประกอบด้วยชาเปลเก้าชาเปลที่กระจายออกจากทางเดินรอบมุข

ราวปี ค.ศ. 1137 แอ็บบ็อทซูแฌร์ (ค.ศ. 1081-ค.ศ. 1155) ผู้เป็นพระสหายและที่ปรึกษาคนสนิทของพระเจ้าหลุยส์ที่ 6 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ตัดสินใจสร้างมหาวิหารแซ็ง-เดอนีใหม่ติดกับแอบบีที่เป็นพระราชวังหลวง แอ็บบ็อทซูแฌร์เริ่มจากการก่อสร้างใหม่จากด้านหน้าที่เปลี่ยนจากที่มีประตูเดียวเป็นสามประตูที่มีลักษณะคล้ายประตูชัยเช่นประตูชัยคอนสแตนติน (Triumphal Arch of Constantine) การมีประตูเพิ่มขึ้นก็เป็นการบรรเทาการจราจรเข้าวัดของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้น เหนือด้านหน้าเป็นหน้าต่างกุหลาบซึ่งเป็นด้านที่มักจะเป็นที่ตั้งของหน้าต่างลักษณะนี้ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์แบบอิตาลี และเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นหน้าต่างกุหลาบหน้าต่างแรกที่สร้างในฝรั่งเศสที่กลายมาเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสถาปัตยแบบกรรมกอธิคของทางเหนือของฝรั่งเศสต่อมา

เมื่อสร้างด้านหน้าเสร็จใน ค.ศ. 1140 แอ็บบ็อทซูแฌร์ก็ย้ายไปสร้างด้านตะวันออกหรือด้านที่เป็นบริเวณพิธีโดยทิ้งทางเดินกลางอย่างคาโรลินเจียนไว้ แอ็บบ็อทซูแฌร์ออกแบบบริเวณร้องเพลงสวดที่อาบด้วยแสงซึ่งช่างก่อสร้างต้องหาวิธีการสร้างแบบใหม่ที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์เพื่อให้ได้ตามจุดประสงค์ ที่รวมทั้งการสร้างเพดานโค้งแหลม, เพดานสัน, ทางเดินรอบมุขที่มีชาเปลดาวกระจายยื่นออกไป, คอลัมน์หมู่ (Clustered columns) ที่รับแรงกดดันจากสันที่พุ่งมาจากทิศต่าง ๆ ของเพดาน และค้ำยันแบบปีก ที่สามารถทำให้สร้างหน้าต่างชั้นบนที่กว้างใหญ่ขึ้นซึ่งสามารถทำให้รับแสงได้เต็มที่

วิธีการก่อสร้างต่าง ๆ เช่นที่กล่าวมาเป็นการทำครั้งแรก นักประวัติศาสตร์ศิลปะเออร์วิน พานอฟสกี (Erwin Panofsky) อ้างว่าการสร้างมหาวิหารของแอ็บบ็อทซูแฌร์ได้รับแรงบันดาลใจในการที่จะสร้างให้เป็นสัญลักษณ์ของเยรูซาเลม แต่จุดประสงค์ที่สูงไปกว่าการสร้างเพื่อความสวยงามก็ยังเป็นที่น่าสงสัยโดยนักประวัติศาสตร์ศิลปะเมื่อไม่นานมานี้ตามหลักฐานจากข้อเขียนของซูแฌร์เอง

วัดใหม่ที่สร้างเสร็จได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน, ค.ศ. 1144 โดยมีบุคคลสำคัญต่าง ๆ เข้าร่วมในพิธีที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 7[3] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1231 ทางเดินกลางเก่าก็ได้รับการสร้างใหม่ให้เป็นสถาปัตยกรรมกอธิคแบบเรยองนองท์ และเพิ่มสร้างหน้าต่างกุหลาบอีกสองบานทางด้านเหนือและไต้ของแขนกางเขน[4]

แอบบีแซ็ง-เดอนีจึงกลายเป็นตัวอย่างของการสร้างวัดหลวงทางตอนเหนือของฝรั่งเศส นอกจากนั้นสถาปัตยกรรมกอธิคของฝรั่งเศสก็ยังเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยการปกครองของราชวงศ์อองเชแวง และบริเวณอื่น ๆ ในฝรั่งเศส, กลุ่มประเทศต่ำ, เยอรมนี, สเปน, ตอนเหนือของอิตาลี และซิซิลี[5][6]

ลักษณะสำคัญ ๆ อื่น ๆ ของมหาวิหารก็ได้แก่คอลัมน์ที่มีรูปปั้นสองข้างประตูหน้าวัดที่ถูกทำลายไปแล้วที่สร้างจากภาพวาดของมงท์โฟคอง ผังจากราว ค.ศ. 1700 โดย Félibien แสดงภาพชาเปลพระบรมศพที่เป็นโดมติดกับแขนกางเขนทางด้านเหนือที่เป็นที่ตั้งของพระบรมศพและพระศพของราชวงศ์วาลัวส์[7] นอกจากนั้นก็มีหน้าต่างประดับกระจกสี และเก้าอี้อิงที่เหลืออยู่สิบสองตัว

ที่เก็บพระศพ

อนุสรณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
และ มารี อองตัวเนต

มหาวิหารแซ็ง-เดอนีเป็นที่บรรจุพระบรมศพและพระศพของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและพระราชวงศ์เป็นเวลาหลายร้อยปีจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “สุสานหลวงแห่งฝรั่งเศส” (Royal necropolis of France) ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนกระทั่งปี ค.ศ. 1789 พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสทุกพระองค์ยกเว้นสามพระองค์ก็ได้รับการบรรจุที่นี่ พระมหากษัตริย์บางพระองค์เช่นพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (ค.ศ. 465-ค.ศ. 511) ถูกบรรจุที่อื่นมาก่อนที่นำมาไว้ที่แซ็ง-เดอนี

แอบบีมีอนุสรณ์ของพระมหากษัตริย์และพระราชินีที่งดงามมากมายแต่มาถูกทำลายไปเสียมากระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ระหว่างการปฏิวัตินักปฏิวัติก็เปิดที่เก็บพระบรมศพต่าง ๆ ภายในมหาวิหารและนำร่างของผู้ที่ถูกบรรจุอยู่ภายในออกไปโยนทิ้งในหลุมใหญ่สองหลุมนอกวัด นักโบราณคดีอเล็กซานเดอร์ เลอนัวร์ช่วยรักษาที่บรรจุพระศพไว้ได้บ้างโดยอ้างว่าเป็นงานศิลปะสำหรับการสะสมส่วนตัวของตนเองที่ถูกนำไปเก็บไว้ในอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (Monument historique)

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เปิดมหาวิหารขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปีค.ศ. 1806 แต่ก็มิได้ทำอะไรกับพระร่างที่ถูกฝังไว้ในหลุมใหญ่ ระหว่างที่ประทับอยู่ที่เกาะเอลบา ราชวงศ์บูร์บองฟื้นฟูก็สั่งให้หาพระบรมศพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ มารี อองตัวเนต มีบางส่วนที่พบที่สันนิษฐานกันว่าเป็นของพระองค์และกอบสีเทาที่มีสายรัดถุงเท้าสตรีพบเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1815 ที่ถูกนำมาฝังไว้ในคริพท์ ในปี ค.ศ. 1817 หลุมศพใหญ่ที่พระศพถูกโยนลงไปก็ได้รับการเปิดขึ้นแต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าใครเป็นใครจากกองกระดูก กระดูกเหล่านี้จึงถูกนำมาไว้ในชาเปลบรรจุกระดูก (ossuary) ภายในคริพท์

เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1824 พระบรมศพก็ถูกบรรจุกลางคริพท์ใกล้กับพระบรมศพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และ มารี อองตัวเนต โลงพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ที่สิ้นพระชนม์ระหว่าง ค.ศ. 1815 ถึงปี ค.ศ. 1830 ก็ถูกบรรจุในคริพท์ด้วย ภายใต้การนำของเออแชน วียอเลต์-เลอ-ดุค อนุสรณ์ต่าง ๆ ที่ถูกนำไปเก็บไว้ในอนุสาวรีย์ประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสก็ได้รับการนำกลับมายังมหาวิหาร และพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ผู้ถูกฝังไว้ที่แอบบีแซงต์ปองต์ซึ่งมิได้ถูกทำลายก็ถูกนำกลับมายังมหาวิหาร ในปี ค.ศ. 2004 หัวใจของมกุฎรากุมารที่ถ้าได้ขึ้นครองราชย์ก็จะเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ก็ได้การบรรจุไว้ในผนังของคริพท์

อ้างอิง

  1. Banister Fletcher, A History of Architecture on the Comparative Method.
  2. Vita S. Eligius, edited by Levison, on-line at Medieval Sourcebook
  3. H. Honour and J. Fleming, The Visual Arts: A History. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall, 2005. ISBN 0-13-193507-0
  4. Wim Swaan, The Gothic Cathedral
  5. "L'art Gothique", section: "L'architecture Gothique en Angleterre" by Ute Engel: L'Angleterre fut l'une des premieres régions à adopter, dans la deuxième moitié du XIIeme siècle, la nouvelle architecture gothique née en France. Les relations historiques entre les deux pays jouèrent un rôle prépondérant: en 1154, Henri II (1154–1189), de la dynastie Française des Plantagenêt, accéda au thrône d'Angleterre." (England was one of the first regions to adopt, during the first half of the 12th century, the new gothic architecture born in France. Historic relationships between the two countries played a determining role: in 1154, Henry II (1154–1189), of the French Plantagenet dynasty, assended to the throne of England).
  6. John Harvey, The Gothic World
  7. Images of Medieval Art and Architecture - Félibien accessed March 29 2009
  • Saint-Denis Cathedral, Alain Erlande-Brandenburg, Editions Ouest-France, Rennes

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มหาวิหารแซ็ง-เดอนี

ระเบียงภาพ