ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
→‎หลักสูตร: ใส่ตารางหลักสูตร
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 80: บรรทัด 80:
|}
|}


== เว็บไซต์อื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.chula.ac.th/college/fineart คณะศิลปกรรมศาสตร์]
* [http://www.chula.ac.th/college/fineart คณะศิลปกรรมศาสตร์]


{{คณะในจุฬาฯ}}
{{คณะในจุฬาฯ}}
[[หมวดหมู่:คณะศิลปกรรมศาสตร์|จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]

[[หมวดหมู่:หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
[[หมวดหมู่:หน่วยงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
{{โครงสถานศึกษา}}
{{โครงสถานศึกษา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:51, 23 พฤศจิกายน 2549

คณะศิลปกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Fine and Applied Arts
Chulalongkorn University
สถาปนา2 มีนาคม พ.ศ. 2527
คณบดีรศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์
ที่อยู่
ถ.พญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
วารสารวารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์
(J. Fine Arts)
สีสีแดงเลือดนก
เว็บไซต์w3.chula.ac.th/college/fineart

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2527 นับเป็นคณะที่ 15 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากด้านการสอนแล้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ยังทำหน้าที่วิจัย บุกเบิกและพัฒนาวิชาการด้านศิลปกรรม รวมทั้งทะนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

ประวัติ

  • พ.ศ. 2514 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอโครงการ “ศิลปกรรมศาสตร์” ครั้งแรกในการสัมมนาหัวหน้าแผนกวิชาเรื่อง “การพัฒนาการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุขุม ศรีธัญญรัตน์ เป็นประธาน ได้เสนอในที่ประชุมให้ทราบในหลักการบางตอนว่า “โครงการที่เป็นโครงการใหม่ก็คือการพิจารณาจัดตั้งหน่วยวิชาการทางศิลปกรรมศาสตร์ขึ้นในปี 2517 และการศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะดำเนินการจัดตั้งคณะเกษตรศาสตร์ขึ้นในแผนพัฒนาระยะที่ 4 ซึ่งจะเริ่มปีการศึกษา 2519 เป็นต้นไป ทั้งสองเรื่องนี้ผมเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเล็งเห็นการณ์ไกล คำว่าศิลปกรรมศาสตร์ที่ใช้นี้ เราหมายถึง Fine and Applied Arts ซึ่งมีคำแปลแยกกันที่ยังหาคำไทยเหมาะสมมาแปลร่วมกันมิได้ จึงขอใช้คำว่า ศิลปกรรมศาสตร์ไปพลางก่อน หน่วยงานวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์นี้อาจครอบคลุมวิชาการทุกสาขาด้านศิลปะอย่างสมบูรณ์ เช่น วิจิตรศิลป์ เนรมิตศิลป์ ศิลปทฤษฎี หรือ ดุริยางค์ และศิลปการแสดง เป็นต้น ในจุดที่ดูเหมือนจะเป็นช่องว่างของมหาวิทยาลัยของเราตลอดเวลาคือ เรื่องที่เกี่ยวกับศิลปะ รสนิยม และสุนทรียะ หน่วยงานใหม่ของเรานี้จะประสานงานและเกื้อกูลซึ่งกันและกันกับหน่วยวิชาการเดิมของเราอย่างไร”
  • พ.ศ. 2517 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการศิลปกรรมศาสตร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นกรรมการที่ปรึกษา โครงการได้รับการพิจารณาให้อยู่ในแผนพัฒนาระยะที่ 4 พ.ศ. 2520 – 2525 สมัยของศาสตราจารย์ เติมศักดิ์ กฤษณามระ เป็นอธิการบดี โดยหลักการให้จัดตั้งเป็น “คณะศิลปกรรมศาสตร์” ประกอบด้วย 5 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ศิลปการละคร และวรรณศิลป์ ต่อมาคณะกรรมการได้พิจารณาให้ยุบเหลือเพียง 4 ภาควิชาคือ ทัศนศิลป์ นฤมิตศิลป์ ดุริยางคศิลป์และนาฏยศิลป์
  • พ.ศ. 2526 เปิดทำการเรียนการสอนปีการศึกษา 2526 เป็นปีแรก โดยเปิดเพียง 2 ภาควิชาคือ ภาควิชาทัศนศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ต่อมา ปีการศึกษา 2528 เปิดรับนิสิตภาควิชานฤมิตศิลป์และปีการศึกษา 2531 เปิดรับนิสิตภาควิชานาฏยศิลป์ ตามลำดับ

หน่วยงานและหลักสูตร


หน่วยงาน ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ภาควิชาทัศนศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

-

-

ภาควิชานฤมิตศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาเรขศิลป์
  • สาขาแฟชั่นและสิ่งทอ

-

ภาควิชาดุริยางคศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาดุริยางคศิลป์ตะวันตก
  • สาขาดุริยางคศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาการประพันธ์เพลง

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาดุริยางคศิลป์ไทย

-

ภาควิชานาฏยศิลป์

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย

แหล่งข้อมูลอื่น