ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัครมุขนายก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต แก้ไข: ka:მთავარეპისკოპოსი; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยน หมวดหมู่:ระบบการปกครองของคริสต์ศาสนจักร → [[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของศาสนาคริสต์
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
{{โครงประวัติศาสตร์}}
{{โครงประวัติศาสตร์}}


[[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของคริสต์ศาสนจักร]]
[[หมวดหมู่:ระบบการปกครองของศาสนาคริสต์]]


[[az:Arxiyepiskop]]
[[az:Arxiyepiskop]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:26, 16 มกราคม 2554

ไฟล์:Archbishop Francis Xavier Keangsak Kowit Vanit 1.JPG
อัครมุขนายก ฟรังซิสซาเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ประมุขเขตมิสซังกรุงเทพองค์ปัจจุบัน[1]

อัครมุขนายก[2] (อังกฤษ: Archbishop) หรือที่มักเรียกโดยทับศัพท์ว่าอาร์ชบิชอป เป็นตำแหน่งการปกครองภายในคริสตจักรบางนิกาย มีสถานะเหนือกว่ามุขนายก[3] (bishop) พบทั้งในนิกายโรมันคาทอลิก, กลุ่มอังกลิคัน และอื่นๆ การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นเขตมิสซังที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของกลุ่มอังกลิคันก็จะหมายถึงกลุ่มเขตมิสซังที่รวมกันเป็นสังฆเขต (Ecclesiastical Province) เช่นสังฆเขตแคนเตอร์บรีที่ปกครองโดยอัครสังฆราชแห่งแคนเตอร์บรีแต่ก็ไม่จริงเสมอไป

“อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนาแต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการเลื่อนฐานะขึ้นเป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับศีลบวช (Holy Orders) ใหม่ แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกผู้นั้นก็ต้องทำพิธีรับศีลบวชก่อนที่จะได้รับตำแหน่งและทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก

คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล”

“อัครมุขนายก” ปกครองอาณาจักรสังฆราชที่เรียกว่า “อัครมุขมณฑล” (Archdiocese) หรือ สังฆเขต (Ecclesiastical Province) ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อัครมุขนายกก็จะปกครอง “อาณาจักรอัครมุขนายก” เช่น อัครสังฆราชแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “อาณาจักรอัครสังฆราชแห่งไมนซ์” (Archbishopric of Mainz)

อ้างอิง

  1. [1].เรียกข้อมูลวันที่ 5 ต.ค. 2553.
  2. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Archbishop[2]
  3. กรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6

ดูเพิ่ม