ผลต่างระหว่างรุ่นของ "น็อทร์ดามดูว์โอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต เพิ่ม: hu:Magasságos Miasszonyunk kápolna (Ronchamp)
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต เพิ่ม: uk:Нотр-Дам-дю-О; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


ส่วนหลักของโครงสร้างนั้นประกอบไปด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสองชิ้นที่มีช่องว่างขนาด 6 ฟุต 11 นิ้ว ขั้นระหว่าง ทำให้เกิดรูปทรงของเปลือกหอยและก่อเกิดเป็นหลังคาของอาคาร หลังคานี้สามารถป้องกันน้ำไม่ให้รั่วเข้ามาและยังสามารถระบายน้ำให้ออกไปได้ในขณะเดียวกัน ซึ่งถูกพยุงไว้ด้วยคานสั้นหลายชิ้น และทำให้เกิดส่วนหนึ่งของพื้นผิวแนวตั้งของคอนกรีตที่ถูกคลุมด้วย [[gunite]] นอกจากนี้เสาค้ำกำแพงที่ทำมาจากหินเก่า Vosges ถูกนำมาจากโบสถ์หลังก่อนที่ถูกทำลายโดยระเบิด กำแพงที่ไม่ได้มีตัวค้ำจุนเหล่านี้ จากมุมบน รูปทรงโค้งนั้นได้ถูกคำนวณมาอย่างดีเพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับหินหยาบเหล่านี้ พื้นที่ว่างหลายเซนติเมตรระหว่างหลังคาเปลือกหอยและกำแพงแนวตั้งที่หุ้มล้อมได้สาดแสงลงมาสร้างความสำคัญให้กับทางเข้า พื้นของโบสถ์นั้นได้เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติที่เป็นเนินเอียงลาดลงไปยังส่วนของ[[แท่นบูชา]] ในบางส่วน โดยเฉพาะที่ภายนอกและภายในมีแท่นบูชาอยู่ จะถูกทำขึ้นจากหินสวยงามสีขาวที่มาจากภูมิภาค Bourgogne ตัวหอคอยนั้นทำขึ้นมาจากหิน[[อิฐ]]และถูกปกคลุมโดยโดม[[ซีเมนต์]] ส่วนโครงสร้างที่เป็นแนวตั้งถูกปกคลุมด้วยปูนโดยใช้ปูนซีเมนต์พ่นใส่แล้วตามด้วยการขัดล้างขาวทั้งภายในและภายนอกของตัวอาคาร ส่วนหลังคาเปลือกหอยที่ทำจากคอนกรีตนั้นถูกปล่อยให้หยาบตามสภาพที่ออกมาจากตัวโครง การป้องกันการรั่วซึมของน้ำนั้นถูกทำให้มีประสิทธิภาพโดยการมุงหลังคาแบบก่อตัวขึ้นมาที่มีภายนอกหุ้มด้วยอะลูมิเนียม กำแพงภายในเป็นสีขาว หลังคาเป็นสีเทา ม้านั่งทำด้วยไม้แอฟริกาสร้างโดย Savina และม้านั่งสำหรับพีธีทำจากเหล็กหล่อมาจากโรงหล่อ the Lure
ส่วนหลักของโครงสร้างนั้นประกอบไปด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสองชิ้นที่มีช่องว่างขนาด 6 ฟุต 11 นิ้ว ขั้นระหว่าง ทำให้เกิดรูปทรงของเปลือกหอยและก่อเกิดเป็นหลังคาของอาคาร หลังคานี้สามารถป้องกันน้ำไม่ให้รั่วเข้ามาและยังสามารถระบายน้ำให้ออกไปได้ในขณะเดียวกัน ซึ่งถูกพยุงไว้ด้วยคานสั้นหลายชิ้น และทำให้เกิดส่วนหนึ่งของพื้นผิวแนวตั้งของคอนกรีตที่ถูกคลุมด้วย [[gunite]] นอกจากนี้เสาค้ำกำแพงที่ทำมาจากหินเก่า Vosges ถูกนำมาจากโบสถ์หลังก่อนที่ถูกทำลายโดยระเบิด กำแพงที่ไม่ได้มีตัวค้ำจุนเหล่านี้ จากมุมบน รูปทรงโค้งนั้นได้ถูกคำนวณมาอย่างดีเพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับหินหยาบเหล่านี้ พื้นที่ว่างหลายเซนติเมตรระหว่างหลังคาเปลือกหอยและกำแพงแนวตั้งที่หุ้มล้อมได้สาดแสงลงมาสร้างความสำคัญให้กับทางเข้า พื้นของโบสถ์นั้นได้เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติที่เป็นเนินเอียงลาดลงไปยังส่วนของ[[แท่นบูชา]] ในบางส่วน โดยเฉพาะที่ภายนอกและภายในมีแท่นบูชาอยู่ จะถูกทำขึ้นจากหินสวยงามสีขาวที่มาจากภูมิภาค Bourgogne ตัวหอคอยนั้นทำขึ้นมาจากหิน[[อิฐ]]และถูกปกคลุมโดยโดม[[ซีเมนต์]] ส่วนโครงสร้างที่เป็นแนวตั้งถูกปกคลุมด้วยปูนโดยใช้ปูนซีเมนต์พ่นใส่แล้วตามด้วยการขัดล้างขาวทั้งภายในและภายนอกของตัวอาคาร ส่วนหลังคาเปลือกหอยที่ทำจากคอนกรีตนั้นถูกปล่อยให้หยาบตามสภาพที่ออกมาจากตัวโครง การป้องกันการรั่วซึมของน้ำนั้นถูกทำให้มีประสิทธิภาพโดยการมุงหลังคาแบบก่อตัวขึ้นมาที่มีภายนอกหุ้มด้วยอะลูมิเนียม กำแพงภายในเป็นสีขาว หลังคาเป็นสีเทา ม้านั่งทำด้วยไม้แอฟริกาสร้างโดย Savina และม้านั่งสำหรับพีธีทำจากเหล็กหล่อมาจากโรงหล่อ the Lure
{{โครงสถานที่}}


[[หมวดหมู่:ชาเปล]]
[[หมวดหมู่:ชาเปล]]
บรรทัด 27: บรรทัด 28:
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในแคว้นฟรองช์-กงเต]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในแคว้นฟรองช์-กงเต]]
[[หมวดหมู่:อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส]]
[[หมวดหมู่:อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส]]
{{โครงสถานที่}}


[[de:Notre-Dame-du-Haut de Ronchamp]]
[[de:Notre-Dame-du-Haut de Ronchamp]]
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[sv:Notre Dame du Haut]]
[[sv:Notre Dame du Haut]]
[[ta:ரொஞ்ச்சாம்ப் சிற்றாலயம்]]
[[ta:ரொஞ்ச்சாம்ப் சிற்றாலயம்]]
[[uk:Нотр-Дам-дю-О]]
[[zh:廊香教堂]]
[[zh:廊香教堂]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:14, 11 มกราคม 2554

ชาเปลนอเทรอดามดูว์โอแห่งรงช็อง (อังกฤษ: Notre Dame du Haut; ฝรั่งเศส: Chapelle Notre-Dame-du-Haut de Ronchamp) หรือ ที่รู้จักกันในนาม รงช็อง (Ronchamp) เป็นชาเปลในประเทศฝรั่งเศส ก่อสร้างเสร็จภายในปี ค.ศ. 1954 ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในผลงานที่ดีที่สุดของเลอกอร์บูซีเย (Le Corbusier) สถาปนิกชาวสวิส และยังเป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญของสถาปัตยกรรมทางศาสนาในศตวรรษที่ 20

แหล่งที่ตั้ง

โบสถ์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาใกล้กับเมืองแบลฟอร์ ในฝรั่งเศสตะวันออก ที่ซึ่งเคยมีโบสถ์แสวงบุญอุทิศให้แก่พระแม่มารี แต่ได้ถูกทำลายลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่สงครามได้สิ้นสุดลงมันก็ถูกวางแผนว่าจะสร้างอยู่บนทำเลเดิม

ชาเปลนอเทรอดามดูว์โอ เป็นสถานที่บูชาสำหรับโบสถ์โรมันแคทอลิคในรงช็อง ประเทศฝรั่งเศส มันถูกสร้างขึ้นเพื่อโบสถ์ลักษณะใหม่ที่ยังต้องการคงความสัมพันธ์กับแบบเดิม และเพื่อที่จะต่อต้านกับการเสื่อมโทรม ผู้ปฏิรูปของโบสถ์ได้มองเห็นถึงวิธีที่จะฟื้นฟูจิตวิญญานของโบสถ์โดยการโอบรับแนวคิดของศิลปะและสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หลวงพ่อมารี-อาแล็ง กูตูว์รีเย (Marie-Alain Couturier) ผู้ที่เคยสนับสนุนเงินทุนให้กับเลอกอร์บูซีเยในงานลาตูแร็ต (La Tourette) ยังเป็นคนขับเคลื่อนโครงการที่แสนพิเศษนี้ให้สำเร็จได้ในปี 1954

โบสถ์ในรงช็องแห่งนี้ยังเป็นผลงานเดียวของเลอกอร์บูซีเยที่ปลีกห่างออกจากหลักการของเขาที่คำนึงถึงความสากลและสุนทรียภาพของเครื่องจักร เพื่อที่จะตอบสนองกับความจำเพาะของสถานที่ ในความคิดของเลอกอร์บูซีเย สถานที่นี้ได้สื่อถึงความเป็นจิตวิญญานในตัวมันออกมาได้อย่างแรงกล้า ด้วยเส้นขอบฟ้าที่สามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ด้านของเนินเขาและยังเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ถูกสืบทอดกันมานานนับศตวรรษที่เป็นสถานที่สักการะ

มรดกทางประวัติศาสตร์มากมายได้ถูกจารึกลงไปในชั้นดินตั้งแต่สมัยผู้บูชาพระอาทิตย์ ชาวโรมัน ไปถึงผู้ที่นับถือพระแม่มารีในยุคสมัยกลาง รวมไปถึงช่วงโบสถ์สมัยใหม่และการต่อสู้ที่ต้านกับการครอบครองของชาวเยอรมัน เลอกอร์บูซีเยยังสามารถสัมผัสได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ที่มีระหว่างเนินเขากับสถานที่รอบข้าง ซึ่งก็คือภูเขาฌูว์รา (Jura) ที่อยู่ไกลออกไปเป็นจุดเด่นของภูมิประเทศ

ธรรมชาติของสถานที่จะมีผลต่อสถาปัตยกรรมทั้งหมด ทำให้มีส่วนที่คล้ายคลึงกับ Acropolis อยู่หลายข้อ เริ่มจากทางขึ้นจากตีนเขาที่มีเหตุการณ์ทางด้านสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์ไประหว่างทาง ก่อนที่จะมาสิ้นสุดลง ณ sanctus sanctorum หรือตัวโบสถ์นั่นเอง คุณจะไม่สามารถมองเห็นตัวอาคารได้จนกว่าที่จะถึงบริเวณยอดเขา และจากจุดสูงสุดนั้นทัศนียภาพอันตระการตาจะมีให้เห็นไปทั่วทุกสารทิศ

โครงสร้าง

โครงสร้างส่วนใหญ่นั้นทำมาจากคอนกรีต ซึ่งส่วนน้อยนั้นถูกล้อมรอบไปด้วยกำแพงที่หนา ประกอบกับหลังคาที่หงายขึ้นรองรับโดยเสาที่ฝังอยู่ในกำแพง ดูคล้ายกับเรือใบที่โต้คลื่นอยู่ในสายลมบนยอดเขา โบสถ์คริสเตียนแห่งนี้ได้เปรียบตัวมันเองเป็นเรือของพระเจ้าที่นำพาเอาความปลอดภัยและความช่วยเหลือให้พ้นภัยมาสู่เหล่าผู้ติดตาม ด้านในนั้น พื้นที่ที่ถูกเว้นว่างไว้ระหว่างกำแพงและหลังคา ถูกเติมเต็มด้วยหน้าต่าง และยังมีแสงที่ไม่สมมาตรเข้ามาจากช่องเปิดของกำแพง เพื่อที่จะส่งเสริมธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่และยังส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างตัวอาคารและพื้นที่รอบด้าน การใช้แสงภายในตัวอาคารนั้นเป็นแบบละมุนละไมและไม่เป็นแสงที่อาทิตย์ที่เข้ามาโดยตรง ซึ่งเข้ามาทางหน้าต่างและสะท้อนออกจากกำแพงปูนสีขาวโบสถ์และหอคอยที่ต่อออกมา

โครงสร้างส่วนมากสร้างขึ้นจากคอนกรีตและหิน ที่เป็นเศษเหลือมาจากโบสถ์เดิมบนยอดเขา ซึ่งถูกทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บางคนได้กล่าวว่ารงช็องนั้นเป็น post-modern อาคารแรกเนื่องจากมันถูกสร้างขึ้นในช่วงต้นของ 1950s

ส่วนหลักของโครงสร้างนั้นประกอบไปด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสองชิ้นที่มีช่องว่างขนาด 6 ฟุต 11 นิ้ว ขั้นระหว่าง ทำให้เกิดรูปทรงของเปลือกหอยและก่อเกิดเป็นหลังคาของอาคาร หลังคานี้สามารถป้องกันน้ำไม่ให้รั่วเข้ามาและยังสามารถระบายน้ำให้ออกไปได้ในขณะเดียวกัน ซึ่งถูกพยุงไว้ด้วยคานสั้นหลายชิ้น และทำให้เกิดส่วนหนึ่งของพื้นผิวแนวตั้งของคอนกรีตที่ถูกคลุมด้วย gunite นอกจากนี้เสาค้ำกำแพงที่ทำมาจากหินเก่า Vosges ถูกนำมาจากโบสถ์หลังก่อนที่ถูกทำลายโดยระเบิด กำแพงที่ไม่ได้มีตัวค้ำจุนเหล่านี้ จากมุมบน รูปทรงโค้งนั้นได้ถูกคำนวณมาอย่างดีเพื่อที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับหินหยาบเหล่านี้ พื้นที่ว่างหลายเซนติเมตรระหว่างหลังคาเปลือกหอยและกำแพงแนวตั้งที่หุ้มล้อมได้สาดแสงลงมาสร้างความสำคัญให้กับทางเข้า พื้นของโบสถ์นั้นได้เป็นไปตามลักษณะธรรมชาติที่เป็นเนินเอียงลาดลงไปยังส่วนของแท่นบูชา ในบางส่วน โดยเฉพาะที่ภายนอกและภายในมีแท่นบูชาอยู่ จะถูกทำขึ้นจากหินสวยงามสีขาวที่มาจากภูมิภาค Bourgogne ตัวหอคอยนั้นทำขึ้นมาจากหินอิฐและถูกปกคลุมโดยโดมซีเมนต์ ส่วนโครงสร้างที่เป็นแนวตั้งถูกปกคลุมด้วยปูนโดยใช้ปูนซีเมนต์พ่นใส่แล้วตามด้วยการขัดล้างขาวทั้งภายในและภายนอกของตัวอาคาร ส่วนหลังคาเปลือกหอยที่ทำจากคอนกรีตนั้นถูกปล่อยให้หยาบตามสภาพที่ออกมาจากตัวโครง การป้องกันการรั่วซึมของน้ำนั้นถูกทำให้มีประสิทธิภาพโดยการมุงหลังคาแบบก่อตัวขึ้นมาที่มีภายนอกหุ้มด้วยอะลูมิเนียม กำแพงภายในเป็นสีขาว หลังคาเป็นสีเทา ม้านั่งทำด้วยไม้แอฟริกาสร้างโดย Savina และม้านั่งสำหรับพีธีทำจากเหล็กหล่อมาจากโรงหล่อ the Lure