ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำตัด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kassana (คุย | ส่วนร่วม)
ศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
{{ศิลปะการแสดงไทย}}
{{ศิลปะการแสดงไทย}}


[[หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย]
[[หมวดหมู่:ศิลปะการแสดงไทย]]
{{โครงวัฒนธรรม}}
การสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
การสนับสนุนและเผยแพร่ศิลปะการแสดงลำตัด
สังคมใดสังคมหนึ่งจะตั้งมั่นและดำรงอยู่ได้อย่างถาวรนั้น จำเป็นจะต้องประกอบด้วยโครงสร้างของสังคมที่มั่นคงแข็งแรงไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างทางการเมือง การปกครอง สังคม ระบบการศึกษา เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นกลไกทางสังคม อันหมายถึงศิลปวัฒนธรรมที่ดำเนินอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมในระดับท้องถิ่น ที่ยังคงความเป็นแบบดั้งเดิม ในครั้งนี้ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของการอนุรักษ์ และสืบสานความเป็นศิลปวัฒนธรรม ที่จะชี้ให้เห็นการดำรงอยู่ในบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแส ศิลปะทุกแขนงย่อมได้รับผลกระทบ การจะให้คงความเป็นลักษณะเดิมอยู่ตลอดเวลา จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ กล่าวคือ ศิลปะพื้นบ้านทั้งมวลย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตามค่านิยม และอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอก ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือนหาย การขาดความต่อเนื่อง และการผิดเพี้ยนจากของเดิม เพราะฉะนั้นการสืบสานและการอนุรักษ์จึงจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่าง ถ่องแท้
กรุงเทพฯ 24 ธ.ค.- นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยการมีส่วนร่วมของผู้นำ เยาวชนจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการปกป้องคุ้มครองและถ่าย ทอดมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้ ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึง วันที่ 28 ธันวาคม ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์คและจังหวัดราชบุรี โดยมีผู้นำเยาวชนที่ได้รับเลือกจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติของแต่ละประเทศ (ยูเนสโก) ได้แก่ เวียดนาม ลาว อินโดนีเซีย ฟิลิบปินส์ มาเลเซีย ติมอร์เลสเต และไทย รวมจำนวน 33 คน เข้าร่วมประชุม
โดยนายวีระ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ วธ.โดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากยูเนสโก เพื่อให้ผู้นำเยาวชนในกลุ่มสมาชิกได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนเกิดความตระหนักในความหลากหลายของมรดกวัฒนธรรมจับต้องไม่ได้และสร้าง เครือข่ายระหว่างกัน ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อาทิ นิทาน การแสดงพื้นบ้านฯลฯ ซึ่ง สวช.ได้อนุรักษ์ด้วยการขึ้นทะเบียนไว้ และในอนาคตจะผลักดันให้มีการขึ้นทะเบียนในกรอบของยูเนสโก้ด้วยขณะนี้ สาขาที่เป็นห่วง คือ การแสดงพื้นบ้าน เช่น ลำตัด ลิเก หมอลำ เนื่องจากเป็นมรดกที่อยู่ในท้องถิ่น และกระแสความนิยมต่างประเทศมาแรง ทำให้ความนิยมของไทยลดลง สวช.จึงจัดทำหนังสือนามสงเคราะห์ ระบุรายละเอียดคณะการแสดง ทั้งชื่อคณะ ราคาและเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ เป็นข้อมูลสำหรับผู้ว่าจ้าง เพื่อร่วมกันอนุรักษ์มรดกเหล่านี้ไว้ ตลอดจนการปลูกฝังในกลุ่มเยาวชนให้ร่วมกันตระหนักและอนุรักษ์ .-สำนักข่าวไทย
เนื่องจากลักษณะเฉพาะของการละเล่นลำตัด เป็นการรวมเอาเพลงพื้นบ้านหลายชนิดเข้าด้วยกัน การศึกษา รวบรวม และบันทึก “ทำนองเพลง” เพลงลำตัดและบทเพลงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ในการละเล่น
ลำตัด จึงจะเป็นการอนุรักษ์ทำนองเพลงทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบในการละเล่นดังกล่าวนั้นให้คงอยู่เป็นแบบฉบับดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสืบสานที่ถูกต้องและต่อเนื่องตามแบบแผน อีกทั้งจะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมได้เล็งเห็นถึงความมีคุณค่าของเพลงที่ควรแก่การสืบทอดและการพัฒนาบนพื้นฐานของความเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แท้จริง เพื่อเป็นพลังสำคัญสำหรับความอยู่รอดของสังคมวัฒนธรรมของชาติไทยเราสืบไป จึงเรียกได้ว่า เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองชนิดหนึ่งของไทย ซึ่ง นิยมร้องกันในเขตภาคกลาง ทั้งนี้ มีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบ ต่อมาเมื่อมีการดัดแปลงกลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด จึงเรียกกันว่า “ ลิเกลำตัด” ในระยะแรก และเรียกสั้น ๆ ในเวลาต่อมาว่า “ลำตัด” ซึ่งมีลักษณะของเพลง และทำนองเพลงที่นำมาให้ลูกคู่รับ โดยมากก็มักตัดมาจากเพลงร้องหรือเพลงดนตรีอีกชั้นหนึ่ง โดยเลือกเอาแต่ตอนที่เหมาะสมแก่การร้องนี้มาเท่านั้น ลำตัดเป็นการตั้งชื่อที่เหมาะสม เรียบง่าย มีความหมายรู้ ได้ดีมาก กล่าวคือ ตามความหมายเดิม “ลำ” แปลว่า เพลง เมื่อนำมารวมกับคำว่า “ตัด” หมายถึง การนำเอาเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ อีกหลายชนิดมา ตัดรวมเข้าเป็นบทเพลง เพื่อการแสดงลำตัด เช่น ตัดเอา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัยและเพลงอีแซว เป็นต้น เข้ามาเป็นการละเล่นที่เรียกว่าลำตัด
เพลงลำตัด มีระดับเสียงที่เคลื่อนที่เป็นทำนอง ปรากฏในบันตนและลำร้อง กล่าวคือ
1. บันตน พบว่ามีหลากหลายทำนองอาทิเช่น ทำนองแขกมลายู ทำนองแขกอินเดีย ทำนองเพลงไทยเดิมทำนองเพลงพื้นเมืองทำนองเพลงไทยสากลหรือลูกทุ่งตามสมัยนิยม
2.ลำร้องแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น2ตอนคือ
2.1 สร้อยเพลง พบว่าทำนองของสร้อยเพลง ที่ยังคงใช้ร้องในการแสดงลำตัดทั่ว ๆ ไปจำแนก ได้เป็นทำนองกระพือ ทำนองกลาง ทำนองแขก ทำนองจักรรุน ทำนองมอญ ทำนองลาวหลงและทำนองโศก ทำนองที่ปรากฏเป็นที่นิยมร้องมากที่สุดตามลำดับได้แก่ ทำนองกลาง ทำนองจักรรุนและทำนองโศก ส่วนทำนองที่สูญหายไปด้วยสาเหตุที่ไม่ได้มีการสืบทอด เรียกว่าทำนองโบราณ สร้อยเพลงยังแบ่งส่วน การร้องออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนำ ซึ่งเป็นส่วนที่ร้องนำโดยผู้เป็นต้นบทและส่วนลูกคู่ คือส่วนที่ผู้เป็นลูกคู่ร้องรับในบทกลอนเดียวกับส่วนนำ
2.2 บทร้อง พบว่า มีลักษณะการเคลื่อนที่ของระดับเสียงจัดแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การ เคลื่อนที่ของระดับเสียงไม่เป็นทำนอง มีลักษณะคล้ายบทพูดกึ่งร้อง โดยในขณะร้องไม่มีการประกอบจังหวะและการเคลื่อนที่ของระดับเสียงเป็นทำนอง ปรากฏรวมอยู่ในบทพูดกึ่งร้องได้แก่ทำนองโขยก ทำนองบทร้องในสร้อยเพลงทำนองลาวหลง และทำนองบทร้องของลำลอย โดยมีการประกอบจังหวะในขณะขับร้องด้วย ส่วนเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในการแสดงลำตัดทั่วไปได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าวเพลงขอทาน เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงพวงมาลัย และเพลงอีแซว โดยเพลงที่นิยมใช้ร้องมากที่สุดตามลำดับ คือเพลงฉ่อย,เพลงอีแซวและเพลงเกี่ยวข้าว
การบันทึกทำนองเพลงในลำตัดเป็นระบบโน้ตสากล บันทึกได้ในอัตราจังหวะ 24 ในทำนองเพลงพื้นบ้าน ภายใต้หลักเสียงโมด และอัตราจังหวะ 44 ในทำนองเพลงไทยสากลภายใต้ระบบบันใดเสียง ข้อค้นพบอื่น ๆ พบว่า การร้องเพลงในลำตัด ผู้เป็นต้นบทจะเป็นผู้ตั้งหลักเสียงในการร้อง ซึ่งการร้องรับของลูกคู่ ควรร้องในหลักเสียงเดียวกัน แต่หากร้องในหลักเสียงที่ต่างออกไปก็จะไม่ถือเป็นข้อผิดพลาด เพราะเนื้อหาและสำนวนกลอนที่ร้องเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่า
ประเภทเพลง
การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง ตอน เพลงฉ่อย
ประวัติความเป็นมาของเพลงฉ่อย
เพลงฉ่อยเป็นเพลงพื้นบ้าน บทกลอนที่ใช้ร้องเป็นแบบเดียวกับเพลงเรือวิธีเล่นจะรวดเร็วกว่าเพลงเรือ นิยมแสดงในจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง และสิงห์บุรี สารานุกรมบบัณฑิตยสถาน
เล่มที่ 9 ได้กล่าวถึง ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) ไว้ดังนี้
“ฉะหน้าโรง (ฉ่อย) เป็นการร้องเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่องในตอนเบิกโรง การแสดงเพลงฉ่อย หรือเพลงทรงเครื่อง โดยประเพณีแล้วจะต้องเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู คือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะออกมาร้องไหว้คุณพระรัตนตรัย คุณครูบาอาจารย์ ตลอดจนคุณบิดร มารดาเสียก่อน เมื่อจบแล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลงเพลงสาธุการ ครั้นเพลงสาธุการจบลงแล้วพ่อเพลง(หัวหน้าฝ่ายชาย) ก็จะเริ่มร้องเป็นการประเดิมเบิกโรง บางคณะก็จะร้องว่า
พอจนส่งลงวา ปี่พาทย์รับสาธุการ
ฆ้องระนาดฉาดฉาน ชาวประชามามุง
กลองก็ตีปี่ก็ต๊อย พวกเพลงก็ทอยกันมุง..ไป
ในตอนนี้ซึ่งเรียกว่า “ฉะหน้าโรง” การว่าเพลงกันในตอนนี้ผู้ชายจะร้องเชิญชวนจนฝ่ายหญิงออกมาร่วมร้องด้วย แล้วก็เกี้ยวพาราสีและว่าเหน็บแนมกันเจ็บ ๆ แสบ ๆ ถ้อยคำระหว่างชายหญิงที่ร้องว่ากันในตอนนี้ ในสมัยโบราณจะเต็มไปด้วยคำหยาบโลน อย่างดีก็เป็นสองแง่สองง่ามโดยตลอด เรียกการร้องตอนนี้ว่า “ประ” เห็นจะย่อมาจาก “ประคารม” การร้องเพลงฉะหน้าโรงนี้เป็นตอนที่ผู้ชมชอบฟังกันมาก เพราะจะได้เห็นความสามารถของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้ปฏิภาณปัญญาร้องแก้กันได้อย่างถึงอกถึงใจ ถ้าผู้ร้องแก้อีกฝ่ายหนึ่งแก้ไม่ตกก็เป็นที่อับอายกัน ครั้นว่า “ประ” ในตอนฉะหน้าโรงนี้จนหมดกระบวนแล้ว ในสมัยโบราณมักจะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับเพลงหนัง เพลงที่ร้องนี้ คือ เพลงพม่าห้าท่อน 2 ชั้น เฉพาะท่อนต้นท่อนเดียวและยังทำให้เพลงได้ชื่อว่า “เพลงพม่าฉ่อย” ไปด้วย เมื่อเพลงพม่าฉ่อยนี้จบแล้ว ถ้าเป็นการเล่นเพลงฉ่อยก็จะร้องกันต่อไปตามแนวที่จะว่ากันอาจเป็นแนวการลักหาพาหนี หรือไต่ถามความรู้เป็นปัญหาธรรม หรือขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆแต่ไม่ว่าจะร้องด้วยเรื่องอะไร ฝ่ายชายก็มักจะตอบวกเข้าเป็นเชิงสองแง่สองง่ามหยาบโลนอยู่เสมอ แต่ถ้าเป็นการแสดงเพลงทรงเครื่อง พอจบเพลงพม่าฉ่อยแล้ว ปี่พาทย์ก็จะบรรเลงวาหรือเพลงเสมอ ตัวแสดงออกมาเริ่มแสดงเป็นเรื่องราวต่อไป การแสดงเพลงทรงเครื่องนั้นแสดงเหมือนละครหรือลิเก ผู้แสดงแต่งเครื่องปักดิ้นเลื่อนแพรวพราวอย่างเดียวกัน แต่สมัยนั้นผู้แสดงต้องร้องเองและเพลงที่ร้องดำเนินเรื่องหรือพรรณนาใด ๆ ต้องใช้ทำนองเพลงฉ่อยทั้งสิ้น จะมีร้องส่งปี่พาทย์รับบ้างก็เพียงเล็กน้อย ส่วนเพลงหน้าพาทย์เชิด เสมอ โอด ฯลฯ มิใช่เช่นเดียวกับละครลิเก อาจารย์สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ได้กล่าวถึง “เพลงฉ่อย” ในวรรณคดี และวรรณกรรมปัจจุบันไว้ตอนหนึ่งว่า
การเล่นเพลงฉ่อย จะมีการปรบมือให้จังหวะ เนื้อเพลงนั้นคล้ายกับ เพลงพวงมาลัยและเพลงนี้ก็จะต้องจบลงด้วยสระไอทุกคำกลอนเช่นกัน แต่เมื่อจะถึงบทเกี้ยว ลักษณะเพลงจะคล้ายเพลงเรือลูกคู่นอกจากจะคอยปรบมือให้จังหวะแล้ว ก็จะต้องรับตอนจบว่า
“ชา เอ๋ ฉา ชา หน่อย แม่ เอย”
สำหรับแม่เพลงก่อนจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า
“โอง โงง โง โฮะ ละ โอ่ โง๋ง โง๋ย” ในบทหนึ่งจะว่ายาวสักเท่าไรก็ได้
วิธีเล่นเพลงฉ่อย
ผู้แสดง แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีพ่อเพลงและแม่เพลง เริ่มด้วยการไหว้ครู ใช้กลอนเพลงอย่างโคราช การร้องจะมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องรับ ดนตรีใช้การตบมือเป็นจังหวะ
การเล่นเพลงฉ่อยนั้นได้แยกแยะวิธีการเล่นออกไปอีกหลายอย่างโดยคิดผูกเป็นเรื่องสมมติขึ้นเพี่อหาทางใช้วาทศิลป์ได้แปลก ๆ เช่น ชุดสู่ขอเป็นต้น
ชุดสู่ขอ จะต้องมีพ่อเพลงและแม่เพลงหลายคน อย่างน้อยก็ฝ่ายละ 3 คือ พ่อแม่ ของทั้งสองฝ่ายและตัวหนุ่มสาว แสดงถึงการไปว่ากล่าวสู่ขอตามประเพณี ซึ่งต่างก็จะใช้คารมโต้เถียงงอนกันไปเรื่อย และมักสิ้นสุดลงด้วยความไม่สำเร็จ อันเป็นต้นเหตุให้เกิดการลักหาพาหนี
การแต่งกาย
ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบนตามแต่ถนัด ใส่เสื้อรัดรูปมีสีสันสะดุดตา ทัดดอกไม้ ฝ่ายผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมสีต่าง ๆ
โอกาสที่แสดง
มักนิยมเล่นในงานเทศกาล หรืองานรื่นเริงของหมู่บ้าน ในวงการมหรสพต่าง ๆเช่น งานปีใหม่ ทอดกฐิน นำมาเป็นรายการแสดงก็มี
ตัวอย่างบทไหว้ครูชาย
ชา ฉ่า ชะชา เอิงเอยเอ่อเอิงเอ๊ย
มือของลูกสิบนิ้ว ยกขึ้นหว่างคิ้วถวาย
ต่างธูปเทียนทอง ทั้งเส้นผมบนหัว
ขอให้เป็นดอกบัว ก่ายกอง...เอย...ไหว้
อีกทั้งเส้นผมบนหัว (ซ้ำ) ขอให้เป็นดอกบัวก่ายกอง(ซ้ำ)เอยไหว้...เอ่ชา
ลูกจะไหว้พระพุทธที่ล้ำ ทั้งพระธรรมที่เลิศ
ทั้งพระสงฆ์องค์ประเสริฐ ขออย่าไปติดที่รู้
ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้ไป
ถ้าแม้นลูกติดกลอนตัน(ซ้ำ) ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้(ซ้ำ) เอชา
รับเหมือนอย่างสองบทต้น ยกไหว้ครูเสร็จสรรพ หันมาคำนับกลอนว่า
ไหว้คุณบิดรมารดาท่านได้อุตส่าห์ถนอมกล่อมเกลี้ยงประโลมเลี้ยงลูกมา
ทั้งน้ำขุ่นท่านมิให้อาบ ขมิ้นหยาบมิให้ทา
ยกลูกบรรจงลงเปล ร้องโอละเห่-ละชา ไกว (รับ)
แม่อุตส่าห์นอนไกว จนหลังไหล่ถลอก
หน้าแม่ดำช้ำชอก มิได้ว่าลูกชั่ว
จะยกคุณแม่เจ้า วางไว้บนเกล้าของตัว...ไหว้ (รับ)
ตัวอย่างบทสู่ขอ
เราเป็นเถ้าแก่ จะต้องไปแหย่ข้างแม่ยาย
เราจะเข้าตามตรอกออกทางประตู ให้พ่อแม่เอ็งรู้ทั้งผู้หลักผู้ใหญ่
พี่จะเตรียมทั้งขนมตั้งขนมกวย พี่ก็จัดแจงใส่ถ้วยออกไป
เตรียมขนมต้มไปเซ่นผี ให้น้องสักสี่ห้าใบ
พี่จัดทองหมั้นขันขันหมาก โตเท่าสากเจ๊กไท้
ตัวอย่างบทลักหาพาหนี
พี่จะไปสู่ขอพี่ก็ท้อก็แท้ ทั้งพ่อทั้งแม่ของพี่ก็ตาย
รักกันให้ไปด้วยกัน ให้ไปกะฉันไม่เป็นไร
ที่เขารักกันหนาพากันหนี เขามั่งเขามีก็ถมไป
ถึงขึ้นหอลงโรง ถ้ากุศลไม่ส่งมันก็ฉิบหาย (เอชา)
ตัวอย่างชุดตีหมากผัว
แหมพิศโฉมประโลมพักตร์ แม่เมียน้อยน่ารักเสียนี่กระไร
เนื้อก็เหลืองไม่ต้องเปลืองขมิ้น สวยไปตั้งแต่ตีนตลอดไหล่
อะไร ๆ แม่คนนี้ดีไปทุกสิ่ง เสียแต่เป็นหญิงตูดไวตูดไว (เอชา)
เขาว่าเมียเขาไม่ดี อยู่เอก็เปล่ากาย
เมียเขามีจริง แล้วเขาก็ว่าทิ้งกันไป
กินแล้วก็นอนร้องละครไปวันยังค่ำ งานการน่ะทำไปเสียเมื่อไร
ดีแต่ประแป้งแต่งตัว เอาแม่ผัวไปนินทาซุกหัวกระได
ผัวเขาเลยขายส่งไปเสียที่โรงตรอก ไม่รู้เมียหลวงลอยดอกมาเมื่อไร(เอชา)
เพลงฉ่อย การแสดงเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่อง โดยประเพณีแล้ว จะเริ่มด้วยการไหว้ครู ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะออกมาร้องไหว้คุณพระศรีรัตนตรัย คุณครูบาอาจารย์ คุณ บิดามารดา เสียก่อน เมื่อจบแล้วปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงสาธุการจบแล้ว พ่อเพลงก็จะร้องเป็นการเบิกโรง เรียกว่า ฉะหน้าโรง ผู้ชายจะร้องเชิญชวนจนฝ่ายหญิงออกมาร่วมร้องด้วย แล้วก็เกี่ยวพาราสีและว่าเหน็บแนมกันเจ็บ ๆ แสบ ๆ ในสมัยโบราณจะเต็มไปด้วยคำหยาบโลน หรือมีความหมายสองแง่สองง่าม การร้องตอนนี้เรียกว่า ประ น่าจะย่อมาจากคำว่าประคารม เป็นตอนที่ผู้ชมชอบฟังกันมาก เพราะจะได้เห็นความสามารถของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้ปฎิภาณร้องแก้กันได้ถึงอก ถึงใจ ถ้าแก้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ก็เป็นที่อับอายกัน เมื่อประในตอนฉะหน้านี้หมดกระบวนแล้ว ในสมัยโบราณมักจะร้องส่งให้ปี่พาทย์รับเพลงหนัง เพลงที่ร้องนี้คือ เพลงพม่าห้าท่อนสองชั้นเฉพาะท่อนเดียว และยังทำให้เพลงได้ชื่อว่า เพลงพม่าฉ่อย ไปด้วย
การเล่นเพลงฉ่อย จะมีการปรบมือให้จังหวะ เนื้อเพลงคล้ายเพลงพวงมาลัย เพลงจะต้องจบลงด้วยเสียงสระโอทุกคำกลอน เช่นกัน แต่เมื่อถึงบทเกี้ยวเพลงจะคล้ายเพลงเรือ สำหรับลูกคู่ นอกจากจะปรบมือให้จังหวะแล้วก็จะต้องร้องรับตอนจบว่า "ชา เอ๋ ฉา ชา หน่อย แม่ เอย" สำหรับแม่เพลงฉ่อยจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า "โอง โวง โว โชะ ละ โอ่ โง๋ง โง๋ย "
เพลงอีแซว มีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปี โดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ ( เพลงโต้ตอบ ) ที่ หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละ ครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ด้วยความนิยมในเพลง อีแซวทำให้สามารถ แสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาสเพียงแต่ จะไม่มีการแสดงในงานแต่งงาน
วงอีแซวจะไม่มีข้อกำหนดเรื่อง จำนวนผู้แสดง แต่ในวงหนึ่งๆ จะมีการจัดสรรตำแหน่งหน้าที่ ของผู้แสดงประกอบด้วย พ่อเพลง ( ผู้ร้องนำฝ่ายชาย ) แม่เพลง ( ผู้ร้องนำฝ่ายหญิง ) คอต้น ( ผู้ร้องเพลงโต้ตอบคนแรก ) คอสอง , คอสาม ( ผู้ร้องคนที่สองและ สาม ) และ ลูกคู่ ( จำนวนไม่จำกัด มีหน้าที่ร้องรับ ร้องซ้ำความ ร้องสอดแทรกขัดจังหวะ เพื่อความสนุกสนาน ) เพลงอีแซวมีจ ะดำเนินการแสดงโดยมีเนื้อหาเรียงลำดับ เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ และจบท้ายด้วยบทจาก หรือบทลา
ตัวอย่างเพลงที่ใช้ในการเล่นลำตัด
(สร้อย) วาววับ ฉันรักสาลิกา (ซ้ำ) ส่งเสียงเจรจา อยู่ในคาคบไพร
น้องนางแหมช่างโสภี (ชะ ชะ) น้องนางแหมช่างโสภี
ใส่เสื้อแพรสี จั๊กกระจี้หัวใจ
(สร้อย) นัตตา มะรมบิดตา มะรมบิดตา (ชะ) มะรมบิดตอย (ซ้ำ
ช่อมะกอก ดอกลั่นทม (ซ้ำ) มาพบคนปากคม มันช่างสมใจคอย
(สร้อย) สาลิกา โผมา ทางไหนแน่ สาลิกา โผมา ทางไหนแน่
สองตาคอยแล (ซ้ำ) แล้แล ไม่งามงอน
(สร้อย) คนเรา เกิดมา วาสนา ไม่แน่นอน (ซ้ำ)
พลัดพราก จากถิ่น เอ๊ย.. พลัดพราก จากถิ่นไปหากินแรมรอน
(สร้อย) ฮุยเล ฮุยเล ฮุ้ยเล เล ฮุ้ยลา (ซ้ำ)
ถึงวัน สัญญา (ซ้ำ) รำมะนา เกรียวกราว
(สร้อย) เล๊ เล๊ เล เล เหล่ หาลิเก มาเฮ่สำเภา (ซ้ำ)
น้องเอ๊ย น้องนาง (ซ้ำ) ว่างไหมว่าง มานั่งจับเงา
(สร้อย) สาลิกา โผมาทางไหนแน่ สาลิกา โผมาทางไหนแน่
สองตา คอยแล (ซ้ำ) แล้แล ขอแค่ชายตา
นี่เป็น วัฒนธรรม เล่นกันตาม สำนวน
มีตอนใด ไม่สมควร อย่าเพิ่งด่วน หนีหน้า
ในนามของ นักเพลง ร้องบรรเลง ด้วยคารม
ขอให้เกียรติ ท่านผู้ชม ที่ยังนิยม เสน่หา
ให้โอกาส เพลงพื้นบ้าน นำผลงาน ของท้องถิ่น
เหมือนเปิดกรุ ที่ฝังดิน นำทรัพย์สิน ที่มีค่า
ของปู่ย่า ตายาย ที่เหลือให้ ลูกหลาน
เป็นมรดก พื้นบ้าน มายาวนาน หนักหนา
วันนี้ลูกได้ นำผลงาน เพลงพื้นบ้าน ภาคกลาง
แสดงไว้เป็น ตัวอย่าง เพื่อเบิกทาง คราวหน้า
ลำตัด ลิเก เพลงเรือ กำลังจะ เหลือน้อย
เพลงอีแซว เพลงฉ่อย ผู้คนไม่ค่อย ศรัทธา
เพลงเต้นกำ รำเคียว น่าหวาดเสียว ว่าจะสูญ
เพลงขอทาน ยังขาดทุน แทบไม่เหลือ คุณค่า
ถ้าหากแบ่ง ใจได้ ขอปันใจ ให้มาบ้าง
ถึงแม้จะเป็น เส้นทาง ที่รกร้าง ก็จะฝ่า
จะขอสืบสาน ตำนานเพลง ที่เคยบรรเลง ในท้องถิ่น
เพื่อเอกลักษณ์ ของแผ่นดิน ไปจนสิ้น ชีวา
(สร้อย) สาลิกา โผมา ทางไหนแน่ สาลิกา โผมา ทางไหนแน่
สองตา คอยแล (ซ้ำ) แล้แล ขอแค่ชายตา
(สร้อย) ลมเย็น ลมเย็นพัดกล้า นกสาลิกาบิมาไวๆ
(เนื้อร้อง) พวกเรานักเรียน พากเพียรก้าวหน้า
เล่าเรียนวิชา ไม่น้อยหน้าผู้ใด
หวังจะช่วยชาติ สืบศาสนา
ให้เชิดชื่อลือชา แกล้วกล้าเกรียงไกร (รับ)
การแต่งกาย
ฝ่ายชาย นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม หรือคอพวงมาลัย สีของเสื้ออาจเป็นสีพื้นหรือลายดอก มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือ ใช้สำหรับพาดไหล่
ฝ่ายหญิง นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อตามความเหมาะสมของอายุและวัย ห่มสไบ ส่วนเครื่องประดับนั้น มักมีตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่จะเป็นของส่วนตัว ในปัจจุบัน เสื้อของผู้แสดงฝ่ายหญิง มักออกแบบให้ทันสมัย เป็นผ้าลูกไม้บ้าง ผ้าที่มีความมันและแวววาวบ้าง ตัดเย็บอย่างสวยงาม เพื่อเป็นการตึงดูดใจของผู้ชม
ตัวอย่างเครื่องแต่งกาย
เครื่องดนตรี
กลองรำมะนา ฉิ่ง ฉาบ (ฉาบเล็ก,ฉาบใหญ่)กรับ โอกาสที่แสดง
มักนิยมเล่นในงานมหรสพต่าง ๆ แต่เมื่อมีคนนิยมหรือแพร่หลายออกไปจึงเกิดมีการประชันแข่งขันกันขึ้นแทนที่ จะว่าแก้กันในหมู่วงเดียว เดิมทีเดียวใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ๆ ไม่มีหญิงปนเลยต่อมาในระยะหลังได้มีวิวัฒนาการมีชายหญิงแสดงร่วมกัน
ศิลปินแห่งชาติที่ควรรู้จัก
นายหวังดี นิมา หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม หวังเต๊ะ เกิดเมื่อเดือนมีนาคม2468 ปัจจุบันพักอาศัย ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ เป็นเลิศ ด้านศิลปะเพลงพื้นบ้าน มีความชำนาญเป็นพิเศษในการแสดงลำตัด โดยตั้งชื่อคณะว่า “ ลำตัดหวังเต๊ะ” รับงานแสดงเป็นอาชีพมาจนถึงปัจจุบันกว่า 40 ปี จนชื่อหวังเต๊ะแทบจะกลายเป็น สัญลักษณ์ของลำตัด กล่าว ได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์และสืบทอดศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ให้ยืนยงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจยิ่ง หวังเต๊ะ เป็นศิลปินที่มีความสามารถรอบตัวมีความเป็นเลิศทั้งด้านปฏิภาณและความคิดใน การแสดงเพลงพื้นบ้านสามารถ ด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคายเหมาะสมกับลีลาและ สถานการณ์สร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ผุ้ฟังผมชอมตลอดเวลายากจะหาใครเทียบ ได้ ทั้งในอดีตและปัจจุบันหวังเต๊ะได้แสดงให้มหาชนประจักษ์ถึงอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาและการแสดง ได้อย่างเชี่ยวชาญสมกับสุนทรียลักษณ ์ของภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณกาล
นอกจากนั้นหวังเต๊ะยังเป็นศิลปินผู้มี คุณธรรมได้ใช้ศิลปะการแสดงเป็นสัมมาชีพอย่างซื่อสัตย์ตลอดมา ทั้งได้ถ่ายทอดศิลปะวิชาให้แก้ทั้งบุคคลในคณะและสถาบันต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า หวังเต๊ะ เป็นศิลปิน ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งด้านสร้างสรรค์และอนุรักษ์ศิลปะ อันเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมไทยมาตลอด ระยะเวลายาวนาน จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง( เพลงพื้นบ้าน)ประจำปี
นางประยูร ยมเยี่ยม
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ลำตัด) พุทธศักราช
แม่ประยูร มีชื่อและนามสกุลจริงว่า นางประยูร ยมเยี่ยม เกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พุทธศักราช 2476 ที่จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันอายุ68ปีท่านมีนิสัยรักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก สามารถอ่านบทร้อยกรองได้อย่างไพเราะทั้งยังมีความทรงจำดีเยี่ยมเมื่ออายุได้ ราว 13-14ปี คุณตาของท่านซึ่งมองเห็นแววว่าท่านน่าจะเป็นนักแสดงที่ดีได้จึงสนับสนุนให้ เอาดีทางด้านการแสดงโดยการไหว้วานคนรู้จักที่ชื่อนายแดงให้ ช่วยหาครูสอนเพลงพื้นบ้านให้ นายแดงจึงได้พาแม่ประยูรไปเรียนกับครูบาง ที่ตำบลบางไผ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครูบางก็ได้สอนการเล่นลำตัดให้จนแม่ประยูรเล่นได้ดี และเริ่มออกแสดงลำตัดเป็นครั้งแรกเมื่อราวปี 2491 ขณะที่มีอายุได้ 15 ปี ครั้นอายุประมาณ 18 ปี แม่ประยูรก็ได้สมัครเข้าเล่นลำตัดกับคณะแม่จำรูญซึ่งเป็นลำตัดที่มี ชื่อเสียงมากในสมัยนั้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งแม่จำรูญก็ได้ช่วยถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและลำตัดให้แม่ประยูรอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความชำนาญและมีประสบการณ์ยิ่งขึ้น สามารถด้นกลอนสด และแต่งคำร้องได้อย่างเฉียบแหลมคมคาย และได้มีโอกาสออกแสดงเป็นประจำ จนเริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
ในช่วงที่ร่วมคณะลำตัดกับแม่จำรูญนั้นแม่ประยูรก็ได้พบกับ“หวังเต๊ะ”และได้ ร่วมประชันลำตัดกันอย่างสม่ำเสมอจน กลายเป็นคู่ประชันลำตัดยอดนิยมสูงสุดจากนั้นก็ได้แต่งงานอยู่กินกันจนมีบุตร ด้วยกัน 2 คนก่อนที่จะหย่าขาดจากกันแต่ก็ยังคงแสดงลำตัดร่วมกัน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากลำตัดแล้ว แม่ประยูรยังมีความสามารถในการแสดงเพลงพื้นบ้านอีกหลายประเภท ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงเรือ และเพลงขอทาน เป็นต้น
นางสาวแก้วเจ้าจอม จันทร์รัศมีหรือน้องก้อย ประธานชมรมทูบีนัมเบอร์วันชุมชนร่วมใจพัฒนา เขตลาดกระบังเล่าให้ฟังว่าชมรมทูบีนัมเบอร์วัน ชุมชนร่วมใจพัฒนา เขตลาดกระบัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2549 ปัจจุบันมีสมาชิก 151 คนและกำลังจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากทางชมรมไม่ได้จำกัดถ้าเด็กคนไหนสนใจในกิจกรรมของชมรมก็สามารถสมัคร เข้ามาเป็นสมาชิกได้และจะได้รับการฝึกฝนร่วมกับคณะโดยทันที ส่วนเด็กที่เสียงดีมีแววลุงประสิทธิ์ก็จะฝึกให้ร้องลำตัดเพราะในคณะลำตัดจะ มีคนร้องเป็นเพียง 4-5 คน เท่านั้น ประกอบกับตอนนี้ทางชมรมคิดที่จะทำลำตัดเด็กขึ้นมาด้วย เพื่อจะได้สืบทอดจากรุ่นพี่ที่กำลังจะโตไปสู่วัยผู้ใหญ่ โดยมีแผนที่จะเริ่มฝึกให้เด็กที่อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ได้รับการฝึกฝนทั้งร้องแลรับรวมทั้งให้ออกงานร่วมกับรุ่นพีด้วย เพื่อให้ตัวเด็กได้เห็นความสำคัญในตัวเองและได้รับการปลูกฝังเด็กให้มีใจรัก ในลำตัดของไทยเราด้วย และขอฝากถึงเยาวชนไทยในบ้านเราด้วยว่า "ลำตัดเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้เพราะจะเป็นตัวที่สะท้อน ความเป็นคนไทยของบ้านเราได้อย่างดีเยี่ยม หากใครมีใจชื่นชอบและสนใจในกิจกรรมเหล่านี้ก็ควรที่จะเรียนรู้และฝึกฝนและ ไม่ต้องอายที่จะแสดงออกในทางที่ถูกที่ดี" ภายในชมรมได้มี กิจกรรมการละเล่นลำตัดพื้นบ้าน เพื่อสืบสานประเพณีของไทยเรา โดยได้รับความอนุเคราะห์จากลงประสิทธิ์ ฮีมวิเศษ คนในชุมชนเป็นผู้เฝกสอนให้ร้องลำตัด สอนเล่นกลองยาวอังกะลุง รำมะนา และอื่นๆ
"ลำตัด" นับเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยและเป็นกิจกรรมที่ได้ช่วยปลูกฝังจิตสำนึก ในความเป็นคนดีให้กับเยาวชนทูบีนัมเบอร์วันชุมชนร่วมใจพัฒนา เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้เยาวชนห่างไกลจากยา เสพติด เป็นกิจกรรมที่ช่วยเติมเต็มทักษะชีวิตและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนผู้เป็น สมาชิก จนสามารถพัฒนาเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ ช่วยให้ชีวิตของเยาวชนมีความมั่นคงมากขึ้นและเป็นกำลังใจสำคัญของสมาชิกช่วย ให้มีพลังในการสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามและพร้อมที่จะสืบทอดกิจกรรมนี้ให้ เด็กและเยาวชนในที่อื่นๆ ได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป...
ลำตัด จึงถือเป็นศิลปวัฒนธรรมของไทยอีกแขนงหนึ่ง หากเยาวชนไทยไร้ความชื่นชอบที่จะสืบทอดและสานต่อเพราะอาจจะเห็นว่าการร้อง ลำตัดเป็นเรื่องที่ยากจะฝึกฝน จนกลายเป็นช่องว่างให้เยาวชน รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามาและอาจทำให้การร้องลำตัดต้องเลือนหายไปจาก สังคมไทยในไม่ช้า...
ในปัจจุบันศิลปะการแสดงลำตัดแทบจะหาดูได้ยากและไม่มีคนมาเรียนรู้และสืบทอดการแสดงลำตัดเท่าที่ควรเราจึงอยากจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังได้หันกับมาสนใจและให้ความสำคัญอีกครั้ง
ด้วยแนวคิดดังกล่าวที่จะอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะการแสดงลำตัด ผู้รับผิดชอบโครงการจึงได้สนใจที่จะศึกษาศิลปะการแสดงพื้นบ้านลำตัดและจัดทำโครงการสนับสนุนและเผยแพร่ลำตัดครั้งนี้ขึ้น ซึ่งจะนำมาซึ่งการรักษาศิลปวัฒนธรรมด้านเพลงพื้นบ้านให้คงอยู่เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่นของไทยสืบไป

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:12, 2 มกราคม 2554

ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย