ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ลบ หมวดหมู่:คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ประเทศไทย) ออก ด้วยสจห.
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:
|สืบทอดโดย =
|สืบทอดโดย =
|เขตอำนาจ = ทั่วราชอาณาจักร
|เขตอำนาจ = ทั่วราชอาณาจักร
|กองบัญชาการ = {{flagicon|Thailand}}<br>เลขที่ 44 อาคารศรีจุลทรัพย์ [[ถนนพระรามที่ 1]] [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]]
|กองบัญชาการ = {{flagicon|Thailand}}<br>120 ม.3 ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
|latd= |latm= |lats= |latNS=
|latd= |latm= |lats= |latNS=
|longd= |longm= |longs= |longEW=
|longd= |longm= |longs= |longEW=

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:09, 1 มกราคม 2554

คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ราชอาณาจักรไทย
ไฟล์:280935.jpg
ตรา
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง22 มีนาคม พ.ศ. 2535
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ไทย
120 ม.3 ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์ECT.go.th
เชิงอรรถ
คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Election Commission of Thailand) หรือย่อว่า "กกต." (อังกฤษ: ECT) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีหน้าที่หลักในการควบคุมและจัดให้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นสำนักงานเลขานุการ

ประวัติและโครงสร้างองค์กร

แต่เดิมการจัดการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของกองการเลือกตั้ง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ต่อมาในการเลือกตั้งครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 รัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการเลือกตั้ง ได้ตระหนักถึงปัญหาการซื้อขายเสียงที่มีอยู่ทั่วไป จึงแต่งตั้ง "คณะกรรมการติดตามและสอดส่องดูแลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" หรือที่รู้จักกันในชื่อ องค์กรกลาง เป็นหน่วยงานอิสระไม่มีผลประโยชน์ใดๆ กับการเลือกตั้ง ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และตรวจสอบการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อส่งเสริมการเลือกตั้งอย่างยุติธรรมในประเทศไทย โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยคณะกรรมการจำนวน 5 คน ซึ่งเลือกสรรโดยวุฒิสภา ดำรงตำแหน่งได้สมัยเดียวเป็นเวลา 7 ปี (ยกเว้นชุดแรก ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี 6 เดือน ตามเงื่อนไขใน พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง)

ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง

กรรมการการเลือกตั้งต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ไม่เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น ไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด และไม่ประกอบวิชาชีพอิสระอื่นใด

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 120 ม.3 ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210โทร 0-2141-8888

หน้าที่

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
  2. ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  3. มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  4. ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
  5. ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการแบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
  6. สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  7. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใดหน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง หรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
  8. ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
  9. ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนในการให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  10. จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอต่อรัฐสภา
  11. ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอื่น หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายได้.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) ม. ๑๓๖, ๑๓๙, ๑๔๔ และ ๑๔๕ และ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ ม. ๑๐ และ ๑๑

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดแรก

วาระการดำรงตำแหน่ง 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2544[1]

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่สอง

วาระการดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[2] ถูกตั้งฉายาว่า "สามหนาห้าห่วง"

การปรับระบบการทำงาน หลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี

ภายหลังการเสียชีวิตของนายจรัล บูรณพันธุ์ศรี และยังไม่มีการสรรหาบุคคลใหม่มาทดแทน กกต.ที่เหลืออยู่ 4 คน ได้แบ่งหน้าที่ใหม่ จากเดิมที่แบ่งตามลักษณะงานตามความเชี่ยวชาญของ กกต. แต่ละคน ออกเป็น 4 เขตพื้นที่ให้ กกต. แต่ละคนดูแล โดยแต่ละคนต่างก็มีอำนาจเด็ดขาดทั้งการบริหาร การเลือกตั้ง การจัดการเลือกตั้ง การสืบสวนสอบสวน และวินิจฉัย ในเขตพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ คือ

  • พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ ดูแลภาคกลางและกรุงเทพ
  • นายปริญญา นาคฉัตรีย์ ดูแลภาคใต้
  • นายวีระชัย แนวบุญเนียร ดูแลภาคเหนือ
  • พลเอกจารุภัทร เรืองสุวรรณ ดูแลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ทั้งนี้ได้มีการเพิ่มบุคลากรทั้งในสำนักงาน กกต.กลาง และ กกต.จังหวัด จากเดิม 300 คน เป็น 3000 คน ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร

มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานการวินิจฉัยสืบสวนสอบสวน จากเดิมที่มีสองส่วน เพื่อการตรวจสอบและคานอำนาจ คือ

  • สำนักสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน และสอบสวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง
  • สำนักวินิจฉัย มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองพยานหลักฐานจากเจ้าหน้าที่สำนักสืบสวนสอบสวนสืบสวนก่อนเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่ามีมูลหรือไม่ หากหลักฐานไม่เพียงพอ ก็ส่งเรื่องให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือรองเลขาธิการที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาหลักฐานเพิ่มเติม แล้วจึงส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยเป็นผู้พิจารณาก่อนส่งความเห็นในเรื่องนั้นต่อให้ กกต.กลาง วินิจฉัยชี้ขาดขั้นสุดท้าย แต่ในกรณีที่มีความเร่งด่วน ก็อาจส่งเรื่องให้ กกต.กลางวินิจฉัยได้

การจัดโครงสร้างเดิม คล้ายกับการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม ที่มีสำนักสืบสวนสอบสวนทำหน้าที่คล้ายตำรวจ สำนักวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายอัยการ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยทำหน้าที่คล้ายเป็นศาลชั้นต้น และ กกต.กลางทำหน้าที่คล้ายกับเป็นศาลสูงสุด

แต่หลังจากที่ กกต. ชุดที่สองเข้ามาดำเนินการไม่นาน ก็มีการปรับให้หน่วยงานทั้งสองมารวมเป็นสำนักเดียวกัน คือ สำนักสืบสวนและวินิจฉัย แต่แบ่งพื้นที่การทำงานเป็นภาค ไม่ได้แบ่งเนื้อหาสาระของการทำงาน มีลักาณะการทำงานคล้ายตำรวจภูธรภาค ไม่มีอัยการ(สำนักวินิจฉัย)

กรณีคำพิพากษาของศาล

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ศาลอาญาได้ตัดสินตามคำฟ้องของโจทย์คือ นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาการปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบของ กกต โดยการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคไทยรักไทย ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 มีโทษตามมาตรา 42 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน (ไม่ได้ลงโทตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา)ศาลได้มีคำตัดสินว่าให้คณะกรรมการสามคนได้แก่ พลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ, นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ต้องคำพิพากษาศาลอาญา ให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง กกต. เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ชุดที่สาม

วาระการดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน


การสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2549

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา 3 คน ประธานแผนกคดีต่างๆ ในศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา จำนวน 84 คน ได้ลงมติเพื่อสรรหาผู้สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 10 คน [3] ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 138 (2) และ (3) จากจำนวนผู้สมัคร 42 คน เพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภา ลงมติคัดเลือกเหลือ 5 คน

คณะกรรมการเลือกตั้งชุดนี้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 2 ปี ตามวาระที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการเลือกตั้งชุดที่สอง

รายชื่อผู้สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง 5 คน ตามมาตรา 138 (2)

  1. นายวิชา มหาคุณ - ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา
  2. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง - ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา กรุงเทพใต้
  3. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ - ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา
  4. นายสมชัย จึงประเสริฐ - ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  5. นายอภิชาต สุขัคคานนท์ - ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา

รายชื่อผู้สมควรเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง 5 คน ตามมาตรา 138 (3) (ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำหน้าที่คัดเลือกแทน คณะกรรมการสรรหาจากตัวแทนพรรคการเมือง ซึ่งไม่มีอยู่ในขณะนี้)

  1. นายประพันธ์ นัยโกวิท - รองอัยการสูงสุด
  2. นายแก้วสรร อติโพธิ - อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
  3. นายสุเมธ อุปนิสากร - ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอาญา กรุงเทพใต้
  4. นางสดศรี สัตยธรรม - ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
  5. นายนาม ยิ้มแย้ม - อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2549 ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกคณะกรรมการเลือกตั้ง ประกอบด้วย

  1. นายประพันธ์ นัยโกวิท
  2. นายสุเมธ อุปนิสากร
  3. นายอภิชาต สุขัคคานนท์
  4. นายสมชัย จึงประเสริฐ
  5. นางสดศรี สัตยธรรม

ต่อมา นายสุเมธได้หมดวาระไปเมื่ออายุครบ 70 ปี เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติคัดเลือกคณะกรรมการเลือกตั้งคนใหม่แทน มีมติด้วยคะแนน 107 ต่อ 11 เสียง งดออกเสียง 12 เสียง เลือกนายวิสุทธิ์ โพธิแท่น อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ดำรงตำแหน่งแทน[4]

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/E/113/3.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2544/E/114/1.PDF
  3. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000102221
  4. "วุฒิ"ไฟเขียว"วิสุทธ์ โพธิแท่น"เป็นกกต.ใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น