ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประสูติของพระเยซู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rattakorn c (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
[[es:Natividad]]
[[es:Natividad]]
[[fr:Nativité]]
[[fr:Nativité]]
[[hr:Isusovo rođenje]]
[[it:Nascita di Gesù]]
[[it:Nascita di Gesù]]
[[nl:Geboorte van Jezus volgens Lukas 2]]
[[pt:Nascimento de Jesus]]
[[pt:Nascimento de Jesus]]
[[sk:Narodenie Ježiša Krista]]
[[sk:Narodenie Ježiša Krista]]
[[uk:Різдво Христове]]
[[uk:Різдво Христове]]
[[zh:耶稣降生]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:24, 27 ธันวาคม 2553

สำหรับงานศิลปะที่เกี่ยวกับการประสูติของพระเยซูดูที่: “การประสูติของพระเยซู (ศิลปะ)
“การประสูติ” โดยเพ็ททรัส คริสตัท (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445

การประสูติของพระเยซู (อังกฤษ: The Nativity of Jesus หรือเรียกง่าย ๆ ว่า the Nativity) เป็นเรื่องราวการกำเนิดของพระเยซู สำหรับผู้นับถือคริสต์ศาสนารายละเอียดเป็นทางการของการประสูติกล่าวไว้ในพระวรสารนักบุญแม็ทธิว และ พระวรสารนักบุญลูคซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่ของคัมภีร์ไบเบิล รายละเอียดที่ละเอียดกว่าจากแหล่งอื่นก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในพระวรสารกฏบัตร พระวรสารนักบุญลูคซึ่งเป็นเชื่อกันว่าเป็นพระวรสารฉบับแรกของพระวรสารกฏบัตรมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซู[1]

คำบรรยายของพระวรสารนักบุญแม็ทธิว และพระวรสารนักบุญลูคกล่าวว่าจีซัสแห่งนาซาเร็ธเป็นลูกของพระแม่มารี ผู้เมื่อมีบุตรในท้องหมั้นอยู่กับโจเซฟจากตระกูลเดวิด การกำเนิดในร่างของแมรีเป็นการปฏิสนธินิรมลเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระจิตเจ้ามิใช่โดยโจเซฟ ผู้ซึ่งเป็นเพียงพ่อในโลกมนุษย์ การประสูติของพระเยซูถูกประกาศต่อคนเลี้ยงแกะโดยเทวดา และโดยการที่มีดาวดวงใหม่ให้แมไจได้เห็น[2] พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของประกาศกแห่งอิสราเอล

การระลึกถึง, การแสดง, หรือการสร้างสัญลักษณ์ของการกำเนิดของพระเยซูเป็นหัวใจของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในการฉลองเทศกาลคริสต์มาส คำว่า “คริสต์มาส” เป็นการฉลองเทศกาลที่แสดงความเชื่อว่าจีซัสแห่งนาซาเร็ธคือ “ไครสท์” หรือ “เมสไซยาห์” ในพันธสัญญาเดิมของคัมภีร์ไบเบิล ในนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายบางนิกายจุดยอดของการฉลองอยู่ที่ พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสผู้นับถือคริสต์ศาสนาทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายอังกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู

อ้างอิง

  1. Brown, Raymond E., et al. The New Jerome Biblical Commentary, Prentice Hall, 1990
  2. ลูกา 1:34 , ลูกา 2:4 -5, มัทธิว 1:18 -19

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น