ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มวยไท่เก๊กตระกูลอู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งโฆษณาด้วยสจห.
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{โฆษณา}}
<!--[[File:Wu Chien-ch'uan Yun Shou.jpg|thumb|อู่อวี่เซียง]]-->
<!--[[File:Wu Chien-ch'uan Yun Shou.jpg|thumb|อู่อวี่เซียง]]-->
'''มวยไท่เก๊กตระกูลอู่''' (มวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวย[[ไท่เก๊ก]]สายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์[[อู่อวี่เซียง]] (ค.ศ. 1870-1942)
'''มวยไท่เก๊กตระกูลอู่''' (มวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวย[[ไท่เก๊ก]]สายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์[[อู่อวี่เซียง]] (ค.ศ. 1870-1942)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:41, 25 ธันวาคม 2553

มวยไท่เก๊กตระกูลอู่ (มวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวยไท่เก๊กสายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์อู่อวี่เซียง (ค.ศ. 1870-1942)

มวยไท้เก็ก สกุลอู่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มวยไท้เก็กสกุลอู่เฮ่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในมวยไท้เก็กห้าสกุลใหญ่ (เฉิน หยาง อู่ อู๋ ซุน) มวยไทเก็กสกุลอู่มีการเคลื่อนไหวที่ เรียบง่าย ท่วงท่ารัดกุม ทุกส่วนเคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่ขาดตอน เข้มงวดกับหลักของร่างกาย ที่ต้องประณีตและละเอียดอ่อน ร่างกายตั้งตรง ท่าเท้าเบาคล่อง การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างเนิบช้า รวมทั้งให้ความสำคัญกับกำลังภายใน ใช้การเคลื่อนไหวภายใน โดยการเปลี่ยนเต็มและว่างรวมทั้งการ “โคจรชี่ภายในอย่างซ่อนเร้น” มาประกอบกับท่วงท่าภายนอก อีกทั้งยังมีหลักการอันละเอียดอ่อนอีกมากมาย มีหลักของร่างกาย รวมทั้งพลังภายในที่โดดเด่น การเดินพลังภายในใช้จิตสั่งให้ชี่โคจร ใช้ชี่เคลื่อนพลังไปทั่วทั้งร่างกาย ในแต่ละการเคลื่อนไหวจิตเคลื่อนก่อน แล้วชี่จึงเคลื่อนตาม จากนั้นจึงเป็นท่วงท่าที่เคลื่อนไหว ฝึกจนจิต ชี่ มวย ทั้งสามอย่างสำเร็จรวมเป็นหนึ่งเดียว ในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นการรวมเอาวิชา มวย, วิชาเต้าอิ่น (วิชาที่ฝึกให้ชี่หมุนเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย), ศิลปศาสตร์, แพทย์ศาสตร์, พลศาสตร์, กายภาพวิทยา, และปรัชญา มาไว้ในวิชาเดียวกัน

มวยไท้เก็กสกุลอู่แม้เป็นวิชาโบราณ แต่ก็แฝงความแปลกใหม่ไว้ จึงมีความเรียบง่ายและสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการบุก, การป้องกัน, การเข้าตี ก็ยังคงอยู่บนพื้นฐาน และคุณค่าอันโดดเด่นของการทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถขัดเกลาจิตใจ, เป็นอายุวัฒนะ, มีสรรพคุณอันวิเศษ

มวย ไท้เก็กสกุลอู่สามารถปรับ และเสริมสร้างระบบประสาทส่วนกลางให้สมบูรณ์ มีผลดีต่อหัวใจ, ช่วยให้ระบบสูบฉีดโลหิต และระบบหายใจแข็งแรง, ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร มีการดูดซึมที่ดี และมีการขับถ่ายของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ, ทั้งยังสามารถช่วยกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง, ช่วยให้ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้คล่อง อีกทั้งยังสามารถปรับโครงกระดูกให้เข้าที่ได้, ช่วยปรับสมดุลของหยินหยาง, ช่วยให้เส้นชีพจร และเส้นลมปราณปลอดโปร่งไม่ติดขัด

มวยไท้เก็กสกุล อู่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ไม่จำกัดสถานที่ในการฝึก มีผลดีทางด้านการรักษา ป้องกันโรคที่เรื้อรัง ได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

เนื่องจากในอดีตอาจาย์ผู้สอนมวยไท่เก๊กตระกูลอู่ได้รับศิษย์ค่อนข้างน้อย วิทยายุทธ์ชนิดนี้จึงเผยแพร่ในวงจำกัด สำหรับในประเทศไทยมีการเชิญอาจารย์ หลี่ เว่ย หมิง จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาฝึกสอนที่สวนลุมพินี

ลักษณะเฉพาะของมวยไท่เก๊กตระกูลอู่

บิดาของปรมาจารย์ เฮ่อ เส้าหยู ได้สรุปประเด็นสำคัญๆ ของท่าร่างมวยไท้เก็กไว้ 13 ประการ ท่าร่างเหล่านี้ มีความสำคัญที่ผู้ฝึกจำเป็นต้องพินิจพิเคราะห์โดยสม่ำเสมอ ตลอดเวลาการฝึกฝน ให้ถูกต้องในทุกๆ กระบวนท่า มวยไท้เก็กมีพื้นฐานจากภายในสร้างเสริมขึ้นมา พื้นฐานภายในสร้างจากการกำหนดการเคลื่อนไหวของ "ชี่" ที่อยู่ภายใน ด้วยจิต "ชี่" หรืออีกนัยหนึ่ง กำลังภายใน จะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการฝึกฝน โดยถูกต้องในทุกกระบวนท่า สามารถรวมการเคลื่อนไหวในทุกกระบวนท่าให้กลมกลืนกัน ไม่ขัดกัน จนกระทั่งสามารถให้ภายในกำหนดภายนอกได้ จะเห็นได้ว่า ท่าร่างที่ถูกต้องมีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า พื้นฐานทั้งหมดสร้างอยู่บนท่าร่างที่ถูกต้อง ดังนั้น ความถูกต้องโดยละเอียดของท่าร่าง ผู้ฝึกจำเป็นต้องฝึกฝนจนสามารถทำได้โดยไม่ขัดขืน เป็นธรรมชาติ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ท่านอาจารย์หลี่เว่ยหมิง ได้เรียงลำดับท่าร่าง 13 ท่าตามลำดับการฝึก ที่ผู้ฝึกควรฝึกฝนไปทีละข้อๆ ดังนี้คือ

1. 涵 胸 หันเซวียง; hán xiōng

2. 拔 背 ป๋าเป้ย; bá bèi

3. 提 頂 ถีติ่ง; tí dĭng

4. 沉 肘 เฉินโจ่ว; chén zhŏu

5. 松 肩 ซงเจียน; sōng jiān

6. 吊 襠 เตี้ยวตั้ง; diào dăng

7. 裹 襠 กั่วตั้ง; guŏ dăng

8. 護 肫 ฮู่เจิน; hù zhūn

9. 尾 闾 正中 เหวยหลู่เจิ้นจง; wĕi lǘ zhèng zhōng

10. 氣 沉 丹 田ชี่เฉินตันเถียน; qì chén dān tián

11. 腾挪 เถิงหนัว; téng nuó

12. 闪 战 สั่นจั้น; shăn zhàn

13. 虚 实 分 清 ซีเสอเฟินชิง; xū shí fēn qīng


อ้างอิง

  • คณิต ครุฑหงษ์ (2527). มวยไทเก๊ก. สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, กรุงเทพฯ.
  • หลี่ เว่ย หมิง (ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์). ประวัติมวยไทเก็กสกุลอู่. ชมรมมวยไทเก็กสกุลอู่แห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

แหล่งข้อมูลอื่น