ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาค้าวดำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 41: บรรทัด 41:


[[หมวดหมู่:วงศ์ปลาเนื้ออ่อน]]
[[หมวดหมู่:วงศ์ปลาเนื้ออ่อน]]
[[หมวดหมู่:ปลาไทย]]
[[หมวดหมู่:ปลาที่พบในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด]]
[[หมวดหมู่:ปลาน้ำจืด]]
[[หมวดหมู่:ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา]]
[[หมวดหมู่:ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:28, 24 ธันวาคม 2553

เค้าดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Siluridae
สกุล: Wallago
สปีชีส์: W.  micropogon
ชื่อทวินาม
Wallago micropogon
(Ng, 2004)
ชื่อพ้อง
  • Wallagonia miostoma

ปลาเค้าดำ (อังกฤษ: Black Sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Wallago micropogon อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาที่อยู่ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes)

มีรูปร่างลำตัวยาวแต่ค่อนข้างป้อม ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก พื้นลำตัวสีเทาถึงดำสนิท ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง ส่วนท้องป่องออก ส่วนหลังยกสูงขึ้นกว่าปลาเค้าขาว (W. attu) ซึ่งเป็นปลาที่มีความใกล้เคียงกัน เพราะจัดอยู่ในสกุลเดียวกัน

มีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1 เมตร น้ำหนักกว่า 50 กิโลกรัม โดยสถิติที่ใหญ่ที่สุดพบที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์

พฤติกรรมตามปกติ มักจะซุกตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้น้ำ เป็นปลาที่สายตาไม่ดี จึงใช้หนวดในการนำทางและหาอาหาร พบตามแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ทั้งภาคกลางและภาคอีสานรวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและสาขา, แม่น้ำโขงและสาขา, แม่น้ำตาปีรวมทั้งที่ทะเลสาบสงขลาด้วย เป็นต้น

ปลาเค้าดำ มีสถานภาพในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์อีกชนิดหนึ่งในธรรมชาติ แต่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2534 โดยได้มีการปล่อยลูกปลาที่เพาะได้กลับคืนถิ่นธรรมชาติ[1]

ปลาเค้าดำ เป็นปลาไทยอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ว่าเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้าย ก้าวร้าว หวงถิ่น และกินปลาขนาดเล็กตัวอื่นเป็นอาหาร จึงมักเลี้ยงตัวเดียวเดี่ยว ๆ

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น อีทุก หรือ ทุก ในภาษาอีสาน โดยเรียกตามสีลำตัวที่มีสีดำสนิท เหมือนกับคนสวมชุดไว้ทุกข์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น