ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ด่านเจดีย์สามองค์"

พิกัด: 15°18′6″N 98°24′7″E / 15.30167°N 98.40194°E / 15.30167; 98.40194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[File:Three Pagodas Pass Myanmar border sign.jpg|250px|thumb|ป้ายด่านเจดีย์สามองค์]]
[[ไฟล์:Three Pagodas Pass Myanmar border sign.jpg|250px|thumb|ป้ายด่านเจดีย์สามองค์]]
'''ด่านเจดีย์สามองค์''' ({{lang-my|ဘုရားသုံးဆူ တောင်ကြားလမ်း}}) เป็นช่องเขาใน[[ทิวเขาตะนาวศรี]] ตั้งอยู่บนพรมแดน[[ประเทศไทย]]และ[[ประเทศพม่า]] มีความสูง 282 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
'''ด่านเจดีย์สามองค์''' ({{lang-my|ဘုရားသုံးဆူ တောင်ကြားလမ်း}}) เป็นช่องเขาใน[[ทิวเขาตะนาวศรี]] ตั้งอยู่บนพรมแดน[[ประเทศไทย]]และ[[ประเทศพม่า]] มีความสูง 282 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล



รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:53, 13 พฤศจิกายน 2553

ป้ายด่านเจดีย์สามองค์

ด่านเจดีย์สามองค์ (พม่า: ဘုရားသုံးဆူ တောင်ကြားလမ်း) เป็นช่องเขาในทิวเขาตะนาวศรี ตั้งอยู่บนพรมแดนประเทศไทยและประเทศพม่า มีความสูง 282 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

รายละเอียด

ช่องเขาดังกล่าวเชื่อมอำเภอสังขละบุรี ทางตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี กับอำเภอพะยาตองซู ทางตอนใต้ของรัฐกะเหรี่ยง

ช่องเขานี้ได้เคยเป็นเส้นทางสัญจนทางบกเข้าสู่ทางตะวันตกของประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และเชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระสงฆ์ชาวอินเดียซึ่งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเข้าสู่ประเทศในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ระหว่างอาณาจักรอยุธยา (คริสต์ศตวรรษที่ 14-18) ช่องเขาดังกล่าวเป็นเส้นทางรุกรานหลักสำหรับชาวพม่า โดยมีบางครั้งที่กองทัพอยุธยาได้ใช้เป็นเส้นทางรุกรานพม่าเช่นกัน สงครามระหว่างอยุธยากับพม่าครั้งแรก คือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ช่องเขาดังกล่าวได้ชื่อตามกองเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ ซึ่งอาจถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยอยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ตั้งอยู่บนพรมแดนไทย บางส่วนของพรมแดนไทย-พม่ายังมีกรณีพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้สร้างทางรถไฟสายมรณะผ่านช่องเขาแห่งนี้ จึงมีอนุสรณ์รำลึกถึงเชลยศึกชาวออสเตรเลียหลายพันคน (โดยมีชาติสัมพันธมิตรและพลเรือนเอเชียจำนวนหนึ่ง) เสียชีวิตเนื่องจากใช้งานหนักในการก่อสร้างทางรถไฟ

พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของชาวเขาหลายเผ่า รวมไปถึงกะเหรี่ยงและม้ง ผู้ซึ่งไม่ได้รับหรือไม่ต้องการได้รับสัญชาติพลเมืองจากทั้งไทยและพม่า กองทัพแบ่งแยกดินแดนพยายามที่จะยึดครองช่องเขานี้จากพม่า โดยชาวม้งได้ควบคุมช่องเขามาจนกระทั่ง ค.ศ. 1990 แต่ในปัจจุบัน กองทัพพม่าได้เข้าควบคุมช่องเขานี้อีกครั้งหนึ่ง

15°18′6″N 98°24′7″E / 15.30167°N 98.40194°E / 15.30167; 98.40194