ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาตะพาก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
==แหล่งข้อมูลภายนอก==
==แหล่งข้อมูลภายนอก==
*[http://www.jjphoto.dk/fish_archive/warm_freshwater/hypsibarbus_wetmorei.htm]
*[http://www.jjphoto.dk/fish_archive/warm_freshwater/hypsibarbus_wetmorei.htm]
{{commonscat|Hypsibarbus wetmorei}}

[[en:Hypsibarbus wetmorei]]
[[en:Hypsibarbus wetmorei]] [[ca:Hypsibarbus wetmorei]]
[[es:Hypsibarbus wetmorei]]
[[หมวดหมู่:สกุลปลาตะพาก]]
[[หมวดหมู่:สกุลปลาตะพาก]]
[[หมวดหมู่:ปลาไทย]]
[[หมวดหมู่:ปลาไทย]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:35, 5 พฤศจิกายน 2553

ปลาตะพากเหลือง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
วงศ์ย่อย: Cyprininae - Poropunti
สกุล: Hypsibarbus
สปีชีส์: H.  wetmorei
ชื่อทวินาม
Hypsibarbus wetmorei
(Smith, 1931)
ชื่อพ้อง
  • Puntius wetmorei

ปลาตะพากเหลือง หรือ ปลาตะพากทอง (อังกฤษ: Goldenbelly Barb) เป็นปลาน้ำจืดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypsibarbus wetmorei ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ลักษณะลำตัวยาวรีและแบนข้าง มีเกล็ดขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นมันแวววาว พื้นลำตัวสีขาวเงิน แผ่นหลังสีเขียวอมน้ำตาล มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบอก ครีบท้องและครีบก้นสีเหลืองสด ปลายขอบครีบและหางสีส้ม หางเป็นเว้าแฉกลึก ครีบหลังและครีบหางสีเทาหม่น ปลาขนาดใหญ่เกล็ดใต้ท้องเป็นสีเหลืองอร่าม มีหนวดขนาดเล็ก 2 คู่ อยู่ที่ขากรรไกรบนล่าง ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่ที่สุดยาว 66 เซนติเมตร หนัก 8 กิโลกรัม อาหารกินได้หลากหลายเช่น พืชน้ำ, แมลงน้ำ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กด้วย

อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วและว่ายน้ำเคลื่อนไหวตลอดเวลา ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ระหว่างเดือนมีนาคม-ตุลาคม ไข่มีลักษณะกึ่งลอย กึ่งจม การวางไข่ครั้งหนึ่งจะมีปริมาณไข่นับเป็นแสน ๆ ฟอง และมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์หมู่

อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงแม่น้ำโขง รวมถึงลำธารน้ำตกในป่าดิบ เป็นปลาเศรษฐกิจ นิยมบริโภคโดยการปรุงสด รมควัน และต้มเค็ม และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย รับเป็นปลาในสกุลปลาตะพากที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายที่สุด จึงนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "ตะพาก"[1]

อ้างอิง

  1. หนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026

แหล่งข้อมูลภายนอก