ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดสมุทรสงคราม"

พิกัด: 13°25′N 100°00′E / 13.42°N 100°E / 13.42; 100
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 106: บรรทัด 106:
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:Filao-Réunion.JPG|[[สนทะเล]] (''Casuarina equisetifolia'') ต้นไม้ประจำจังหวัด<!--tree-->
ไฟล์:Filao-Réunion.JPG|[[สนทะเล]] (''Casuarina equisetifolia'') ต้นไม้ประจำจังหวัด<!--tree-->
ภาพ:Barringtonia asiatica flower.JPG|ดอก[[จิกทะเล]] (''Barringtonia asiatica'') [[ดอกไม้]]ประจำจังหวัด
</gallery>
</gallery>
* '''ดอกไม้ประจำจังหวัด''': ดอกจิกทะเล<!--flower-->
* '''ดอกไม้ประจำจังหวัด''': ดอกจิกทะเล<!--flower-->

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:59, 5 พฤศจิกายน 2553

จังหวัดสมุทรสงคราม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Samut Songkhram
คำขวัญ: 
เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร.2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสมุทรสงครามเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายประภาศ บุญยินดี
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2551)
พื้นที่
 • ทั้งหมด416.707 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 76
ประชากร
 (พ.ศ. 2552)
 • ทั้งหมด193,647 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 75
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 7
รหัส ISO 3166TH-75
ชื่อไทยอื่น ๆแม่กลอง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สนทะเล
 • ดอกไม้จิกทะเล
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 3471 1997
เว็บไซต์http://www.samutsongkhram.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตร ไม่มีภูเขาหรือเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย

ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย[3]

ประวัติ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทรวรวิหารหรือวัดบ้านแหลม[4] ในสมัยโบราณมีชื่อเรียกว่า วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ในตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม ซึ่งเหตุที่ว่าชื่อวัดเป็นชื่อสถานที่ในพื้นที่แห่งหนึ่งในเมืองใกล้เคียงนั้น ก็เพราะว่าในสมัย พ.ศ. 2307 พม่าได้มารุกรานประเทศไทย เข้าตีเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองมะริด เมืองเพชรบุรี โดยเข้ามาทางด่านสิงขร ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาได้ส่งพระยาพิพัฒน์โกสากับพระยาตากสินเข้ามาตั้งรับข้าศึกที่เมืองเพชรบุรี การสู้รบครั้งนั้นชาวบ้านแหลมในเมืองเพชรบุรี ต้องประสบชะตากรรมสงคราม อพยพไปอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่กลองบริเวณเหนือวัดจำปาซึ่งไม่ไกลจากทะเล อันเป็นพื้นที่สามารถประกอบอาชีพ (ประมง) จึงได้ตั้งรกรากกันในบริเวณนี้ แล้วไปมาหาสู่กันระหว่างแม่กลองกับอำเภอบ้านแหลม

มาวันหนึ่งขณะออกเรือหาปลา ชาวประมงบ้านแหลม ได้พระพุทธรูป 2 องค์ ขณะกำลังจะกลับฝั่ง ปรากฏว่ามีพายุลมแรง ชาวประมงจึงตัดสินใจนำเรือเข้าฝั่งมาทางแม่กลอง แล้วเข้ามาในแม่น้ำแม่กลองเพื่อหลบพายุ แต่เรือก็ยังโคลงเคลงอยู่จนกระทั่งมาถึงวัดศรีจำปา พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรได้ตกลงน้ำ ทำให้ชาวประมงบ้านแหลมกลุ่มนั้นต้องลงไปในแม่น้ำงมหา แต่ก็ไม่พบ จนชาวบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองได้งมหาเจอ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดศรีจำปา ความทราบถึงพี่น้องชาวบ้านแหลมที่อยู่ที่เพชรบุรีเข้า ก็ยกขบวนมาทวงพระคืน พี่น้องบ้านแหลมที่มาตั้งรกรากที่แม่กลองขอพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ที่วัดศรีจำปา โดยยินยอมที่จำเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อวัดศรีจำปาเป็น วัดบ้านแหลม เพื่อเป็นเกียรติไว้แก่คนบ้านแหลมที่เป็นผู้ได้พระพุทธรูปองค์นี้ ชาวบ้านแหลมเพชรบุรีจึงได้กลับไป พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตรขนาดเท่าคนจริง สูงประมาณ 167 เซนติเมตร ส่วนอีกองค์ (หลวงพ่อทอง) ได้ไปประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเกรา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

อาณาเขตติดต่อ

พื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 36 ตำบล 284 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล 28 องค์การบริหารส่วนตำบล

  1. อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  2. อำเภอบางคนที
  3. อำเภออัมพวา
 แผนที่

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมืองสมุทรสงคราม

  • เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กลองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันแตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางขันแตกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านปรก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านปรกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายหาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายหาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแหลมใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเขินทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองโคนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนางตะเคียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางจะเกร็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางจะเกร็งทั้งตำบล

อำเภอบางคนที

  • เทศบาลตำบลกระดังงา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลกระดังงา
  • เทศบาลตำบลบางนกแขวก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางคนทีและตำบลบางนกแขวกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางยี่รงค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางยี่รงค์ทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางกระบือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางกระบือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระดังงา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระดังงา (นอกเขตเทศบาลตำบลกระดังงา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางสะแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางสะแกและตำบลบ้านปราโมทย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโรงหีบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงหีบและตำบลบางกุ้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคนที ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคนที (นอกเขตเทศบาลตำบลบางคนที) และตำบลยายแพงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะโนรา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนมะโนราทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางพรม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางพรมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมปลวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมปลวกทั้งตำบล

อำเภออัมพวา

  • เทศบาลตำบลอัมพวา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอัมพวาทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเหมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเหมืองใหม่
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดประดู่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดประดู่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหมืองใหม่ (นอกเขตเทศบาลตำบลเหมืองใหม่)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแควอ้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแควอ้อมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลายโพงพาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลายโพงพางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางแคทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลแพรกหนามแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพรกหนามแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยี่สารทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางนางลี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางนางลี่ทั้งตำบล

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจิกทะเล
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองหอยหลอด ยอดลิ้นจี่ มีอุทยาน ร. 2 แม่กลองไหลผ่าน นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม

ทรัพยากรน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับน้ำส่วนใหญ่จากแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา การชลประทานใช้น้ำจากแหล่งน้ำในลำคลองชลประทาน 10 สาย คลองธรรมชาติกว่า 170 สาย และจากแม่น้ำท่าจีน โดยแม่น้ำท่าจีนเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรของประชากรที่อยู่อาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำ แม่น้ำลำคลองที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่

  1. แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญสายหลักของจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่จังหวัด ผ่านอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอเมืองสมุทรสาคร แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
  2. คลองมหาชัย เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอเมืองสมุทรสาคร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพมหานคร
  3. คลองพิทยาลงกรณ์ เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอเมืองสมุทรสาคร ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดสมุทรปราการ
  4. คลองสุนัขหอน เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านเริ่มจากอำเภอเมืองสมุทรสาคร ออกสู่แม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดสมุทรสงคราม
  5. คลองภาษีเจริญ เป็นคลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอกระทุ่มแบน ออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่กรุงเทพมหานคร
  6. คลองบางยาง ไหลผ่านอำเภอกระทุ่มแบน เชื่อมกับคลองดำเนินสะดวกที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร
  7. คลองดำเนินสะดวก ไหลผ่านอำเภอบ้านแพ้ว ผ่านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และผ่านอำเภอบางคนฑี จังหวัดสมุทรสงคราม

เศรษฐกิจ

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการประมง ส่วนอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตน้ำปลา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และมีโรงงานทั้งสิ้น 270 โรงงาน ทุนจดทะเบียนรวม 5,068,084,947 บาท จำนวนการจ้างงาน 7,099 คน สภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดสมุทรสงครามขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และการประมงเป็นสาขาการผลิตในภาคเกษตรที่ทำรายได้สูงสุดของจังหวัด รองลงมาก็คือ กสิกรรม และการแปรรูปสินค้าเกษตรอย่างง่าย

การคมนาคม

ทางบก

รถยนต์

มีทางหลวงแผ่นดินทั้งหมด 2 สาย ประกอบด้วย

รถไฟ

ปัจจุบันเป็นสายแม่กลอง - วงเวียนใหญ่ ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการสัญจร และขนส่งเสบียงอาหารของประชาชน การคมนาคมทางรถไฟ แบ่งเป็น 2 ตอน

  1. จากสถานีรถไฟแม่กลอง อ.เมือง - สถานีรถไฟบ้านแหลม อ.เมือง ระยะทาง 33.10 กม. แล้วลงเรือข้ามแม่น้ำท่าจีนไปขึ้นรถไฟตอนที่ 2 ที่สถานีรถไฟมหาชัย จ.สมุทรสาคร
  2. จากสถานีรถไฟมหาชัย อ.เมือง - สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ระยะทาง 33.80 กม.

ทางน้ำ

จังหวัดสมุทรสงครามมีแม่น้ำไหลผ่านทั้ง 3 อำเภอ เป็นระยะทางประมาณ 30 กม. ออกสู่ปากอ่าวแม่กลอง มีคลองเล็ก ๆ อีกประมาณ 300 คลอง การคมนาคมในจังหวัดจึงใช้เรือเป็นสำคัญ ซึ่งโดยมากได้แก่ เรือยนต์ เรือหางยาว เรือแจว และมีท่าเทียบเรืออีก 7 แห่ง การติดต่อกันระหว่างจังหวัดก็มีทางเรือ คือ

เช่น คลองแม่กลอง คลองภาษีเจริญ ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้เรือเดินทะเลขนส่งสินค้าขึ้นตามแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีเป็นประจำทุกวัน

โรงพยาบาล

อำเภอเมือง

สถานีตำรวจ

อำเภอเมือง

อนุสาวรีย์

โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ

ชาวสมุทรสงครามที่มีชื่อเสียง

สถานที่ท่องเที่ยว

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.
  3. พม. เผยภาคอีสานครองแชมป์ภาพรวมค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงสุด 0.7290 ในขณะที่ค่าดัชนีภาพรวมของประเทศ เท่ากับ 0.6924 - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  4. http://www.charoenpron.com/banleam_2.htm ประวัติวัดเพชรสมุทรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
  5. 2549, 6 กรกฎาคม). พระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 11 มกราคม 2552).

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°25′N 100°00′E / 13.42°N 100°E / 13.42; 100