ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิกน้ำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{taxobox |name = จิกน้ำ |image = Lộc vừng.jpg |image_caption = ต้นจิกน้ำที่ทะเลสาบคืนดาบที่[[...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
|binomial_authority = ([[Carolus Linnaeus|L.]]) [[Gaertn.]]
|binomial_authority = ([[Carolus Linnaeus|L.]]) [[Gaertn.]]
|}}
|}}
{{Category:Barringtonia acutangula}}
{{commons|Category:Barringtonia acutangula}}
'''จิกน้ำ''' หรือ''' จิกอินเดีย''' หรือ '''จิกนา''' หรือ '''จิกมุจรินทร์''' ({{lang-en|Indian Oak, Freshwater Mangrove}}) มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Barringtonia acutangula'' เป็น[[ไม้ยืนต้น]]อยู่ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] Lecythidaceae มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาค[[เอเชียใต้]]และ[[อัฟกานิสถาน]], [[ฟิลิปปินส์]] ไปจนถึงตอนเหนือของ[[ออสเตรเลีย]] โดยมักขึ้นใกล้ริม[[พื้นที่ชุ่มน้ำ|แหล่งน้ำ]]
'''จิกน้ำ''' หรือ''' จิกอินเดีย''' หรือ '''จิกนา''' หรือ '''จิกมุจรินทร์''' ({{lang-en|Indian Oak, Freshwater Mangrove}}) มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Barringtonia acutangula'' เป็น[[ไม้ยืนต้น]]อยู่ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] Lecythidaceae มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาค[[เอเชียใต้]]และ[[อัฟกานิสถาน]], [[ฟิลิปปินส์]] ไปจนถึงตอนเหนือของ[[ออสเตรเลีย]] โดยมักขึ้นใกล้ริม[[พื้นที่ชุ่มน้ำ|แหล่งน้ำ]]


บรรทัด 31: บรรทัด 31:
ยอดอ่อน และ ดอก ใช้[[กิน|รับประทาน]]เป็น[[ผัก]]สดและผักจิ้มกับ[[ลาบ]], [[น้ำตก (อาหาร)|นํ้าตก ]], [[แจ่ว]] และ[[ขนมจีน]] รสชาติมันปนฝาด
ยอดอ่อน และ ดอก ใช้[[กิน|รับประทาน]]เป็น[[ผัก]]สดและผักจิ้มกับ[[ลาบ]], [[น้ำตก (อาหาร)|นํ้าตก ]], [[แจ่ว]] และ[[ขนมจีน]] รสชาติมันปนฝาด


เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา นอกจากนี้แล้วเนื้อไม้ยังใช้ทำไม้อัด ทำ[[เครื่องเรือน]]และเป็น[[สมุนไพร]]แก้[[ตกขาว|ระดูขาว]] ใบแก่ใช้ต้ม[[นํ้า]]ดื่มแก้ท้องร่วง [[เมล็ด]]ใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้[[อาการไอ |ไอ]]ใน[[เด็ก]]<ref>[http://www.thairath.co.th/column/edu/paperagriculturist/124286 "จิกน้ำ" ยอดอ่อนแดงดอกเป็นระย้า จาก[[ไทยรัฐ]]</ref>
เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา นอกจากนี้แล้วเนื้อไม้ยังใช้ทำไม้อัด ทำ[[เครื่องเรือน]]และเป็น[[สมุนไพร]]แก้[[ตกขาว|ระดูขาว]] ใบแก่ใช้ต้ม[[นํ้า]]ดื่มแก้ท้องร่วง [[เมล็ด]]ใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้[[อาการไอ |ไอ]]ใน[[เด็ก]]<ref>[http://www.thairath.co.th/column/edu/paperagriculturist/124286 "จิกน้ำ" ยอดอ่อนแดงดอกเป็นระย้า จาก[[ไทยรัฐ]]]</ref>


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:58, 5 พฤศจิกายน 2553

จิกน้ำ
ต้นจิกน้ำที่ทะเลสาบคืนดาบที่กรุงฮานอย
ผลของจิกน้ำที่กัลกัตตา รัฐเบงกอลตะวันตก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Lecythidaceae
สกุล: Barringtonia
สปีชีส์: B.  acutangula
ชื่อทวินาม
Barringtonia acutangula
(L.) Gaertn.

จิกน้ำ หรือ จิกอินเดีย หรือ จิกนา หรือ จิกมุจรินทร์ (อังกฤษ: Indian Oak, Freshwater Mangrove) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barringtonia acutangula เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ Lecythidaceae มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียใต้และอัฟกานิสถาน, ฟิลิปปินส์ ไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยมักขึ้นใกล้ริมแหล่งน้ำ

ลักษณะ

เป็นไม้ประเภทผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม ปลายกิ่งลู่ลง ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาล แดงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่บริเวณปลายยอด เป็นรูปใบหอก หรือรูปไข่กลับ ปลายและโคนใบแหลม ขอบจักถี่ เวลามีดอกจะทิ้งใบเหลือเพียงใบอ่อนเป็นสีแดง สวยงามน่าชมมาก

ดอกออกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ห้อยลงเป็นระย้า ราว 30-40 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดทนอยู่จนเป็นผล กลีบดอกสั้น ปลายแยกเป็น 4 กลีบ หลุดร่วงง่าย เป็นสีแดง หรือ ชมพู เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้เป็นฝอย ๆ สีชมพู หรือ สีแดง จำนวนมาก เวลามีดอกบานพร้อมกันจะดูแลสวยงามน่ารัก โดยเฉพาะช่วงมีดอกจะทิ้งใบมีแต่ยอดอ่อนเป็นสีแดงจัด ยิ่งเพิ่มความงดงามยิ่งขึ้น

ผลลักษณะกลมยาว มีเมล็ด ดอกออกระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ในปีถัดไป

จิกน้ำมีชื่อเรียกอื่น ๆ ตามภาษาถิ่นว่า "กระโดนทุ่ง" หรือ "กระโดนนํ้า" (อีสาน-หนองคาย), "ปุยสาย" หรือ "ตอง" (ภาคเหนือ)

สรรพคุณ

ยอดอ่อน และ ดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดและผักจิ้มกับลาบ, นํ้าตก , แจ่ว และขนมจีน รสชาติมันปนฝาด

เปลือกและต้นมีสรรพคุณใช้เบื่อปลา นอกจากนี้แล้วเนื้อไม้ยังใช้ทำไม้อัด ทำเครื่องเรือนและเป็นสมุนไพรแก้ระดูขาว ใบแก่ใช้ต้มนํ้าดื่มแก้ท้องร่วง เมล็ดใช้ทำเป็นยาลมแก้อาการจุกเสียดและแก้ไอในเด็ก[1]

อ้างอิง