ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทคโนโลยีชีวภาพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sh:Biotehnologija
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: be-x-old:Біятэхналёгія
บรรทัด 26: บรรทัด 26:
[[bat-smg:Bioteknuoluogėjė]]
[[bat-smg:Bioteknuoluogėjė]]
[[be:Біятэхналогія]]
[[be:Біятэхналогія]]
[[be-x-old:Біятэхналёгія]]
[[bg:Биотехнология]]
[[bg:Биотехнология]]
[[bn:জৈবপ্রযুক্তি]]
[[bn:জৈবপ্রযুক্তি]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:26, 3 พฤศจิกายน 2553

โครงสร้างของอินซูลิน

เทคโนโลยีชีวภาพ (อังกฤษ: Biotechnology) คือ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้สิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ หรือโปรตีนชนิดต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษยชาติ

ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอาจก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ส่งผลให้เกิดกระบวนการสร้าง กระบวนการทำลาย หรือการก่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เป็นผลมาจากการทำงานของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วยพันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจึงต้องอาศัยความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรมของสารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยีการหมัก (Fermentation Technology) และ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ คือ เทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant Technology) หรือ พันธุวิศวกรรม (genetic engineering) [1]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, BIOTECHNOLOGY เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับโลกยุคใหม่ (2550) , สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์