ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนักบวชคาทอลิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''คณะนักบวชคาทอลิก''' ({{lang-en|Catholic religious order}}) คือองค์กรของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้[[คริสตจักร|พระศาสนจักร]][[โรมันคาทอลิก]]อย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็น'''คณะนักบวช''' ('''Order''' หรือ '''Society''' หรือ '''Congregation''') โดยคณะนักบวชแต่ละคณะจะมีแนวทางการทำงาน และเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป
'''คณะนักบวชคาทอลิก''' ({{lang-en|Catholic religious order}}) คือองค์กรของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้[[คริสตจักร|พระศาสนจักร]][[โรมันคาทอลิก]]อย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็น'''คณะนักบวช''' ('''Order''' หรือ '''Society''' หรือ '''Congregation''') โดยคณะนักบวชแต่ละคณะจะมีแนวทางการทำงาน และเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป

นอกจากจะเรียกว่าคณะนักบวชแล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังบัญญัติให้เรียกว่า '''คณะนักพรต'''และ'''คณะนักบวชถือพรต''' ได้ โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน
<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2</ref>


==การเข้าคณะนักบวช==
==การเข้าคณะนักบวช==
ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'', ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 421-2</ref> คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วผู้สมัครยังต้องปฏิญาณข้ออื่นๆ อีกตามแต่ละคณะจะกำหนดไว้ และยังต้องรักษา'''วินัยประจำคณะ''' (Religious rule) ซึ่งจะแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน วินัยเหล่านี้เป็นที่อนุมัติของสำนักวาติกัน
ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/> คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วผู้สมัครยังต้องปฏิญาณข้ออื่นๆ อีกตามแต่ละคณะจะกำหนดไว้ และยังต้องรักษา'''วินัยประจำคณะ''' (Religious rule) ซึ่งจะแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน วินัยเหล่านี้เป็นที่อนุมัติของสำนักวาติกัน
เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะ'''โปสตูลันต์''' (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็น'''โนวิซ''' (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง คร้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>
เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะ'''โปสตูลันต์''' (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็น'''โนวิซ''' (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง คร้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ<ref name="พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน"/>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:33, 31 ตุลาคม 2553

คณะนักบวชคาทอลิก (อังกฤษ: Catholic religious order) คือองค์กรของชาวคาทอลิกที่สละชีวิตทางโลกมาถือบวชตลอดชีวิต เพื่ออุทิศตนทำงานรับใช้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกอย่างเดียว และอยู่รวมกันเป็นคณะนักบวช (Order หรือ Society หรือ Congregation) โดยคณะนักบวชแต่ละคณะจะมีแนวทางการทำงาน และเน้นวัตรปฏิบัติแตกต่างกันไป

นอกจากจะเรียกว่าคณะนักบวชแล้ว ราชบัณฑิตยสถานยังบัญญัติให้เรียกว่า คณะนักพรตและคณะนักบวชถือพรต ได้ โดยถือว่ามีความหมายเดียวกัน [1]

การเข้าคณะนักบวช

ชายหรือหญิงที่ปรารถนาจะเข้าเป็นนักบวชไม่ว่าสังกัดในคณะใด ต้องติดต่อกับคณะนั้น โดยทั่วไปนักบวชจะต้องปฏิญาณตน 3 ข้อเป็นพื้นฐาน[1] คือ 1. เชื่อฟังผู้บังคับบัญชา (คืออธิการคณะ) 2. ถือโสดตลอดชีวิต 3. ไม่ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ นอกจาก 3 ข้อนี้แล้วผู้สมัครยังต้องปฏิญาณข้ออื่นๆ อีกตามแต่ละคณะจะกำหนดไว้ และยังต้องรักษาวินัยประจำคณะ (Religious rule) ซึ่งจะแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน วินัยเหล่านี้เป็นที่อนุมัติของสำนักวาติกัน เมื่อตัดสินใจเข้าคณะ ผู้สมัครจะต้องรับการอบรมในฐานะโปสตูลันต์ (Postulant) เพื่อฝึกการปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา 6 เดือน และเป็นโนวิซ (Novice) อีกอย่างน้อย 2 ปี เมื่อครบแล้วจึงขอปฏิญาณตนเป็นสมาชิกของคณะ การปฏิญาณจะทำ 2 ครั้ง คร้งแรกเป็นการปฏิญาณเพื่อถวายตัวชั่วคราว ซึ่งจะกินเวลา 1-3 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วผู้สมัครมั่นใจและมีความพร้อมจะเป็นนักบวชได้ตลอดชีพก็จะทำการปฏิญาณตนอีกครั้งเพื่อถวายตัวตลอดชีพ[1]

เมื่อเป็นนักบวชในคณะโดยสมบูรณ์แล้ว นักบวชจะต้องปฏิบัติศาสนกิจในสังกัดคณะตลอด เว้นแต่จะละเมิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกขับออกจากคณะ ส่วนคณะก็ต้องรับผิดชอบความเป็นอยู่ขอปงนักบวชในทุกด้าน ทั้งที่พักอาศัย (ซึ่งนักบวชจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในอาราม หรือบ้านพักของคณะ) ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น[1]

ความแตกต่างระหว่างบาทหลวงกับนักบวช

บาทหลวง (priest) และนักบวช (religious) มีลักษณะแตกต่างกัน บาทหลวงคือชายที่ได้รับศีลอนุกรม (Holy order) ถึงขึ้นที่ 7 ซึ่งเรียกว่าศีลสถาปนา (ordination) ทำให้มีสถานะเป็นบาทหลวง มีอำนาจสามารถโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) ต่างๆ ได้ตามที่พระศาสนจักรกำหนดไว้ เช่น ศีลล้างบาป ศีลกำลัง ศีลอภับาป เป็นต้น บาทหลวงจะถูกเรียกว่า “คุณพ่อ” แต่นักบวชมีสถานะโดยเบื้องต้นแค่ผู้ถือพรต ไม่สามารถโปรดศีลได้ ชาวคาทอลิกจะเรียกนักบวชชายว่า “บราเดอร์” (Brother) และนักบวชหญิงว่า “ซิสเตอร์” (Sister) อย่างไรก็ตามนักบวชชายบางคนในบางคณะอาจขอรับศีลบวชเป็นบาทหลวงได้ ซึ่งจะทำให้บุคคลนั้นมีสถานะเป็นทั้งนักบวชและบาทหลวง (เรียกว่า Regular priest)[2] สามารถประกอบพิธีอย่างบาทหลวงที่ไม่ได้สังกัดคณะนักบวช (Secular priest) ได้ทุกประการ ต่างแต่เพียงบาทหลวงที่ไม่ได้เป็นนักบวชจะต้องทำงานให้เขตมิสซังตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ส่วนนักบวชแม่ว่าเป็นบาทหลวงแล้วก็ยังต้องสังกัดคณะนักบวชต่อไป

คณะนักบวชคาทอลิกในประเทศไทย

นับตั้งแต่มีการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ก็ได้มีคณะนักบวชคาทอลิกจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาทำงานมากมาย จนต่อมามีการตั้งคณะนักบวชคาทอลิกท้องถิ่นขึ้นและยังทำงานรับใช้พระศาสนจักรในประเทศไทยมาจนปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 163, 421-2
  2. กีรติ บุญเจือ, แก่นปรัชญายุคกลาง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550