ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาตูโรโย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ru:Туройо
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ar:لهجة طورية, arc:ܛܘܪܝܐ
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
[[หมวดหมู่:ภาษาในทวีปยุโรป|ตูโรโย]]
[[หมวดหมู่:ภาษาในทวีปยุโรป|ตูโรโย]]


[[ar:لهجة طورية]]
[[arc:ܛܘܪܝܐ]]
[[br:Touroyoeg]]
[[br:Touroyoeg]]
[[de:Turoyo]]
[[de:Turoyo]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:05, 14 ตุลาคม 2553

ภาษาตูโรโย
ܛܘܪܝܐ Ṭuroyo, ܨܘܪܝܬ Ṣurayt, ܣܘܪܝܝܐ Sëryoyo
ออกเสียง/tˤurˈɔjɔ/, /sˤuˈrajt/, /sərˈjɔjɔ/
ประเทศที่มีการพูดตุรกี, ซีเรีย; มีในอาร์เจนตินา, ออสเตรเลีย, เบลเยียม, บราซิล, แคนาดา, เยอรมัน, อิรัก, เลบานอน, เนเธอร์แลนด์, สวีเดน, สหรัฐอเมริกา ด้วย
ภูมิภาคจังหวัดมาร์ดิน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี; Al Hasakah และ Qamishli ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ซีเรีย
จำนวนผู้พูดประมาณ 300,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีเรียค (Serto variant) , อักษรละติน ใช้ในสวีเดน
รหัสภาษา
ISO 639-2syr
ISO 639-3tru

ภาษาตูโรโย เป็นภาษาซีเรียคใหม่หรือภาษาอราเมอิกใหม่ ใช้พูดในตุรกีตะวันออกและซีเรียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายซีเรียคออร์ธอดอกซ์ คำว่าตูโร ( ṭuro) , หมายถึงภูเขา ตูโรโย (Ṭuroyo) จึงหมายถึงสำเนียงภูเขาทงตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ชื่อเก่าของภาษานี้คือซูรายต์ (Ṣurayt) ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับคำว่าซีเรียค ผู้พูดภาษานี้ใช้ภาษาซีเรียคคลาสสิกเป็นภาษาทางศาสนาและวรรณคดี และมีความพยายามที่จะนำกลับมาใช้เป็นภาษาพูด ไม่มีการใช้ภาษาตูโรโยเป็นภาษาเขียนแต่เขียนด้วยภาษาซีเรียคคลาสสิกแทน

ระบบการเขียน

ในพ.ศ. 2423 มิชชันนารีชาวตะวันตกพยายามเขียนภาษาตูโรโยด้วยอักษรซีเรียคแบบเซอร์โต ด้วยความยุ่งยากในบริเวณบ้านเกิด ผู้พูดภาษาตูโรโยได้อพยพออกไปทั่วโลก ทั้งไปซีเรีย เลบานอน สวีเดนและเยอรมัน ชุมชนผู้พูดภาษานี้ในสวีเดนได้มีการพัฒนาสื่อการสอนด้วยภาษาตูโรโย Yusuf Ishaq พัฒนาระบบการเขียนภาษาตูโรโยด้วย[[อักษรละติน] และเรียกการเขียนแบบนี้ว่า Toxu Qorena! (มาอ่านเถอะ!) และมีการสร้างพจนานุกรมภาษาสวีเดน-ตูโรโยด้วยอักษรนี้

คำศัพท์และระบบเสียง

ภาษาตูโรโยมีคำยืมจากภาษาอาหรับ ภาษาเคิร์ดและภาษาตุรกีมาก ผู้พูดภาษานี้พูดภาษาอื่นได้ด้วย โรงเรียนในโบสถ์ในซีเรียและเลบานอนสอนภาษาซีเรียคคลาสสิกแทนภาษาตูโรโย และมักแทนที่คำที่ไม่ได้มาจากภาษาซ๊เรียคด้วยคำภาษาซีเรียค โบสถ์บางแห่งพยายามพัฒนาการเขียนภาษตูโรโยด้วยวิธีเดียวกับที่เขียนภาษาซีเรียค

ระบบเสียงของภาษาตูโรโยใกล้เคียงกับภาษาซีเรียคคลาสสิก ระบบคำกริยาใกล้เคียงกับภาษาอราเมอิกใหม่ มีการพัฒนาคำสรรพนามชี้เฉพาะมากกว่าภาษาอราเมอิก มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ เช่น u-malko (the king) i-malëkṯo (the queen)

อ้างอิง

  • Heinrichs, Wolfhart (ed.) (1990). Studies in Neo-Aramaic. Scholars Press: Atlanta, Georgia. ISBN 1-55540-430-8.
  • Jastrow, Otto (1985). Laut- und Formenlehre des neuaramäischen Dialekts von Mīdin im Ṭur cAbdīn. Otto Harrowitz Verlag: Wiesbaden.
  • Jastrow, Otto (1992). Lehrbuch der Ṭuroyo-Sprache. Otto Harrowitz Verlag: Wiesbaden. ISBN 3-447-03213-8.
  • Tezel, Aziz (2003). Comparative Etymological Studies in the Western Neo-Syriac (Ṭūrōyo) Lexicon: with secial reference to homonyms, related words and borrowings with cultural signification. Uppsala Universitet. ISBN 91-554-5555-7.