ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาอิหร่าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
ภาษากลุ่มอิหร่าน ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มภาษาอิหร่าน: move page due to title policy
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: sl:Iranski jeziki
บรรทัด 958: บรรทัด 958:
[[sh:Ирански језици]]
[[sh:Ирански језици]]
[[sk:Iránske jazyky]]
[[sk:Iránske jazyky]]
[[sl:Iranski jeziki]]
[[sr:Ирански језици]]
[[sr:Ирански језици]]
[[sv:Iranska språk]]
[[sv:Iranska språk]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:38, 8 ตุลาคม 2553

ไฟล์:Moderniranianlanguagesmap.jpg
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดกลุ่มภาษาอิหร่าน: ภาษาเปอร์เซีย (เขียว) ภาษาพาซตู (ม่วง) และภาษาเคิร์ด(ฟ้า), ภาษาลูริส (magenta), ภาษาบาโลชิ (เหลือง)และกลุ่มอื่นๆที่เล็กกว่า

กลุ่มภาษาอิหร่านเป็นสาขาย่อยของกลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร กลุ่มภาษานี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน)

ชื่อ

ชื่อของกลุ่มภาษาอิหร่านมาจากการที่ผู้พูดกลุ่มภาษานี้เคยอยู่ในที่ราบอิหร่านมาตั้งแต่อดีตกาล

ตารางเปรียบเทียบ

ภาษาอังกฤษ ภาษาซาซากิ ภาษาเคิร์ด ภาษาพาซตู ภาษาบาโลชิ ภาษามาซันดารานี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียกลาง ภาษาพาร์เทียน ภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาอเวสตะ
beautiful rind rind/delal/cûwan ʂkulai/xkulai, ʂɑjista/xɑjista sharr, soherâ ṣəmxâl/ Xəş-nəmâ zibâ/ xuš-chehreh hučihr, hužihr hužihr naiba vahu-, srîra
blood goyni xwîn wina hon xun xūn xōn xōn vohuni
bread nan nan ɖoɖəi, nəɣɑn nân, nagan nûn nân nân nân
bring ardene anîn/hênan, awirdin/hawirdin rɑ wɺ̡əl âurten, yārag, ārag biyârden âvardan/biyar âwurdan, āwāy-, āwar-, bar- āwāy-, āwar-, bar- bara- bara, bar-
brother bıra bira wror brāt, brās birâr barādar brād, brâdar brād, brādar brâtar brâtar-
come amayene hatin rɑ tləl āhag, āyag Biyamona, enen âmadan âmadan, awar awar, čām ây-, âgam âgam-
cry berbayene girîn ʒaɺ̡əl greewag, greeten bərmə/ qâ geristan/geryeh griy-, bram-
dark tari tarî tjɑrə thár siyo târîk târīg/k târīg, târēn sâmahe, sâma
daughter/girl çena keç/kîj/kenîşk/dot lur dohtir, duttag kijâ/ dether doxtar duxtar duxt, duxtar duxδar
day roce/roje/roze roj wradz roç rezh rûz rōz raucah-
do kerdene kirin/kirdin kawəl kanag, kurtin hâkerden kardan kardan kartan kạrta- kәrәta-
door çeber derge/derî war, daɺ̡a gelo, darwāzag bəli dar dar dar, bar duvara- dvara-
die merdene mirin/mirdin mrəl mireg mərnen murdan murdan mạriya- mar-
donkey her ker xar her xar xar xar
egg hak hêk/hêlik hagəi heyg, heyk merqâna toxm toxmag, xâyag taoxmag, xâyag taoxma-
earth êrd (uncertain origin) herd/erd (uncertain origin) zməka zemin zemi zamin zamīg zamīg zam- zãm, zam, zem
evening shan êvar/êware mɑʂɑm/mɑxɑm begáh nəmâşun begáh sarshab êbêrag
eye çım çav/çaw stərga ch.hem, chem bəj, Çəş chashm chašm chašm čaša- čašman-
father pi bav/bawk/piya plɑr pit, piss piyer pedar pidar pid pitar pitar
fear ters tirs vera, tars turs, terseg təşəpaş tars tars tars tạrsa- tares-
fiancé washte dezgîran numzɑd nām zād xasgar nâm-zad - -
fine weş xweş/baş ʂa/xa wash, hosh xaar xosh dârmag srîra
finger gisht til/qamik/engust gwəta lenkutk, mordâneg angoos angošt angust dišti-
fire adır agir/atir wor âch, âs tesh âtaš, âzar âdur, âtaxsh ādur âç- âtre-/aêsma-
fish mase masî kab mâhi, mâhig mahi mâhi mâhig mâsyâg masyô, masya
food / eat werdene xwarin/xwardin xoɺ̡ə / xwaɺ̡əl warag, warâk Xərak/ xəynen Gaza / xordan parwarz / xwâr, xwardīg parwarz / xwâr hareθra / ad-, at-
go şiyayene çûn/çiyin tləl jwzzegh, shutin shunen / burden raftan raftan, shudan ay- ai- ay-, fra-vaz
god heq xwedê/xwa xwdai hwdâ homa, xəda khodâ bay, abragar baga- baya-
good rınd baş, çak, rind ʂə/xə jawáin, šarr xâr xub / nîuū xūb, nêkog vahu- vohu, vaŋhu-
grass vash giya, riwek, şênkatî wɑʂə/wɑxə rem, sabzag sabzeh, giyâh giyâ dâlūg urvarâ
great gırs / pil gir, mezin, gewre loj, ɣwara mastar, mazan gat, belang, pila bozorg wuzurg, pīl vazraka- uta-, avañt
hand dest dest lɑs dast dess dast dast dast dasta- zasta-
head ser ser, kep sar, kakaɺ̡ai saghar kalə sar, kalleh sar
heart zerre dil zɺ̡ə dil, hatyr dil del dil dil aηhuš
horse estor hesp/esp ɑs asp istar asp, astar asp, stōr asp, stōr aspa aspa-
house keye mal, hoz, xanu kor, xuna log, dawâr səre xâneh xânag demâna-, nmâna-
hunger vêşan birçîtî/wirsêtî lwəʐa/lwəga shudhagh veyshna gorosnegi gursag, shuy
language (also tongue) zıwan / zon ziwan/ziman ʒəba zevân, zobân ziwân zabân zuwân izβân hazâna- hizvâ-
laugh huyayene kenîn xandəl khendegh, hendeg xandidan xandīdan karta Syaoθnâvareza-
life jewiyaene jiyan/jîn ʒwandun zendegih, zind zendegi zīndagīh, zīwišnīh žīwahr, žīw- gaêm, gaya-
man merd mêr, piyaw saɺ̡ai, meɺ̡ə merd merd mard mard mard martiya- mašîm, mašya
moon ashmê heyv/mang spoʐmai/spogmai, mjɑʃt máh mithra mâh māh māh mâh- måŋha-
mother maye dayik, mak mor mât, mâs mâr mâdar mādar mādar mâtar mâtar-
mouth fek dev/dem xwlə dap dahân dahân, rumb åŋhânô, âh, åñh
name name naw num nâm num nâm nâm nâman nãman
night şewe shew, shewn, nutek ʃpa šap, shaw sheow shab shab xšap- xšap-
open akerdene vekirin prɑnistəl, xlɑsawəl pabožagh, paç vâ-hekârden bâz-kardan abâz-kardan būxtaka- būxta-
peace kotpy aştî roɣa ârâm âshti, ârâmeš, ârâmî âštih, râmīšn râm, râmīšn šiyâti- râma-
pig xoz beraz xug, seɖar khug xi xūk xūk varâza (wild pig)
place ja cih/şûn dzaj hend, jâgah jâh/gâh gâh gâh gâθu- gâtu-, gâtav-
read wendene xwendin lwastəl wánagh baxinden xândan xwândan
say vatene gotin/wutin wajəl gushagh baotena goftan, gap(-zadan) guftan, gōw-, wâxtan gōw- gaub- mrû-
sister wae xweşk xor gwhâr xâxer xâhar/xwâhar xwahar
small qıc piçûk kutʃnai, waɺ̡ukai, kam gwand, hurd pətik, bechuk, perushk kuchak, kam, xurd, rîz kam, rangas kam kamna- kamna-
son qıj kur zoj baç, phusagh pisser pesar, pûr, baça pur, pusar puhr puça pūθra-
soul gan giyan arwɑ rawân ravân rūwân, gyân rūwân, gyân urvan-
spring usar bihar psarlai bhârgâh wehâr bahâr wahâr vâhara- θūravâhara-
tall berz bilind/berz lwaɺ̡, dʒəg bwrz, buland boland / bârez buland, borz bârež barez-
three hire dre sey se se hrē çi- θri-
village dewe gund, dê kəlai helk, kallag, dê deh deh, wis wiž dahyu- vîs-, dahyu-
want waştene xwestin/wîstin ɣuʂtəl/ɣuxtəl lotagh bexanen xâstan xwâstan
water owe aw obə âp ab âb/aw âb âb âpi avô-
when key kengê/key kəla ked kay kay ka čim-
wind va ba bɑd gwáth bâd wâd vâta-
wolf verg gur/gurg lewə, ʃarmuʂ/ʃarmux gurkh varg gorg gurg varka- vehrka
woman ceniye jin/afret ʂədza/xədza jan zhənya zan zan žan hâīrīšī-, nâirikâ-
year serre sal kɑl sâl sâl sâl θard ýâre, sarәd
yes / no ya / né erê (bale) (a) / na ho (wo) / na, ja ere / na baleh (âre) / na hâ / ney hâ / ney yâ / nay, mâ yâ / noit, mâ
yesterday vizêri duh/dwênê parun direz diruz dêrûž
ภาษาอังกฤษ ภาษาซาซากิ ภาษาเคิร์ด ภาษาพาซตู ภาษาบาโลชิ ภาษามาซันดารานี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเปอร์เซียกลาง ภาษาพาร์เทียน ภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาอเวสตะ

ประวัติ

ภาษายุคเริ่มแรก

กลุ่มภาษาอินโด-อิหร่านมีจุดเริ่มต้นในเอเชียกลาง แต่ทฤษฎียังมีช่องว่างอีกมาก กลุ่มภาษาอิหร่านนี้เป็นลูกหลานของภาษาอินโด-อิหร่านดั้งเดิม ซึ่งภาษานี้แตกออกเป็น

ภาษาอิหร่านดั้งเดิมมีอายุย้อนหลังไปถึงหลังจากการแยกตัวของภาษาอินโด-อิหร่านดั้งเดิมหรือราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นช่วงที่ภาษาอิหร่านแยกตัวออกมาและพัฒนาตามชนเผ่าอิหร่านกลุ่มต่างๆที่อพยพไปมาระหว่างยุโรป เอเชียใต้ ที่ราบอิหร่านและเอเชียกลาง ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาอิหร่านโบราณแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

  • กลุ่มตะวันออก ได้แก่ภาษาซอกเดีย ภาษาคาวาเรสเมีย ภาษาซากา และภาษาอเวสตะ
  • กลุ่มตะวันตก แบ่งเป็น
    • กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย
    • กลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ภาษามีเดีย ภาษาพาร์เทีย และภาษาเคิร์ด

ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาเปอร์เซียโบราณมีระบบการเขียนเป็นอักษรรูปลิ่ม

กลุ่มภาษาอิหร่านยุคกลาง

ยุคกลางในอิหร่านเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 143 - 1443 ภาษาในยุคนี้แบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเช่นกัน เริ่มใช้ตัวเขียนที่มาจากอักษรอราเมอิก ภาษาเปอร์เซียกลางเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิซัสซาเนียน เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 843 - 1543 ภาษาเปอร์เซียกลางและภาษาพาร์เทียเป็นภาษาในยุคมานิเชียนด้วย ซึ่งมีข้อความหลงเหลือในภาษานอกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ภาษาละตินถึงภาษาจีน

กลุ่มภาษาอิหร่านยุคใหม่

หลังจากที่จักรวรรดิเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลาม สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

นักวิชาการในยุคกลางของอิหร่านใช้คำว่า "ดารี" หมายถึงจังหวัดทางตะวันออกของโดราสถาน "ปะห์ลาวี" หมายถึงสำเนียงทางตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างอัสฟาฮานกับอาเซอร์ไบจาน และ "ปาร์ซี" หมายถึงสำเนียงของฟาร์และยังมีสำเนียงที่ไม่เป็นทางการ เช่น สำเนียงคูซีซึ่งเกี่ยวข้องกับจังหวัดคูเซสถานทางตะวันตก

การเข้ามาของศาสนาอิสลามทำให้นำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาเปอร์เซีย ภาษาพาซตูและภาษาบาโลชิ โดยเพิ่มอักษรพิเศษบางตัว ในขณะที่ค่อยๆเลิกใช้อักษรเปอร์เซียกลางไป ภาษาทาจิกเป็นภาษาแรกที่เริ่มเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2463 เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิกในอีก 10 ปีต่อมา

บริเวณที่มีผู้พูดกลุ่มภาษาอิหร่านล้อมรอบไปด้วยผุ้พูดภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม ทางตะวันตกเป็นภาษาอาหรับ ส่วนกลุ่มภาษาเตอร์กิกแพร่หลายในเอเชียกลางแทนที่กลุ่มภาษาอิหร่านที่เคยใช้ในบริเวณนั้น เช่น ภาษาซอกเดีย และภาษาแบกเทรีย โดยภาษาซอกเดียบางสำเนียงยังเหลืออยู่ในหุบเขาซาราฟสถาน และภาษาซากาในซินเจียงทางตอนใต้ รวมทั้งภาษาออสเซติกที่ยังเหลืออยู่ในเทือกเขาคอเคซัส มีผู้พูดกลุ่มภาษาอิหร่านเล็กน้อยในเทือกเขาปาร์มี ผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอาเซอร์ไบจานถูกแทนที่ด้วยกลุ่มภาษาเตอร์กิกแล้วเช่นกัน

การจัดจำแนก

แผนผังการจัดจำแนกในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน

กลุ่มภาษาอิหร่านแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันออกและกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตก มีทั้งหมดราว 84 ภาษา ภาษาที่มีผู้ใช้มากในปัจจุบันคือภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซีย และภาษาบาโลชิในกลุ่มตะวันตก และภาษาพาซตูในกลุ่มตะวันออก ในปัจจุบันมีการประดิษบ์กลุ่มภาษาอิหร่านขึ้นมาคือภาษาบาราเรยเป็นภาษาในนิยายและใกล้เคียงกับสำเนียงลูรี แต่ก็มีลักษณะของสำเนียงเกอร์มันซาฮานรวมอยู่ด้วย

ดูเพิ่ม

  • Schmitt, Rüdiger (ed.) (1989). Compendium Linguarum Iranicarum. Wiesbaden: Reichert. ISBN 3-88226-413-6. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Sims-Williams, Nicholas (1996). "Iranian languages". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda. pp. 238–245.
  • Yarshater, Ehsan (ed.) (1996). "Iran". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda. {{cite encyclopedia}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Frye, Richard N. (1996). "Peoples of Iran". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda.
  • Windfuhr, Gernot L. (1995). "Cases in Iranian languages and dialects". Encyclopedia Iranica. Vol. 5. Costa Mesa: Mazda. pp. 25–37.
  • Lazard, Gilbert (1996). "Dari". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda.
  • Henning, Walter B. (1954). "The Ancient language of Azarbaijan". Transactions of the Philological Society. 53: 157. doi:10.1111/j.1467-968X.1954.tb00282.x.
  • Rezakhani, Khodadad (2001). "The Iranian Language Family".
  • SKJÆRVØ, Prods Oktor (2006). "Iran, vi. Iranian languages and scripts". Encyclopaedia Iranica. Vol. 13.

แหล่งข้อมูลอื่น