ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส้มตำ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Takeaway (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น}}
{{ความหมายอื่น}}
[[ไฟล์:Somtam from food kiosk.jpg|thumb|250px|ส้มตำ]]
[[ไฟล์:Som tam thai.JPG|thumb|250px|ส้มตำ]]
'''ส้มตำ''' เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจาก[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] ของไทยและ [[ประเทศลาว]] ส่วนมากจะทำโดยนำ[[มะละกอ]]ดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำใน[[ครก]]กับ [[มะเขือเทศ]]ลูกเล็ก [[ถั่วลิสง]]คั่ว [[กุ้งแห้ง]] [[พริก]] และ[[กระเทียม]] ปรุงรสด้วย[[น้ำตาลปี๊บ]] [[น้ำปลา]] [[ปูดอง]]หรือ[[ปลาร้า]] ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับ[[ข้าวเหนียว]]และ[[ไก่ย่าง]] โดยมีผักสด เช่น [[กะหล่ำปลี]] หรือ[[ถั่วฝักยาว]] เป็นเครื่องเคียง
'''ส้มตำ''' เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจาก[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] ของไทยและ [[ประเทศลาว]] ส่วนมากจะทำโดยนำ[[มะละกอ]]ดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำใน[[ครก]]กับ [[มะเขือเทศ]]ลูกเล็ก [[ถั่วลิสง]]คั่ว [[กุ้งแห้ง]] [[พริก]] และ[[กระเทียม]] ปรุงรสด้วย[[น้ำตาลปี๊บ]] [[น้ำปลา]] [[ปูดอง]]หรือ[[ปลาร้า]] ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับ[[ข้าวเหนียว]]และ[[ไก่ย่าง]] โดยมีผักสด เช่น [[กะหล่ำปลี]] หรือ[[ถั่วฝักยาว]] เป็นเครื่องเคียง



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:10, 29 กันยายน 2553

ส้มตำ

ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กะหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง

ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุปหน่อไม้ ลาบ ก้อย น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น

ประวัติ

หน้า 171 ในหนังสือของ เดอ ลา ลูแบร์ กล่าวถึงมะละกอ

ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้

มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและถูกนำเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยชาวสเปนและโปรตุเกส ในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่พริกอาจถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวฮอลันดาในช่วงเวลาต่อมา

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างได้พรรณาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว[1] และได้กล่าวถึง กระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มี กะหล่ำปลี และ ชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย อย่างไรก็ตามไม่มีการกล่าวถึง มะเขือเทศ และ พริกสด แต่อย่างใด

ในปัจจุบัน ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นอาหารไทยที่ขึ้นหน้าขึ้นตาต่อชาวโลกอีกด้วย

ส่วนประกอบส้มตำ

ส่วนประกอบหลักของส้มตำส่วนมากมีดังต่อไปนี้

  • มะละกอดิบ 1 ลูก
  • กระเทียม 5-6 กลีบ
  • พริกขี้หนู 5-6 เม็ด
  • มะเขือเทศผ่าครึ่ง 2 ลูก
  • ถั่วลิสงคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วฝักยาวหั่น 1 ฝัก
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 1/4 ถ้วย
  • น้ำตาลปีป 1 ช้อนโต๊ะ

นำมาตำรวมกันหรือคลุกรวมกันจนเป็นส้มตำ หากรสชาติยังไม่ถูกปากสามารถเพิ่ม น้ำมะนาว น้ำตาลปี น้ำปลา ตามชอบ

การดัดแปลง

เป็นการประยุกต์จากส้มตำปกติมาเป็นส้มตำในแบบของท้องถิ่นหรือตามชอบ

  • ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
  • ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
  • ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำซั่ว ใส่ทั้งเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำป่า ใส่ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากรอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน
  • ตำโคราช ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำปลาร้า คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า
  • ส้มตำไข่เค็ม ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด
  • นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง," กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย," แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง," ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว," และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
  • นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง

การปรับปรุงส้มตำ

ในปัจจุบันมีการนำส้มตำไปเเป็นอาหารหลากหลายโดยยังคงส่วนประกอบหลักแต่เปลี่ยนแปลงหน้าตาเช่น นำมะละกอไปทอด หรือผักอื่นไปทอดแล้วนำมาทำเป็นส้มตำโดนราดน้ำยำแบบส่มตำพร้อมผักจนกลายเป็น อาหารชนิดใหม่ขึ้นมา หรือนำส้มตำไปใช้ราดแทนน้ำยำตามปกติ แต่ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบใดก็ตามหากยังคงรสขาติและวัตถุดิบในการทำก็ยังคงมีการใช้คำว่าส้มตำอยู่เสมอ

ในสื่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์ เพลงส้มตำ ขึ้นโดยมีการใส่ท่วงทำนองในรูปแบบเพลงลูกทุ่ง และ ขับร้องโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่านจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ในปี พ.ศ. 2533 เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึง ส้มตำ ในเพลงชื่อ ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก ในอัลบั้มชุด เจาะเวลา... ซึ่งเป็นอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม คำว่า ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก นี้เป็นที่รับรู้กันในสังคมว่าหมายถึงส้มตำ แต่มิใช่เป็นคำเรียกส้มตำในภาษาอังกฤษอย่างที่หลายคนเข้าใจ

ในปี พ.ศ. 2551 มีภาพยนตร์เรื่อง ส้มตำ นำแสดงโดย นาธาน โจนส์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับฝรั่งที่เมื่อกินส้มตำแล้วจะควบคุมตัวเองไม่ได้[2]

อ้างอิง

  1. Gervaise 1688, la Loubere 1693.
  2. หนังส้มตำ