ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลนครเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
Takeaway (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 [[ตารางกิโลเมตร]]โดยครอบคลุมพื้นที่ 14 [[ตำบล]]ของ[[อำเภอเมืองเชียงใหม่]] ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ [[ตำบลสุเทพ]] [[ตำบลป่าแดด (จังหวัดเชียงใหม่)|ตำบลป่าแดด]] ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และ[[ตำบลช้างเผือก (จังหวัดเชียงใหม่)|ตำบลช้างเผือก]]
นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 [[ตารางกิโลเมตร]]โดยครอบคลุมพื้นที่ 14 [[ตำบล]]ของ[[อำเภอเมืองเชียงใหม่]] ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ [[ตำบลสุเทพ]] [[ตำบลป่าแดด (จังหวัดเชียงใหม่)|ตำบลป่าแดด]] ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และ[[ตำบลช้างเผือก (จังหวัดเชียงใหม่)|ตำบลช้างเผือก]]


{{wide image|Chiang mai pano 2010 0128.jpg|1545px|ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553}}
{{wide image|Pano CM 2010 0928a3-1.jpg|1545px|ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553}}


== สภาพทั่วไปของเทศบาลนครเชียงใหม่ ==
== สภาพทั่วไปของเทศบาลนครเชียงใหม่ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:59, 28 กันยายน 2553

เทศบาลนครเชียงใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Chiang Mai City
คำขวัญ: 
เชียงใหม่เมืองน่าอยู่ เฟื่องฟูวัฒนธรรม นำด้วยธรรมาภิบาล บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชน[1]
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายทัศนัย บูรณุปกรณ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.216 ตร.กม. (15.527 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2551)
 • ทั้งหมด165,394 คน
 • ความหนาแน่น3,963 คน/ตร.กม. (10,260 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่
เลขที่ 1 ถนนวังสิงห์คำ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์0 5325 9000
เว็บไซต์http://www.cmcity.go.th/ http://www.cmcity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ไฟล์:Chiang Mai2.jpg
ถนนในตัวเมืองเชียงใหม่ ด้านขวาเป็นกำแพงเมืองเก่า
ภาพตัวเมืองเชียงใหม่เมื่อมองจากดอยสุเทพ
ไฟล์:Chiang Mai night skyline.JPG
วิวทิวทัศน์ตัวเมืองเชียงใหม่ยามค่ำคืน มองลงมาจากดอยสุเทพ

เทศบาลนครเชียงใหม่ หรือ เขตนครเชียงใหม่ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ เป็นเอกนครที่เจริญที่สุดและมีความสำคัญมากที่สุดในภาคเหนือ และเป็นเมืองใหญ่ อันดับสองของประเทศไทย รองจาก กรุงเทพมหานครเท่านั้น ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพิกัดภูมิศาสตร์ 18°47′20″ เหนือ 98°59′00″ ตะวันออก นครเชียงใหม่ ถูกเปรียบว่าเป็น กุหลาบแห่งเมืองเหนือ เนื่องด้วยเป็นเมืองที่สวยงาม บรรยากาศดีแห่งหนึ่งของประเทศ นครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือ มีศักยภาพและความพร้อมในหลาย ๆ ด้านมาก อีกทั้งนครเชียงใหม่ ยังเป็นนครประวัติศาสตร์ที่ยังคงหลงเหลือหลักฐานทางวัฒนธรรม ทั้งโบราณสถานมากมายในเมืองที่เป็นลักษณะเฉพาะของเชียงใหม่บ่งบอกถึงความเป็นล้านนา อีกทั้งยังแตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศ ทำให้เชียงใหม่ เป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวแห่งหนึ่งประเทศ ที่มีตัวเลขของนักเดินทางและจำนวนเงินที่สะพัดในจังหวัดเป็นจำนวนที่ไม่น้อยทีเดียว ในอนาคตนครเชียงใหม่ จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของทวีปเอเชีย เป็นเมืองใหญ่ในระดับโลกอีกด้วย[2]


ประวัติเทศบาลนครเชียงใหม่

นครเชียงใหม่ เมื่อเริ่มแรกมีฐานะเป็นเพียงสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2458 และยังขึ้นตรงต่อมณฑลพายัพ แต่ต่อมาเมื่อประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในปีพ.ศ. 2475 สภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติสมควรจัดตั้งชุมชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสุขาภิบาลให้มีฐานะเป็น เทศบาล โดยในครั้งนั้นนครเชียงใหม่ได้รับฐานะใหม่จากสุขาภิบาลเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็น "เทศบาลนครเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 80 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2478 นับเป็นเทศบาลนครแห่งแรกในประเทศไทย

ประชากร

นครเชียงใหม่มีประชากรประมาณ 146,346 คน ชาย 67,958 คน หญิง 78,388 คน[3] ในปัจจุบันนครเชียงใหม่กลาเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆด้านของภูมิภาค ทำให้มีประชากรแฝง อพยพมาอาศัยในนครเชียงใหม่ มากกว่า 2.5 ล้านคน[4] และมีประชากรในต่างอำเภอในจงหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการในเขตเมืองในเวลากลางวัน และอพยพออกไปในเวลากลางคืนประมาณ 250,000 คน/วัน ทำให้ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่มีความหนาแน่น และมีสภาพการจราจรที่คับคั่ง ไม่ต่างราวกับกรุงเทพมหานคร[5]

  • ภาษา

ตัวอักษรล้านนา (คำเมือง)ภาษาราชการที่ใช้ในจังหวัดเชียงใหม่ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และมีภาษาท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า ภาษาคำเมือง ซึ่งแต่ละท้องถิ่นของทางภาคเหนือ มีคุณลักษณะของภาษาที่คล้ายๆกัน จะแตกต่างกันเฉพาะ สำเนียงและศัพท์บางคำ แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความไพเราะ ต่างกันไปนักท่องเที่ยวที่มาจากถิ่นอื่น ล้วนชื่นชมว่า "ภาษาคำเมืองนั้น มีความไพเราะ นุ่มนวล ยิ่งนักแล"

  • ศาสนา

ประชากรในนครเชียงใหม่ นับถือศาสนาพุทธ 91.80% ศาสนาคริสต์ 5.60% ศาสนาอิสลาม 1.17% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซิกข์ 0.02% และอื่นๆ 1.14%

ประเพณีและวัฒนธรรม นครเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน คนเชียงใหม่ได้สั่งสมวัฒนธรรมประเพณีสืบทอดมาจากบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่มีความผูกพันกับพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่

  • ปีใหม่เมือง (สงกรานต์) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวเชียงใหม่ แบ่งเป็นวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกรานต์ มีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ และพิธีสรงน้ำพระ วันที่ 14 เข้าวัดก่อเจดีย์ทราย และวันที่ 15 เมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และมีการเล่นสาดน้ำตลอดช่วงเทศกาล

ประเพณียี่เป็ง จัดขึ้นในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ราวเดือนพฤศจิกายน มีการตกแต่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ด้วยโคมชนิดต่างๆ มีการปล่อยโคมลอย มีการลอยกระทง ประกวดกระทงและนางนพมาศ

  • ประเพณีเข้าอินทขิล จัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ที่วัดเจดีย์หลวง เป็นการบูชาเสาหลักเมืองโดยการนำดอกไม้ธูปเทียนมาใส่ขันดอก

เทศกาลร่มบ่อสร้าง จัดขึ้นในเดือนมกราคมของทุกปี ที่ศูนย์หัตถกรรมทำร่มบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง มีการแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน มีการแสดงทางวัฒนธรรม ขบวนแห่ ประเพณีพื้นบ้าน

  • มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จัดขึ้นในอาทิตย์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี บริเวณสวนสาธารณะบวกหาด มีขบวนรถบุปผาชาติ และนางงามบุปผาชาติ


พื้นที่

นครเชียงใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 40.216 ตารางกิโลเมตรโดยครอบคลุมพื้นที่ 14 ตำบลของอำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ตำบลหายยา ตำบลช้างม่อย ตำบลศรีภูมิ ตำบลวัดเกต ตำบลช้างคลาน ตำบลพระสิงห์ ตำบลสุเทพ ตำบลป่าแดด ตำบลฟ้าฮ่าม ตำบลหนองป่าครั่ง ตำบลท่าศาลาบางส่วน ตำบลป่าตัน ตำบลหนองหอย และตำบลช้างเผือก

ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553

สภาพทั่วไปของเทศบาลนครเชียงใหม่

  • ที่ตั้งและลักษณะของชุมชน

ชุมชนเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนกลางเชิงดอยสุเทพ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านใจกลางเมืองในแนวเหนือ - ใต้ ชุมชนดั้งเดิมหรือบริเวณเมืองเก่าตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ต่อมาเมื่อชุมชนได้พัฒนาให้มีความเจริญขึ้น โดยมีการขยายตัวข้ามแม่น้ำปิง มาทางฝั่งตะวันออก และภายหลังจากที่ได้มีการตัดถนนอ้อมเมือง ชุมชนได้พัฒนาออกไปหลายทิศทางตามเส้นทางคมนาคม และโครงข่ายสาธารณูปโภค ธุรกิจการพัฒนาที่ดินและที่พักอาศัยได้ขยายตัวเป็นอย่างมาก สภาพที่แท้จริงของชุมชนเมืองเชียงใหม่ ในปัจจุบันไม่ได้คงอยู่แต่เฉพาะในเขตเทศบาลเท่านั้น แต่ได้ขยายออกไปตามบริเวณชานเมืองและชนบทโดยรอบ อย่างเช่น เขตอำเภอหางดง อำเภอสันทราย อำเภอแม่ริม อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แตง เป็นต้น

  • อาณาเขต

เทศบาลนครเชียงใหม่มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมือง ตำบลสันผีเสื้อ และอำเภอแม่ริม

ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองหอย และตำบลป่าแดด

ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลฟ้าฮ่ามบางส่วน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติ ป่าดอยสุเทพ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่

ดวงตราเทศบาล

ดวงตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นรูปพระบรมธาตุดอยสุเทพตั้งตระหง่านอยู่บนปุยเมฆ และยังมีพญานาค รวงข้าว และลายดอกประจำยาม ในดวงตราสัญลักษณ์อีกด้วย

ความหมาย

  1. พระบรมธาตุดอยสุเทพ สถานที่ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงยังเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ที่แห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของพระพุทธศาสนิกชนแสดงถึงการเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาในภาคเหนือที่รุ่งเรืองมายาวนานทุกสมัย
  2. ปุยเมฆ เป็นตัวบ่งบอกลักษณะสภาพอากาศโดยทั่วไปของนครเชียงใหม่ ที่เย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี
  3. พญานาค ซึ่งตามประวัติความเป็นมานั้น พญานาคถือว่าเป็นผู้ให้น้ำ และในที่นี้หมายถึง แม่น้ำปิง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านนครเชียงใหม่
  4. รวงข้าว เปรียบดังความอุดมสมบูรณ์ของเมือง ที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปีเช่นกัน

การแบ่งเขตการปกครอง

นครเชียงใหม่แบ่งการปกครอง ออกเป็น 4 แขวง ได้แก่

  1. แขวงนครพิงค์ มีพื้นที่ 11.7 ตารางกิโลเมตร
  2. แขวงกาวิละ มีพื้นที่ 11.4 ตารางกิโลเมตร
  3. แขวงเม็งราย มีพื้นที่ 7.7 ตารางกิโลเมตร
  4. แขวงศรีวิชัย มีพื้นที่ 9.2 ตารางกิโลเมตร

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 23 ธ.ค.2550

จังหวัดเชียงใหม่ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้จำนวน 10 คน โดยสังกัดพรรคเพื่อไทย จำนวน 9 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา จำนวน 1 คน และพรรคเพื่อแผ่นดิน จำนวน 1 คน ผลคะแนนเลือกตั้งในระบบสัดส่วน ปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้ 479,162 คะแนน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 267,487 คะแนน และพรรคเพื่อแผ่นดินได้ 38,351 คะแนน

ข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลนครเชียงใหม่

  • ถนนภายในเขตเทศบาล มี 2 ลักษณะ ประกอบด้วย

1. ถนนลาดยาง จำนวน 495 สาย ความยาวทั้งสิ้น 148.98 กิโลเมตร 2. ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 212 สาย ความยาวทั้งสิ้น107.57 กิโลเมตร

  • สะพานและสะพานลอยคนข้ามภายในเขตเทศบาล

1.สะพานข้ามแม่น้ำปิง จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย

  • สะพานเฉลิมพระเกียรติ ร.9
  • สะพานนครพิงค์
  • สะพานนวรัฐ
  • สะพานจันทร์สม
  • ขัวเหล็ก
  • สะพานเม็งราย

2.สะพานข้ามคลองแม่ข่า จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย

  • ถนนรัตนโกสินทร์
  • ถนนอัษฎาธร
  • ถนนวิชยานนท์
  • ถนนหน้าโรงแรมปริ้นส์
  • ถนนช้างม่อย
  • ถนนท่าแพ
  • ถนนลอยเคราะห์
  • ถนนศรีดอนชัย
  • ถนนระแกง

3.สะพานลอยคนข้าม จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย

  • หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
  • หน้าตลาดวโรรส
  • หน้าสนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่
  • หน้าตลาดต้นลำไย
  • หน้าโรงเรียนปริ้นส์รอแยลวิทยาลัย
  • หน้าโรงเรียนมงฟอร์ตประถม
  • หน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • หน้าโรงพยาบาลแมคคอมิค
  • หน้าสวนกาญจนาภิเษก

การศึกษา

ในปี พ.ศ. 2550 เทศบาลนครเชียงใหม่มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 11 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 1 แห่ง มีจำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 162 ห้อง มีจำนวนครูทั้งสิ้น 273 คน และมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 4,289 คน

สถาบันอุดมศึกษา ที่ตั้งในเขตพื้นที่ เทศบาลนครเชียงใหม่

  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่
  • สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยพายัพ
  • มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

วัดสวนดอก พระอารามหลวง

  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


สถาบันอาชีวศึกษา

  • วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่
  • วิทยาลัยสารพัดช่างเชียงใหม่
  • วิทยาลัยอชีวศึกษาเชียงใหม่
  • วิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนาเชียงใหม่
  • โรงเรียนเมโทรเทคโนโลยี
  • โรงเรียนพาณิชยการลานนาเชียงใหม่
  • โรงเรียนพาณิชยการเชียงใหม่
  • โรงเรียนศรีธนาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีเชียงใหม่
  • โรงเรียนเทคโนโลยีเอเชีย เชียงใหม่


โรงเรียนนานาชาติ

  • โรงเรียนนานาชาติเชียงใหม่
  • โรงเรียนนานาชาตินครพายัพ
  • โรงเรียนนานาชาติเปรม ติณสูลานนท์
  • โรงเรียนนานาชาติลานนา
  • โรงเรียนนานาชาติอเมริกันแปซิฟิก
  • โรงเรียนนานาชาติเกรซ
  • โรงเรียนคริสเตียนเยอรมันเชียงใหม่


โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนมัธยม (รัฐบาล)

  • โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • โรงเรียนหอพระ
  • โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง
  • โรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียน
  • โรงเรียนดาราวิทยาลัย
  • โรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่
  • โรงเรียนธรรมราชศึกษา
  • โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่
  • โรงเรียนพิงครัตน์
  • โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
  • โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
  • โรงเรียนวชิรวิทย์
  • โรงเรียนวารีเชียงใหม่
  • โรงเรียนวิชัยวิทยา
  • โรงเรียนไชยโรจน์วิทยา
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่

การคมนาคม

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและการคมนาคม จึงมีเส้นทางคมนาคมหลักทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางอากาศ มีทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัด และเส้นทางมาตรฐานหลายสาย ทำให้การเดินทางติดต่อภายในจังหวัด การเดินทางสู่จังหวัดใกล้เคียง และกรุงเทพมหานคร เป็นไปด้วยความสะดวก

การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดเชียงใหม่ใช้ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ผ่านจังหวัดอยุธยา อ่างทอง นครสวรรค์ แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้าย ผ่านจังหวัดลำพูน จนถึงจังหวัดเชียงใหม่

การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ของจังหวัดเชียงใหม่ระหว่างชนบท หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจัวหวัดต่างๆ มีความสะดวก เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมติดต่อกัน การเดินทางโดยรถยนต์ระหว่างจังหวัดกับอำเภอ ระยะทางที่ไกลที่สุดคือ อำเภออมก๋อย ระยะทาง 179 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ระยะทางที่ใกล้ที่สุดคือ อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 20 นาที โดยระยะทางจากตัวจังหวัด (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เรียงจากใกล้ไปไกล ดังนี้

อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร อำเภอสารภี 10 กิโลเมตร อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร อำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร อำเภอดอยหล่อ 34 กิโลเมตร อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร อำเภอกัลยาณิวัฒนา 157 กิโลเมตร


  • สำหรับการเดินทางคมนาคมขนส่งในเขตเมืองเชียงใหม่

จะนิยมใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมี รถแดง ตุ๊กตุ๊ก รถเมล์ และประมาณ พ.ศ. 2550 เริ่มมีแท็กซี่มิเตอร์ในบริการในจังหวัดเชียงใหม่ โดยรถมีสีเหลือง-น้ำเงิน เป็นแท็กซี่สหกรณ์ ส่วน สี แดง - เหลือง เป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่างๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ (สถานีขนส่งช้างเผือก) และสถานีขนส่งระหว่างจังหวัดคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 2 (สถานีขนส่งอาเขต)


  • การคมนาคมทางรถไฟ

ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ โดยผ่านจังหวัดอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ลำปาง และลำพูน เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ รวมวันละ 14 ขบวน (ไป 7 กลับ 7) และนครสวรรค์ - เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวน (ไป-กลับ) มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในจังหวัดเชียงใหม่ คือสถานีรถไฟเชียงใหม่

  • การคมนาคมทางอากาศ

นครเชียงใหม่มีท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น รองจากสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูเก็ต มีเส้นทางบินไป - กลับวันละหลายเที่ยวบิน ทั้งสายการบินภายในประเทศ และสายการบินระหว่างประเทศ โดยสายการบินระหว่างประเทศ มีสายการบินจากเชียงใหม่ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียมีเที่ยวบินโดยตรงจากเชียงใหม่ไปยังหลายประเทศ เช่น ประเทศจีน ลาว พม่า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น

ถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อเมืองเชียงใหม่ ถนนเจริญเมือง ถนนเจริญประเทศ ถนนท่าแพ ถนนช้างคลาน ถนนอินทวโรรส ถนนสนามบิน ถนนไปรษณีย์ ถนนลอยเคราะห์ ถนนศรีดอนไชย ถนนสุเทพ ถนนห้วยแก้ว ถนนวังสิงห์คำ ถนนวัวลาย ถนนบุญเรืองฤทธิ์ ถนนทิพเนตร ถนนนิมมานเหมินทร์ ถนนเลียบคลองชลประทาน ถนนศิริมังคลาจารย์ ถนนกำแพงดิน ถนนสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ถนนเชียงใหม่-หางดง ถนนโชตนา ถนนอารักษ์ ถนนทุ่งโฮเต็ล ถนนรถไฟ ถนนประชาสัมพันธ์ ถนนแก้วนวรัตน์ ถนนหมื่นด้ามพร้าคด ถนนเชียงใหม่-ลำพูน (สายเก่า) ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ (ถนนเชียงใหม่-ลำปาง) ถนนเชียงใหม่ - ฝาง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (ถนนเชียงใหม่ - ฮอด) ถนนเชียงใหม่-พร้าว ถนนช้างเผือก ถนนเม็งรายรัศมี ถนนสันติธรรม ถนนพระปกเกล้า ถนนราชวิถี ถนนราชดำเนิน ถนนราชมรรคา ถนนแม่มาลัย-ปาย ถนนวงแหวนรอบนอก ถนนบำรุงบุรี ถนนบำรุงราษฎร์ ถนนมณีนพรัตน์ ถนนวิชยานนท์ ถนนสุริยวงศ์ ถนนรัตนโกสินทร์ ถนนสนามกีฬา ถนนศรีภูมิ ถนนเวียงแก้ ถนนช่างหล่อ ถนนท้ายวัง ถนนราษฎร์อุทิศ ถนนเมืองสมุทร ถนนเมืองสาตร ถนนมูลเมือง ถนนราชภาคินัย ถนนนันทาราม ถนนเจริญราษฎร์ ถนนมหิดล (วงแหวนรอบใน) ถนนราชเชียงแสน

สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่

  • วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร
  • ดอยปุย
  • อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
  • น้ำตกห้วยแก้ว
  • น้ำตกวังบัวบาน
  • ห้วยตึงเฒ่า
  • เชียงใหม่ไนท์บาซาร์
  • งานราชพฤกษ์ 2549
  • เวียงกุมกาม
  • พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
  • สวนสัตว์เชียงใหม่
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี

อ้างอิง

  1. http://www.cmcity.go.th//flash/header.swf
  2. http://news.sanook.com/immovable/immovable_395826.php
  3. รายงานสถิติจำนวนประชากร และบ้าน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  4. http://www.ryt9.com/s/prg/369382
  5. http://www.chiangmainews.co.th/cmndc_open.php?nid=109

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น