ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Takeaway (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 61: บรรทัด 61:
* '''[[องค์การบริหารส่วนตำบลสันผีเสื้อ]]''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันผีเสื้อทั้งตำบล
* '''[[องค์การบริหารส่วนตำบลสันผีเสื้อ]]''' ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันผีเสื้อทั้งตำบล


{{wide image|Chiang mai pano 2010 0128.jpg|1545px|ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2553}}
{{wide image|Pano CM 2010 0928a3-1.jpg|1545px|ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553}}


== สถานที่สำคัญ ==
== สถานที่สำคัญ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:58, 28 กันยายน 2553

อำเภอเมืองเชียงใหม่
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Mueang Chiang Mai
คำขวัญ: 
อำเภอเมืองเชียงใหม่ใครก็รู้
เมืองน่าอยู่วัฒนธรรมนั้นโดดเด่น
เชียงใหม่งามธรรมชาติอากาศเย็น
ใหม่มุ่งเน้นพัฒนาก้าวหน้าไกล
พิกัด: แม่แบบ:Coor dms
ประเทศ ไทย
จังหวัดเชียงใหม่
พื้นที่
 • ทั้งหมด152.4 ตร.กม. (58.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2553)
 • ทั้งหมด269,460 คน
 • ความหนาแน่น1,768.11 คน/ตร.กม. (4,579.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 50000
รหัสภูมิศาสตร์5001
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางการบริหาร ศูนย์กลางธุรกิจ และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ นับเป็นเมืองที่มีความเจริญมากที่สุดของจังหวัดและของภาคเหนือ เป็นเมืองใหญ่ อันดับ 2 ของประเทศไทย รองจากกรุงเทพมหานคร อันดับที่ 3 คือ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอเมืองเชียงใหม่มีเขตนครเชียงใหม่และปริมณฑลต่างๆ ล้อมรอบ ได้แก่ เมืองลำพูน ,หางดง ,สันกำแพง ,สารภี ,แม่ริม ,สันทราย, สันป่าตอง ฯลฯ

ที่ตั้งและอาณาเขต

, อำเภอเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเมืองเชียงใหม่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 ตำบล 78 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ศรีภูมิ (Si Phum) - 9. แม่เหียะ (Mae Hia) 10 หมู่บ้าน
2. พระสิงห์ (Phra Sing) - 10. ป่าแดด (Pa Daet) 13 หมู่บ้าน
3. หายยา (Haiya) - 11. หนองหอย (Nong Hoi) 6 หมู่บ้าน
4. ช้างม่อย (Chang Moi) - 12. ท่าศาลา (Tha Sala) 5 หมู่บ้าน
5. ช้างคลาน (Chang Khlan) - 13. หนองป่าครั่ง (Nong Pa Khrang) 7 หมู่บ้าน
6. วัดเกต (Wat Ket) - 14. ฟ้าฮ่าม (Fa Ham) 7 หมู่บ้าน
7. ช้างเผือก (Chang Phueak) 5 หมู่บ้าน 15. ป่าตัน (Pa Tan) -
8. สุเทพ (Suthep) 15 หมู่บ้าน 16. สันผีเสื้อ (San Phisuea) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

ภาพพาโนรามาของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่สำคัญ

ตลาดวโรรส (กาดหลวง)

ตลาด

  • กาดหลวง (ตลาดใหญ่)
    • ตลาดวโรรส
    • ตลาดต้นลำไย
    • ตลาดนวรัฐ
    • ตลาดเทศบาล
  • ตลาดต้นพยอม
  • ตลาดหนองหอย
  • ตลาดสันป่าข่อย
  • ตลาดประตูก้อม
  • ตลาดคำเที่ยง
  • ตลาดประตูเชียงใหม่
  • ตลาดธานินทร์
  • ตลาดสมเพชร

กำแพงเมือง

กำแพงเมืองเชียงใหม่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มุมเมืองทั้งสี่มีชื่อเรียกตามคำเมืองว่า แจ่ง ได้แก่

กำแพงเมืองเชียงใหม่มีประตูเมืองทั้งหมดห้าประตู โดยมีประตูเมืองหลักสี่ประตู ตั้งอยู่กึ่งกลางกำแพงเมืองในแต่ละด้าน ได้แก่

  • 1.ประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือก) อยู่ทางทิศเหนือ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นประตูช้างเผือก (เปลี่ยนชื่อเมื่อ พ.ศ.2343)
  • 2. ประตูท้ายเวียง (ประตูเชียงใหม่) อยู่ทางทิศใต้ตรงข้ามกับประตูหัวเวียง ปัจจุบันคือประตูเชียงใหม่
  • 3. ประตูท่าแพ อยู่ทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเป็นประตูไปสู่แม่น้ำปิงซึ่งมีบรรดาเรือแพค้าขายมาจอดเทียบท่าที่นี่
  • 4. ประตูสวนดอก อยู่ทางทิศตะวันตกเนื่องจากมีราชอุทยานหรือสวนดอกไม้ของเจ้าครองนครอยู่นอกกำแพงเมือง ทางด้านนี้ ในระยะไม่ห่างไกลเท่าใดนัก

ประตูที่สร้างขึ้นเพิ่มในภายหลังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันมี 2 ประตูได้แก่

อยู่ทางทิศใต้ ถัดจากประตูท้ายเวียง (ประตูเชียงใหม่) ไปทางแจ่งกู่เฮือง ประตูสวนแรสร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแกน (พ.ศ.1945-1985) โดยสืบเนื่องจากพระราชเทวีมเหสีของพญาแสนเมืองมาเป็น พระราชมารดาของพญาสามฝั่งแกน ได้โปรดให้สร้างพระตำหนักขึ้นนอกกำแพงเมืองที่ตำบลสวนแร (ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งของ โรงพยาบาลสวนปรุง) แล้วโปรดให้เจาะประตูสวนแรขึ้น เพื่อให้สะดวกในการเดินทางมาควบคุมการก่อสร้างเจดีย์ราชกุฏคาร (เจดีย์หลวง) ที่อยู่กลางเวียงเชียงใหม่ ประตูสวนแร (บางท่านว่า สวนแห) ได้เปลี่ยนชื่อต่อมาในภายหลังว่า ประตุสวนปรุง (บางท่านว่าเป็นประตู เดียวกับแสนปุง หรือแสนพุง)

อยู่ทางทิศเหนือไปทางแจ่งศรีภูมิ สร้างขึ้นในสมัย พญาติโลกราช(พ.ศ.1985-2031) สืบเนื่องมาจากพระองค์โปรดให้สร้างตำหนักขึ้นใกล้ ๆ กับแจ่งศรีภูมิ แล้วจึงโปรดให้เจาะประตูศรีภูมินี้ขึ้นเพื่อไว้สำหรับเสด็จไปยังท่าแม่น้ำ ปิงได้สะดวกยิ่งขึ้น ต่อมามีการเปลียนชื่อประตูนี้ว่า ประตูช้างม่อย

ประตูเมืองชั้นนอก จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน ประตูเมืองชั้นนอกซึ่งคงสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ น่าจะมี 4 ประตูได้แก่ 1. ประตูเชียงเรือก (เชียงเลือก) หรือประตูท่าแพ (ชั้นนอก) อยู่ทางทิศตะวันออก 2. ประตูหล่ายแกง 3. ประตูขัวก้อม อยู่ทางทิศใต้ 4. ประตูไร่ยา (ประตูหายยา)

ในสมัยพระเจ้าช้างเผือก เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ.2364) ได้โปรดให้บูรณะซ่อมแซมกำแพงเมืองชั้นนอก และประตูเมืองชั้นนอก ซึ่งมีชื่อประตูเมืองรวม 7 ประตู โดยเพิ่มเติมจากเดิมอีก 3 ประตู ได้แก่ 1. ประตูศรีภูมิ 2. ประตูช้างม่อย 3. ประตูกะโหล้ง


ภายในกำแพงเมืองจังหวัดเชียงใหม่มีวัดจำนวนทั้งสิ้น 101 แห่ง

สถานกงสุล

อำเภอเมืองเชียงใหม่มีสถานกงสุลประจำจังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่

  • สถานกงสุลแคนาดา
  • สถานกงสุลญี่ปุ่น
  • สถานกงสุลจีน
  • สถานกงสุลเปรู
  • สถานกงสุลฝรั่งเศส
  • สถานกงสุลฟินแลนด์
  • สถานกงสุลเยอรมนี
  • สถานกงสุลสวีเดน
  • สถานกงสุลสหรัฐอเมริกา
  • สถานกงสุลสหราชอาณาจักร
  • สถานกงสุลออสเตรีย
  • สถานกงสุลออสเตรเลีย
  • สถานกงสุลอิตาลี
  • สถานกงสุลอินเดีย
  • สถานกงสุลแอฟริกาใต้

สะพาน

สถานที่ท่องเที่ยว

  • กลุ่มดนตรีซล้อซอซึง
  • ขุนช้างเคี่ยน
  • คุ้มขันโตก
  • คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
  • เจเจ มาร์เก็ต เชียงใหม่
  • ชุมชนวัดเกต
  • เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
  • ดอยขุนแม่ยะ
  • ดอยปุย
  • ถนนคนเดิน
  • ถนนนิมมานเหมินทร์
  • ท่าเทียบเรือโดยสาร
  • น้ำตกตาดหมาไห้
  • น้ำตกมณฑาธาร หรือ น้ำตกสันป่ายาง
  • น้ำตกห้วยแก้ว
  • ไนท์บาซาร์
  • บ้านดอยปุย
  • บ้านม้ง (แม้ว)-ดอยปุย
  • พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
  • พิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยจอห์น แอนแพทซอว์
  • พิพิธภัณฑ์โครงการศึกษาเครื่องปั้นดินเผา ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
  • พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
  • พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์บ้านคำอูน
  • พิพิธภัณฑ์บ้านบานเย็น
  • พิพิธภัณฑ์บ้านแฮรีส ร.ร. ปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านล้านนา เรือนซ้อ-หงส์
  • พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณสบันงา
  • พิพิธภัณฑ์แมลงและมรดกธรรมชาติ
  • พิพิธภัณฑ์เรือนโบราณ
  • พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
  • พิพิธภัณฑ์วัดบุพพาราม (หอมนเฑียรธรรม)
  • พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุดอยสุเทพวรมหาวิหาร
  • พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์เชียงใหม่
  • พิพิธภัณฑ์หมู่บ้านชาวเขาดอยปุย
  • พิพิธภัณฑ์การศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ
  • ร้านม่อนฝ้าย
  • เรือนข้าเจ้า
  • เรือนอนุสารสุนทร
  • โรงงานไทยศิลาดล
  • โรงงานนมห้วยแก้ว
  • โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์โบราณภาคเหนือ
  • วัดกู่เต้า
  • วัดขะจาว
  • วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
  • วัดเจดีย์เหลี่ยมหรือวัดเจดีย์กู
  • วัดเจ็ดยอด
  • วัดช่างฆ้อง
  • วัดเชียงมั่น
  • วัดต้นปิน
  • วัดตำหนัก
  • วัดท่ากระดาษ
  • วัดท่าข้าม
  • วัดบวกครกหลวง
  • วัดบุพพาราม
  • วัดปราสาท
  • วัดป่าแดงมหาวิหาร
  • วัดป่าเป้า
  • วัดพระธาตุดอยคำ
  • วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
  • วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
  • วัดพวกหงส์
  • วัดพันเตา
  • วัดโพธารามมหาวิหาร
  • วัดร่ำเปิ่ง (ตโปธาราม)
  • วัดลังกา
  • วัดศรีบุญเรือง
  • วัดศรีสุพรรณ
  • วัดศรีโสดา
  • วัดสวนดอกหรือวัดบุปผาราม
  • วัดสวนพริก
  • วัดสันทรายต้นกอก
  • วัดแสนฝาง
  • วัดอุโบสถ
  • วัดอุปคุต
  • วัดอุโมงค์เถรจันทร์
  • วัดอู่ทรายคำ
  • เวียงกุมกาม
  • ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพเฉลิมพระเกียรติฯ
  • ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนป่าแดด (วัดวังสิงห์คำ)
  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยพายัพ
  • ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ศูนย์ศิลปะการแสดงกาดสวนแก้ว
  • ศาลาธนารักษ์ ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกษาปณ์ไทย
  • สถาบันล้านนาศึกษา
  • สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
  • สวนรุกขชาติห้วยแก้ว
  • สวนสัตว์เชียงใหม่
  • เสาอินทขิลหรือเสาหลักเมือง
  • หมู่บ้านทำเครื่องเงิน
  • หอธรรมโฆษณ์ วัดอุโมงค์
  • หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หอศิลป์ปิ่นมาลา)
  • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่
  • ห้องพิพิธภัณฑ์ โรงเรียนหอพระ
  • อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย
  • อนุสาวรีย์เจ้ากาวิละ
  • อาสนวิหารพระหฤทัย
  • เฮือนแก้ว ร.ร.ยุพราชวิทยาลัย