ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสือไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Broadbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: da:Asiatisk guldkat
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
[[br:Kazh alaouret Azia]]
[[br:Kazh alaouret Azia]]
[[cs:Kočka Temminckova]]
[[cs:Kočka Temminckova]]
[[da:Asiatisk guldkat]]
[[de:Asiatische Goldkatze]]
[[de:Asiatische Goldkatze]]
[[en:Asian Golden Cat]]
[[en:Asian Golden Cat]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:04, 15 กันยายน 2553

เสือไฟ
ไฟล์:Asian-golden-cat.jpg
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Catopuma
สปีชีส์: C.  temminckii
ชื่อทวินาม
Catopuma temminckii
Vigors & Horsfield, ค.ศ. 1827
ชื่อพ้อง
  • Pardofelis temminckii

เสือไฟ หรือ แมวทองเอเชีย เป็นแมวป่าขนาดกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Catopuma temminckii มีขนาดเล็กกว่าเสือลายเมฆ (Pardofelis nebulosa) แต่ใหญ่กว่าแมวลายหินอ่อน (P. marmorata) มีสีขนหลากหลาย คือ สีน้ำตาลแดง น้ำตาลอมเทา ตลอดจนสีส้ม สีขนบริเวณใบหน้าจะเข้มกว่าลำตัว มีลักษณะเด่นคือ มีแถบขนสีขาวบนใบหน้า เหนือตาและแก้ม หางยาวปลายหางด้านล่างมีสีขาวตลอด ท้องและใต้หางมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 76-81 เซนติเมตร ความยาวหาง 43-49 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 12-15 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ เอเชียตะวันออก ภาคเหนือของเอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและเกาะสุมาตรา

เสือไฟ สามารถปรับตัวให้อยู่ในป่าได้ทุกสภาพ เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ สามารถปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะล่าเหยื่อบนพื้นดินมากกว่าล่าบนต้นไม้ อาหารของเสือไฟมักเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู กระต่าย ลูกเก้งและนกเล็ก ๆ ที่หากินตามพื้นดิน ในบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวได้ หมูป่าขนาดเล็กและลูกกวางป่าได้ด้วย มักอาศัยตามลำพัง ยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่พบเห็นว่าอยู่ด้วยกัน 2-3 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 95 วัน ออกลูกครั้งละ 1-2 ตัว ตามโพรงไม้ที่มีความปลอดภัย

เสือไฟ เป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาเชื่อว่าเป็นพญาเสือ แม้เสือที่มีขนาดใหญ่กว่ายังกลัว ขน หรือ เล็บ หรือ เขี้ยว เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถป้องกันอันตราย หรือภูผีปีศาจได้ ซึ่งความเชื่อเรื่อง เขี้ยวเสือไฟ นี้ ได้ถูก มาลา คำจันทร์ นำไปแต่งเป็นนวนิยาย ชื่อ เขี้ยวเสือไฟ ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประเภทบันเทิงคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2532 และรางวัล IBBY (International Board of Book for Young People) ประจำปี ค.ศ. 1990 ซึ่งในปี พ.ศ. 2544 ได้ถูกนำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางช่อง 9 นำแสดงและร้องเพลงประกอบละคร โดย แอ๊ด คาราบาว

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. Cat Specialist Group (2002). Catopuma temminckii. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes justification for why this species is vulnerable

แม่แบบ:Link FA