ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเมจิ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: qu:Mutsuhito
TobeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: fa:امپراتور میجی
บรรทัด 162: บรรทัด 162:
[[es:Emperador Meiji]]
[[es:Emperador Meiji]]
[[et:Mutsuhito]]
[[et:Mutsuhito]]
[[fa:امپراتور میجی]]
[[fi:Meiji (keisari)]]
[[fi:Meiji (keisari)]]
[[fiu-vro:Mutsuhito]]
[[fiu-vro:Mutsuhito]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:13, 13 กันยายน 2553

จักรพรรดิเมจิ
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
รัชสมัย3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 - 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 (45 ปี)
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระจักรพรรดิโคเม
รัชกาลถัดไปสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
ประสูติ3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395
ญี่ปุ่น เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
สวรรคต30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455
ญี่ปุ่น โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (พระชนมายุ 59 พรรษา)
พระอัครมเหสีสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเคน
พระราชบุตร15 พระองค์
สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ
ราชวงศ์ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิโคเม
พระราชมารดานากายามา โยชิโกะ

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ญี่ปุ่น: 明治天皇โรมาจิMeiji-tennō (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 239530 กรกฎาคม พ.ศ. 2455) พระนามเดิม มุสึฮิโต (睦仁) ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 122 ของประเทศญี่ปุ่น ครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2410 ด้วยพระชนมายุเพียง 14 พรรษา จนเสด็จสรรคต

ขึ้นครองราชย์

เจ้าชายมุสึฮิโตเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2410 หลังการสวรรคตของ สมเด็จพระจักรพรรดิโคเม (โอซาฮิโต) พระราชบิดาที่ประชวรด้วยไข้ทรพิษ

ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2411 กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชบัลลังก์ และต่อต้านอำนาจของโชกุนสกุลโทะกุงาวะ ประกาศนโยบายฟื้นฟูพระพระราชอำนาจแห่งจักรพรรดิ ณ พระราชวังในนครเกียวโต ซึ่งต่อมาในเดือนเดียวกันนั้น กองกำลังของกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์จากเมืองโชชูและซัตสึมะได้กำชัยอย่างเด็ดขาดในสงครามโทบะ-ฟิชิมิ ซึ่งเป็นการตอกย้ำความล่มสลายของสถาบันโชกุนโทกุงะวะไปอีก สงครามกลางเมืองได้ปะทุขึ้นเป็นครั้งคราว จนกระทั่งกองกำลังของโทกุงาวาปราชัยอย่างราบคาบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2412

พระราชประวัติ

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน สมเด็จพระจักรพรรดิโคเม (พระราชโอรสองค์ใหญ่สิ้นพระชนม์หลังประสูติไม่นาน) เสด็จพระราชสมภพ ณ นครเกียวโต เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1852 เพียง 8 เดือนก่อนกองทัพเรือดำ ของนายพลแมทธิว เพอร์รี่ แห่งสหรัฐอเมริกาจะยกมาถึงอ่าวโตเกียวและเพียง 2 ปีก่อนที่ สนธิสัญญาอยุติธรรม ฉบับแรกจะมีขึ้นโดยโชกุนโทคุงาวะยอมลงนามร่วมกับนายพลเพอร์รี่ เมื่อปี ค.ศ. 1854

พระนางโยชิโกะ พระราชมารดา เป็นผู้ที่มีความสำคัญในราชสำนัก และเป็นบุตรีของท่านหัวหน้าองคมนตรีนาคายามะ ทาดายาสึ เมื่อยังทรงพระเยาว์สมเด็จพระจักรพรรดิทรงพระนามว่า เจ้าชายสุเกะ(สุเกะ โนะ มิยะ) และได้เสด็จไปประทับอยู่ในความดูแลของตระกูลนาคายามะ เพราะการดูแลพระราชโอรสและพระราชธิดาถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า ให้มอบหมายเป็นหน้าที่ของตระกูลใหญ่ในวังหลวงตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ตระกูลนาคายามะจึงได้เอาธุระดูแลการศึกษาในชั้นต้นของเจ้าชายองค์น้อย

เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของประเทศ ก็ได้ทรงแต่งตั้งให้ นิโจ นาริยุกิ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพื่อถวายคำแนะนำทางการเมือง แต่ดูเหมือนว่าตำแหน่งที่มีอายุการทำงานสั้นๆนี้ เป็นเพียงพิธีการอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะนิโจไม่ได้มีบทบาทต่อพระองค์เท่าไรนัก ยังมีอีกคนที่มีอิทธิพลต่อแนวพระราชดำริในทางรัฐศาสตร์การเมืองและบริหารอีกมาก

เมื่อพระชนมายุยังน้อย เจ้าชายสุเกะทรงอยู่ในโลกต่างหากจากโลกภายนอก พระองค์และพระสหายทั้งหลายที่ได้รับการคัดเลือกมาจากเชื้อพระวงศ์และตระกูลขุนนางต่างๆ เช่นเจ้าชายไซองจิ คิมโมจิ ที่จะเข้ามาปกครองวังหลวงในช่วงปลายรัชสมัยไทโช และต้นรัชสมัยโชวะ ได้รับการอบรมจากพระพี่เลี้ยง(เนียวกัง)ที่คอยสอดส่องดูแลทั้งกลางวันและกลางคืน

ในปี ค.ศ. 1860 เจ้าชายสุเกะได้รับพระราชทานพระนามเป็นเจ้าชายมุทสึฮิโตะ และได้รับการสถาปนาเป้นองค์รัชทายาท ขณะนั้นเจ้านายสำคัญในราชวังหลายองค์ รวมทั้งเจ้าชายอิวาคุระ โทโมมิ และ เจ้าชายซันโจ ซาเนโทมิ เป็นผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องรัชทายาท ต่อมาเจ้านายเหล่านี้ยังเป้นผู้จัดแจงและตระเตรียมพิธีอภิเษกสมรสระหว่างพระองค์กับเจ้าหญิงอิจิโจ ฮารุโกะ พระธิดาในเจ้าชายอิจิโจ ทาดากะ เสนาบดีฝ่ายซ้าย ทั้งสองพระองค์ไม่มีพระราชโอรสพระธิดาด้วยกัน แต่มีบันทึกว่า สมเด็จพระจักรพรรดิโปรดที่จะเสด็จไปพบสมเด็จพระจักรพรรดินีแทบทุกวัน เดือนเมษายน ค.ศ. 1914 เมื่อพระนางสรรคตก็ได้รับพระราชทานพระสมัญญานามเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเคน

เจ้าชายอิวาคุระ เจ้าชายซันโจ กับคิโดะ ทาคาโยะชิ แห่งเมืองโชชู และคนสำคัญอื่นๆในสมัยฟื้นฟูพระราชอำนาจได้ร่วมกันร่างพระราชโองการและพระราชกฤษฎีกาฉบับแรกในรัชสมัยเมจิขึ้น เช่น สัตยาบันแห่งคณะปฏิรูป ที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1868 เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และมีเนื้อความตอนหนึ่งว่า

"จงต้องค้นคว้าและรวบรวมวิทยาการทั้งหลายทั่วโลก เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้แก่การปกรองประเทศแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ"

การที่สมเด็จพระจักรพรรดิไม่ได้เสด็จออกนอกนครเกียวโตเลยตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1867 จนกระทั่งได้เสด็จไปยังนครโอซาก้าในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1868 ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ต้องใช้พระวิริยอุตสาหะยาวนานเพียงใด กว่าจะล่วงพ้นวิสัยทัศน์อันคับแคบของเหล่าข้าราชการในช่วงต้นรัชสมัยไปได้ โลกทัศน์ของพระองค์ขยับขยายอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าฤดุใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 1868 หลังจากที่คณะรัฐบาลตัดสินใจย้ายเมืองหลวงไปยังนครโตเกียว สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิเสด้จทางสถลมารคไปยังนครหลวงใหม่เป้นครั้งแรก ขบวนเสด็จในครั้งนั้นมีจำนวนถึง 3,300 ชีวิต ระหว่างทางได้ทอดพระเนตรดูผืนน้ำทะเลเป็นครั้งแรกด้วยเช่นกัน เหตุการณ์นี้ทำให้คิโดะ ทาคาโยะชิ ที่โดยเสด็จอยู่ด้วยบันทึกไว้ว่า

"ข้าพเจ้าตื้นตันจนมีน้ำตา เมื่อตระหนักว่านี่คือจุดเริ่มต้นแห่งยุคสมัยที่พระบรมเดชานุภาพจะได้แผ่ไปทั่วโลกอันไพศาล"

ครั้นขบวนเสด็จถึงกรุงโตเกียวในวันที่ 5 พฤศจิกายน พสกนิกรมากมายหลายหมื่นมาเฝ้ารอรับเสด็จอยู่ทั้งสองข้างทาง เพื่อถวายความจงรักภักดี พร้อมกันนั้น พระราชยานประดับรูปไก่ฟ้าทองคำก็เคลื่อนตรงไปยังอดีตวังโชกุน ที่จะเป็นที่ประทับ อย่างไรก้ตาม เดือนมกราคม ค.ศ. 1869 สมเด็จพระจักรพรรดิเสด็จกลับไปยังเกียวโตเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะเสด็จมาประทับที่โตกียวเป้นการถาวรในอีก 2 เดือนต่อมา

การเมืองการปกครองตอนต้นรัชกาล

เหตุผลหลักที่ผู้นำคนสำคัญในรัฐบาลชุดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอคุโบะ โทชิมิจิ และไซโก ทาคาดโมริ แห่งเมืองซัตสึมะ กราบทูลเชิญสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิไปยังโตเกียว ก็เพื่อผลักดันให้สมเด็จพระจักรพรรดิพระประมุขเป็นอิสระจากแนวคิดและลักษณะอนุรักษ์นิยมของชาวเกียวโต ค.ศ. 1871 ไซโกได้ทูลเกล้าฯ ถวายเสนอแผนปฏิรูปโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • อันดับแรก เพื่อลดจำนวนนางกำนัลที่คอยถวายรับใช้พระจักรพรรดิลง เขาชี้แจงว่านับแต่อดีตมาจนบัดนั้น พวกนางมักจะมีอิทธิพลครอบงำวังหลวงมากเกินไป
  • อันดับที่สอง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลต่างๆทั้งฝ่ายทหารตั้งแต่ชั้นนักรบสามัญหรือซามูไรขึ้นไป และผู้ที่สืบเชื้อสาย หรือสืบความรู้ทางการปกครอง ได้เข้าทำงานและรับพระราชทานตำแหน่งสูงๆตามความเหมาะสมภายในวังหลวงได้

อิทธิพลการศึกษาแบบอนุรักษ์นิยมส่งผลให้สมเด็จพระจักรพรรดิทรงคัดค้านแผนปฏิรูปเหล่านี้ ก่อนที่จะโปรดเกล้าฯให้ประกาศเป้นพระราชโอการได้ในค.ศ. 1872 ไม่ช้า สมเด็จพระจักรพรรดิก็สนิทสนมกับไซโกเป็นพิเศษเขาสนับสนุนให้ทรงม้าเพื่ออกกำลังเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่พระวรกาย และส่งเสริมให้มีความสนพระทัยในการทหารในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพ สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิโปรดการออกตรวจกำลังพล ที่ส่วนใหญ่มาจากเมืองโชชูและซัตสึมะ เรียกว่า โกะชิมทเป (ทหารราชองค์รักษ์) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1871

พระมเหสีและพระสนม

สมเด็จพระจักรพรรดินีโชเคน
ไฟล์:MeijiRestorationinJapan.jpg
ภาพราชวงศ์ญี่ปุ่นในสมัยเมจิ

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินีฮะรุโกะ(ต่อมาเมื่อสวรรคตได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีโชเคน) แต่ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาด้วยกัน เนื่องจากสุขภาพของสมเด็จพระจักรพรรดินีไม่เอื้ออำนวย แต่ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 15 พระองค์ โดยประสูติจากพระสนมทั้งหมด โดยมีรายนาม พระมเหสี และพระสนม ดังนี้

  • พระมเหสี
  • พระสนม
    • พระสนมมิตสึโกะ (1853-1873)
    • พระสนมนัตสึโกะ (1856–1873)
    • พระสนมยานางิวาระ นารุโกะ (1855–1943)
    • พระสนมชิงุซะ โคโทะโกะ (1855–1944)
    • พระสนมโซโนะ ซะชิโกะ (1867–1947)

พระราชโอรส และพระราชธิดา

แม้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดินีโชเคน(ฮารุโกะ) แต่ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาด้วยกัน เนื่องจากสุขภาพของสมเด็จพระจักรพรรดินีไม่เอื้ออำนวย แต่ทรงมีพระโอรสธิดาทั้งสิ้น 15 พระองค์ โดยประสูติจากพระสนม ได้แก่

  1. เจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ประสูติ 18 กันยายน พ.ศ. 2416 และสรรคตในวันเดียวกัน ประสูติแด่พระสนมมิตสึโกะ
  2. เจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ประสูติ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 และสรรคตในวันเดียวกัน ประสูติแด่พระสนมนัตสึโกะ
  3. เจ้าหญิงอุเมะ ประสูติ 25 มกราคม พ.ศ. 2421 หรือ เจ้าหญิงชิเงโกะ ประสูติแด่พระสนมนะรุโกะ
  4. เจ้าชายโยชิฮิโต ประสูติ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2422 หรือต่อมาคือ สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช ประสูติแด่พระสนมนะรุโกะ
  5. เจ้าชายทาเกะ ประสูติ 23 กันยายน พ.ศ. 2423 หรือ เจ้าชายยูกิฮิโตะ ประสูติแด่พระสนมนะรุโกะ
  6. เจ้าหญิงชิเงะ ประสูติ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2427 หรือ เจ้าหญิงอะกิโกะ ประสูติแด่ พระสนมโคโทะโกะ
  7. เจ้าหญิงมาสุ ประสูติ 26 มกราคม พ.ศ. 2429 หรือ เจ้าหญิงฟูมิโกะ ประสูติแด่พระสนมโคโทะโกะ
  8. เจ้าหญิงฮิสะ ประสูติ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 หรือ เจ้าหญิงชิซึโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  9. เจ้าชายอากิ ประสูติ พ.ศ. 2433 หรือ เจ้าชายมิชิฮิโตะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  10. เจ้าหญิงทาสุเนะ ประสูติ 30 กันยายน พ.ศ. 2434 หรือ เจ้าหญิงมะซะโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  11. เจ้าหญิงคาเนะ ประสูติ 28 มกราคม พ.ศ. 2436 หรือ เจ้าหญิงฟุซะโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  12. เจ้าหญิงฟุมิ ประสูติ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2437 หรือ เจ้าหญิงโนบุโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  13. เจ้าชายมิสุ ประสูติ พ.ศ. 2439 หรือ เจ้าชายเทรุฮิโตะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  14. เจ้าหญิงยาสุ ประสูติ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2442 หรือ เจ้าหญิงโทชิโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ
  15. เจ้าหญิงซาดา ประสูติ พ.ศ. 2443 หรือ เจ้าหญิงทะคิโกะ ประสูติแด่พระสนมซะชิโกะ

ปลายรัชกาล และการเสด็จสรรคต

สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ เมื่อปีพ.ศ. 2427

ในช่วงปลายรัชกาล พระจักรพรรดิทรงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับโรคเบาหวาน และโรคไบร์ท (โรคไตอย่างหนึ่ง) ที่พระอาการมีแต่ทรุดลง จนในรัฐพิธีหลายวาระ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงอ่อนเพลียอย่างหนักให้ผู้คนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งในปีที่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนฤดูร้อนปี พ.ศ. 2455นั้น ก็ยังไม่มีสัญญาณบอกเหตุว่าจะเสด็จสรรคตในปีเดียวกันนั้น

เดือนมกราคมปี พ.ศ. 2455 พระจักรพรรดิทรงเสด็จร่วมงานประกวดกวีนิพนธ์ในวันปีใหม่ที่จัดขึ้นในพระราชวังเป็นประจำอย่างเช่นทุกปีเช่นที่เคยทรงปฏิบัติมา

เดือนกุมภาพันธ์ สมเด็จพระจักรพรรดิประชวร แต่ไม่นานพระอาการก็ดีขึ้น สามารถทรงงานตามหมายงานที่กำหนดได้ตามปรกติเป็นต้นว่า

  • วันที่ 30 พฤษภาคม เสด็จไปร่วมพิธีสำเร็จการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหารในสังกัดกองทัพบก ทรงตรวจแถวนักเรียนที่เพิ่งจบ และพระราชทานปริญญาบัตร
  • วันที่ 28 มิถุนายน เสด็จออกต้อนรับนายชาร์ล วิลเลี่ยม เอลเลียต อดีตอธิการบดีประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มีแขกผู้มีเกียรติทั้งชาวญี่ปุ่นและต่างประเทศมาร่วมด้วย
  • แต่ในวันที่ 10 กรกฎาคม ขณะเสด็จไปยังมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียลเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรในพิธีสำเร็จการศึกษา สมเด็จพระจักรพรรดิทรงรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง และทรงพระดำเนินขึ้นบันไดได้อย่างยากเย็น ซึ่ง 5 วันต่อมาขณะกำลังจะประทับในที่ประชุมสภาองคมนตรี พระวรกายเกิดอาการสั่นอย่างแรง ระหว่างการประชุมก็ทรงเผลอหลับไปกับที่ประทับ สีพระพักตร์บอกได้ว่าเพลียหนักอย่างชัดเจน

วันที่ 19 เดือนเดียวกัน ได้เสด็จไปประทับที่โต๊ะทรงพระอักษร แต่ทรงเหนื่อยเกินกว่าจะทรงงานใดๆได้ และขณะกำลังจะประทับยืนขึ้นนั่นเอง ทรงล้มลง บรรดาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียลถูกเรียกตัวมาช่วยคณะแพทย์หลวงถวายการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลได้ตัดสินแถลงข่าวให้สาธารณชนได้รับทราบในทันที

ระยะเวลาหลายวันต่อจากนั้น หนังสือพิมพ์ต่างพากันรายงานถึงพระอาการอย่างละเอียด ทั้งอัตราชีพจรที่อ่อนลงเรื่อยๆ และการทำงานเสื่อมทรุดลงของอวัยวะต่างๆ ประชาชนต่างสวดอธิษฐานให้สมเด็จพระจักรพรรดิหายประชวร มหาชนมารวมตัวกันอยู่รายรอบพระราชวัง หลายคนคุกเข่าหรือหมอบกราบอยู่กับพื้น

ท้ายที่สุดสมเด็จพระจักรพรรดิสวรรคตด้วยอาการพระหทัยวาย เมื่อเวลา 0.43 นาฬิกา ของวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 พระชนมายุได้ 60 พรรษา ณ พระราชวังอิมพีเรียล

หลังการสวรรคต

ขบวนพระศพ

ชาติทั้งชาติจมหายไปในความรู้สึกสูญเสียที่ท่วมท้น นักเขียนนวนิยายโทคุมิ โรกะ บรรยายไว้ว่า

การสวรรคตของสมเด็จพระจักรพรรดิได้ปิดบันทึกประวัติศาสตร์ในรัชสมัยเมจิลงแล้ว
ข้าพเจ้ารู้สึกราวกับว่าแม้ชีวิตของตัวเองก็ถูกปลิดหลุดจากขั้ว

ยะมะงะตะเองก็สะเทือนใจ จนถ่ายทอดออกมาในบทกวีว่า

แสงฟ้า วันนี้ ดับลงแล้ว ปล่อยให้โลก มิดมืด

คืนวันที่ 13 กันยายน ประชาชนต่างยืนเบียดเสียดกันรอรับขบวนเสด็จอย่างเงียบๆ ขณะที่หีบบรรจุพระศพบนพระราชยานเทียมโคเคลื่อนผ่านเสียงเดียวที่ได้ยินคือเสียงกงล้อบดเบาๆไปบนพื้นทรายกับเสียงเอียดอาดของเพลารถ พอกระบวนแห่เคลื่อนไปถึงศาลาพระราชพิธีที่สร้างขึ้นบนลานสวนสนามโอยามาที่เตรียมไว้สำหรับวาระนี้โดยเฉพาะ สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช จักรพรรดิพระองค์ใหม่ได้มีพระราชดำรัสสรรเสริญสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ นายกรัฐมนตรี(เจ้าชายไซอองจิ) และสมุหราชมนเทียร(วาตานาเบ จิอากิ) ก็ได้กล่าวคำสรรเสริญแด่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิด้วยเช่นกัน

วันที่ 15 กันยายน ได้อัญเชิญพระศพจากกรุงโตเกียว ไปสู่นครเกียวโตโดยทางรถไฟเพื่อประกอบพิธีฝังพระศพไว้ที่สุสานหลวงโมโมยามะ เขตฟุจิมิ เหตุการณ์เดียวที่ทำให้ช่วงเวลาที่คนทั้งชาติกำลังโศกเศร้าและไว้ทุกข์ต้องสะดุดไปคือข่าว นายพลโมงิ หนึ่งในวีรบุรุษจากสงครามญี่ปุ่น-รัสเซีย พร้อมด้วยภริยา กระทำพิธีอัตวินิบาตกรรมภายในบ้านพักของตัวเองเมื่อวันที่ 13 กันยายน

สำหรับชาวญี่ปุ่นหลายคน การตายของนายพลโมงิ กระตุ้นให้พวกเขาหวนรำลึกถึงประเพณีปฏิบัติของซามูไรในยุคกลางที่จะตามเจ้านายของตนไปยมโลกด้วยความจงรักภักดี แต่สำหรับคนอื่นๆการตายของโมงิกลับเป็นเรื่องหลงยุคหลงสมัย และขัดกับเจตนารมณ์ที่ต้องการพาญี่ปุ่นเข้าสู่การเป็นสมัยใหม่ที่สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงเป็นสัญลักษณ์

ในฐานะที่ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณชน และมีพระบรมฉายาลักษณ์ไว้ให้ชมบารมีแทนสมเด็จพระบรมสาทิสลักษณ์เช่นในสมัยก่อน ต้องนับว่าสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิทรงมีบุคลิกภาพที่เด็ดขาด เปี่ยมด้วยอำนาจยิ่ง โดยรวมแล้ว พระราชจริยวัตรที่งามสง่าของสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ ส่งให้ทรงเป็นจักรพรรดิของญี่ปุ่นยุคใหม่เพียงพระองค์เดียวที่เรียกได้ว่าทรงพระบรมเดชานุภาพ อย่างแท้จริง

ในปี พ.ศ. 2456 รัฐสภาได้ตัดสินใจสร้างอารามแห่งหนึ่งขึ้นที่เขตโยโยงิ กรุงโตเกียว เพื่ออุทิศถวายแด่ดวงพระวิญญาณ เป็นการประโลมจิตใตและบรรเทากระแสจงรักภักดีแบบสุดโต่งของประชาชาชนลงบ้าง ก่อนที่พระอารามจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2463 หนุ่มสาวหลายพันคนอาสาเข้าช่วยก่อสร้างพระอาราม และปลูกต้นไม้ที่นำมาจากทุกภาคของประเทศให้เต็มพื้นที่สวนอันกว้างขวางโดยรอบ ความเทิดทูนบูชาในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิของพวกเขายังคงมีสูง โดยมีรายงานว่า หญิงสาวบางคนแสดงความประสงค์ที่จะถูกฝังทั้งเป็นใต้พระอารามก่อนสร้างเสร็จ โชคดีที่มีคนเกลี้ยกล่อมให้หญิงสาวเหล่านั้นตัดปอยผมของตนถวายแทน

อ้างอิง

  • Sidney Devere Brown and Akiko Hirota, 'The Diary of Kido Takayoshi', 3 vois., Tokyo: University of Tokyo Press, 1983-86
  • Herschel Webb, 'The Japanese Imperial Institution in the Tokugawa Period', New York: Columbia University Press, 1968
ก่อนหน้า จักรพรรดิเมจิ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิโคเม จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(พ.ศ. 2410 - พ.ศ. 2455)
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช
พระเจ้าซุนจง ประมุขแห่งเกาหลี
(พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2455)
สมเด็จพระจักรพรรดิไทโช|}