ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ. เค. โรว์ลิง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
RedBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต ลบ: si:ඡේ.කේ. රෝලින්
บรรทัด 219: บรรทัด 219:
[[se:J.K. Rowling]]
[[se:J.K. Rowling]]
[[sh:J. K. Rowling]]
[[sh:J. K. Rowling]]
[[si:ඡේ.කේ. රෝලින්]]
[[simple:J. K. Rowling]]
[[simple:J. K. Rowling]]
[[sk:Joanne Rowlingová]]
[[sk:Joanne Rowlingová]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:30, 24 สิงหาคม 2553

โจแอนน์ แคทเธอลีน โรว์ลิ่ง
เกิด31 กรกฎาคม พ.ศ. 2508
 สหราชอาณาจักร เยทต์
นามปากกาเจ. เค. โรว์ลิ่ง
อาชีพนักเขียน
สัญชาติอังกฤษ
ช่วงเวลาค.ศ. 1990-
แนววรรณกรรมเด็ก, นวนิยายแฟนตาซี,วรรณกรรมเยาวชน

ลายมือชื่อไฟล์:JKRS.jpg
เว็บไซต์
http://www.jkrowling.com

โจแอนน์ "โจ" โรว์ลิ่ง (Joanne "Jo" Rowling, OBE) หรือที่รู้จักในนามปากกา เจ. เค. โรว์ลิ่ง (เกิด 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2508) ผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีทรัพย์สินร่วม 2,000 ล้านบาท ขึ้นทำเนียบบุคคลรวยที่สุดอันดับ 122 ของอังกฤษ

เธอเกิดมาในครอบครัวของนักอ่าน บิดามารดาสะสมหนังสือไว้มากมาย ปีเตอร์ พ่อของเธอเป็นวิศวกร ในขณะที่ แอนด์ แม่ของเธอเป็นลูกครึ่งฝรั่งเศส-สกอตต์ ทำหน้าที่แม่บ้านดูแลเธอ และ ได น้องสาว โจเขียนหนังสือเรื่องแรกของเธอมีชื่อว่า Rabbit เมื่ออายุเพียงห้าขวบ และพ่อแม่ของเธอก็กระตือรือร้นในการปลูกฝังจินตนาการของลูกสาวคนโต เมื่อโจอายุได้ 14 แม่ของเธอก็ป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตตีบ

เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา เจ.เค.โรว์ลิ่งเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรีทางด้านภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมคลาสิกที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ แต่ หลังจากเรียนจบแล้วเธอมุ่งหน้าไปสู่ลอนดอน และได้งานเป็นเลขานุการองค์การนิรโทษกรรมระหว่างประเทศ

แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 1990 ขณะที่เธออยู่บนรถไฟระหว่างสถานีแมนเชสเตอร์ และคิงส์ครอสในลอนดอน โจแอนก็แว่บความคิดเกี่ยวกับเด็กกำพร้าผู้ค้นพบว่าเขาคือพ่อมด เธอรีบตรงกลับบ้านและบันทึกความคิดนี้ลงบนกระดาษทันที และนี่คือจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในหกปีต่อมา ต่อมาเจ.เค.ย้ายไปเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่ประเทศโปรตุเกส ณ ที่นั้นเธอได้แต่งงานกับนักหนังสือพิมพ์ชาวโปรตุเกสและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อเจสสิก้า ก่อนที่ทั้งคู่จะแยกทางกันและเจ.เค.ก็ย้ายไปอยู่สกอตแลนด์พร้อมกับเจสสิก้า ลูกสาว

ระหว่างที่เธอกลายเป็นคนว่างงานและเลี้ยงชีพด้วยเงินช่วยเหลือของรัฐบาลนี้ เจ.เค.ใช้เวลาว่างเขียนนวนิยายเกี่ยวกับเด็กชายพ่อมดที่เริ่มไว้จนจบ เจ.เค.โรวลิ่ง เคยให้สัมภาษณ์ว่าเธอเลี้ยงลูกสาวตามลำพังด้วยเช็คสังคมสงเคราะห์มูลค่า 70 ปอนด์ต่ออาทิตย์ อาศัยอยู่ในแฟลตโลโซ (หนูชุม) ค่าเช่าอาทิตย์ละ 230 ปอนด์ ซึ่งทำให้เธอต้องพาลูกมาเลี้ยงอยู่ที่ร้านกาแฟของน้องเขยทุกวัน พลางเขียนนิยายที่กลายเป็นหนังสือเบส์เซลเล่อร์ทั่วโลก และหลังจากถูกปฏิเสธจากหลายสำนักพิมพ์ ในที่สุดเจ.เค.ก็ขายลิขสิทธิ์เรื่องนี้ได้โดยได้รับเงินราว 4,000 ดอลลาร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ผลงานชิ้นแรกของเธอได้โอกาสตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1997 ด้วยยอดพิมพ์ต่ำกว่า 1,000 ฉบับ โดยเจ้าของสำนักพิมพ์แนะนำให้เธอใช้ตัว เจ. ที่เป็นตัวย่อชื่อหน้าของเธอเป็นนามปากกาดีกว่าใช้ชื่อจริงของเธอว่า โจแอนน์ เนื่องจากนักอ่านเด็กผู้ชายอาจจะไม่ชอบที่รู้ว่าเป็นงานที่ผู้หญิงเขียน โดยตัวย่อชื่อกลางอย่างตัว เค. นั้นเธอยืมมาจากเคธลีน ซึ่งเป็นชื่อของย่าเธอนั่นเอง

หลังจากที่ผลงานเล่มแรกของเธอเปลี่ยนหัวให้เป็น แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์สำหรับการจัดจำหน่ายในสหรัฐฯเมื่อปี 1998 ทั้งโลกก็ได้รู้จักกับปรากฏการณ์แฮร์รีฟีเวอร์ทันที

หลังจากผลิตผลงานมาทุกปีตั้งแต่ปี 1997 ถึงปี 2000 เธอก็หยุดพัก ซึ่งเป็นระยะห่างของเวลาถึง 3 ปีระหว่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ผลงานเล่มที่ 4 และ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ผลงานเล่มที่ 5 ที่ออกสู่สายตาแฟนหนังสือเมื่อปี 2003 ซึ่งช่วงที่เว้นว่างนั้นเอง เธอได้แต่งงานอีกครั้งกับ นิล เมอร์เรย์ นายแพทย์ชาวสก็อตต์ ก่อนที่จะย้ายมาอยู่ด้วยกันในบ้านที่เอดินเบรอะ ร่วมกับลูกๆ ทั้ง 2 คนของพวกเขาทั้ง เดวิด วัย 4 ขวบ และ แม็คเคนซี วัย 2 ขวบ รวมทั้ง เจสซิกา ลูกสาวที่เกิดจากอดีตสามีนักข่าวชาวโปรตุเกส

ในที่สุดปี2005 ผลงานภาคที่6ของเธอ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมออกวางจำหน่าย โดยในวันแรกสามารถขายได้มากถึง 850,000เล่ม โดยหลังจากนั้นสามารถขายได้ถึง 65 ล้านเล่ม และในเล่มนี้ โรว์ลิ่งยังทิ้งปมปริศนาไว้มากมายและเธอพร้อมแล้วที่เธอจะเขียนเล่มที่ 7 เล่มสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์

ปลายปี2006เธอได้ประกาศชื่อตอนของเล่มที่ 7 ซึ่งชื่อนั้นก็คือ Harry Potter and the Deathly Hallowsซึ่งได่มีการคาดการต่างๆถึงเหตุการณ์ในเรื่องชื่อตอน ความหมายของเชื่อตอน ในประเทศไทยเองก็ได้มีการแต่งเรื่องของเล่ม 7 ขึ้นมาจากการคาดเดา และคาดเดาชื่อและแปลชื่ออกมาคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเสียงเพรียกแห่งความตาย ซึ่งเป็นการแปลที่ผิด เพราะคำว่า Hallows ไม่ได้หมายถึงเสียงร้องหรือเสียงเรียกอย่างเดียวแต่ยังหมายถึงการทำให้ศักสิทธิ์หรือศักสิทธิ์

ในกลางปี 2007 ราวเดือนกรกฎาคม แฮร์รี่ พอตเตอร์ภาค7 วางจำหน่าย เฉพาะวันแรกที่วางจำหน่ายแล้วสามารถขายได้ถึง 1.2 ล้านเล่ม เฉพาะที่อังกฤษเท่านั้น ไม่ถึงอาทิตย์ขายไปได้ถึง 44 ล้านเล่ม ในไม่กี่วัน ลบล้างสถิติของภาคที่ 6 ไปอย่างถล่มทลาย และชื่อภาษาไทยคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต

ปี 2008 หลังจากหนังสือเล่มสุดท้ายของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่มีชื่อว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตวางแผงและออกจำหน่าย ซึ่งในเนื้อหาของเล่มที่7นี้ได้จบเรื่องราวของพ่อมดแฮร์รี่ พอตเตอร์ลง แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีกระแสเรียกร้องให้ เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียน เขียนหนังสือชุดนี้ในเล่มที่ 8 เธอออกมากล่าวว่า เธอไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่มีหนังสือเล่มที่ 8 แต่ตอนนี้เธอยังไม่ได้เขียน ซึ่งถ้าเธอจะเขียนอาจจะหลังจากนี้อีกซะสิบปีแล้วค่อยว่ากันอีกที่

แต่เธอก็ได้ประกาศว่าเธอได้เขียนหนังสือนิยายเล่มใหม่ของเธอ พร้อมกับบอกว่าเธอได้เขียนหนังสือสารานุกรมเกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ซึ่งมีเรื่องต่างๆเกี่ยวกับแฮร์รี่ พอตเตอร์ที่เธอไม่ได้เขียนลงในหนังสือ เธอจะนำมาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้อ่านกันในหนังสือสารานุกรมนี้แต่เธอพูดว่าคงต้องใช้เวลาอีกหน่อย หลังจากนั้นไม่ถึงเดือนสำนักพิมพ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์หนังสือสารานุกรมไปก่อนหน้าที่เจ. เค. โรว์ลิ่งจะได้เขียน จึงได้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเธอได้ฟ้องร้องสำนักพิมพ์ที่นำสารานุกรมไปจำหน่ายโดยไม่ขอเธอ และชนะการฟ้องครั้งนั้นในที่สุด

หลังจากการฟ้องร้องจบลงเธอได้เขียนนิทานที่เขียนด้วยลายมือของเธอเอง ในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Tales of Beedle The Bard หรือในชื่อภาษาไทยที่ชื่อว่า เดอะ บีเดิล ยอดกวี ซึ่งนิทานเล่มนี้ได้มีปรากฏอยู่ในเล่มที่ 7 ซึ่งเธอเขียนขึ้นมาเจ็ดเล่มในโลกเท่านั้น และได้นำหกเล่มไปบริจาคให้กับบุคคลที่ได้ทำใหเธอประสบความสำเร็จ อีกหนึ่งเล่มนำไปประมูล ในราคาหลายล้านปอนด์ แต่ก็ได้มีเด็กสาวชาวออสเตรเลียคนหนึ่งซึ่งได้แต่งคำกลอนประกวดและชนะเลิศโดยเธอได้อ่านเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามสำนักพิมพ์ของอังกฤษก็ได้เตรียมการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เป็นการวางแผงและจำหน่ายหนังสือเล่มนี้อีกด้วย ส่วนในประเทศไทยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ก็ยังไม่ได้ยืนยันว่าจะตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้หรือไม่ ซึ่งเสียงเรียกร้องจากแฟนๆ แฮร์รี่ก็ร้องเรียนและเฝ้าถามบริษัทนานมีบุ๊คส์แทบทุกวัน ซึ่งมีการแปลเป็นภาษาอื่นถึง 23 ภาษาไปแล้ว ได้แก่ ภาษาอังกฤษและอเมริกาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ดัตช์ อิตาลี เกาหลี โปแลนด์ สโลวาเกีย จีนไต้หวัน เช็ก โปรตุเกสบราซิล เดนมาร์ก โปรตุเกส นอร์เวย์ รัสเซีย ฮิบรู สเปน ฮังการี กรีก สเปน จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม และฟินแลนด์ แต่แฟนๆ หนังสือที่ทนรอไม่ได้ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวว่าให้ตีพิมพ์หรือไม่ก็บอกว่าจะถูกสำนักพิมพ์อื่นซื้อลิขสิทธิ์และออกจำหน่ายแทนนานมีบุ๊คส์ แต่ทางนานมีบุ๊คก็บอกว่าจะต้องรออีกหน่อยเพราะกำลังประชุมเรื่องนี้อยู่

แต่หลังจากเจ. เค. โรว์ลิ่งได้เขียนหนังสือนิทานเล่มนี้แล้วนั้นเธอก็ได้เขียนเรื่องราวสั้นๆ จำนวน 800 คำ ลงในกระดาษที่เป็นเรื่องราวของเจมส์ พอตเตอร์กับ ซีเรียส แบล็ก ปะทะกับตำรวจมักเกิ้ลธรรมดา เป็นเรื่องราวก่อนแฮร์รี่จะเกิด 3 ปี

ประวัติ

ก่อนกำเนิดนักเขียน

ในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1964 ที่สถานนีรถไฟคิงส์ครอส ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษปีเตอร์ โรว์ลิ่งทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ และแอนน์ โวลแลนท์ ทั้งคู่ได้ไปขึ้นรถไฟขบวนเดียวกัน ในขณะทั้งคู่มีอายุ 18 ปี ต่างกำลังจะไปรับตำแหน่งใหม่ ที่อาร์บรอธ ทางฝ่ายตะวันตกของสก็อตแลนด์ ปีเตอร์ได้นั่งติดกับแอนน์ และสนทนากันอย่างถูกคอ เมื่ออากาศหนาว ปีเตอร์จึงให้แอนน์ยืมเสื้อโค้ทของเขา และทั้งคู่ได้ลงจากรถไฟพร้อมกัน

ไม่นานนักทั้งคู่คิดว่าตนไม่เหมาะกับชีวิตทหารเรือ จึงลาออก และแต่งงานด้วยกัน ใช้ชีวิตอยู่ในชนบท แต่หลังจากนั้นก็ได้ย้ายบ้านไปอยู่บ้านชั้นเดียวแถวถนนซันดริทจ์ พาร์ค ใกล้ๆกับทุ่งโล่ง

แม้จะอยู่ในช่วงวัยรุ่น แต่ทั้งคู่ก็พร้อมรับผิดชอบและพร้อมที่จะมีครอบครัว ปีเตอร์ต้องการที่จะเป็นวิศวกร และก็ได้รับตำแหน่งวิศวกรฝึกงาน ส่วนแอนน์ใช้ชีวิตคู่อยู่ในบ้านหลังใหม่ ทำสวน ทำความสะอาดบ้านและพร้อมที่จะมีลูก


กำเนิดนักเขียนผู้ร่ายมนตร์

ในวันที่ 31 กรกฎาคม ปีค.ศ. 1965 แอนน์ได้ให้กำเนิดทารกเพศหญิง ที่โรงพยาบาลคอนเทจ ในเยทต์ และตั้งชื่อให้ว่า โจแอนน์ โรว์ลิ่ง แต่ไม่มีชื่อกลางรากฎในสูจิบัตร และทุคคนต่างเรียกเธอว่า โจ และหลังจากนั้น 2 ปี ทั้งคู่ก็ได้ให้กำเนิดลูกสาวคนที่สอง ชื่อว่าไดแอนน์ โรว์ลิ่ง ไม่มีชื่อกลางเช่นกันและเรียกเธอว่า ได

หลังจากที่ครอบครัวโรว์ลิ่งอยู่ในเยทต์ 2-3 ปีสภาพะแวดล้อมก็เปลี่ยนไป พีทและแอนน์พบว่ามีบ้านอยู่อาศัยและธุรกิจใหม่ๆย้ายเข้ามาตั้งบนพื้นที่โล่งกว้างซึ่งเมื่อก่อนมันเคยดึงดูดความสนใจให้พวกเขามาอยู่ที่บ้านหลังนี้ เมืองเล็กๆมีบรรยากาศเงียบสงบกำลังจะหายไป เมื่อโจอายุได้ 4 ขวบ ครอบครัวโรว์ลิ่งย้ายเข้าไปอยู่บ้าน 3 ห้องนอนที่ทันสมัย บนถนนนิโคลล์สใกล้ๆกับวินเทอร์บอร์น แถวย่านชานเมืองที่กำลังจะเติบโตและยังคงมีทุ่งหญ้าเขียวขจีอยู่ทั่วไป

วัยเด็ก

ครอบครัวโรว์ลิ่งได้ลงหลักปักฐานในวินเทอร์บอร์น ปีเตอร์เดินทางไม่ไกลนักจากบ้านไปบริสทอลทุกวันเช่นเดียวกับทุกคนในละแวกนั้น เขาเป็นหนึ่งในพนักงานกว่าหมื่นคน ในโรงงานผลิตเครื่องยนตร์สำหรับเครื่องบินช่วงนั้นบริษัทของพีทได้ควบกิจการกับอีกหลายๆบริษัทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรลส์รอยซ์ พีททำงานหลายชั่วโมงต่อวัน ในไม่ช้าเขาก็ได้ย้ายจากฝ่ายผลิตไปอยู่ในตำแหน่งของผู้บริหาร

หมู่บ้านที่พวกโรว์ลิ่งได้ย้ายมาอยู่นั้นมีเด็กๆจำนวนมาก พวกแม่ๆก็จะรวมกลุ่มคุยและดื่มชาด้วยกัน ในขณะที่เด็กๆก็พากันเล่นในสนามบนถนนนิโคลส์ ในบรรดาเพื่อนเล่นนี้มี เอียนกับวิกกี้ พอตเตอร์ คู่พี่น้องชายหญิงซึ่งโจชอบนามสกุลมากเป็นพิเศษ แต่เธอไม่ค่อยชอบใจนามสกุลของตัวเองมากนัก เพราะเพื่อนๆมักล้อเธอว่าเธอเป็น"โรว์ลิ่ง สโตน"และ"โรว์ลิ่ง พินส์" ซึ่งมันตรึงใจเธอและเธอเก็บมันไว้ในใจตลอดเวลาที่เธอเติบโต

แอนน์พยายามดูแลบ้านที่แสนวุ่นวายให้มีระเบียบ และเธอก็ไม่รู้จักเหน็ดเหนี่อย และเธอก็กลายเป็นแม่บ้านที่มีฝีมือในการทำอาหารและทำอาหารให้ทุกคนในครอบครัวได้กินกัน

โจรักในการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก หนังสือเล่มแรกที่โจจำได้ว่าเธออ่านนั้นคือ The Wind in the Willows เขียนโดยเคนเนธ แกรห์ม เมื่อเธอเรื่มหัดตอนอายุ 4 ขวบ โดยพ่อนั่งข้างๆเธอ แลละอ่านหนังสือเรื่องการผจญภัยของสัตว์นานาชนิด ที่อยู่ตามชนบทในอังกฤษ มี หนู คางคก ตัวตุ่น และตัวแบดเจอร์ ซึ่งโจติดใจมาก โจได้กลายเป็นนักเล่านิทานและมักบังคับให้ไดน้องสาวเธอฟัง โจมักเล่าเรื่องของกระต่าย เพราะเธอใฝ่ฝันที่จะเลี้ยงกระต่าย

โจเข้าโรงเรียนเมื่อเธออายุ 5 ขวบ ที่โรงเรียนที่ชื่อว่าโรงเรียนโบสถ์เซนต์ไมเคิล โจเริ่มชอบโรงเรียนเล็กๆของเธอ น้องสาวเธอก็เช่นกัน ช่วงปีแรกๆของการเรียน โจรักนิทานมากขึ้น หนังสือเล่มโปรดของเธอหลายเล่มของเธอนั้นเยนโดย ริชาร์ด สแกร์รี่ เธอเขียนเรื่องราวตลกๆไว้ในแต่ละวัน เกี่ยวกับท่าทางหรืออุปนิสัยของสัตว์ต่างๆ เธอเขียนในตอนเธออายุ 6 ขวบ ในเรื่องที่ชื่อว่า Rabbit ตัวละครในเรื่องคือกระต่ายออกหัด และมีเพื่อนเป็นผึ้งตัวใหญ่ชื่อมิสบี ที่แวะมาเยี่ยมเพื่อทำให้กระต่ายรู้สึกดีขึ้น โจเอานิทานเรื่องนี้ให้แม่ดู แม่เธอก็ชมตามประสาคนเป็นแม่ ความคิดของโจตอนนั้นเธอคิดว่าจะเอามันไปตีพิมพ์

ในปี ค.ศ. 1974 โจอายุ 9 ปี ครอบครัวโรว์ลิ่งก็ได้พบกับทุทฮิลล์ซึ่งป็นหมู่บ้านเล็กๆบนพรมแดนอังกฤษกับแคว้นเวลส์ ปีเตอร์เป็นคนชอบตกแต่งซ่อมแซมบ้านเก่าเสมอ เมื่อทั้งปีเตอร์และแอนน์ไปเจอประกาศขายบ้านที่สร้างด้วยหิน ตั้งอยู่ตรงข้ามโบสถ์คอทเทจ ทั้งคู่จึงรีบซื้อและวางแผนจะย้ายจากวิทเทอร์บอร์น ที่แห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำไวซ์และแม่น้ำเซเวิร์น มีป่าเก่าแก่เรียกว่าป่าแห่งดีน ป่านี้เต็มไปด้วยต้นโอ๊ค ต้นบีชและต้นสนที่รายล้อมใกล้ๆ ครอบครัวโรว์ลิ่งมองเห็นวิวที่สวยงามจับใจได้จากบ้านหลังนี้ โบสถ์คอมเมจเป็นโรงเรียนเล็กๆประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งหมู่บ้านต้องการโรงเรียนที่ใหญ่ขึ้น โรงเรียนจึงตั้งอยู่ข้างโบสถ์เซนต์ลุคและสุสาน

ชีวิตวัยเด็กของโจที่ ทุทส์ฮิลล์เริ่มยุ่งยากมากขึ้น เมื่อย่าของเธอ แคทลีน โรว์ลิ่ง เสียชีวิตอย่างกระทันหันเนื่องจากหัวใจวายกระทันหัน โจนั้นรักย่าของเธอมาก ทุกครั้งที่โจและไดได้พบกับปู่เออร์นี่และย่าแคทลีนของพวกเธอ ก็จะถือว่าเป็นอะไรที่พิเศษมากๆ ปู่กับย่ามีร้านขายของชำและพักอยู่ชั้นบนของร้าน ทุกครั้งที่พวกเธอสองคนไปเยี่ยมปู่กับย่า เด็กทั้งคู่จะเล่นขายของกันด้วยอาหารกระป๋องจริงๆและใช้เงินจริงๆ โดยเล่นกันนานเป็นชั่วโมง โจจะเล่นเป็นเจ้าของร้านส่วนไดจะเล่นเป็นลูกค้า

ไม่นานนักโจดก็คุ้นเคยกับชีวิตใหม่และโรงเรียนใหม่ในทุทส์ฮิลล์ เธอกับน้องสาวชอบเล่นซุกซนค้นหาสิ่งใหม่ๆในป่าข้างๆ แม่น้ำไวย์ด้วยกันทั้งคู่เข้าเป็นสมาชิกของสโมสร บราวน์นี่ เป็นสโมสรอบรมเด็กๆในเรื่องความปลอดภัย การปฐมพยาบาลขั้นต้นและเรื่องการบริหารชุมชน สโมสรบราวน์นี่มักมีกิจกรรมอยู่เสมอ เช่นจัดงานคริสต์มาสต์และฮาโลวีนให้กับคนแก่คนในหมู่บ้าน ส่วนที่โรงเรียน โจได้พิสูจน์ให้คุณครูของเธอเห็นว่าเธอเป็นนักเรียนที่ดี ช่วงสุดท้ายของปีการศึกษามิสซิสมอร์แกนได้ย้ายโจจากแถวด้านขวาซึ่งเป็นที่นั่งของเด็กนักเรียนที่ไม่ฉลาดไปอยู่แถวซ้ายซึ่งเป็นแถวของนักเรียนที่ฉลาด

ทุกซอกทุกมุมของบ้านของครอบครัวโรว์ลิ่ง เต็มไปด้วยหนังสือ และหนังสือยังคงมีบทบาทสำคัญกับชีวิตโจอย่างต่อเนื่อง เธอจะอ่านทุกอย่างที่เจอะเจอพ่อแม่ของเธอก็ชอบใจ พยายามหาหนังสือให้เธออ่านอย่างไม่ขาดสาย หนังสือเล่มโปรดของเธอคือ The Little White Horse เขียนโดย เอลิซาเบธ กูด์จ เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงกำพร้าคนหนึ่ง ที่ต้องอาศัยอยู่กับลุงของเธอ โจใฝ่ฝันเป็นนักเขียนมาตลอด แต่เธอก็ไม่เคยบอกใครเรื่องความใฝ่ฝันของเธอเลย

วัยรุ่น

เมื่อโจก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โจลดความเคร่งขรึมลง เธอได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมไวย์ดีน ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลตั้งอยู่ใกล้หมูบ้านเซ็ดเบอรี่ โจเข้ากลุ่มกับพวฃกนักเรียนที่ฉลาดและคงแก่เรียนอย่างรวดเร็ว ช่วงเวลาพักเที่ยงพวกเพื่อนๆจะเล่านิยายให้เธอได้ฟังอยู่บ่อยๆ ในตอนกลางวัน ซึ่งโจเรียกมันว่านิยายรักๆเสมอในเวลาที่เพื่อนเธอเล่าให้เธอฟัง

ถึงแม้โจนั้นจะไม่ถนัดวิชาในเชิงปฏิบัติ เช่นเกี่ยวกับการทำโลหะ วิชาช่างทำไม้ หรือพละศึกษา แต่เธอก็ได้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษดีเยี่ยม ในเรื่องการเขียนเรื่องที่มีความคิดสร้างสรรค์ ครูวิชาภาษอังกฤษคือมิสลูซี่ เชพเพิร์ด ซึ่งเป็นครูที่สร้าแรงบันดาลใจให้เธอ และมีความคาดหวังอย่างสูงกับนักเรียนของเธอ ซึ่งโจเคารพเธอมาก เพราะเธอทุ่มเทให้กับการสอนของพวกเธอ ซึ่งโจก็ได้เรียนรู้การเรื่องความสำคัญของโครงร่างในการเขียนต่างๆนานา และการดำเนินการเขียน หนังสือยังมีอิทธิพลต่อเธอไม่หยุดหย่อน เธอรักนิยายช่วงศตวรรษที่ 19

หลังจากโจและได ได้เข้าเรียนโรงเรียนมัธยมแล้วนั้น แอนน์ โรว์ลิ่งได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยในห้องแล็ป ที่แผนกเคมีของโรงเรียน แอนน์สนุกกับการทำงานกับหลอดแก้วและสารเคมีต่างๆ และพบว่าตัวองชอบอยู่กับเด็กนักเรียน งานนี้ทำให้เธอได้อยู่กับลูกๆแต่ละวัน 3 คนแม่ลูก จะเดินไปโรงเรียนและกลับบ้านด้วยกัน แต่ช่วงหลังแอนน์เริ่มมีปัญหา และพบว่าเธอเป็นโรคเส้นโลหิตตีบ หลังจากนั้นสุขภาพของแอนน์แย่ลงเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าแอนน์จะพยายามทำตัวให้เป็นปกติ แต่โจไม่สบายใจ เธอคร่ำเคร่งกับการเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน และเธอยังสนใจเรื่องดนตรีอีกด้วย เธอและเพื่อนๆวัยเดียวกันก็ไปเต้นรำกันบางครั้งบางคราว ตามสถานที่ที่จัดให้เด็กวัยรุ่นแต่ทุทส์ฮิลล์ เป็นเมืองในชนบทเล็กๆที่ไม่มีความตื่นเต้นใดๆ จึงทำให้โจเบื่อหน่ายและอยู่ไม่ติด

โจได้คบหากับ ฌอน แฮริส เด็กชายที่เข้ามาเรียนในปีสุดท้ายที่ไวย์ดีนกับเธอ ฌอนเคยอยู่ไซปรัสมาก่อน และฌอนและโจก็ได้เป็นเพื่อนสนิทกันอย่างรวดเร็ว ฌอนไม่เหมือนโจ เขาขับรถเป็นและเขามีรถฟอร์ดแองเกลียสีฟ้าอมเขียว ระหว่างการเรียนปีสุดท้ายที่โจได้รับอิสระจากครอบครัวและความน่าเบื่อของชนบท พวกเขามักขับรถไปตามทางหลวงต่างๆ ไปหาความสนุกตามคลับและดิสโก้ของบริสทอล นิวพอร์ท และเมืองใหญ่เมืองอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นหนึ่งในความสุขที่สุดของเธอ เธอสนุกกับการขับรถไปเที่ยวตามเมืองใหญ่ต่างๆ กับณอนที่พากันขับรถไปตามที่ต่างๆ โจซึ่งยังไม่เคยบอกใครเรื่องความใฝ่ฝันของเธอที่เธออยากเป็นนักเขียน ในที่สุดเธอได้บอกณอนเป็นคนแรก ซึ่งณอนก็ช่วเหลือโจอย่างเต็มที่

ระหว่างการเรียนปีสุดท้ายที่ไวย์ดีน โจยังคงทำคะแนนได้ยอดเยี่ยมและกลายเป็นดาวเด่นในหมู่เพื่อนๆร่วมชั้น พวกเพื่อนๆได้เลือกให้โจเป็นหัวหน้านักเรียน ซึ่งตำแหน่งนี้มีหน้าที่เป็นตัวแทนของโรงเรียน และช่วยคอยสอดส่องดูแลนักเรียนรุ่นน้อง ถึงตอนนี้โจจะต้องตัดสินใจเรืองอนาคตของเธอถึงแม้ว่าเธอใฝ่ฝันจะเป็นนักเขียน แต่เธอก็มีวามปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมเหมือน เจสสิก้า มิทฟอร์ด คนที่เธอศรัทธา เหนือสิ่งอื่นใดโจอยากออกสู่โลกภายนอกให้ไกลจากเมืองเล็กๆอย่าง ทุทส์ฮิลล์ ครอบครัวพยายามชักจูงเธอให้เธอเลือกเรียนภาษาต่างประเทศเป็นวิชาเอกในมหาวิทยาลัย เพราะมันสามารถเอาไปใช้ได้ในชีวิตจริงและทำให้เธอมีงานที่ความมั่นคงในอาชีพของเธอ ในตำแหน่งเลขานุการที่มีความสามารถใช้ได้หลายภาษา ดังนั้นหลังจากเธอจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมจากโรงเรียนไวย์ดีนในปีค.ศ. 1983 โจทิ้งชีวิตเยบเหงาไว้ในเชิร์ช คอนเทจไว้เบื้องกหลัง และมุ่งหน้าไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์

แม้ว่ามหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ซึ่งตั่งอยู่บนชายฝั่งทะเลตอนใต้ของอังกฤษจะใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์แค่ 2 ชั่วโมงจากทุทส์ฮิลล์แต่มหาวิทยาลัยคือโลกใบใหม่สำหรับโจ หอพันักเรียนหญิงที่เธออยู่นั้นเล็กคับแคบ เธอเป็นเพียงหนึ่งในบรรดานักเรียนหัวกะทิมากมายที่เด่นดังมาจากโรงเรียนในเมืองของตนเอง แต่จู่ๆโจก็รู้สึกหวาดหวั่นและไม่แน่ใจขึ้นมาทันที เมื่อช่วงแรกที่เอ็กเซเตอร์โจคิดว่าจะได้อู่ท่ามกลางคนที่เหมือนๆกัน แต่ไม่ใช่อย่างนั้น โจเริ่มมีเพื่อนที่คิดอ่านเหมือนๆกัน หลังจากนั้นเธอก็เริ่มสนุกขึ้นมาทันที

โจมีเพื่อนมากมายที่ เดวอนเชอร์ เฮ้าส์ ร้านกาแฟของนักศึกษาของเอ็กเซเตอร์ เธอกลายเป็นขาประจำที่บาร์กาแฟแห่งนั้น ซึ่งเป็นที่ที่เหมาะกับการพบปะสนทนา บางครั้งเพื่อนๆก็พากันออกไปผับในตอนกลางคืน ลิ้มรสชาติของความอิสระของชีวิตนักศึกษา โจผู้ขี้อายก็เปลี่ยนเป็นคนที่ชอบสังคมกับหมู่เพื่อนฝูง เธอเริ่มออกเดทกับเพื่อนชายและไม่นานนักก็มีเพื่อนชายที่คบหากันอย่างจริงจัง แต่เธอก็ยังคงชอบคบกับเพื่อนหญิงที่โรงเรียนเก่าไวย์ดีน โจชอบเล่าเรื่องโดยนำเอาบรรดาเพื่อนใหม่ของเธอเป็นตัวเอก

โจเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสที่เอ็กเซเตอร์ ที่เธอพบว่ามันป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดมาก เพราะเธออยากเรียนภาษาอังกฤษ แต่ทุกคนชอบถามเธอว่าเธอเรียนเพื่ออะไร ถึงแม้ว่าเธอใฝ่ฝันอยากป็นนักเขียนมาตลอดแต่เธอก็ไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้เลย เธอจึงบอกแค่เพื่อนสนิทของเธอ และเธอยังคงเขียนเรื่องของเธอต่อไป รวมถึงบทกลอน และเธอต้องยอมรับว่าเธอไม่ได้ขยันเขียนเท่าที่ควร เพราะเธอไม่ได้เป็นนักเขียนดีเด่นอย่างที่ไวย์ดีนอีกต่อไปแล้ว เธอเป็นแค่นักเรียนระดับปานกลางที่รู้จักกันในนามพวกที่ชอบฝันกลางวัน การเรียนของเธอที่มหาวิทยาลัยก็ดีอยู่บ้าง เธอได้รับการเรียนเกี่ยวกับวรรณกรรมคลาสสิกของกรีกโบราณและโรม นิยายโบราณและประวัติศาสตร์ของยุคนั้นได้จุดประกายจินตนาการของเธอ การเรียนภาษาฝรั่งเศสมีภาคบังคับให้เธอเรียน 1 ปีในประเทศฝรั่งเศส เพื่อที่จะเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและอยู่ในสังคมที่ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศส เธอมุ่งมั่นทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้ได้รับปริญญามาครอบครอง ซึ่งต้องเขียนรายงานเป็นภาษาฝรั่งเศสถึง 3000 คำ ตลอดเวลาที่เธอเฝ้าเรียนในมหาวิทยาลัย เธอเสริมอาหารสมองด้วยหนังสือมากมาย หนึ่งในนั้นคือ เรื่องของสองนคร เขียนโดย ชาร์ลส์ ดิกเก้นส์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน จนถึงเวลาจบปีการศึกษาในปี 1987 เธอต้องจ่ายค่าปรับหนังสือบานเบอะเนื่องจากหนังสือทั้งหลายที่เธอยืมเกินกำหนดเวลาของห้องสมุดมหาวิทยาลัย

แรงบันดาลใจ

เจ. เค. โรว์ลิ่ง ผู้เขียนนั้นในวัยเด็กเป็นเด็กที่เรียกได้ว่าอยู่เคียงข้างกับหนังสือตลอดก็ว่าได้เธอรักการอ่านหนังสือเป็นพิเศษ พ่อของเธอ ปีเตอร์ โรว์ลิ่ง มักคอยเล่านิทานหรือหนังสือต่างๆที่มีอยู่ในบ้านให้โรว์ลิ่งได้ฟัง ซึ่งโรว์ลิ่งก็ชอบมากเป็นพิเศษ เธอมักชอบให้พ่อของเธอเล่านิทานเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ เช่น การผจญภัยของกระต่าย เป็นต้น จนเธอเริ่มไขว่คว้าที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ เธอเริ่มต้นอ่านหนังสือในวัยเพียง 5 ขวบเท่านั้น[1] เธอรักที่จะอ่านหนังสือ เธอลองที่จะแต่งหนังสือดูในวัยเพียง 6 ขวบเท่านั้น เธอแต่งนิทานเกี่ยวกับกระต่าย ซึ่งนี่เธอกล่าวไว้ภายหลังว่าที่เธอแต่งแฮร์รี่ พอตเตอร์ว่า การเขียนเรื่องของกระต่ายในวัย 6 ปีของเธอนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เธอแต่งนิยายและวรรณกรรมเยาวชน โรว์ลิ่งยังกล่าวอีกว่าเหตุผลที่เธอเป็นนักเขียนและมาแต่งหนังสือนั้น เหตุผลแรกคือ เธอรักที่จะเขียนมัน และเหตุผลที่สอง เธออยากให้เด็กได้เรียนรู้จากหนังสือของเธอ ให้พวกเขานำสิ่งดีและข้อคิดในหนังสือไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่อื่นๆ เธออยากให้นำมันไปใช้ในเหตุการจริง

ส่วนแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์นั้น โรว์ลิ่งกล่าวว่ามีแรงบันดาลใจให้เธอนับไม่ถ้วน ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เธออ่านหนังสือมากมายตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงวัยทำงาน หนังสือพวกนั้นทำให้ความใฝ่ฝันที่เธอจะเป็นนักเขียนเพิ่มมากขึ้น โรว์ลิ่งมีความสุขที่จะได้อ่าน มีความสุขที่หนังสือ วรรณกรรม วรรณคดี นิยาย ทั้งหมดทั้งมวลที่เธออ่านคอยเพิ่มพูนความสุขมาให้ โรว์ลิ่งมักจะอยู่กับหนังสือเป็นเวลานานๆเธอไม่เคยที่จะเบื่อการอ่านเลย หนังสือทำให้เธอมีความสุข ส่วนที่สองเกิดจากคนรอบข้างเธอตั้งแต่วัยเด็ก เช่น เพื่อนบ้านที่คอยดูแลเธอ เป็นต้น โรว์ลิ่งล้วนรักคนพวกนั้นเธอมักนำขชื่อต่างๆที่เธอเกี่ยวข้องมาลงเขียนในหนังสือเสมอ

ไอเดียเรื่องการเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์เกิดขึ้นในวันที่โรว์ลิ่งขึ้นรถไฟไปหาแฟนหนุ่มที่แมนเชสเตอร์ เมืองอุตสาหกรรมแห่งใหญ่ ทางเหนือของประเทศอังกฤษ ในขบวนรถไฟของสถานีคิงส์ครอสที่จะเดินทางกลับไปที่ลอนดอน โรว์ลิ่งนั่งลงที่นั่งของผู้โดยสารโดยเริ่มแรกเธอคิดเรื่องหนังสือต่างๆที่เธอเคยอ่าน เธอเคยลองเขียนหนังสือมาแล้วและเธออยากจะลองเขียนหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์ดู เธอคิดเรื่องที่จะเขียนหนังสือ ต่อไปเธอคิดเรื่องโครงเรื่องและแนวของหนังสือ เธอตัดสินใจว่าจะเขียนหนังสือเด็กซึ่งก็เหมาะสำหรับเด็กวัย 8-12 ปี เธอคิดต่อไปเรื่องแนวของหนังสือ เธอคิดถึงหนังสือทุกเรื่องที่เธอเคยอ่านมาซึ่งมีหนังสือเล่มหนึ่งที่เธอเค้นหัวสมองออกมาเจอ และคิดว่าแนวเรื่องของเรื่องที่เธอคิดนั้นเป็นอะไรที่สุดยอด หนังสือที่เธอคิดออกก็คือ หนังสือวรรณกรรมไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์[2] ของนักเขียนชาวอังกฤษเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โรว์ลิ่งมองว่าการเขียนของโทลคีนเป็นการเขียนที่มีความอัจฉะริยะในการเขียนหนังสือ เธอเลือกที่จะเขียนหนังสือแนวแฟนตาซีแต่จะจำกัดอายุของผู้อ่านและให้หนังสือของเธอเหมาะสำหรับเด็กอายุ 8-12ปีต่างจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ที่อ่านได้ทุกวัย เธอพยายามคิดถึงตัวเอกเธอตัดสินใจให้เป็นเด็กชาย ส่วนของรูปร่างหน้าตาเธอยังไม่สามารถคิดได้ เธอคิดต่อไป จนในขณะที่เธอมองวิวนอกหน้าต่างอยู่นั้นเธอก็เกิดความคิดขึ้น ภาพของเด็กชายตาสีเขียว ใส่แว่นตา และมีรอยแผลเป็นรูปสายฟ้าอยู่ตรงหน้าผาก โรว์ลิ่งกล่าวว่าความคิดครั้งนั้นเป็นไอเดียที่ดีเลิศที่สุดของเธอ เธอเตรียมจดเรื่องราวใส่กระดาษแต่ไม่ได้พกติดตัวมา รถไฟที่เธอนั่งเดินทางเป็นเวลา 4 ชั่วโมงถึงจะถึงลอนดอน เธอใช้เวลา 4 ชั่วโมงทั้งหมดคิดเรื่องราวของเรื่อง และตั้งชื่อเด็กชายว่า “แฮร์รี่” ซึ่งเป็นชื่อที่เธอโปรดปรานมากที่สุด และตั้งนามสกุลว่า “พอตเตอร์” ซึ่งครอบครัวพอตเตอร์เป็นเพื่อนบ้านสมัยเด็กของโรว์ลิ่ง ซึ่งเธอก็ชอบครอบครัวนี้มากๆและได้ตั้งวันเกิดให้เป็นวันที่ 31 กรกฎาคม เหมือนกับเธอ

แรกเริ่มโรว์ลิ่งคิดให้เด็กชายไปเรียนโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนนั้นเปิดสอนวิชาเวทมนตร์ เธอคิดว่าโรงเรียนต้องเป็น ปราสาทที่ลึกลับ สง่างาม ต้องเป็นโรงเรียนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับฝึกสอนพ่อมดและแม่มดที่ยังเป็นเด็ก เธอคิดว่าโรงเรียนนี้ต้องอยู่ที่ที่เงียบสงบและห่างไกล เธอตั้งชื่อภายหลังว่า สถาบันพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ซึ่งชื่อนี้ก็ได้มาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งของเพื่อนเธอ โรงเรียนแห่งนี้ต้องอยู่ห่างไกล เธอตั้งชัยภูมิให้อยู้ทางเหนือของสก็อตแลนด์ โรว์ลิ่งคุ้นเคยกับปราสาทเก่าแก่มากมายแต่เธอไม่เคยวาดภาพปราสาทฮอกวอตส์ให้เหมือนกับปราสาทเก่าแก่ต่างๆเลย มันเกิดจากจินตนาการของโรว์ลิ่ง โรว์ลิ่งกล่าวว่าอยากให้เรื่องของเธอมีความแปลกใหม่ต่างจากนิยายเรื่องอื่นๆ

เมื่อรถไฟลงถึงที่ลอนดอนเธอรีบตรงกลับไปที่บ้านและจดบันทึกเรื่องราวทุกๆอย่างที่เธอคิด เธอคิดไว้ว่าจะเขียนนิยายภาคต่อ ซึ่งเธอวางแผนว่าจะเขียนให้มีถึง 7 ภาคด้วยกัน แต่ละเล่มคือแต่ละปีของแฮร์รี่ที่ฮอกวอตส์ เธอจินตนาการเพื่อนๆของแฮร์รี่เพิ่มาอีกสองคน นั่นคือ รอน วีสลีย์ และแฮกริด โรว์ลิ่งคิดเรื่องราวใหม่เพิ่มเติมลงไปให้มาก เธอมักเขียนหนังสือที่ร้านกาแฟในเมืองเอดินบาระ เธอคิดค้นหาชื่อตัวละครจากทุกที่ไม่ว่าจะเป็น สมุดโทรศัพศ์ ป้ายร้านค้า นักบุษ นักรบที่ตายในสงคราม โจร ผู้ร้าย หมู่บ้านต่างๆ รวมไปถึงสมุดตั้งชื่อเด็ก เธอยังได้คิดกีฬายอดฮิตของพวกพ่อมดที่มีชื่อว่าควิดดิชที่เธอคิดชื่อและประวัติของกีฬา รวมถึงวิธีการเล่นต่างๆ ลูกบอล ซึ่งโรว์ลิ่งได้นำกีฬาต่างๆมาผสมผสานกัน ได้แก่ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เบสบอล และรวมถึงการเล่นไล่จับ ซึ่งจินตนาการของเธอถือว่ายอดเยี่ยมมากเลยที่เดียว เธอคิดถึงเรื่องราวของแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขาเป็นใคร มีนิสัยอย่างไร อาศัยอยู่กับใคร ครอบครัวเป็นอย่างไร จนข้อมูลทั้งหมดไหลผ่านปลายปากกาของโรว์ลิ่งโยงมาเป็นเรื่องราว โรว์ลิ่งใช้เวลากว่า 5 ปีเพื่อที่จะทำการขัดเกลานิยายของเธอให้สมบูรณ์ ใช้ภาษาให้ดูสวยขึ้น ซึ่งเธอก็กล่าวภายหลังว่าบทควิดดิชในหนังสือเล่มแรกเธอสามารถเขียนได้เร็วที่สุดโดยเธอเขียนเสร็จภายในวันเดียวและแก้คำไปเพียงสองถึงสามคำเท่านั้น 5 ปีหลังจากที่เกิดความคิดที่จะเขียนนิยายเรื่องนี้ หนังสือของเธอก็ได้รับการตีพิมพ์และขายดีไปทั่วโลก

รายชื่อผลงาน

อ้างอิง

  1. หนังสือเจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้สร้างตำนานตำนานแฮร์รี่ พอตเตอร์
  2. หนังสือเจ.เค.โรว์ลิ่ง ผู้สร้างตำนานตำนานแฮร์รี่ พอตเตอร์

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA