ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขงหยง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ptbotgourou (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: fr:Kong Rong
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30: บรรทัด 30:


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
* http://www.thaisamkok.com/character-samkok02.shtml
* [http://www.thaisamkok.com/character-samkok02.shtml ไทยสามก๊ก]


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{ตัวละครในสามก๊ก}}
* [http://www.asianresearch.org/articles/1609.html The story of Kong Rong from the Association for Asian Research]


[[หมวดหมู่ :ตัวละครในสามก๊ก|ขงหยง]]
[[หมวดหมู่ :ตัวละครในสามก๊ก|ขงหยง]]
{{birth|153}}{{death|208}}
{{birth|153}}{{death|208}}
{{ตัวละครในสามก๊ก}}

{{โครงสามก๊ก}}
{{โครงสามก๊ก}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:41, 18 สิงหาคม 2553

ขงหยง
เจ้าเมืองปักไฮ
เกิดพ.ศ. 696
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 751
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม孔融
อักษรจีนตัวย่อ孔融
ชื่อรองอุ๋นจวี
ชื่ออื่น ๆขงปักไฮ

ขงหยง หรือ ขงเล่ง (อังกฤษ: Kong Rong; จีน: 孔融; พินอิน: Kǒng Róng) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นชาวเมืองซีฟู่ ในเขตแคว้นหลู่โก้วะ ( โลก๊ก ) อันเป็นที่เกิดของขงจื้อ มีฉายาว่า อุ๋นจวี เป็นเชื่อสายของขงจื้อลำดับที่ 20 มีสติปัญญาเฉียบแหลม เมื่ออายุ 10 ขวบได้ไปหาหลี่อิ๋ง เจ้าเมือง คนเฝ้าประตูไม่ให้เข้า ขงหยงอ้างว่าเป็นเพื่อนสนิทของเจ้าเมืองจึงเข้าได้ เมื่อหลีอิ๋งถามว่า เป็นเพื่อนสนิทมาตั้งแต่ครั้งไหน ขงหยงตอบว่า บรรพบุรุษของข้าพเจ้า (คือขงจื้อ) ได้ไปถามความรู้เกี่ยวกับประเพณี จากบรรพบุรุษของท่าน ( คือ เล่าจื๊อ ซึ่งชื่อจริงว่า หลีเอ๋อ ) จึงถือว่าสกุลเราสนิทมาหลายชั่วคนแล้ว

หลีอิ๋งประหลาดใจในสติปัญญาของเด็กน้อยผู้นี้มาก พอดีเฉินวุ่ย ขุนนางผู้ใหญ่ตำแหน่งต้าจงต้าฟูมาเยี่ยมหลีอิ๋งจึงเล่าให้เฉินวุ่ยฟัง เฉินวุ่ยก็ว่า เด็กฉลาดไม่แน่นักที่โตขึ้นจะฉลาดเสมอไป ขงหยงโต้ว่า ตัวท่านเองก็เป็นเด็กฉลาดมาก่อนไม่ใช้หรือ พูดคำนี้ทั้งหลีอิ๋งกับเฉินวุ่ย ก็หัวเราะขึ้นพร้อมกัน โตขึ้น ขงหยงได้ดำรงตำแหน่งราชการเป็นจงหลังเจี้ยง เจ้าเมื่องปักไฮ ประชาชานิยมรักใคร่มาก ชอบยกคำโบราณมาพูดเสมอว่า “ในห้องพรั่งพร้อมด้วยเพื่อน ในแก้วเอิบอาบด้วนน้ำเหล้า” เป็นผู้จัดตั้งสถานศึกษาศิลปะวรรณคดี และได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์คนหนึ่งใน 7 ของราชสมัยพระเจ้าเหี้ยนเต้

ครั้งหนึ่งโจโฉต้องการคนดีมีฝีปากไปเกลี้ยวกล่อมเล่าเปียว ผู้ครองแคว้นเกงจิ๋ว มีผู้เสนอให้วานขงหยง แต่ขงหยงไม่ยอมรับ แนะนำให้วานยีเอ๋ง ซึ่งเป็นเพื่อนรักไปแทน แต่ยีเอ๋งเป็นปราชญ์ที่พูดมากเกินไป ชอบยกตนข่มท่าน การเกลี้ยกล่อมจึงไม่สำเร็จ เนื่องจากคอยขัดคอโจโฉบ่อย ๆ โจโฉจึงไม่ชอบ ครั้งสุดท้ายขัดคอไม่ให้ยกทัพไปปราบเล่าปี่ อ้างว่าเล่าปี่เป็นเชื้อสายพระเจ้าเหี้ยนเต้ และตั้งหลักมั่นคงที่เกงจิ๋วแล้ว

โจโฉโกรธ ให้จับขงหยงประหารชีวิตเสีย ขณะที่บุตรกำลังเล่นหมากรุกกันอยู่คนใช้วิ่งมาบอกข่าว และให้ขอให้หนีไปเสีย บุตรขงหยงคนที่สองตอบว่า “ซึ่งท่านเอ็นดูแก่เรานี้คุณก็หาที่สุดมิได้ แต่ธรรมดานกทั้งปวงซึ่งตกฟองในรัง แม้ว่ารังทำลายแล้ว ฟองนั้นก็ตกแตก มิอาจสามารถตั้งอยู่ได้ และบิดาเราถึงแก่ความตายแล้ว บัดนี้ตัวเราผู้เป็นบุตรหรือจะหนีพ้น” พูดมิทันขาดคำทหารโจโฉก็เข้ามาล้อมเรือนจับบุตรภรรยาขงหยงไปฆ่าเสียสิ้น แล้วโจโฉให้เอาศพขงหยงไปประจานไว้ที่สามแพร่ง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น