ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาศิส พิทักษ์คุมพล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
ท่านศึกษาสายสามัญในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสงเคราะห์ประชา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สำหรับสายศาสนานั้นท่านศึกษาระดับซานาวี(มัธยมศึกษาตอนปลาย)ที่โรงเรียนมิฟตาฮุลอูลุมิดดีนียะห์ บ้านดอน เขต[[พระโขนง]] [[กรุงเทพมหานคร]] และที่[[ปอเนาะ]]อัลนาซอนีย๊ะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กับปอเนาะตุยง(ปัจจุบันคือโรงเรียนสกุลศาสน์อิสลาม) อำเภอหนองจิก จังหวัด[[ปัตตานี]] รวมถึงยังศึกษาที่มัสยิดฮารอม เมือง[[มักกะห์]] ประเทศ[[ซาอุดิอาระเบีย]]<ref>[http://fws.cc/council/index.php?action=printpage;topic=65.0 บอร์ดเสวนาสำนักงานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล อ้างจาก นสพ.ส่องใต้(สตูล)]</ref>
ท่านศึกษาสายสามัญในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสงเคราะห์ประชา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สำหรับสายศาสนานั้นท่านศึกษาระดับซานาวี(มัธยมศึกษาตอนปลาย)ที่โรงเรียนมิฟตาฮุลอูลุมิดดีนียะห์ บ้านดอน เขต[[พระโขนง]] [[กรุงเทพมหานคร]] และที่[[ปอเนาะ]]อัลนาซอนีย๊ะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กับปอเนาะตุยง(ปัจจุบันคือโรงเรียนสกุลศาสน์อิสลาม) อำเภอหนองจิก จังหวัด[[ปัตตานี]] รวมถึงยังศึกษาที่มัสยิดฮารอม เมือง[[มักกะห์]] ประเทศ[[ซาอุดิอาระเบีย]]<ref>[http://fws.cc/council/index.php?action=printpage;topic=65.0 บอร์ดเสวนาสำนักงานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูล อ้างจาก นสพ.ส่องใต้(สตูล)]</ref>


ท่านได้รับเลือกจากผู้นำศาสนาให้เป็นประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาเมื่อปี [[พ.ศ. 2530]] ขณะมีอายุได้ 33 ปี และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการเลือกให้เป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการและรองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในชุดที่มีนาย[[สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์]] อดีตจุฬาราชมนตรี เป็นประธานกรรมการ
หลังจากนาย[[ประเสริฐ มะหะหมัด]]ได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นจุฬาราชมนตรี ได้เสนอชื่อท่านเพื่อโปรดเกล้าฯให้เป็นกรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และได้มอบหมายให้ดูแลงานวิชาการร่วมกับนาย[[วินัย สะมะอุน]] ต่อมาในปี [[พ.ศ.2530]] ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาได้ถึงแก่กรรม คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ท่านเป็นประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้มาโดยตลอด และเมื่อพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศใช้ โดยกำหนดให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกอบด้วยกรรมการผู้ที่เป็นผู้แทนของแต่ละจังหวัด ซึ่งท่านก็ได้รับการเลือกให้เป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการและรองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในชุดที่มีนาย[[สวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์]] อดีตจุฬาราชมนตรี เป็นประธานกรรมการ


ในปี [[พ.ศ. 2539]] ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[สมาชิกวุฒิสภา]]สัดส่วนผู้นำศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการในการจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อใช้ในสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงพันตำรวจโท[[ทักษิณ ชินวัตร]]ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เพื่อศึกษาปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาตใต้และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ในปี [[พ.ศ. 2539]] ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น[[สมาชิกวุฒิสภา]]สัดส่วนผู้นำศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการในการจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อใช้ในสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงพันตำรวจโท[[ทักษิณ ชินวัตร]]ได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เพื่อศึกษาปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาตใต้และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:07, 16 สิงหาคม 2553

อาศิส พิทักษ์คุมพล
ไฟล์:Aziz Pitakkhumpol.jpg
เกิด6 มีนาคม พ.ศ. 2490
ไทย ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นอับดุลอาซีซ บิน อิสมาอิล
عبدالعزيز بن إسماعيل
อาชีพนักวิชาการศาสนาอิสลาม
ยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ตำแหน่งจุฬาราชมนตรี
คู่สมรสรอปีอ๊ะ พิทักษ์คุมพล
บิดามารดา
  • มะแอ (อิสมาแอล) เบ็ญสะอีด (บิดา)
  • น๊ะ (อามีนะห์) เบ็ญสะอีด (มารดา)
หมวดหมู่:จุฬาราชมนตรี

อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.)

ประวัติ

อาศิส พิทักษ์คุมพล เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2490 ที่ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยสืบเชื้อสายมาจาก สุลต่าน สุลัยมาน ชาห์ ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ท่านเป็นบุตรของนายมะแอ(ฮัญีอิสมาแอล) กับ นางน๊ะ (อามีนะห์) เบ็ญสะอีด[1] สมรสกับนางรอปีอ๊ะ พิทักษ์คุมพล มีบุตรธิดา 4 คน

ท่านศึกษาสายสามัญในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสงเคราะห์ประชา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา สำหรับสายศาสนานั้นท่านศึกษาระดับซานาวี(มัธยมศึกษาตอนปลาย)ที่โรงเรียนมิฟตาฮุลอูลุมิดดีนียะห์ บ้านดอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร และที่ปอเนาะอัลนาซอนีย๊ะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กับปอเนาะตุยง(ปัจจุบันคือโรงเรียนสกุลศาสน์อิสลาม) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี รวมถึงยังศึกษาที่มัสยิดฮารอม เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย[2]

หลังจากนายประเสริฐ มะหะหมัดได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นจุฬาราชมนตรี ได้เสนอชื่อท่านเพื่อโปรดเกล้าฯให้เป็นกรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และได้มอบหมายให้ดูแลงานวิชาการร่วมกับนายวินัย สะมะอุน ต่อมาในปี พ.ศ.2530 ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาได้ถึงแก่กรรม คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ท่านเป็นประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้มาโดยตลอด และเมื่อพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้ประกาศใช้ โดยกำหนดให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยประกอบด้วยกรรมการผู้ที่เป็นผู้แทนของแต่ละจังหวัด ซึ่งท่านก็ได้รับการเลือกให้เป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลาในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการและรองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในชุดที่มีนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ อดีตจุฬาราชมนตรี เป็นประธานกรรมการ

ในปี พ.ศ. 2539 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสัดส่วนผู้นำศาสนาอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังเป็นที่ปรึกษากระทรวงศึกษาธิการในการจัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษาเพื่อใช้ในสถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เพื่อศึกษาปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาตใต้และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ได้รับลงคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 [3] ซึ่งนับโดยเป็นคนที่ 2 ต่อจากนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 [4]

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นำ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยคณะข้าราชการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวัฒนธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท รับพระราชทานพระบรมราโชวาท

คำปรารภเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี

“ท่านที่เคารพรักทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าได้รับเลือกให้เป็นผู้นำของพวกท่าน และไม่ใช่ว่าข้าพเจ้าจะดีที่สุดไปกว่าพวกท่าน ดังนั้นหากข้าพเจ้ากระทำในสิ่งที่ถูกต้อง แล้ว ขอให้ท่าน ทั้งหลายได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าด้วย และหากข้าพเจ้ากระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องขอให้ท่านทั้งหลายได้ช่วยกันแก้ไข ให้ข้าพเจ้าได้กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ......ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังเชื่อฟังในอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และร่อซูล (ศ.ล.) ของพระองค์ก็ขอให้ท่านโปรดเชื่อฟังข้าพเจ้า และหากข้าพเจ้าไม่เชื่อฟังในอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และร่อซูล (ศ.ล.) ของพระองค์ ดังนั้น พวกท่านก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆที่จะต้องเชื่อฟังข้าพเจ้า”

บทบาทก่อนรับตำแหน่งจุฬาราชมนตรี

  • สมาชิกวุฒิสภา (พ.ศ. 2539 – 2543)
  • รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คนที่ 1
  • รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คนที่ 1
  • ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2530-ปัจจุบัน)
  • ประธานชมรมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้
  • สมาชิกสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ประธานคณะกรรมการยุติธรรม ความเสมอภาค และความมั่นคง ในสมาชิกสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการฮัจญ์ ในสมาชิกสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • กรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหา และการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา
  • ประธานคณะทำงานปรับปรุง ยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยครอบครัวและมรดกตามหลักการอิสลาม
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการฮัจญ์ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตาม เร่งรัด ประเมินผลการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา
  • กรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • กรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ
  • กรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ตากใบ
  • ประธานคณะทำงานปรับปรุงยกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยครอบครัวและมรดกตามหลักการอิสลาม
  • กรรมการจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
  • กรรมการจัดทำหลักสูตรและตำราอิสลามศึกษา สมาคมคุรุสัมพันธ์
  • กรรมการส่งเสริม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • กรรมการส่งเสริม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • กรรมการส่งเสริม วิทยาลัยอิสลามยะลา[5]


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทุติยาภรณ์ช้างเผือก

อ้างอิง