ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พยอม สีนะวัฒน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kongoon (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 46: บรรทัด 46:
*[http://www.culture.go.th/supreme/artist_project.php?no=3&subno=3&subdetail=2&artistNo=8 หออัครศิลปิน]
*[http://www.culture.go.th/supreme/artist_project.php?no=3&subno=3&subdetail=2&artistNo=8 หออัครศิลปิน]
*[http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=13&pic_id=&side=ach_prt ศิลปินแห่งชาติ]
*[http://art.culture.go.th/index.php?case=artistDetail&art_id=13&pic_id=&side=ach_prt ศิลปินแห่งชาติ]
* [http://www.sisaketdb.com/ เว็บไซต์ฐานข้อมูลจังหวัดศรีสะเกษ] เว็บไซต์ฐานข้อมูลจังหวัดศรีสะเกษ แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน โบราณวัตถุ โรงแรมที่พัก อาหารการกิน


{{ศิลปินแห่งชาติ/ทัศนศิลป์}}
{{ศิลปินแห่งชาติ/ทัศนศิลป์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:30, 16 สิงหาคม 2553

คุณแม่พยอม สีนะวัฒน์
ไฟล์:Phayom.jpg
เกิด3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452
จังหวัดศรีสะเกษ
เสียชีวิต25 ตุลาคม พ.ศ. 2551
โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะงานผ้า) ปี พ.ศ 2530

นางพยอม สีนะวัฒน์ (3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551 สิริอายุ 99 ปี) ชาวจังหวัดศรีสะเกษ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะงานผ้า) ปี พ.ศ 2530

คุณยายพยอม สีนะวัฒน์ ได้สร้างสรรค์ศิลปะการทอผ้าในภาคอีสาน โดยมีฝีมือเป็นเลิศในด้านการทอผ้ายก และผลิตผ้ามัดหมี่ เป็นผู้ริเริ่มทอผ้ามัดหมี่ด้วยการประยุกต์ลวดลายพื้นบ้านโบราณ และย้อมให้มีสีสดใสทันสมัย ลายผ้าขิด ได้แก่ ลายดอกไม้ ลายน้ำไหล ลายนกยูง ลายเรขาคณิต นอกจากนี้ยังมีลายผ้าไหม ได้แก่ ลายเทพนม ลายสร้อยพระศอ ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายดอกจัน ลายดอกพิกุล โดยได้นำมากทอไว้ในผืนเดียวกัน

นางพยอม สีนะวัฒน์ สิ้นใจลงแล้วอย่างสงบด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี รวมอายุ 99 ปี 8 เดือน มีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2551 ณ ศาลา 9 /2 วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน กทม. ซึ่งศพนางพยอม สีนะวัฒน์ อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ 5 วัน

รางวัล

  • ๒๕๒๒ รางวัลที่ ๒ กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทย
  • ๒๕๒๒ รางวัลที่ ๑ กระทรวงอุตสาหกรรมและคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทย
  • ๒๕๒๔ รางวัลที่ ๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ๒๕๒๔ ชนะเลิศการประกวดผ้ายกไหม
  • ๒๕๓๐ รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

คำประกาศเกียรติคุณ

นางพยอม สีนะวัฒน์ ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานช่างและศิลปะงานผ้าในภาคอีสานมาเป็นเวลาอันยาวนานถึง ๖๐ ปี มีความเป็นเลิศในด้านการทอผ้ายกและการทำผ้ามัดหมี่ เป็นผู้ที่สามารถนำเอาลวดลายแบบประเพณีของอีสาน มาปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และสามารถรักษาแบบอย่างของเดิมไว้ได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดทวนกระแสการทำงานแบบปริมาณของอุตสาหกรรม โดยการยึดมั่นการทำงานแบบประเพณีอย่างปรับตัวพอสมควร ได้นำเอาวัสดุแบบใหม่เข้ามาผสมกับวัสดุดั้งเดิมจนเป็นผลสำเร็จ สร้างสรรค์ผลงานด้วยคุณภาพและคุณค่ามากกว่าปริมาณ จนเป็นที่ยกย่องของวงการศิลปะงานผ้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้ที่สืบต่อและอนุรักษ์ศิลปะงานผ้าแบบประเพณีที่อุทิศตน สร้างสรรค์งานช่างที่มีความเป็นศิลปะ อย่างประณีตและสวยงามดีเด่นเป็นพิเศษ มีความรู้และเชี่ยวชาญในงานสาขาของตนเป็นอย่างยิ่งมีผลงานแสดงและได้รับรางวัลระดับชาติและนานาชาติ ได้เผยแพร่ผลงานและความรู้แก่อนุชนรุ่นหลังที่สนใจในศิลปะงานผ้า ทั้งที่ต้องการศึกษาและต้องการฝึกฝนเพื่ออาชีพ รวมทั้งให้บริการแก่สถาบันการศึกษาที่ทำการค้นคว้าวิจัยงานช่างและศิลปะงานผ้า

ในด้านการดำรงชีวิต นางพยอม สีนะวัฒน์ เป็นผู้อุทิศตนให้แก่ส่วนรวม มีชีวิตที่เรียบง่าย มีจริยธรรม และคุณธรรม สามารถเป็นตัวอย่างแก่อนุชนรุ่นหลังได้ทั้งในเรื่องการทำงาน และการดำรงชีวิตที่ดีงาม ถึงแม้ว่าท่านจะมีอายุมากแล้วแต่ก็ยังคงสร้างสรรค์ผลงานต่อไปอย่างต่อเนื่อง จากการอุทิศตนและการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าเป็นเวลาอันยาวนาน การให้บริการแก่สังคม และการดำรงชีวิตที่ดีงาม

นางพยอม สีนะวัฒน์ สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ศิลปะงานผ้า) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๐


แหล่งข้อมูลอื่น