ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
KamikazeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ar, ca, cs, da, de, el, eo, es, fa, fi, fr, gl, it, ja, ko, lb, ml, nl, pl, pt, ro, ru, sk, ur, zh
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์]]


[[ar:عبور فلكي]]
[[ca:Trànsit (astronomia)]]
[[cs:Přechod (astronomie)]]
[[da:Astronomisk passage]]
[[de:Durchgang]]
[[el:Διάβαση (αστρονομία)]]
[[en:Astronomical transit]]
[[en:Astronomical transit]]
[[eo:Pasado (astronomio)]]
[[es:Tránsito astronómico]]
[[fa:گذر (ستاره‌شناسی)]]
[[fi:Ylikulku]]
[[fr:Transit astronomique]]
[[gl:Tránsito]]
[[it:Transito (astronomia)]]
[[ja:通過 (天文)]]
[[ko:통과 (천문학)]]
[[lb:Duerchgank (Astronomie)]]
[[ml:സംതരണം]]
[[nl:Overgang (astronomie)]]
[[pl:Tranzyt (astronomia)]]
[[pt:Trânsito astronômico]]
[[ro:Tranzit (astronomie)]]
[[ru:Прохождение (астрономия)]]
[[sk:Astronomický prechod]]
[[ur:حرکات]]
[[zh:凌日]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:58, 14 สิงหาคม 2553

ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จับภาพได้ขณะทำการปรับแต่งกล้องถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตของยานอวกาศ STEREO ภาพของดวงจันทร์ดูเล็กกว่าที่เห็นบนโลกมาก เพราะระยะห่างระหว่างยานกับดวงจันทร์ไกลกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์มาก

การเคลื่อนผ่าน หรือ การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ มีความหมายในทางดาราศาสตร์อยู่ 3 แบบ คือ

  • การเคลื่อนผ่าน ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าชิ้นหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้าพื้นผิวของวัตถุท้องฟ้าอีกชิ้นหนึ่ง เมื่อมองจากผู้สังเกตการณ์ ณ จุดสังเกตเฉพาะแห่งหนึ่ง
  • การเคลื่อนผ่าน ที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุท้องฟ้าผ่านเส้นเมอริเดียน เมื่อเทียบกับการหมุนของโลก ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างการขึ้นกับการตก ตัวอย่างเช่น ดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านเส้นเมอริเดียนที่จุดเที่ยงวัน การสังเกตการเคลื่อนผ่านเส้นเมอริเดียนเคยมีความสำคัญอย่างมากในอดีตสำหรับใช้ตรวจสอบเวลา
  • การเคลื่อนผ่านของดาว (star transit) ซึ่งใช้หมายถึงเส้นทางของดาวฤกษ์เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ การสังเกตระดับและเวลาที่แม่นยำช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งของดาวฤกษ์ หรือบอกถึงตำแหน่งท้องถิ่นในแนวดิ่งบนโลก (ลองจิจูด) ได้

สำหรับบทความนี้ จะหมายความถึงการเคลื่อนผ่านในความหมายแรก

คำจำกัดความ

ภาพจำลอง ดวงจันทร์ไอโอเคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดีเมื่อมองจากโลก มองเห็นเงาของไอโออยู่บนพื้นผิวของดาวพฤหัสบดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไอโอ ดวงอาทิตย์ และโลก ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน
ดวงจันทร์ไดโอนี เคลื่อนผ่านหน้าดวงจันทร์ไททัน เมื่อมองจากยานสำรวจแคสสินี ทางด้านหลังมองเห็นดวงจันทร์โพรมิธูสถูกวงแหวนของดาวเสาร์บดบัง

คำว่า "เคลื่อนผ่าน" ใช้กับกรณีที่วัตถุซึ่งอยู่ใกล้กว่า ปรากฏในรูปทรงที่เล็กกว่าวัตถุด้านหลังซึ่งอยู่ไกลกว่า ถ้าเป็นกรณีที่วัตถุใกล้กว่าแต่ปรากฏในรูปทรงที่ใหญ่กว่าและบดบังวัตถุด้านหลังซึ่งอยู่ไกลกว่า จะเรียกว่า การบัง (occultation)

ตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนผ่าน คือการที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่อยู่ระหว่างผู้สังเกตการณ์บนโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะที่อยู่ใกล้กว่าโลก คือ ดาวพุธและดาวศุกร์เท่านั้น (ดูเพิ่มที่ ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์) สำหรับกรณีดาวเคราะห์ที่อยู่รอบนอก เช่น ดาวอังคาร สามารถมองเห็นโลกเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จากบนดาวอังคารได้เหมือนกัน

ไฟล์:Io transit.jpg
ดวงจันทร์ไอโอ เคลื่อนผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี มองจากยานอวกาศแคสสินี

คำนี้ยังใช้กับกรณีที่ดาวบริวารเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวแม่ของมัน ตัวอย่างเช่น หนึ่งในดวงจันทร์กาลิเลียน (ไอโอ, ยูโรปา, แกนีมีด และคาลลิสโต) เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากบนโลก

การเคลื่อนผ่าน จะต้องมีวัตถุ 3 ชิ้นเรียงกันอยู่ในแนวเดียวกัน นานๆ ครั้งจึงจะพบกรณีที่มีวัตถุถึง 4 ชิ้นเรียงกัน ครั้งล่าสุดที่มีการเรียงตัวของวัตถุ 4 ชิ้นเกิดขึ้นเมื่อ 27 เมษายน ค.ศ. 1586 เมื่อดาวพุธเคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อมองจากดาวศุกร์ ขณะเดียวกันกับที่ดาวพุธและดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์เมื่อมองจากดาวเสาร์ด้วย

การสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้สร้างความน่าสนใจแก่ความเป็นไปได้ในการตรวจจับการเคลื่อนผ่านของดาวเคราะห์เหล่านั้นผ่านหน้าดาวฤกษ์แม่ของตนเอง โดยที่ HD 209458b เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่มีการตรวจพบการเคลื่อนผ่านในลักษณะดังกล่าว

แหล่งข้อมูลอื่น