ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pim145 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}

{{สายรถไฟฟ้า}}
{{สายรถไฟฟ้า}}
'''รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา''' หรือชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า '''รถไฟฟ้า บีทีเอส'''<!-- เว้นวรรคระหว่างชื่อ จากเว็บ--> (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของ[[กรุงเทพมหานคร]] ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2542]] เปิดบริการตั้งแต่ 6.00 - 24.00 น โดยอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเที่ยวเดียว คิดในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท บัตรโดยสารแบบเติมเงิน บัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร การซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวจากตู้จำหน่ายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ ที่ตู้จำหน่ายบัตรติดป้ายรับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสามารถใช้เหรียญ 1 บาทในการซื้อบัตรที่ตู้จำหน่ายบัตรด้วย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติโดยรองรับเหรียญ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท รวมถึงธนบัตร 20 บาท 50 บาท และ 100 บาท สามารถออกบัตรได้สูงสุด 10 ใบต่อครั้ง ในบางสถานี คือ สถานีสะพานควาย สถานีอารีย์ สถานีสนามเป้า สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีพญาไท สถานีชิดลม สถานีเพลินจิต สถานีอโศก สถานีพร้อมพงษ์ สถานีทองหล่อ สถานีพระโขนง สถานีราชดำริ สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
'''รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา''' หรือชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า '''รถไฟฟ้า บีทีเอส'''<!-- เว้นวรรคระหว่างชื่อ จากเว็บ--> (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของ[[กรุงเทพมหานคร]] ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ [[5 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2542]] เปิดบริการตั้งแต่ 6.00 - 24.00 น โดยอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเที่ยวเดียว คิดในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท บัตรโดยสารแบบเติมเงิน บัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร การซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวจากตู้จำหน่ายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ ที่ตู้จำหน่ายบัตรติดป้ายรับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสามารถใช้เหรียญ 1 บาทในการซื้อบัตรที่ตู้จำหน่ายบัตรด้วย{{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} ปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติโดยรองรับเหรียญ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท รวมถึงธนบัตร 20 บาท 50 บาท และ 100 บาท สามารถออกบัตรได้สูงสุด 10 ใบต่อครั้ง ในบางสถานี คือ สถานีสะพานควาย สถานีอารีย์ สถานีสนามเป้า สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีพญาไท สถานีชิดลม สถานีเพลินจิต สถานีอโศก สถานีพร้อมพงษ์ สถานีทองหล่อ สถานีพระโขนง สถานีราชดำริ สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:59, 13 สิงหาคม 2553

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา หรือชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า รถไฟฟ้า บีทีเอส (BTS Skytrain) เป็นระบบขนส่งมวลชนแบบรางของกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เปิดบริการตั้งแต่ 6.00 - 24.00 น โดยอัตราค่าโดยสารสำหรับผู้โดยสารเที่ยวเดียว คิดในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท บัตรโดยสารแบบเติมเงิน บัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบัตรโดยสารแบบสามสิบวันสำหรับบุคคลทั่วไป สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร การซื้อบัตรโดยสารแบบเที่ยวเดียวจากตู้จำหน่ายบัตรโดยสารแบบหยอดเหรียญ ที่ตู้จำหน่ายบัตรติดป้ายรับเฉพาะเหรียญ 5 บาท และ 10 บาทเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสามารถใช้เหรียญ 1 บาทในการซื้อบัตรที่ตู้จำหน่ายบัตรด้วย[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันมีการเพิ่มเครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติโดยรองรับเหรียญ 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท รวมถึงธนบัตร 20 บาท 50 บาท และ 100 บาท สามารถออกบัตรได้สูงสุด 10 ใบต่อครั้ง ในบางสถานี คือ สถานีสะพานควาย สถานีอารีย์ สถานีสนามเป้า สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานีพญาไท สถานีชิดลม สถานีเพลินจิต สถานีอโศก สถานีพร้อมพงษ์ สถานีทองหล่อ สถานีพระโขนง สถานีราชดำริ สถานีช่องนนทรี สถานีสุรศักดิ์ และสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ

รถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นระบบซึ่งดำเนินการแยกต่างหากจาก รถไฟฟ้ามหานคร

รถไฟฟ้าบีทีเอส เกิดขึ้นโดยการอนุมัติของกรุงเทพมหานคร ในสมัยพลตรีจำลอง ศรีเมืองเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในขณะนั้นในกรุงเทพมหานครไม่มีระบบขนส่งมวลชนด้วยรางแม้แต่ระบบเดียว มีการศึกษาโครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าหลายระบบ เช่น รถไฟฟ้าลาวาลิน แต่มีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการอนุมัติการก่อสร้างจากคณะรัฐมนตรี ในขณะที่การจราจรในกรุงเทพติดขัดอย่างหนัก เนื่องจากปริมาณรถยนต์เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการเปิดเสรี ให้สามารถนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน (ก่อนหน้านี้ การนำเข้ารถยนต์ใหม่จากต่างประเทศ ต้องเสียภาษีนำเข้า สูงถึงหลายเท่าของมูลค่ารถ)

กรุงเทพมหานคร อนุมัติสัมปทานการสร้างและจัดการเดินรถให้กับบริษัท ธนายง ของนายคีรี กาญจนพาสน์ ในครั้งแรกกำหนดให้สร้างอู่ซ่อมบำรุงบริเวณพื้นที่สวนลุมพินี แต่ประชาชนที่ใช้พื้นที่สวนลุมพินีเพื่อออกกำลังเป็นประจำได้รวมตัวประท้วงการเข้าใช้พื้นที่ ว่าขัดต่อพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์จัดสร้างเพื่อเป็นสวนสาธารณะของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการประท้วงขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างรถไฟฟ้าจากรางลอยฟ้า เป็นรถใต้ดิน ในที่สุดจึงได้มีการย้ายสถานที่ก่อสร้างอู่ซ่อมบำรุง ไปใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใกล้กับสวนจตุจักร

ในช่วงแรกก่อนเปิดทำการ รถไฟฟ้าสายนี้ใช้ชื่อว่า รถไฟฟ้าธนายง [1] ตามชื่อบริษัทที่ได้รับสัมปทาน

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ในโอกาสที่เปิดบริการมาครบ 9 ปี ปรากฏว่า มียอดมีผู้ใช้บริการตั้งแต่เปิดให้บริการ 972,034,298 เที่ยว มีผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าเฉลี่ยวันทำการ 424,369 เที่ยวต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.6% โดยในปี 2551 นี้มีผู้ใช้บริการสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 จำนวน 497,390 เที่ยว [2]

ขบวนรถโดยสาร

รถโดยสาร 1 ขบวน มี 3 ตู้ สามารถเคลื่อนที่ได้ทั้งสองทิศ ตัวรถใช้รถรุ่น Metro Modular ของบริษัท ซีเมนส์ จำกัด จากประเทศเยอร์มัน ซึ่งทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยขบวนรถมีทั้งหมด 35 ขบวน ซึ่งในอนาคต รถรุ่นนี้ทั้ง 35 ขบวนจะนำไปวิ่งในสายสุขุมวิท และปรับความถี่ในการเดินรถ เพื่อรองรับในส่วนต่อขยาย อ่อนนุช - แบริ่ง และส่วนต่อขยายอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

หลังจากที่ได้ก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีลม ทาง BTSC จึงสั่งชื้อรถเพิ่มอีก 12 ขบวน โดย 1 ขบวนจะมีตู้โดยสาร 4 ตู้ จากบริษัท ฉางชุน เรลเวย์ เวฮิเคลส์ จำกัด จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยขบวนรถที่สั่งซื้อมาใหม่นั้น มีจุดประสงค์เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น และลดปัญหาคอขวดของสถานีสะพานตากสิน ซึ่งมีรางเพียง 1 รางเท่านั้น ขบวนรถสามารถทำความเร็วได้เท่ากับขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบัน

สายที่เปิดให้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอสแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน) และสายสีลม (สีเขียวเข้ม) โดยมีสถานีเชื่อมต่อทั้งสองสาย ที่สถานีสยาม

  • สายสุขุมวิท
ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
คูคต N24 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปทุมธานี
แยก คปอ. N23 กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ N22 รถเวียนภายในท่าอากาศยานดอนเมือง
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช N21
สะพานใหม่ N20
สายหยุด N19
พหลโยธิน 59 N18
วัดพระศรีมหาธาตุ N17 สายสีชมพู (สถานีร่วม) 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563
กรมทหารราบที่ 11 N16
บางบัว N15
กรมป่าไม้ N14
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ N13 สายสีน้ำตาล สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประตู 1 (โครงการ) 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เสนานิคม N12
รัชโยธิน N11
พหลโยธิน 24 N10
ห้าแยกลาดพร้าว N9 สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
หมอชิต N8 สายสีน้ำเงิน สถานีสวนจตุจักร 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานควาย N7
เสนาร่วม N6 สถานีในอนาคต
อารีย์ N5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามเป้า N4
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ N3
พญาไท N2 สายซิตี้ สถานีพญาไท
สายสีแดงอ่อน สถานีพญาไท (โครงการ)
ราชเทวี N1 สายสีส้ม สถานีราชเทวี (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าสะพานหัวช้าง
สยาม CEN สายสีลม (สถานีร่วม)
สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ชิดลม E1 สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
เพลินจิต E2 สายสีแดงอ่อน สถานีเพลินจิต (โครงการ)
นานา E3
อโศก E4 สายสีน้ำเงิน สถานีสุขุมวิท
พร้อมพงษ์ E5
ทองหล่อ E6 สายสีเทา สถานีทองหล่อ (โครงการ)
เอกมัย E7
พระโขนง E8 สายสีเทา สถานีพระโขนง (โครงการ)
อ่อนนุช E9
บางจาก E10 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ปุณณวิถี E11
อุดมสุข E12 สายสีเงิน สถานีบางนา (โครงการ)
บางนา E13
แบริ่ง E14
สำโรง E15 สายสีเหลือง สถานีสำโรง 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สมุทรปราการ
ปู่เจ้า E16 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ช้างเอราวัณ E17
โรงเรียนนายเรือ E18
ปากน้ำ E19
ศรีนครินทร์ E20
แพรกษา E21
สายลวด E22
เคหะฯ E23
  • สายสีลม
ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ
สนามกีฬาแห่งชาติ W1 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สยาม CEN สายสุขุมวิท (สถานีร่วม)
สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ราชดำริ S1
ศาลาแดง S2 สายสีน้ำเงิน สถานีสีลม
ช่องนนทรี S3  บีอาร์ที  สถานีสาทร
สายสีเทา สถานีช่องนนทรี (โครงการ)
เซนต์หลุยส์ S4 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
สุรศักดิ์ S5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานตากสิน S6  เรือด่วนเจ้าพระยา  ท่าสาทร
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
กรุงธนบุรี S7 สายสีทอง สถานีกรุงธนบุรี 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
วงเวียนใหญ่ S8 สายสีม่วง สถานีวงเวียนใหญ่ (กำลังก่อสร้าง)
สายสีแดงเข้ม สถานีวงเวียนใหญ่ (โครงการ)
โพธิ์นิมิตร S9 12 มกราคม พ.ศ. 2556
ตลาดพลู S10  บีอาร์ที  สถานีราชพฤกษ์
สายสีเทา สถานีตลาดพลู (โครงการ)
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วุฒากาศ S11 สายสีแดงเข้ม สถานีวุฒากาศ (โครงการ) 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
บางหว้า S12 สายสีน้ำเงิน สถานีบางหว้า
 เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ  ท่าบางหว้า

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

บริเวณชานชาลา สถานีสยาม
ชานชาลาที่ 2 สถานีสยาม
ภายในรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้า บีทีเอส ช่วงศาลาแดง

รถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ามหานครได้ที่

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ได้ที่ สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยจะทำการสร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากตัวสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มาเชื่อมต่อกับสถานีพญาไทของรถไฟฟ้า BTS บริเวณกลางสถานี ซึ่งในอนาคตก็จะมีการติดตั้ง Gate บริเวณกลางสถานีแบบสถานีสยามเพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะทำการต่อรถเพื่อเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ

รถบริการรับส่ง

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้

โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น

ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการดังกล่าวทุกเส้นทางตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549

ท่าเรือ

ทางเดินเข้าอาคาร

บางสถานีมีสะพานลอยจากตัวสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียง

ส่วนสำหรับสถานีสำโรง กับ สถานีปู่เจ้าสมิงพราย และ สถานีแพรกษา จะสมารถเดินไปยังห้างอิมพีเริยล เวิลด์ สำโรง กับห้างคาร์ฟูร์ สำโรง และห้างบิ๊กซี สมุทรปราการ (ได้ในอนาคต) และสำหรับผู้ที่ต้องการไปยังเซ็นทรัลเวิลด์สามารถใช้เดินทางเดินเชื่อมกันใต้รางรถไฟฟ้าที่เรียกว่า Sky Walk ได้ที่สถานีชิดลมและสถานีสยามได้

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ (Bangkok BRT)

สามารถเปลี่ยนไปใช้รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษได้ที่สถานีช่องนนทรี โดยจะเชื่อมต่อกับสถานีสาทร ของรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

ส่วนต่อขยาย

ปัจจุบัน รถไฟฟ้าบีทีเอส กำลังอยู่ในช่วงการสร้างส่วนต่อขยายเพิ่มเติม ดังนี้

บัตรโดยสาร

บัตรโดยสารรถไฟฟ้า บีทีเอส แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. บัตรโดยสารชนิดแถบแม่เหล็ก มี 2 ประเภท ได้แก่
    1. บัตรประเภทเที่ยวเดียว คิดค่าโดยสารในอัตรา 2 สถานี ต่อ 5 บาท โดยเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 40 บาท สามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติชนิดหยอดเหรียญ และใช้ธนบัตร โดยใช้ได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น
    2. บัตรประเภท 1 วัน ราคา 120 บาท ใช้เดินทางได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยวและระยะทาง สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี
  2. บัตรโดยสารสมาร์ทพาส มี 2 ประเภท ได้แก่
    1. บัตรประเภทเติมเงิน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 30 บาท เติมเงินในบัตรสูงสุดได้ 2,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี
    2. บัตรประเภท 30 วัน ค่าธรรมเนียมในการออกบัตร 30 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี สามารถซื้อได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารทุกสถานี แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      • ราคาโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน นักศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
        • 15 เที่ยว ราคา 270 บาท
        • 25 เที่ยว ราคา 425 บาท
        • 35 เที่ยว ราคา 560 บาท
        • 45 เที่ยว ราคา 675 บาท
      • ราคาโปรโมชั่นสำหรับบุคคลทั่วไป แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
        • 15 เที่ยว ราคา 345 บาท
        • 25 เที่ยว ราคา 550 บาท
        • 35 เที่ยว ราคา 735 บาท
        • 45 เที่ยว ราคา 900 บาท[6]


ซึ่งบนบัตรโดยสารมีการพิมพ์เป็นลวดลายต่าง ๆ ตามความเหมาะสม และการโฆษณา

ปัจจุบันรถไฟฟ้าบีทีเอส มีบัตรรุ่นใหม่อีก 1 ประเภทเรียกว่า บีทีเอสสมาร์ทพาส (BTS Smart Pass) โดยเป็นบัตรติดตั้งไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบัตรสมาร์ตการ์ดแบบไม่มีการสัมผัส (เช่นเดียวกับบัตรโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร บัตรจำหน่ายเหมือนบัตรโดยสารประเภท 30 วัน เริ่มจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสามารถเริ่มใช้เดินทางได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ทุกสถานีเป็นต้นไป

อุบัติเหตุ

  • วันที่ 20 มกราคม 2553 เวลา 7.40 น. นางจิราภรณ์ เกียรติชูศักดิ์ อายุ 49 ปี พนักงานธนาคารกรุงไทย สาขาชิดลม ชะโงกหน้าสะดุดร่วง ตกลงไปในรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บนสถานีหมอชิต โดยผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า นางจิราภรณ์ยืนแถวหน้าสุดติดกับขอบแนวเส้นเหลืองที่สถานีทำสัญลักษณ์เตือนไม่ให้ผู้ใช้บริการล้ำเข้าไป ก่อนขบวนรถไฟฟ้าจะจอดเทียบชานชาลาสนิท ปรากฏว่านางจิราภรณ์รีบก้าวล้ำไปก่อน เมื่อก้มชะโงกเห็นขบวนรถไฟฟ้ากำลังแล่นเข้ามาจะเทียบชานชาลา ทำให้ตัวเองพลาดสะดุดพื้นกระเบื้องปูนลายไม่เรียบไว้เตือนผู้โดยสารไม่ให้ล้ำแนวความปลอดภัยเซตกลงไปในรางตัดหน้าขบวนรถไฟฟ้าที่แล่นเข้ามาถึงอย่างเฉียดฉิว เจ้าหน้าที่ต้องนำเชือกมาวางแนวกั้นไม่ให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ก่อนหยุดเดินรถชั่วคราวทั้ง 2 ฝั่ง พร้อมตัดกระแสไฟฟ้าบนราง เพื่อให้เจ้าหน้าที่กู้ชีพศูนย์นเรนทรลงไปช่วยเหลือ ในระหว่างเกิดเหตุได้ปิดการเดินรถเป็นการชั่วคราว ระหว่างสถานีหมอชิตและสถานีสะพานควาย เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นเปิดให้บริการตามปกติในเวลา 08.18 น.

หลังจากเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ ทางบีทีเอสจึงมีการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยกับผู้โดยสาร โดยให้พนักงานควบคุมรถบีบแตรก่อนเข้าสถานีที่มีคนรอจำนวนมากหรือในชั่วโมงเร่งด่วน มีประกาศเป็นระยะ มีโฆษณาเรื่องความปลอดภัย และมีเจ้าหน้าที่กั้นไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นไปชั้นชานชาลาหากมีคนรอจำนวนมาก[7]

อ้างอิง

  1. จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
  2. http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=514835&page=38 บีทีเอสเล็งลงทุนส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าทุกเส้น
  3. http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000132638
  4. หนังสือโฟกัสนิวส์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 70 หน้า 15
  5. http://www.ryt9.com/s/iq03/954231 รฟม.เตรียมทุ่มงบ 615 ลบ.ตัดถนนบริเวณใต้แนวรถไฟฟ้าช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา
  6. ประกาศปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นของบัตรโดยสารสมาร์ทพาส ประเภท 30 วัน
  7. สาวใหญ่ร่วง รางบีทีเอส หวิดทับดับ

แหล่งข้อมูลอื่น