ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดบุรีรัมย์"

พิกัด: 15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 239: บรรทัด 239:


==สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ==
==สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ==
[[ไฟล์:Suphatthara.jpg|250px|right|thumb|พระสุภัทรบพิตร บนยอดเขากระโดง [[วนอุทยานเขากระโดง]]]]
[[ไฟล์:Place PhnomrungPrasat.jpg|thumb|250px|light|[[ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง]]]]
[[ไฟล์:Place PhnomrungPrasat.jpg|thumb|250px|light|[[ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง]]]]
[[ไฟล์:Place MueangtamPrasat.jpg|thumb|250px|light|[[ปราสาทเมืองต่ำ]]]]
[[ไฟล์:Place MueangtamPrasat.jpg|thumb|250px|light|[[ปราสาทเมืองต่ำ]]]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:08, 13 สิงหาคม 2553

จังหวัดบุรีรัมย์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Buri Ram
คำขวัญ: 
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ
ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
พื้นที่
 • ทั้งหมด10,322.885 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 17
ประชากร
 (พ.ศ. 2552)
 • ทั้งหมด1,546,784 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 6
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 26
รหัส ISO 3166TH-31
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้กาฬพฤกษ์
 • ดอกไม้ฝ้ายคำ
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 4461 1342
เว็บไซต์http://www.buriram.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดสุรินทร์ ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดสระแก้วและราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์

จังหวัดบุรีรัมย์ มีประชากรเยอะมากเป็นอันดับที่ 6 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูร และอาณาจักรทวารวดี

ความหมายของคำขวัญ

  • เมืองปราสาทหิน หมายถึง บุรีรัมย์มีปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
  • ถิ่นภูเขาไฟ หมายถึง บุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วหลายแห่ง
  • ผ้าไหมสวย หมายถึง บุรีรัมย์มีการทอผ้าไหมขึ้นชื่อ ที่อำเภอนาโพธิ์
  • รวยวัฒนธรรม หมายถึง บุรีรัมย์มีความเจริญทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ

ผู้ก่อตั้ง

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ประวัติ

อาณาเขตของอาณาจักรทวารวดี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทราวดีและที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรอง เมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319

รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฏว่า ได้มีการแต่งตั้งพระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง

ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2444 เป็นต้นมา

พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ

ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

หน่วยการปกครอง

อำเภอ

การปกครองแบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 189 ตำบล 2212 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองบุรีรัมย์
  2. อำเภอคูเมือง
  3. อำเภอกระสัง
  4. อำเภอนางรอง
  5. อำเภอหนองกี่
  6. อำเภอละหานทราย
  7. อำเภอประโคนชัย
  8. อำเภอบ้านกรวด
  9. อำเภอพุทไธสง
  10. อำเภอลำปลายมาศ
  11. อำเภอสตึก
  12. อำเภอปะคำ
  1. อำเภอนาโพธิ์
  2. อำเภอหนองหงส์
  3. อำเภอพลับพลาชัย
  4. อำเภอห้วยราช
  5. อำเภอโนนสุวรรณ
  6. อำเภอชำนิ
  7. อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์
  8. อำเภอโนนดินแดง
  9. อำเภอบ้านด่าน
  10. อำเภอแคนดง
  11. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมือง

อำเภอคูเมือง

อำเภอกระสัง

อำเภอนางรอง

อำเภอหนองกี่

อำเภอละหานทราย

อำเภอประโคนชัย

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอพุทไธสง

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอสตึก

อำเภอปะคำ

อำเภอนาโพธิ์

อำเภอหนองหงส์

อำเภอพลับพลาชัย

อำเภอห้วยราช

อำเภอโนนสุวรรณ

อำเภอชำนิ

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

อำเภอโนนดินแดง

อำเภอบ้านด่าน

อำเภอแคนดง

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ

  • อ.ห้วยราช 10 กม.
  • อ.บ้านด่าน 17 กม.
  • อ.กระสัง 30 กม.
  • อ.ลำปลายมาศ 31 กม.
  • อ.คูเมือง 34 กม.
  • อ.สตึก 40 กม.
  • อ.ประโคนชัย 44 กม.
  • อ.นางรอง 55 กม.
  • อ.พลักพลาชัย 58 กม.
  • อ.แคนดง 59 กม.
  • อ.ชำนิ 59 กม.
  • อ.หนองหงส์ 60 กม.
  • อ.พุทไธสง 64 กม.
  • อ.บ้านกรวด 66 กม.
  • อ.เฉลิมพระเกียรติ 70 กม.
  • อ.โนนสุวรรณ 70 กม.
  • อ.ปะคำ 78 กม.
  • อ.นาโพธิ์ 80 กม.
  • อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ 80 กม.
  • อ.หนองกี่ 83 กม.
  • อ.โนนดินแดง 92 กม.
  • อ.ละหานทราย 99 กม.

ระยะทางจากจังหวัดบุรีรัมย์ไปจังหวัดต่างๆ

ภูมิศาสตร์

บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโคราช เป็นจังหวัดแรกในดินแดนอีสานใต้ ที่เริ่มติดประชิดกับประเทศกัมพูชา ที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์จะมีคูเมืองล้อมรอบตัวเมืองบุรีรัมย์ อันมีประวัติศาสสตร์ยาวนาน

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในจังหวัดบุรีรัมย์ มีอยู่ 3 ฤดู คือ

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์

ไฟล์:Suphatthara.jpg
พระสุภัทรบพิตร บนยอดเขากระโดง วนอุทยานเขากระโดง
ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
ปราสาทเมืองต่ำ

อำเภอเมือง

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ

อำเภอนางรอง

อำเภอประโคนชัย

อำเภอบ้านกรวด

อำเภอปะคำ

อำเภอโนนดินแดง

อำเภอสตึก

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอพุทไธสง

อำเภอนาโพธิ์

อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์

การเดินทาง

รถโดยสารประจำทาง

สายกรุงเทพ-บุรีรัมย์

ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หมอชิต) มาลงที่สถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ มีบริการทั้งกิจการทัวร์, บริษัทขนส่ง จำกัด,ศิริรัตนพลทัวร์

สายจากกรุงเทพไปต่างอำเภอ

  • กรุงเทพ-พนมรุ้ง-กรุงเทพ มีทั้งบริการรถประอากาศชั้น 1 และ 2 ใช้เวลาเดินทาง 6-7 ชั่วโมง
  • กรุงเทพ-พุทไธสง-กรุงเทพ มีบริการรถปรับอากาศ VIP และชั้น 1 ใช้เวลาเดินทาง 6 ชั่วโมง

สายที่ผ่านบุรีรัมย์

เป็นรถกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-สุรินทร์ และกรุงเทพ-ศรีสะเกษ แวะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีทั้งรถปรับอากาศชั้น 1 และ 2

สายไปจังหวัดใกล้เคียง

  • บุรีรัมย์-นครราชสีมา ใช้เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์-สุรินทร์ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง
  • บุรีรัมย์-ขอนแก่น ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง

สายไปต่างอำเภอ และผ่านที่เที่ยว

สายรถโดยสารในตัวเมือง

  • สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง (สาย 1) ขึ้นรถได้ที่สถานีรถไฟบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ และสถานีขนส่ง
  • สายบ้านบัว (สาย 2) ขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่ง

รถไฟ

ดูบทความหลักที่ สถานีรถไฟบุรีรัมย์

ขบวนรถด่วนพิเศษ

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี เป็นรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ทั้งขบวน อัตราค่าโดยสาร 335 บาท

ขบวนรถด่วน

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี, กรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ แบ่งได้ดังนี้

  • สายกรุงเทพ-อุบลราชธานี
    • รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 ราคา 1,386 บาท
    • รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 ราคา 535 บาท
    • รถนั่งและนอนชั้นที่ 2 ราคา 355 บาท
    • รถนั่งชั้นที่ 2 ราคา 205 บาท
  • สายกรุงเทพ-ศรีสะเกษ และกรุงเทพ-ศีขรภูมิ
    • รถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ราคา 265 บาท
    • รถนั่งชั้นที่ 3 ราคา 174 บาท

ขบวนรถเร็ว

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 ขบวน ราคาดังนี้

  • รถนั่งและนอนชั้นที่ 2 ราคา 235 บาท
  • รถนั่งชั้นที่ 2 ราคา 85 บาท
  • รถนั่งชั้นที่ 3 ราคา 54 บาท

ขบวนรถธรรมดา

มีขบวนรถไฟสายกรุงเทพ-สุรินทร์ เป็นรถไฟฟรี ไม่ต้องจ่ายเงิน

ขบวนรถท้องถิ่น

มีขบวนรถไฟสายนครราชสีมา-อุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 3 ขบวน เป็นรถไฟฟรี ไม่ต้องจ่ายเงิน

เครื่องบิน

บริษัท พีบีแอร์ จำกัด มีเครื่องบินไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ มาลงที่ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ (อำเภอสตึก)

ทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดบุรีรัมย์

สถานีขนส่งในจังหวัดบุรีรัมย์

สถานีรถไฟในจังหวัดบุรีรัมย์

อำเภอลำปลายมาศ

อำเภอเมือง

อำเภอห้วยราช

อำเภอกระสัง

ศูนย์วัฒนธรรม

โรงพยาบาลในจังหวัดบุรีรัมย์

โรงพยาบาลประจำจังหวัด

โรงพยาบาลประจำอำเภอ

ตัวอย่างโปรแกรมทัวร์

ชมปราสาทหินพนมรุ้ง แวะซื้อผ้าไหมนาโพธิ์

วันแรก

  • ช่วงเช้า ชมปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทเมืองต่ำ
  • ช่วงบ่าย แวะวัดเขาพระอังคาร
  • ช่วงเย็น มื้อเย็นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด พักในตัวเมืองบุรีรัมย์

วันที่ 2

  • แวะศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์
  • ชมและเลือกซื้อผ้าไหมนาโพธิ์
  • เดินทางกลับ

การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

ห้างสรรพสินค้า

  • แม็คโคร สาขาบุรีรัมย์
  • บิ๊กซี สาขาบุรีรัมย์
  • ทวีกิจ ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาบุรีรัมย์
  • ทวีกิจ พลาซ่า สาขาบุรีรัมย์
  • ห้างฟ้าไทย
  • ห้าง J.พลาซ่า
  • ตลาดโลตัส สาขาลำปลายมาศ

โรงภาพยนตร์

  • TTF Cineplex ทวีกิจ ซุปเปอร์เซนเตอร์ สาขาบุรีรัมย์ จำนวน 2 โรง
  • ทวีกิจ Cineplex ทวีกิจ พลาซ่า สาขาบุรีรัมย์ จำนวน 1 โรง
  • J-Cineplex J.พลาซ่า สาขาลำปลายมาศ จำนวน 2 โรง

กีฬา

ปราสาทสายฟ้า
ไฟล์:บุรีรัมย์ เอฟซี.png
นักรบลาวา

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ (PEA)

สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ เป็นสโมสรใหม่ที่เปลี่ยนแปลงมาจากสโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 โดยดร.วีระ ปิตรชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานได้ออกกำลังกายและสร้างความสามัคคีร่วมกันในหมู่คณะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน ประเภท ง. โดยลงเล่น3ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นในถ้วย ค. และลงเล่นอยู่2ฤดูกาลก็ได้เลื่อนขึ้นไปเล่นถ้วย ข. และอีก 2 ฤดูกาลสโมสรก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ

หลังจากลงเล่นในดิวิชั่น 1 อยู่นานสโมสรก็ได้เลื่อนขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อได้รองแชมป์ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547 และได้เล่นในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2548 โดยฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดสโมสรสร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ และศุภกิจ จินะใจกองหน้าของทีมก็คว้าตำแหน่งดาวซัลโวร่วมกับศรายุทธ ชัยคำดี กองหน้าของทีมการท่าเรือ ที่จำนวน 10 ประตู และยังได้เล่นเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2549 อีกด้วย

ฤดูกาล 2551 สโมสรสามารถคว้าแชมป์ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของประพล พงษ์พาณิชย์และได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก ในฤดูกาล2552

ฤดูกาล 2552 สโมสรตกรอบคัดเลือกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีกทำให้ไม่สามารถเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มได้ และมีผลงานในลีกไม่ดีนัก สโมสรจึงได้เปลี่ยนตัวกุนซือในเดือนพฤษภาคม ปี 2552 จากประพล พงษ์พาณิชย์เป็นทองสุข สัมปหังสิตอดีตกุนซือทีมชาติไทยชุดแชมป์ซีเกมส์ ที่นครราชสีมา

ภายหลังฤดูกาล 2552 ซึ่งทีมมีผลงานจบในอันดับที่ 9 ทางสโมสรได้ตกลงที่จะย้ายสนามแข่งจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไปอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงชื่อทีม เป็น บุรีรัมย์-การไฟฟ้าฯ จากการเข้าครอบครองอำนาจบริหารสโมสรของ นายเนวิน ชิดชอบ นักการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหารทั้งหมด พร้อมกันนั้นทีมผู้ฝึกสอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในบางส่วนด้วยเช่นกัน


สโมสรฟุตบอลจังหวัดบุรีรัมย์ (FC)

ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 ปัจจุบันเล่นใน ลีก ดิวิชั่น 2

เมืองพี่น้อง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัด คือ รูปเทวดารำและปราสาทหิน เทวดารำหมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข ท่ารำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับพยางค์สุดท้ายของชื่อจังหวัด ปราสาทหินคือปราสาทเขาพนมรุ้งซึ่งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในท้องพระโรงมีเทวสถาน
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกฝ้ายคำ (Cochlospermum regium)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: กาฬพฤกษ์ (Cassia grandis)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม

ข้อมูลบางอย่าง

  • แม่น้ำสำคัญ: แม่น้ำมูล, ลำนางรอง
  • ภูเขา: เขาพนมแม่ไก่ สูง 503 เมตร
  • อาชีพพลเมือง: ทำนา ทำไร่ ประมงน้ำจืด ค้าของป่า
  • ของดีประจำจังหวัด: ผ้าไหมบ้านนาโพธิ์ ผ้าฝ้ายพุทไธสง กุนเชียงลำปลายมาศ น้ำผึ้งป่า มะพร้าวเผา ขาหมูนางรอง

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากจังหวัดบุรีรัมย์

ไฟล์:สมจิตร จงจอหอ.jpg
สมจิตร จงจอหอ
ทฤษฎี สหวงษ์
ไฟล์:21711 002.jpg
เนวิน ชิดชอบ
ไฟล์:Sophon s.jpg
โสภณ ซารัมย์

นักมวย

นักแสดง

นักดนตรี

นักการเมือง

ครูบาช้าง

งานประเพณี

ชื่องานประเพณี วันที่จัดงาน และสถานที่จัดงาน
งานดอกฝ้ายคำบาน ช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. ของทุกปี บริเวณปราสาทเขาพนมรุ้ง
นมัสการพระเจ้าใหญ่วัดศีรษะแรด (วัดหงส์) วันขึ้น 14 ค่ำ ถึงวันแรก 1 ค่ำ เดือน 3 หรือตรงกับ วันมาฆบูชา ของทุกปี ที่วัดศีรษะแรด อ.พุทไธสง
นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชา
ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
งานเครื่องเคลือบพันปี ช่วงเดือน เม.ย. ของทุกปี ที่ อ.บ้านกรวด
ประเพณีแข่งเรือยาว วันเสาร์-อาทิตย์แรก ของเดือน พ.ย. ที่ลำน้ำมูล ที่ที่ว่าการ อ.สตึก
มหกรรมว่าวอีสาน ประมาณวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน ธ.ค. บริเวณสนามกีฬา อ.ห้วยราช

อ้างอิง

  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

15°00′N 103°07′E / 15°N 103.11°E / 15; 103.11