ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hr:Oslikani rukopisi; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sh:Iluminacija (manuskript)
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
[[ja:装飾写本]]
[[ja:装飾写本]]
[[nl:Illuminatie (boeken)]]
[[nl:Illuminatie (boeken)]]
[[sh:Iluminacija (manuskript)]]
[[sv:Illumination]]
[[sv:Illumination]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:16, 7 สิงหาคม 2553

หนังสือวิจิตรแบบจุลจิตรกรรมหน้านี้เป็นตกแต่งเป็นรูป “พระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพ” (Christ in Majesty) จาก หนังสืออเบอร์ดีน (Aberdeen Bestiary) (folio 4v)
การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือประจำชั่วโมง” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400

หนังสือวิจิตร (ภาษาอังกฤษ: Illuminated manuscript) คือหนังสือต้นฉบับที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม

งานหนังสือวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของหนังสือวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับหนังสือวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามสำนักสงฆ์

หนังสือวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างหนังสือวิจิตรจะทำกันมาจนถึงศิลปะเรอเนซองส์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรกๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำหนังสือวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น

นอกจากหนังสือวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หนังสือวิจิตร วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พยัญชนะตัวแรกของหนังสือวิจิตร วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ “หนังสือประจำชั่วโมง”

สมุดภาพ