ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วลาดีมีร์-ซุซดัล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:29, 4 สิงหาคม 2553

การสักการะพระมารดาของพระเจ้า (Theotokos) ในฐานะผู้พิทักษ์วลาดีมีร์เริ่มขึ้นโดยเจ้าชายแอนดรูว์ ผู้ทรงอุทิศวัดหลายวัดให้แก่พระองค์ และติดตั้งพระรูปศักดิ์สิทธิ์สำหรับใช้สักการะที่เรียกว่าพระมารดาของพระเจ้าแห่งวลาดีมีร์

วลาดีมีร์-ซุซดัล (รัสเซีย: Владимиро-Суздальское княжество; อังกฤษ: Vladimir-Suzdal) หรือ วลาดีมีร์-ซุซดัลรุส (รัสเซีย: Владимирско-Суздальская Русь; อังกฤษ: Vladimir-Suzdal Rus) เป็นราชรัฐสืบต่อจากจักรวรรดิเคียฟรุส และเป็นราชรัฐรุสที่มีอำนาจมากที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 วลาดีมีร์-ซุซดัลถือกันว่าเป็นแห่งของความเจริญของภาษารัสเซียและความเป็นชาตินิยม วลาดีมีร์-ซุซดัลเจริญขึ้นมาเป็นอาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโคว์

ที่มา

ราชรัฐมีเนื้อที่ครอบคลุมอาณาบริเวณอันกว้างขวางทาตะวันออกเฉียงเหนือของเคียฟรุส โดยมีแม่น้ำวอลกา แม่น้ำโอคา และแม่น้ำนอร์เทิร์นดวีนา เป็นเขตแดน ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เมืองหลวงอยู่ที่รอสตอฟ เมืองสำคัญอื่น ๆ ก็รวมทั้งซุซดัล, ยาโรสลัฟล์ และเบโลเซียสค์

หลังจากวลาดีมีร์ โมโนมัค (Vladimir Monomakh) ก่อตั้งราชรัฐในปี ค.ศ. 1093 แล้วพระองค์ก็ทรงย้ายเมืองหลวงจากรอสตอฟไปยังซุซดัล 15 ปีต่อมาพระองค์ก็ทรงสร้างเสริมและก่อสร้างปฏิสังขรณ์เมืองวลาดีมีร์บนฝั่งแม่น้ำคลีอัซมา (Klyazma River) ขึ้นใหม่ พระราชโอรสยูริ ดอลโกรูคี (Yury Dolgoruky) ย้ายราชสำนักไปยังวลาดีมีร์ในปี ค.ศ. 1157 แต่ความไม่เต็มใจของขุนนางของรอสตอฟและซุซดัลนำไปสู่สงครามกลางเมืองที่ตามมา

ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อดินแดนทางตอนใต้ของรุสถูกรุกรานปล้นสดมโดยชนเร่รอนเตอร์กิก ซึ่งทำให้ประชาชนต้องอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ไปตั้งถิ่นฐานกันเป็นชุมชนหลายชุมชนอยู่ในบริเวณที่เดิมเป็นป่าที่เรียกว่า ซาเลเซีย