ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:00, 26 ตุลาคม 2549

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
สัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม
สัญลักษณ์สมาคมสถาปนิกสยาม

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King) หรือ อาษา (ASA) เป็นสมาคมของบุคคลในวิชาชีพสถาปนิกและผู้ที่สนใจในงานสถาปัตยกรรมของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสี่สมาคมวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม

สมาคมสถาปนิกสยาม เป็นองค์กรเอกชนที่มีลักษณะเป็นสมาคม ขึ้นตรงกับการควบคุมของกระทรวงวัฒนธรรม

หน้าที่

สมาคมสถาปนิกสยามมีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาวงการวิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่ทางด้านวิชาชีพและทางด้านวิชาการ โดยจะมีการทำงานใกล้ชิดกับ สภาสถาปนิก (Council of Thai Architects) ในเชิงของกฎหมายและกรอบการปฎิบัติวิชาชีพ ส่วนในด้านวิชาการก็จะมีการจัดพิมพ์เอกสารวิชาการและการจัดสัมนาวิชาการอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีเว็บบอร์ดที่ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้โดยสมาชิก

งานอาษา

สิ่งที่ประชาชนไทยรู้จักดีที่สุดที่เกี่ยวข้องกับสมาคมสถาปนิกสยาม ได้แก่งานสถาปนิกประจำปี หรือ "งานอาษา" โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี ในช่วงประมาณต้นเดือนพฤษภาคม ภายในงานจะมีกลุ่มสถาปนิกอาสาที่เรียกกันว่า "หมอบ้าน" ซึ่งจะให้คำปรึกษาปัญหาการก่อสร้างฟรี มีงานแสดงผลงานของนิสิตนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์จากทุกสถาบัน และผลงานของสำนักงานสถาปนิกชั้นนำของประเทศ มีการสัมนาเกี่ยวกับวิชาชีพโดยบุคคลสำคัญทั้งในและนอกวงการสถาปัตยกรรม ทั้งจากภายในและต่างประเทศ และสิ่งที่ได้รับความสนใจที่สุดคือ งานแสดงวัสดุก่อสร้าง โดยบริษัทผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างชั้นนำของประเทศมารวมตัวกัน

งานสถาปนิกประจำปีดังกล่าว จะเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี โดยใช้ปีพุทธศักราชในชื่อภาษาไทย (เช่น งานสถาปนิก ๔๙) และใช้คริสต์ศักราชในชื่อภาษาอังกฤษ (เช่น Architect'06)

สมาชิก

การเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยาม ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ทำงานในวงการสถาปัตยกรรม ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจในงานสถาปัตยกรรมสามารถเป็นสมาชิกได้

ลิงก์ภายนอก