ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอริก ซาตี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sz-iwbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ko:에리크 사티
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lv:Eriks Satī
บรรทัด 75: บรรทัด 75:
[[la:Ericus Satie]]
[[la:Ericus Satie]]
[[lb:Erik Satie]]
[[lb:Erik Satie]]
[[lv:Eriks Satī]]
[[nl:Erik Satie]]
[[nl:Erik Satie]]
[[no:Erik Satie]]
[[no:Erik Satie]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:21, 22 กรกฎาคม 2553

ภาพล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาที
ภาพล้อเลียนตนเอง วาดโดยเอริก ซาที

เอริก ซาที เป็นคีตกวี นักเปียโน และนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ชื่อเดิม อัลเฟร็ด เอริก เลสลี่ ซาที เกิดที่เมืององเฟลอร์ จังหวัดกัลวาดอส วันที่17 พฤษภาคม พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เสียชีวิตที่กรุงปารีส วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925)

ชีวประวัติและผลงาน

ซาทีได้ประพันธ์ผลงานมากมายที่ปราศจากเส้นกั้นแบ่งห้องในบรรทัดห้าเส้น และมีวิธีเขียนโน้ตเพลงในแบบฉบับของตนเอง ในอันที่จะถ่ายทอดผลงานของตนออกมา

เขายังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคีตกวีคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น จอห์น เคจ โคล้ด เดบุซซี่ ฟรานซิส ปูเลงค์ มอริซ ราเวล ชอง ค็อคโต้ หรือที่เรียกว่า กลุ่มคีตกวีทั้งหก และเล่นประจำอยู่ที่ชาท์ นัวร์

ป้ายบอกชื่อของซาที ยังติดอยู่ที่หน้าของเขาที่ย่านมองต์มาร์ต

เรายังสามารถไปเยี่ยมบ้านเกิดของซาที ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ได้ที่เมืององเฟลอร์

บ้านเกิดของซาที ที่เมืององเฟอร์ ในแคว้นนอร์มงดี

ซาทีกับนิกายกุหลาบ-กางเขน

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เอริก ซาที ร่วมกับ โคล้ด เดบุซซี่ เข้าร่วม นิกายคับบัลลิสติกแห่งกุหลาบ-กางเขน ของ โจเซฟิน เป-ลาดง กับ สตานิสลาส เดอ ไกวตา ซาทีในฐานะผู้ดูแลวิหารได้ประพันธ์ บทเพลงแห่งกุหลาบ-กางเขน และบุตรแห่งดวงดาว ให้กับนิกายนี้

อารมณ์ขันของซาที

เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไมซาทีถึงมีนิสัยชอบประชดแดกดัน ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนระหว่างตัวซาทีเอง กับอารมณ์ขัน

  • ในวัยหนุ่ม เขาเป็นคนเอาจริงเอาจัง หลายครั้งที่เขาต้องการที่จะเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆของตน แต่แทนที่จะประกาศยอมรับอย่างเปิดเผย เขามักพูดในทำนองติดตลก ทำให้ผู้คนทั่วไปไม่ทราบว่าเขาเขาพูดจริงหรือพูดเล่น เรื่องทำนองเห็นได้ชัดในบทประพันธ์เรื่อง ความทรงจำของคนที่เป็นโรคความจำเสื่อม ซึ่งคงไม่มีสำนักพิมพ์ใดยอมตีพิมพ์ให้หากว่าเป็นผลงานของนักประพันธ์คนอื่นที่ไม่ใช่ซาที (ซึ่งที่จริงแล้ว ซาทียังล้อเลียนผลงานของตนเอง)
  • นอกเหรือจากบุคคลิกที่ต้องซ่อนไว้ ซาทีได้ใช้ความสามารถส่วนที่ดีในการเป็นศิลปินในวงคาบาเรต์ (ด้วยการแต่งท่วงทำนองน่าเวียนหัวประกอบบทกวีชวนขบขัน แต่ว่าในช่วงหลัง เขาได้ประกาศว่างานทั้งหมดนี้ขัดกับนิสัยที่แท้จริงของเขา แต่งานเหล่านี้ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นต้นว่าเพลง Je te veux หมายความว่า อย่าสนใจบทวิจารณ์ใดๆที่ล้อเลียนผลงานที่ซาทีปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
  • นอกเหนือจากนี้ เขายังได้แต่งเรื่องตลกในฐานะนักประพันธ์คุณภาพ เช่นเรื่อง Le piège de Méduse (ซึ่งมีบางส่วนเป็นอัตชีวประวัติ แต่เราก็ไม่อาจหาแก่นสารอะไรกับซาทีได้)
  • แต่อารมณ์ขันของซาทีชัดเจนที่สุดในโน้ตแผ่นที่เขาเขียน ซึ่งแน่นอนว่าโน้ตแผ่นนั้นจะมีเขาคนเดียวที่อ่าน เป็นต้นว่าเขาเขียนว่า Vivache (วัวจงเจริญ) แทนที่คำว่า Vivace (เล่นให้มีชีวิตชีวา) ในบทเพลงโซนาตีน บูโรเครติก (ซึ่งเขาตั้งใจล้อเลียนเคลเม็นติ) ในแบบเดียวกัน เขาก็ได้แต่งเพลงล้อเลียนเพลงมาร์ชงานศพของโชแปง (บทที่สองของ embryons desséchés) ที่เขาเขียนไว้ว่า คำคมจากมาร์ซูก้าชื่อดังของชูเบิร์ต (ชูเบิร์ตไม่เคยแต่งมาร์ซูก้า มีเพียงโชแปงที่ชอบแต่งมาร์ซูก้า) เราพบข้อความล้อเลียนต่างๆในโน้ตแผ่นลายมือต้นฉบับของซาที ทั้งที่ล้อเลียนซังต์ แซน เดบุซซี่ ฯลฯ สรุปว่า อย่าหาแก่นสารอะไรกับซาที เนื่องจากซาทีเองไม่เคยยึดถือคีตกวีคนอื่นๆอย่างเป็นจริงเป็นจัง

แต่อย่างไรก็ดี ซาทียังได้ประพันธ์งานอย่างเช่น โสกราตีส ที่แสดงให้เห็นด้านเอาจริงเอาจังของเขา

ผลงานบางส่วนของซาที

เปียโน

ออเคสตร้า

  • Parade, musique pour ballet ;
  • Relâche, musique pour le ballet (avec des séquences pour le film Entr'Acte).