ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอตาคลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 130: บรรทัด 130:
* ทรัพยากร
* ทรัพยากร
ทรัพยากรของอำเภอตาคลียังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ทรัพยากร ป่าไม้ ดิน น้ำ ฝน ยังคง หนาแน่น ยังคงมีตามฤดูกาล ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ยังคงทำประโยชน์ประคล้ำประครองระหว่างสัตว์ ธรรมชาติ และมนุษย์ ในอำเภอตาคลีมาจนถึงปัจจุบัน มีน้ำฝนตกตามฤดูกาล มีฝนมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปีสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ในการเกษตร และอุสาหกรรมในอำเภอได้
ทรัพยากรของอำเภอตาคลียังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ทรัพยากร ป่าไม้ ดิน น้ำ ฝน ยังคง หนาแน่น ยังคงมีตามฤดูกาล ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ยังคงทำประโยชน์ประคล้ำประครองระหว่างสัตว์ ธรรมชาติ และมนุษย์ ในอำเภอตาคลีมาจนถึงปัจจุบัน มีน้ำฝนตกตามฤดูกาล มีฝนมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปีสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ในการเกษตร และอุสาหกรรมในอำเภอได้

==สถานที่ท่องเที่ยว==
* '''[[พิพิธภัณฑ์จันเสน]]'''
* '''[[สระทะเล]]'''
* '''[[เขาถ้ำบุนนาค]]'''


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:03, 20 กรกฎาคม 2553

อำเภอตาคลี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Takhli
คำขวัญ: 
ตำนานเมืองพระสังข์ หลวงพ่อดัง
สามอาจารย์ จันเสนเมืองโบราณ
งามตระการถ้าเพชรถ้ำทอง
พิกัด: 15°15′47″N 100°20′37″E / 15.26306°N 100.34361°E / 15.26306; 100.34361
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครสวรรค์
พื้นที่
 • ทั้งหมด854 ตร.กม. (330 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2552)
 • ทั้งหมด113,005 คน
 • ความหนาแน่น132.32 คน/ตร.กม. (342.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสภูมิศาสตร์6007
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอตาคลี เลขที่ 293/50 ถนนพหลโยธิน ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140
เว็บไซต์http://www.takhlicity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอตาคลี เป็นอำเภอในจังหวัดนครสวรรค์

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอตาคลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ไฟล์:Viewtakhli.jpg

ตำนานอำเภอ

อำเภอตาคลีเป็นหนึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีประวัติและตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์ในราชการที่ 2 เรื่องพระสังข์ อันเป็นที่มาของประวัติอำเภอตาคลี ชื่อของอำเภอตาคลี กล่าวกันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า "ตีคลี" หรือ "เดาะคลี" ทั้งนี้กระผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะตำนานเมืองพระสังข์

ตำนานเมืองพระสังข์ ในส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เรื่องสังข์ทองเป็นตำนานของอำเภอตาคลี ความว่านางจันทร์เทวี มเหสีท้าวยศวิมล คลอดโอรสเป็นหอยสังข์ โหรทำนายว่าจะเป็นกาลกิณีจึงถูกขับไล่ออกจากเมืองและถูกจับถ่วงน้ำ พระยานาคได้ช่วยชีวิตไว้ และส่งพระสังข์ไปอยู่กับนางพันธุรัต

ต่อมาพระสังข์ทราบว่าแม่เลี้ยงของตนเป็นยักษ์จึงคิดหลบหนีเพื่อสืบหานางจันทร์เทวี แม่ที่แท้จริง พระสังข์ชุบตัวในบ่อทองสามรูปเงาะในเกือกแก้ว ถือไม้เท้าวิเศษ แล้วเหาะหนีไป ครั้งเมื่อนางยักษ์กลับจากหาอาหารกินไม่พบพระสังข์ จึงเหาะตามหาและมาทันพระสังข์ที่เขาหน่อ อำเภอบรรพตพิสัย พระสังข์หนีขึ้นไปบนยอดเขาแล้วอธิษฐานว่า "ด้วยบุญญาบารมีของข้าพเจ้า ถ้าจะมีโอกาสกลับไปพบแม่ที่แท้จริงของตนแล้ว ก็ขออย่าให้นางยักษ์ขึ้นไปบนยอดเขาได้" นางได้ร้องไห้รำพึงรำพันถึงความรักของตนที่มีต่อพระสังข์ อ้อนวอนให้พระสังข์ลงมาหาแต่นางยักษ์ก็ต้องสิ้นหวัง บอกพระสังข์ว่า " แม่คงต้องตายอย่างแน่นอน ถ้าหากลูกไม่กลับไปอยู่กับแม่ แม่ขอลาตาย แต่ก่อนตายแม่ขอให้ลูกท่องมนต์วิชาเรียกเนื้อ เรียกปลา แม่จะเขียนไว้ที่ก้อนหินเชิงเขาหน่อ ลูกรักของแม่จะได้มีวิชาติดตัวไปในอนาคต"

เมื่อนางยักษ์เขียนเสร็จก็สิ้นใจตาย ปัจจุบันยังมีร่อยรอยขีดเขียนอยู่ที่เชิงเขาหน่อเป็นหลักฐานแต่ไม่มีใครอ่านออก และศพนางยักษ์พันธุรัตน์ก็ กลายเป็นภูเขาหิน เรียกว่า เขานางพันธุรัต เมืองพระสังข์เรียนวิชาเสร็จแล้ว ก็เหาะมาถึงเมืองสามล ท้าวสามลมีลูกสาว 7 คน ซึ่งในขณะนั้นเป็น เวลาที่ลูกสาวทั้ง 7 จะเลือกคู่ครอง และลูกสาวทั้งหกของท้าวสามลก็เลือกคู่ครองเป็นเจ้าชาย แต่ลูกสาวคนที่ 7 คือนางรจนาไม่สนใจที่จะเลือก เจ้าชาย แต่กลับเสี่ยงพวงมาลัยเลือกชายคนหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาขี้เหร่ ผมหยิก ตัวดำ ชอบดอกไม้สีแดงเหมือนคนบ้าใบ้ หรือที่เรียกว่าเจ้าเงาะ เพราะนางรจนาได้เห็นรูปทองข้างในของเจ้าเงาะ ท้าวสามลโกรธมากจึงขับไล่ให้ทั้งคู่ไป อยู่กระท่อมปลายนา

เจ้าเงาะถูกกลั่นแกล้งให้ไปหาเนื้อหาปลา แข่งขันหกเขย และทุกครั้งที่แข่งขันเจ้าเงาะก็ชนะทุกครั้ง พระอินทร์เห็นว่าถึงเวลาที่พระสังข์หรือเจ้าเงาะจะต้องครองเมือง จึงแปลงตัวยกทัพมาตีเมืองสามล และท้าพนันตีคลีกัน ท้าวสามลส่งหกเขยไปตีคลี สู้กับเทวดา ปรากฏว่าว่าเขยทั้งหกตีคลีแพ้เทวดา ฝ่ายเจ้าเงาะถอดรูปออกเห็นรูปร่างภายในอันงดงาม และสวบเครื่องทรงออกไปตีคลีจนชนะเทวดา สถานที่ตีคลีมีลักษณะเป็นลานกว้าง บริเวณนั้นไม่มีต้นไม้ขึ้น เรียกว่า "ลานตีคลี" ซึ่งยังปรากฏอยู่บนเขาตีคลี ในขณะที่ตีคลีอยู่นั้นมีลูกตีคลีลูก หนึ่งถูกตีอย่างแรงลอยออกไปทิศตะวันออกของลานตีคลีปะทะเขาทะลุเป็นรูโหว่ ที่เขาช่องลมซึ่งอยู่ในตำบลช่องแค อำเภอตาคลี ตามเส้นทางราดยางจากโรงงานปูนซีเมนต์โพนทอง-ช่องแค ใกลักับโรงเรียนวัดเขาผา จุดที่เห็นชัด คือ จุดที่ห่างจากโรงเรียนวัดเขาฝาประมาณ 2 กิโลเมตร หลังจากที่พระสังข์ตีคลีชนะ ท้าวสามลจึงให้พระสังข์ครองเมือง

จึงเห็นได้ว่าชาวบ้านของอำเภอตาคลี มีความเชื่อในตำนานที่เล่าขานกันมานาน ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงลูกหลานปัจจุบัน จะพบเห็นได้จาก การที่นำเอาชื่อของบุคคลที่สำคัญในตำนาน ที่เล่าขานกันมาตั้งชื่อถนนและชื่อซอยต่าง ๆ ในเมืองตาคลี เช่น ถนนพระสังข์ ถนนยศวิมล ถนนบ้านไร่ปลายนา ซอยพันธุรัต ซอยลูกคลี ซอยไม้คลี ซอยสนามคลี และธงประจำอำเภอ ตาคลีก็ใช้เครื่องหมายรูปพระสังข์ทองทรงม้าเดาะคลีอยู่เหนือเมฆ อีกทั้งสัญลักษณ์ประจำเทศบาลตำบลตาคลีก็เป็นสัญลักษณ์พระสังข์ทรงม้าตาคลี

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอตาคลีแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 128 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตาคลี (Takhli) 24 หมู่บ้าน 6. หนองโพ (Nong Pho) 15 หมู่บ้าน
2. ช่องแค (Chong Khae) 12 หมู่บ้าน 7. หนองหม้อ (Nong Mo) 7 หมู่บ้าน
3. จันเสน (Chan Sen) 11 หมู่บ้าน 8. สร้อยทอง (Soi Thong) 10 หมู่บ้าน
4. ห้วยหอม (Huai Hom) 11 หมู่บ้าน 9. ลาดทิพรส (Lat Thippharot) 11 หมู่บ้าน
5. หัวหวาย (Hua Wai) 14 หมู่บ้าน 10. พรหมนิมิต (Phromnimit) 9 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอตาคลีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองตาคลี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตาคลี
  • เทศบาลตำบลช่องแค ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลช่องแคและตำบลพรหมนิมิต
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาคลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาคลี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองตาคลี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช่องแค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องแค (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลช่องแค)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจันเสน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันเสนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยหอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยหอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหัวหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวหวายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองหม้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้อยทองทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลลาดทิพรส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลาดทิพรสทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพรหมนิมิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพรหมนิมิต (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลช่องแค)

เศรษฐกิจ

  • อาชีพหลัก ได้แก่
  1. เกษตรกรรม เช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย สวนผลไม้ (มะม่วง)
  2. ปศุสัตว์ เช่น โคเนื้อ สุกร ไก่พื้นเมือง
  3. อุตสาหกรรม มีโรงงานได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ 71 แห่ง
  • อาชีพเสริม ได้แก่
  1. เลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ สุกร ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ เป็ดเทศ
  1. ธนาคารออมสิน
  2. ธนาคารกรุงไทย
  3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  4. ธนาคารกรุงเทพ
  5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  6. ธนาคารทหารไทย
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์
  8. ธนาคารกสิกรไทย
  9. ธนาคารนครหลวงไทย
  1. ห้างสรรพสินค้าลอนดอน

การศึกษา

  • โรงเรียนมัธยม
  1. โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ โทร. 0 5626 2369
  2. โรงเรียนทหารอากาศอนุสรณ์ โทร. 0 5626 2346
  3. โรงเรียนจันเสนเอ็งสุวรรณอนุสรณ์
  4. โรงเรียนหนองโพพิทยา
  5. โรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม
  6. โรงเรียนช่องแคพิทยาคม

ภาพรวมของชุมชน

  • สัญลักษณ์ชุมชน

พระสังข์ทรงม้าตาคลี

ไฟล์:สัญลักษณ์ ตาคลี.jpg

  • ภูมิศาสตร์

อำเภอตาคลีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด ที่ตั้งของชุมชนเมืองตาคลีนี้ตั้งอยู่ที่ราบระหว่างเขา มีภูเขาล้อมลอบชุมชน มีแม่น้ำไหลผ่าน

  • การคมนาคม

มีการคมนาคมที่สะดวกพอสมควร มีถนนลาดยางสายใหญ่ 4 เลนเข้าไปถึงตัวอำเภอ มีรถทั่ว ให้บริการ มีสถานีรถไฟอยู่ในตัวกลางเมืองตาคลี มีรถรับจ้าง เช่น จักรยานยนต์ ตุ๊กๆ รถ 2 แถวเป็นต้น

  • ทรัพยากร

ทรัพยากรของอำเภอตาคลียังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ทรัพยากร ป่าไม้ ดิน น้ำ ฝน ยังคง หนาแน่น ยังคงมีตามฤดูกาล ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ยังคงทำประโยชน์ประคล้ำประครองระหว่างสัตว์ ธรรมชาติ และมนุษย์ ในอำเภอตาคลีมาจนถึงปัจจุบัน มีน้ำฝนตกตามฤดูกาล มีฝนมีน้ำให้ใช้ตลอดทั้งปีสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้ในการเกษตร และอุสาหกรรมในอำเภอได้

สถานที่ท่องเที่ยว

แหล่งข้อมูลอื่น