ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: nn:Kurfyrste
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: id:Raja-pemilih
บรรทัด 50: บรรทัด 50:
[[hu:Választófejedelem]]
[[hu:Választófejedelem]]
[[ia:Principe-elector]]
[[ia:Principe-elector]]
[[id:Raja Pemilih]]
[[id:Raja-pemilih]]
[[is:Kjörfursti]]
[[is:Kjörfursti]]
[[it:Principe elettore]]
[[it:Principe elettore]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:48, 14 กรกฎาคม 2553

ภาพแสดงการถกเถียงในที่ประชุมของเจ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ซ้ายไปขวา: อัครสังฆราชแห่งโคโลญ, อัครสังฆราชแห่งไมนซ์, อัครสังฆราชแห่งทริเออร์, เคานท์พาเลไทน์แห่งไรน์, ดยุคแห่งแซกโซนี, มาร์กราฟแห่งบรานเดนบวร์ก และพระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย)

สิทธิสรรเจ้า หรือ เจ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ พรินซ์อีเล็คเตอร์ (ละติน: Princeps Elector, เยอรมัน: Kurfürst, อังกฤษ: Prince-elector หรือ Electors) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ คือสมาชิกของสภาผู้เลือกตั้งจักพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (electoral college) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ผู้มีหน้าที่เลือกตั้งพระจักรพรรดิของจักรวรรดิ

ผู้ที่เป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเรียกว่า "เจ้าเลือก" (เยอรมัน: Kurprinz, อังกฤษ: Elector) ซึ่งเป็นตำแหน่งอันมีเกียรติรองก็แต่พระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิ

ตามทฤษฎีแล้วจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเลือกตั้งก็มักจะเป็นเพียงการทำเพียงพิธี โดยมีพระจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กของออสเตรีย ที่ตำแหน่งมักจะเป็นของพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิผู้เสด็จสวรรคต แต่กระนั้นตำแหน่งมิได้เป็นตำแหน่งสืบทอดในตระกูลเดียวกัน และทายาทไม่สามารถเรียกตนเองว่า "จักรพรรดิ" โดยมิได้รับเลือก

การเลือกตั้งเป็นการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชนโรมันผู้ได้รับเลือกในเยอรมนีและจะได้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เมื่อได้รับทำพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระสันตะปาปา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ผู้เป็นจักรพรรดิต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิโดยการเลือกตั้งเท่านั้น

อ้างอิง


ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น