ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนังใหญ่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: de:Nang Yai
Mahatee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''หนังใหญ่''' คือ[[มหรสพ]]ที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้[[แผ่นหนังวัว]]ฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่อง[[รามเกียรติ์]] และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดง[[โขน]]ก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่
'''หนังใหญ่''' คือ[[มหรสพ]]ที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้[[แผ่นหนังวัว]]ฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่อง[[รามเกียรติ์]] และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดง[[โขน]]ก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่

ปัจจุบันเหลือคณะหนังใหญ่อยู่ทั้งหมด 3 คณะได้แก่
# หนังใหญ่วัดขนอน [[จังหวัดราชบุรี]]
# หนังใหญ่วัดบ้านดอน [[จังหวัดระยอง]]
# หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ [[จังหวัดสิงห์บุรี]]


== ประเภทของตัวหนังใหญ่ ==
== ประเภทของตัวหนังใหญ่ ==
บรรทัด 12: บรรทัด 17:
# หนังเรื่อง คือ หนังขนาดใหญ่ที่มีภาพอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ หรือ มีตัวละครมากกว่าหนึ่งตัว ได้แก่
# หนังเรื่อง คือ หนังขนาดใหญ่ที่มีภาพอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ หรือ มีตัวละครมากกว่าหนึ่งตัว ได้แก่
## หนังเมือง มีตัวละครตัวเดียว หรือหลายตัว ประกอบด้วยภาพสถานที่เช่น พลับพลา หรือ ราชวัง
## หนังเมือง มีตัวละครตัวเดียว หรือหลายตัว ประกอบด้วยภาพสถานที่เช่น พลับพลา หรือ ราชวัง
## หนังจับ หรือ หนังรบ เป้นตัวละครสองตัวขึ้นไปทำท่ารบกัน
## หนังจับ หรือ หนังรบ เป็นตัวละครสองตัวขึ้นไปทำท่ารบกัน
# หนังที่แตกต่างจากสองประเภทข้างต้น ได้แก่
# หนังที่แตกต่างจากสองประเภทข้างต้น ได้แก่
## หนังเบ็ดเตล็ด คือหนังที่จัดท่าทางพิเศษ เช่น หนังรถ ตัวละครนั่งบนราชรถ
## หนังเบ็ดเตล็ด คือหนังที่จัดท่าทางพิเศษ เช่น หนังรถ ตัวละครนั่งบนราชรถ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:14, 4 มิถุนายน 2553

หนังใหญ่ คือมหรสพที่แพร่หลายของคนไทยอีกอย่างหนึ่ง ตัวหนังจะใช้แผ่นหนังวัวฉลุเป็นรูปตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ และมีไม้ผูกทาบตัวหนังไว้ทั้งสองข้าง เพื่อให้ตัวหนังตั้งตรงไม่งอ และทำให้มีคันยื่นลงมาใต้ตัวหนังเป็นสองข้างสำหรับจับถือและยกได้ถนัด สถานที่เล่นจะปลูกโรงผ้าใช้ผ้าขาวคาดเป็นจอ ส่วนด้านหลังจอจะจุดไต้และก่อไฟไว้ เพื่อให้แสงทำให้เห็นเงาตัวหนังซึ่งมีลวดลายวิจิตรมาติดอยู่ที่จอผ้าขาว และการเชิดนั้นคนเชิดต้องเต้นไปตามจังหวะดนตรีและบทพากย์บทเจรจาด้วย การแสดงโขนก็ประกอบไปด้วยการพากย์ เจรจา ขับร้อง และการเต้นทำท่าตามบทพากย์ จึงกล่าวได้ว่าโขนนำเอาการพากย์ เจรจา และท่าทางการเต้นการแสดงมาจากหนังใหญ่

ปัจจุบันเหลือคณะหนังใหญ่อยู่ทั้งหมด 3 คณะได้แก่

  1. หนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี
  2. หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง
  3. หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี

ประเภทของตัวหนังใหญ่

ตัวหนังใหญ่สามารถแบ่งได้เป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ [1]

  1. หนังเดี่ยว คือ มีตัวละครตัวเดียว ไม่มีภาพอื่นเป็นองค์ประกอบ ได้แก่
    1. หนังเจ้า หรือ หนังครู ใช้สำหรับพิธีไหว้ครู ไม่ใช้แสดง ปกติมี 3 ตัวคือ หนังฤๅษี หนังพระอิศวร และ หนังพระนารายณ์
    2. หนังเฝ้า หรือ หนังไหว้ เป็นตัวละคร ทั้งมนุษย์ ยักษ์ ลิง ทำท่าประนมมือ ใช้แสดงตอนเข้าเฝ้า
    3. หนังคเนจร หรือ หนังเดิน เป็นตัวละครทำท่าเดิน หรือ ลิงทำท่าย่อง
    4. หนังง่า หรือ หนังเหาะ แสดงท่าเหาะ หรือ ยกขาข้างหนึ่ง แยกได้เป็น หนังโก่งและหนังแผลง คือ ทำท่าโก่งหรือแผลงศร ด้วย
  2. หนังเรื่อง คือ หนังขนาดใหญ่ที่มีภาพอื่นๆ เป็นองค์ประกอบ หรือ มีตัวละครมากกว่าหนึ่งตัว ได้แก่
    1. หนังเมือง มีตัวละครตัวเดียว หรือหลายตัว ประกอบด้วยภาพสถานที่เช่น พลับพลา หรือ ราชวัง
    2. หนังจับ หรือ หนังรบ เป็นตัวละครสองตัวขึ้นไปทำท่ารบกัน
  3. หนังที่แตกต่างจากสองประเภทข้างต้น ได้แก่
    1. หนังเบ็ดเตล็ด คือหนังที่จัดท่าทางพิเศษ เช่น หนังรถ ตัวละครนั่งบนราชรถ

อ้างอิง

  1. นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 45 ปีที่ 4 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 หน้า 148