ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หนูน้อยหมวกแดง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Broadbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: da:Den lille Rødhætte
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: uk:Червона шапочка
บรรทัด 68: บรรทัด 68:
[[sv:Rödluvan]]
[[sv:Rödluvan]]
[[tr:Kırmızı Başlıklı Kız]]
[[tr:Kırmızı Başlıklı Kız]]
[[uk:Червона шапочка]]
[[vi:Cô bé quàng khăn đỏ]]
[[vi:Cô bé quàng khăn đỏ]]
[[zh:小红帽]]
[[zh:小红帽]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:25, 4 มิถุนายน 2553

ภาพวาด "หนูน้อยหมวกแดง" ของ จอร์จ เฟรเดอริก วัตต์ ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเบอร์มิงแฮม

หนูน้อยหมวกแดง เป็นนิทานพื้นบ้านสำหรับเด็ก ที่แพร่หลายไปหลายประเทศ เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ซึ่งเนื้อเรื่องก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ชื่อเรื่องในภาษาต่างประเทศก็มี Little Red Riding Hood, Little Red Cap, La finta nonna, Le Petit Chaperon Rouge, และ Rotkäppchen

ประวัติ และ เนื้อเรื่องที่เปลี่ยนไป

ที่มาของเรื่องนี้นั้น เป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปาก แพร่หลายอยู่ในหลายประเทศในยุโรป ซึ่งคาดว่าเป็นก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเนื้อเรื่องที่ปรากฏ ก็มีหลากหลายฉบับ ซึ่งแตกต่างจากฉบับที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน

ใน La finta nonna ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ของอิตาลีนั้น หนูน้อยใช้ความกะล่อนของเธอ เอาชนะหมาป่าด้วยตัวเธอเอง โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก เพศชาย หรือ เพศชายที่มีอายุมากกว่า. ซึ่งในภายหลังนั้นได้มีการเพิ่มตัวละคร คนตัดไม้ เพื่อลดบทบาทของหนูน้อย ซึ่งเป็นเพศหญิงลงไป. โดยแสดงให้เห็นว่าเพศหญิงนั้น ยังต้องการความช่วยเหลือปกป้องจากเพศชายซึ่งแข็งแรงกว่า ซึ่งในเนื้อเรื่อง ก็คือคนตัดไม้นั่นเอง

Le Petit Chaperon Rouge เท่าที่ทราบโดยทั่วไป เป็นฉบับแรกสุด ที่ได้รับการตีพิมพ์ จากเนื้อเรื่องนิทานพื้นบ้านของฝรั่งเศส โดยเนื้อเรื่องนั้น ได้ถูกพิมพ์ในหนังสือ Histoires et contes du temps passé, avec des moralités. Contes de ma mère l'Oye ในปี ค.ศ. 1697 ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวม นิทานและเรื่องเล่าต่าง ๆ พร้อมคติสอนใจ โดย ชาร์ลส แปร์โรลต์ (Charles Perrault) เนื้อเรื่องของฉบับนี้[1] จะค่อนข้างรุนแรง เนื่องมาจากความพยายามเน้น ถึงคติสอนใจต่าง ๆ ตอนจบของเรื่องนี้ ทั้งคุณยาย และหนูน้อย ถูกหมาป่าจับกิน คติสอนใจที่ชาร์ลส แปร์โรลต์ ได้ให้ไว้สำหรับเรื่องนี้ ก็คือ เด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กสาว ไม่ควรไว้ใจฟังคำพูดของคนแปลกหน้า และสำหรับหมาป่านั้น ถึงเราจะเลี้ยงดูให้อาหารหมาป่าก็ยังคงเป็นหมาป่า เลี้ยงไม่เชื่อง โดยปกติแล้ว หมาป่าจะต้องเป็นสัตว์ที่มีนิสัยดุร้าย แต่หมาป่าประเภทที่ดูเชื่อง และใจดี นั้นกลับน่ากลัวยิ่งกว่า

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรื่องนี้ในฉบับภาษาเยอรมัน ถูกบอกเล่าให้แก่ พี่น้องตระกูลกริมม์. โดยคนพี่ เจค็อบ กริมม์ ฟังมาจาก Jeanette Hassenpflug (ค.ศ. 1791-1860) , ส่วนคนน้อง วิลเฮล์ม กริมม์ ฟังมาจาก Marie Hassenpflug (ค.ศ. 1788-1856) พี่น้องทั้งสอง ได้รวมเนื้อเรื่องจากทั้งสองฉบับนั้น เป็นเรื่องเดียวในชื่อ Rotkäppchen ไว้ในหนังสือรวมเรื่อง Kinder- und Hausmärchen ในฉบับนี้[2] คุณยายและหนูน้อย ได้รับการช่วยเหลือจากนักล่าหมาป่า. และต่อมาภายหลัง หนูน้อยและคุณยายก็ได้ใช้ประสบการณ์ที่ได้รับในครั้งนั้น ในการจับและฆ่าหมาป่าอีกตัวหนึ่ง

ในภายหลังพี่น้องทั้งสอง ได้ปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง จนเป็นฉบับปี ค.ศ. 1857 ที่เป็นเนื้อเรื่องที่แพร่หลายในปัจจุบัน[3] ซึ่งเนื้อเรื่องค่อนข้างจะจินตนาการมากกว่าฉบับอื่น ๆ ที่ผ่านมา โดยหนูน้อยและคุณยายถูกหมาป่าจับกิน และในภายหลังคนตัดไม้ได้มาช่วย โดยการผ่าท้องหมาป่า ช่วยหนูน้อยและคุณยาย ออกมาได้โดยปลอดภัย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


แม่แบบ:Link FA