ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงปู่ทวด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Jessica cando (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
== ข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ ==
== ข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์ ==
{{โครงส่วน}}
{{โครงส่วน}}

== แหล่งข้อมูลภายนอก ==
*[http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%94-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] หลวงปู่ทวด


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:18, 1 มิถุนายน 2553

รูปหล่อหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ วัดห้วยมงคล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
หลวงปู่ทวดและช้าง
วัดห้วยมงคล
วัดห้วยมงคล:หอประชุมใหญ่

หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) [1] เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง

ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

ประวัติ

ตามตำนาน[2]กล่าวว่าหลวงปู่ทวด เกิดในปลายรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา ท่านได้บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225 สิริรวมอายุได้ 99 ปี

ความเชื่อในวัตถุมงคลที่เนื่องด้วยหลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวดเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยและรู้จักเป็นอย่างดีในวงการพระเครื่องมาก จากตำนานและการที่มีผู้เชื่อตำนานดังกล่าวว่าท่านเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่เก่งกล้ามากรูปหนึ่งจนได้รับสมญานามว่า "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"

คาถาสักการบูชาหลวงปู่ทวด

การสักการบูชาให้ตั้งสวด นโม ตสฺส ฯลฯ 3 จบ ตามด้วยคาถานี้ 3 จบเช่นกัน

นโม โพธิสตฺโต อาคนฺติมาย อิติภควา

มีความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้" คำว่า อาคนฺติมาย ควรจะเป็น อาคนฺตีมาย เนื่องจากเป็นคำสนธิระหว่าง อาคนฺติ กับ อิมาย แต่คงเสียงสระสั้นไว้เพื่อความไพเราะของภาษา [3]

อาจารย์ชะเอม แก้วคลาย (ป.ธ.๗) และอาจารย์สุวัฒน์ โกพลรัตน์ (ป.ธ.๙) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณของหอสมุดแห่งชาติ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า คาถานี้ไม่ถูกหลักไวยากรณ์ภาษาบาลี แต่เป็นการผูกเงื่อนงำในทางความหมาย การผูกประโยคจึงต้องนำศัพท์เข้ามาเพิ่ม ประโยคที่สมบูรณ์จึงควรเป็นดังนี้ [3]

โย เถโร โพธิสตฺโต อิติภควา อิมาย ชนาย อาคนฺติ นโม ตสฺส โพธิสตฺตสฺส อิติภควโต เถรสฺส อตฺถุ

[อันว่าพระเถระรูปใดเป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคย่อมมาสู่ชน (หรือบุคคล) ผู้นี้

อันว่าความนอบน้อมขอจงมีแก่พระเถระ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ที่ได้ชื่อว่าผู้มีโชครูปนั้น]

ข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์

แหล่งข้อมูลภายนอก

อ้างอิง

  1. ประวัติสมเด็จเจ้าพะโคะ. เว็บไซต์วัดพระราชประดิษฐาน. เรียกข้อมูลเมื่อ 6-6-52
  2. ประวัติ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด วัดช้างให้ . เว็บไซต์อิทธิปาฏิหาริย์พระเครื่อง. เรียกข้อมูลเมื่อ 6-6-52
  3. 3.0 3.1 ทรงวิทย์ แก้วศรี. นิตยสารพระเครื่องกรุงสยาม ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2538.