ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jessica cando (คุย | ส่วนร่วม)
Jessica cando (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 155: บรรทัด 155:
# พิมาน แจ่มจรัส, รักในราชสำนัก, โอเดียนการพิมพ์, 2510 ISBN 974-341-064-3
# พิมาน แจ่มจรัส, รักในราชสำนัก, โอเดียนการพิมพ์, 2510 ISBN 974-341-064-3
# [http://www.geocities.com/thai2403/index.html พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์]
# [http://www.geocities.com/thai2403/index.html พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์]
* [http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B9-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ประทับนั่ง
# [http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B9-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ประทับนั่ง


{{สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ พระภรรยาเจ้า ใน รัชกาลที่ ๕}}
{{สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และ พระภรรยาเจ้า ใน รัชกาลที่ ๕}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:26, 1 มิถุนายน 2553

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
ไฟล์:สุนันทากุมารีรัตน์.jpg
สมเด็จพระบรมราชเทวี
ประสูติ10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403
สวรรคต31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบุตรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่ชาวบ้านเรียกพระนามว่า สมเด็จพระนางเรือล่ม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 240331 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ) มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์” เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 เป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็ก ลำดับที่ 50 ในจำนวนทั้งหมด 82 พระองค์ โดยรับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระขนิษฐาร่วมพระโสทรทั้ง 2 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี (ปัจจุบันนี้คือ วัดกู้)พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อัครวรราชกุมารี พระราชธิดา และพระราชบุตรในพระครรภ์ซึ่งยังไม่ทราบว่าเป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอีกด้วย ระหว่างการตามเสด็จฯพระบรมราชสวามีแปรพระราชฐานไปประทับยังพระราชวังบางปะอิน ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ทรงได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ดำรงพระฐานันดรศักดิ์พระอัครมเหสีพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]

พระราชประวัติ

พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 4

สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ทรงพระราชสมภพในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก เวลา 5 โมงเช้า 40 นาที ซึ่งตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 โดยได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระราชบิดาว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งคำว่า “สุนันทา” นั้น เป็นนามของพระมเหสี 1 ใน 4 พระองค์ของพระอินทร์ นอกจากนี้ ยังได้รับพระราชทานพรเป็นภาษามคธ ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงพระนิพนธ์แปลเป็นภาษาไทยไว้ว่า

พระองค์เจ้าองค์นี้ ทรงนามว่า “สุนันทากุมารีรัตน์” อย่างนี้ดังนี้ จงอย่ามีโรค จงมีความสุข ปราศจากความทุกข์และความวุ่นวายเถิด พระองค์เจ้าหญิงนั้นจงมั่งคั่งด้วยทรัพย์มาก มีโภคมาก มียศและบริวารไม่แปรผัน ขอพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ กับทั้งอารักขเทวดา จงช่วยอภิบาลรักษา พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์นั้นให้พ้นภัยจากอันตรายเป็นนิตย์ ขอความสัมฤทธิ์จงมีแก่พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เทอญ[2]

พระองค์ทรงมีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ

พระนางเธอในรัชกาลที่ 5

ไฟล์:สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์.jpg
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์

ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ซึ่งขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 8 ปี จึงเปลี่ยนพระฐานันดรศักดิ์จาก “พระเจ้าลูกเธอ” เป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และเมื่อพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ได้ถวายตัวรับราชการเป็นภรรยาเจ้าเมื่อพระชนมายุประมาณ 15 – 16 พรรษา จึงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงมีพระอุปนิสัยแข็งแกร่ง เด็ดขาด แต่ด้วยพระสิริโฉม รวมทั้งพระอัธยาศัยที่สุภาพ เรียบร้อย และสงบเสงี่ยม ทำให้พระองค์เป็นที่นับถือในพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร และทรงเป็นที่สนิทเสน่หาในพระราชสวามียิ่งนัก[3]

ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรกของพระองค์ โดยเป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 21 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้มีพระตำหนิเด่นชัด คือ มีติ่งที่พระกรรณข้างขวามาแต่แรกประสูติ จึงพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนียลักษณ์ อัครวรราชกุมารี[4]

สวรรคต

เมื่อวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้แต่งเรือพระที่นั่งเพื่อเสด็จประพาสพระราชวังบางปะอินพร้อมพระมเหสีทุกพระองค์ เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม และข้าราชบริพาร โดยก่อนวันเสด็จพระราชดำเนินนั้น พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ทรงพระดำเนินข้ามสะพานแห่งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ทรงพลัดตกน้ำลงไป พระองค์สามารถคว้าพระหัตถ์เอาไว้ได้ แต่พระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอฯ ก็ลื่นหลุดจากพระหัตถ์พระองค์ไป พระองค์ทรงคว้าพระหัตถ์พระเจ้าลูกเธอจนทรงตกลงไปในน้ำด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงหวั่นพระทัย แต่ก็มิได้ทรงกราบบังคมทูลให้พระราชสวามีทรงทราบ และได้ตามเสด็จฯ ประพาสพระราชวังบางปะอินตามพระราชประสงค์[3]

ในวันเสด็จฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เคลื่อนขบวนเรือต่าง ๆ ออกไปก่อนในเวลาประมาณ 2 โมงเช้า โดยพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ประทับบนเรือเก๋งกุดันโดยมีเรือปานมารุตซึ่งเป็นเรือกลไฟจูงเรือพระประเทียบ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จพระราชกิจแล้วจึงได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งโสภาณภควดีตามไป เมื่อขบวนเรือพระที่นั่งไปถึงบางตลาดนั้น จมื่นทิพเสนากับปลัดวังซ้ายลงมากราบทูลว่า “เรือพระที่นั่งพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งเรือปานมารุตจูงไปนั้นล่มที่บางพูด องค์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ แลพระชนนีสิ้นพระชนม์[3]

งานออกพระเมรุพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจึงได้ทรงไล่เลียงกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช พระยามหามนตรี และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ โดยพระยามหามนตรีทูลว่า “เรือราชสีห์ซึ่งจูงเรือพระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรีนั้นนำหน้าไปทางฝั่งตะวันออก โดยมีเรือโสรวารซึ่งพระยามหามนตรีไปจูงเรือพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรีตามไปเป็นที่สองในแนวเดียวกัน ส่วนเรือยอร์ชของกรมหลวงวรศักดาพิศาล ซึ่งจูงเรือกรมพระสุดารัตนราชประยูรไปทางฝั่งตะวันตกแล่นตรงกันกับเรือราชสีห์ หลังจากนั้น เรือปานมารุตแล่นสวนขึ้นมาช่องกลางห่างเรือโสรวารประมาณ 10 ศอก พอเรือปานมารุตแล่นขึ้นไปใกล้ เรือราชสีห์ก็เบนหัวออก เรือพระประเทียบเสียท้ายปัดไปทางตะวันออก ศีรษะเรือไปโดนข้างเรือโสรวารน้ำเป็นละลอกปะทะกัน กดศีรษะเรือพระประเทียบจมคว่ำลง[2]

อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นอดิศรอุดมเดชกล่าวว่า “เป็นเพราะเรือโสรวารหนีตื้นออกมา จึงเป็นเหตุให้เรือปานมารุตแล่นห่างกว่า 10 ศอก[2] ซึ่งกรมหมื่นอดิศรอุดมเดชและพระยามหามนตรีต่างซัดทอดกันไปมา โดยในขณะที่เรือล่มนั้น พระยามหามนตรีก็ได้ออกคำสั่งห้ามผู้ใดลงไปช่วยเหลือ ด้วยเป็นการขัดต่อกฎมณเฑียรบาลที่ห้ามให้ผู้ใดแตะต้องพระวรกายของพระมเหสี มิฉะนั้นจะถูกประหารทั้งตระกูล หลังจากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายขึ้นไปไล่เลียงคนอื่น ๆ ดู แล้วจึงได้ความว่า พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ก็สวรรคตพร้อมด้วยพระราชบุตรในพระครรภ์พระชนม์ 5 เดือนเต็ม ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าทรงเสียพระทัยยิ่งนัก และเนื่องจากเหตุการณ์นี้ทำให้มหาชนถวายพระนามพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ว่า “สมเด็จพระนางเรือล่ม”

พระศพของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงกรรณาภรณ์เพชรรัตน์ฯ ตั้งบำเพ็ญพระราชกุศลที่หอธรรมสังเวชภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่วันสวรรคต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระโกศทองใหญ่ซึ่งเป็นพระโกศสำหรับทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสีและพระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ ให้ทรงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ ซึ่งถือเป็นการพระราชทานพระเกียรติยศแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ เป็นอย่างยิ่ง[5] หลังจากนั้น ได้มีการจัดการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพทั้ง 2 พระองค์ขึ้น ณ กลางทุ่งพระเมรุ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2424 และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระราชทานเพลิงพระศพ ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2424

ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์หนังสือสวดมนต์รวมพระสูตร และพระปริตต่าง ๆ สำหรับพระราชทานแด่อารามต่าง ๆ เพื่อเป็นพระราชกุศลในวันถวายพระเพลิงพระศพ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพิมพ์หนังสือแจกในงานศพ และยังคงเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน[6]

การเฉลิมพระนามาภิไธย

พระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ : พระนามาภิไธยย่อ "ส" (สุนันทากุมารีรัตน์) ภายใต้มงกุฎขัตติยนารี ที่ด้านใต้ของพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระราชวังบางปะอิน

การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์นั้นทำให้เกิดปัญหาในการออกพระนามในประกาศทางราชการ เนื่องจากยังไม่มีการสถาปนาฐานันดรศักดิ์แห่งพระมเหสีอย่างเป็นทางการแต่ประการใด ดังนั้น จึงมีการออกพระนามเป็นลำดับ ดังนี้[4]

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2423 นั้น กรมหมื่นนเรศรเข้าไปเฝ้ากราบบังคมทูลด้วยพระนามพระองค์เจ้าสุนันทา ว่า สมเด็จกรมพระฯ (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระบำราบปรปักษ์) จะทรงออกตราเกณฑ์ไม้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “สมเด็จพระนางเจ้า อย่างสมเด็จพระนางโสมนัส” ดังนั้น จึงออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2423 มีรับสั่งให้กรมหมื่นนเรศรไปทูลสมเด็จกรมพระว่า พระนามนั้นให้ใช้แต่ “สมเด็จพระนางเธอ” เนื่องจากสมเด็จพระนางเจ้านั้นไว้ใช้สำหรับการแปลเป็นคำอังกฤษว่า ควีน ดังนั้น จึงออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเธอสุนันทากุมารีรัตน์ และใช้ภาษาอังกฤษว่า Princess ส่วนสมเด็จพระนางเจ้านั้นให้ใช้กับคำว่า Queen ในภาษาอังกฤษ โดยให้ใช้เป็นสมเด็จพระนางเจ้าตามด้วยชื่อ และต่อท้ายด้วยพระราชเทวี

ต่อมาในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 ให้เปลี่ยนพระนามเป็นจาก “สมเด็จพระนางเธอ” เป็น สมเด็จพระนางเจ้า สุนันทากุมารีรัตน์ หลังจากนั้น พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี พร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

พระราชกรณียกิจ

จากเอกสารต่างประเทศได้บันทึกไว้ว่าพระองค์ทรงตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วฉะฉาน และทรงกล้าเข้าสังคมซึ่งแตกต่างจากบุคลิกลักษณะของฝ่ายในโดยมาก ในสมัยก่อน ทำให้ทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการต้อนรับขับสู้ชาวต่างประเทศเมื่อทรงออกมหาสมาคม ขณะดำรงตำแหน่ง พระนางเธอ หรือ Queen อย่างสมพระเกียรติ[7] ดังจะเห็นได้จากบันทึกของ นายพลแกนต์ อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ที่ได้เดินทางเข้ามาในปี พ.ศ. 2422 มีความว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ภรรยาของข้าพเจ้าก็ได้รับการต้อนรับและสนทนาวิสาสะอย่างอบอุ่นเป็นกันเองจากพระราชินี"[8]

พระราชมรดก

หลังจากสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดการแบ่งพระราชทรัพย์มรดกของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในพระบรมโกศ ให้แก่บรรดาพระญาติ(ของพระนางเอง) โดยพระองค์พระราชทานเครื่องยศสำหรับผู้หญิงให้แก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาในพระองค์และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี (พระยศขณะนั้น)ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ดังนั้นทูลกระหม่อมหญิงพาหุรัดฯจึงรงเป็นพระนัดดาอันสนิทในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในพระบรมโกศที่ได้ทรงเลี้ยงดูกันมา ซึ่งมีรายการดังต่อไปนี้

แต่หีบหลังประดับเพชรมีตลับสามใบเถานั้น ทรงมอบให้แก่พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี ซึ่งเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนางเจ้าฯ ส่วนสิ่งของอื่น ๆ นั้น พระองค์ทรงแบ่งออกพระราชทานให้แก่พระเชษฐา พระขนิษฐา และพระนัดดาของพระนาง ได้แก่ สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี, พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย, สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ, พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ และพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ ส่วนของที่พระองค์ทรงให้คืนพระคลัง ได้แก่ กล่องจุลจอมเกล้า 1 ใบ และหีบกะไหล่โปร่ง 1 ใบ[4]

พระราชานุสรณ์

พระราชานุสาวรีย์

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ณ พระราชวังบางปะอิน

หลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีเสด็จสวรรคตแล้วนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้สร้างพระราชานุสรณ์ขึ้นหลายแห่ง เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ โดยแต่ละแห่งนั้น เป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯเคยตามเสด็จฯ และทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ[3][9] ได้แก่

  1. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯน้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี ภายในบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไว้ด้วย มีลักษณะเป็นรูปทรงพีระมิดพร้อมคำจารึก โดยเหตุที่สร้างสถูปเป็นรูปทรงนี้ก็มาจากพระราชดำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า "ทำเป็นรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้น เมื่อปิรามิดของอียิปต์ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว "
  2. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯสวนสราญรมย์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2426 ตัวอนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนสีขาวมียอดเป็นปรางค์ ภายในบรรจุพระสรีรางคารของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ไว้ด้วย และมีคำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของรัชกาลที่ 5 บนแผ่นหินอ่อน
  3. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งความรักแห่งนี้ขึ้น มีลักษณะเป็นฐานรูปทรงสี่เหลี่ยมและยอดหกเหลี่ยมทรงสูง สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดพระราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 ซึ่งตรงกับวันที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์เสด็จสวรรคตครบรอบ 3 ปี

โรงเรียนสุนันทาลัย

นอกจากพระราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระนางแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกใหญ่ 2 ตึกบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลปากคลองตลาด ตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ได้แก่ "ROYAL SEMINARY" สุนันทาลัยที่แม่น้ำ และสุนันทาลัยฝั่งใต้ (ปัจจุบัน ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นห้องประชุมอาคารสว่างวัฒนา) เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับสตรีและเป็นการอุทิศพระราชกุศลพระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งพระนางสนพระทัยในด้านการศึกษาเป็นพิเศษ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อันเป็นพระมรดกของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ในการก่อสร้าง[10] ในปี พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินวางศิลาก่อฤกษ์อาคารพร้อมทั้งพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนสุนันทาลัย" และเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2435[11] ปัจจุบัน บริเวณโรงเรียนสุนันทาลัยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี

นากจากนี้ ยังมีการนำพระนามของพระองค์ไปตั้งเป็นชื่อสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเป็นการระลึกถึงพระองค์ด้วย เช่น สวนสุนันทา ณ พระราชวังดุสิต ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พระอิสริยยศ

ราชตระกูล

พระราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
พระบรมราชเทวี

พระชนก:
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
เจ้าขรัวเงิน
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์
พระชนนี:
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
หลวงอาสาสำแดง (แตง)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ท้าวสุจริตธำรง (นาค สุจริตกุล)
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่ทราบ

อ้างอิง

  1. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕, สกุลไทย, ฉบับที่ 2443, ปีที่ 47, วันที่ 14 สิงหาคม 2544
  2. 2.0 2.1 2.2 แสงเทียน ศรัทธาไทย, สามราชินีคู่บัลลังก์ ร.๕, สำนักพิมพ์ร่มฟ้าสยาม, 2539 ISBN 978-974-7441-33-8
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 สำนักพระราชวัง, พระราชวังบางปะอิน, พิมพ์ครั้งที่ 1, พ.ศ. 2548
  4. 4.0 4.1 4.2 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, สำนักพิมพ์มติชน, 2546 ISBN 974-322-964-7
  5. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
  6. พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ
  7. ไกรฤกษ์ นานา, ปิยมหาราชานุสรณ์ ประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกบันทึก, นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับปีที่ 29 ฉบับที่ 6 เมษายน 2551 หน้า1 06-125
  8. Remlap, L.T. Gen. Grant's Tour Around The World. Chicago : Fairbank, 1879.
  9. อนุสาวรีย์แห่งรักนิรันดร
  10. จุลลดา ภักดีภูมินทร์, โรงสกูลสุนันทาลัย, ฉบับที่ 2654, ปีที่ 51, ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2548
  11. การบูรณะอาคารสุนันทาลัย โรงเรียนราชินี พุทธศักราช ๒๕๔๘ จากเว็บไซต์ โรงเรียนราชินี

แหล่งข้อมูลอื่น

  1. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูน, ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ วังหลวง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2549 ISBN 974-941-205-2
  2. พิมาน แจ่มจรัส, รักในราชสำนัก, โอเดียนการพิมพ์, 2510 ISBN 974-341-064-3
  3. พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
  4. ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ประทับนั่ง