ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพุทธชินราช"

พิกัด: 16°49′25″N 100°15′44″E / 16.82372°N 100.26226°E / 16.82372; 100.26226
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
Jessica cando (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44: บรรทัด 44:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.thaibuddhiststore.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-5-%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87 ธนารัตนโชติสังฆภัณฑ์] พระพุทธชินราช
* [http://203.170.173.156/ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา]
* [http://203.170.173.156/ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา]
{{geolinks-bldg|16.82372|100.26226}}
{{geolinks-bldg|16.82372|100.26226}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:10, 1 มิถุนายน 2553

พระพุทธชินราช
ไฟล์:Chinaratch.jpg
ชื่อเต็มพระพุทธชินราช
ชื่อสามัญหลวงพ่อใหญ่
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช
ความกว้าง5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว
ความสูง7 ศอก
วัสดุสำริด ปิดทอง
สถานที่ประดิษฐานพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
ความสำคัญพระพุทธรูปสำคัญ ของจังหวัดพิษณุโลก
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราชจำลอง ขึ้นมาแทน

ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในปีใด แต่มีการสันนิษฐานโดยอ้างอิงตามพงศาวดารเหนือ คาดว่าน่าจะสร้างพร้อมกับพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จากนั้นจึงมีการลงรักปิดทององค์พระเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา และได้มีการบูรณะ ลงรักปิดทองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบูรณะครั้งล่าสุดในรัชกาลที่ 9 พระพุทธชินราชนี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระมียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ พระองค์

ประวัติ

พระพุทธชินราชเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ จึงมีตำนาน พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งทรงพระราชนิพธ์ใน พ.ศ. 2409 โดยอาศัยหลักฐานจากพงศาวดารเหนือ แต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดียุติได้ดังนี้คือ

พระพุทธชินราชสร้างโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) กษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในตำนานพระพุทธชินราชฯ เรียกพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยสร้างพระพุทธรูปพร้อมกัน 3 องค์ เพื่อประดิษฐานในพระวิหารทิศ ของวันพระศรีรัตนมหาธาตุเมื่อพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 1900 ในตำนานพระพุทะชินราชฯ มีชื่อช่างหล่อพระพุทธชินราชเป็นช่างพราหมณ์ฝีมือดี 5 นาย คือ บาอินท์ 1 บาพรหม 1 บาพิษณุ 1 บาราชสังข์ 1 บาราชกุศล 1


ประเพณี

ประเพณีสรงน้ำประจำปีในเทศกาลสงกรานต์ ในอดีตเคยมีประเพณีการห่มผ้าองค์หลวงพ่อแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการทำให้องค์พระชำรุด

การขึ้นทะเบียน

อ้างอิง

  • บัญชีแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. 2520

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

16°49′25″N 100°15′44″E / 16.82372°N 100.26226°E / 16.82372; 100.26226