ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน/การทับศัพท์ภาษาฮินดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
M-Bot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่คำอัตโนมัติ (-<references/> +{{รายการอ้างอิง}}) ด้วยบอต
บรรทัด 513: บรรทัด 513:
== หมายเหตุ ==
== หมายเหตุ ==
'''<sup>#</sup> สระและพยัญชนะนอกระบบ'''
'''<sup>#</sup> สระและพยัญชนะนอกระบบ'''
{{รายการอ้างอิง}}
<references/>


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 30 เมษายน 2553

แม่แบบ:คำทับศัพท์ราชบัณฑิตฯ การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฮินดีนี้เป็นหลักการที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถาน

หลักทั่วไป

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้ถ่ายเสียงภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันตามระบบการเทียบคำอักษรโรมันที่นิยมใช้กันมากที่สุดในการเขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ ซึ่งมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร (diacritical mark) กำกับตัวอักษรเพื่อจำแนกความแตกต่างของอักษรแต่ละตัวได้ชัดเจน เป็นหลักในการจัดทำ

2. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะตามหลักเกณฑ์นี้ ยึดภาษาฮินดีที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นหลัก ซึ่งเรียกว่าเป็น "สระและพยัญชนะในระบบ" แต่เนื่องจากภาษาฮินดีซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ เปอร์เซีย และภาษาอื่น ๆ ด้วย หลักเกณฑ์นี้จึงได้เทียบเสียงสระและพยัญชนะที่มาจากภาษาอื่น ๆ นั้นไว้ด้วย และเรียกว่าเป็น "สระหรือพยัญชนะนอกระบบ" แต่เทียบไว้เฉพาะที่พบบ่อยเท่านั้น

3. ภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมันมีทั้งที่เขียนตามระบบที่ใช้ตัวอักษรโรมันตามหลักเกณฑ์ข้อ 1. และที่ไม่ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับตัวอักษรเนื่องจากไม่สะดวกในการพิมพ์หรือเขียน การทับศัพท์จากอักษรโรมันที่ไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรจึงอาจคลาดเคลื่อนจากศัพท์ในภาษาฮินดีไปบ้าง

4. คำบางคำในภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน เป็นคำที่เขียนตามการออกเสียงของชาวยุโรป และเป็นคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น Calcutta, Delhi, Pondicherry, Bangalore, Shillong การทับศัพท์คำเหล่านี้ให้ใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษแทนหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฮินดี

5. การทับศัพท์ภาษาฮินดีตามหลักเกณฑ์นี้ได้แสดงไว้ 3 รูปแบบ คือ

5.1 ทับศัพท์แบบคงรูป หมายถึงการทับศัพท์แบบตรงตามรูปศัพท์เดิม โดยใช้เครื่องหมายพินทุด้วย เพื่อให้ถอดกลับเป็นอักษรโรมันหรืออักษรเทวนาครีได้ถูกต้องและออกเสียงได้ใกล้เคียงกับคำเดิม การทับศัพท์รูปแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในหนังสือหรือเอกสารทางวิชาการ
5.2 ทับศัพท์แบบปรับรูป หมายถึงการทับศัพท์โดยปรับให้เข้ากับอักขรวิธีไทย เช่น มีการประวิสรรชนีย์ท้ายคำหรือใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เพื่อให้ออกเสียงได้ง่ายและรูปคำกลมกลืนกับภาษาไทย
5.3 ภาษาไทยใช้ หมายถึงคำที่มีใช้อยู่ในภาษาไทยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คำเหล่านี้ควรใช้ต่อไปตามเดิม คำบาลีสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้ในภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายลักษณะ เช่น
5.3.1 แผลงพยัญชนะ ฏ เป็น "ฎ", ต เป็น "ด", ป เป็น "บ" และ ว เป็น "พ" เช่น
อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
īka ฏีกา ฏีกา ฎีกา
tej เตช เตชะ เดชะ, เดช
pātāl ปาตาล ปาตาละ บาดาล
Vārāasī วาราณสี วาราณสี พาราณสี
5.3.2 แผลงสระเสียงสั้นเป็นเสียงยาว หรือเสียงยาวเป็นเสียงสั้น เช่น
อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
bahu พหุ พหุ พหู
dev เทว เทวะ เทวา
muni มุนิ มุนิ มุนี
vīthi วีถิ วีถิ วิถี
5.3.3 ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตเพื่อให้ออกเสียงคำนั้นได้ง่ายขึ้นและกลมกลืนกับภาษาไทย เช่น
อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
madhyasth มธฺยสฺถ มัธยัสถะ มัธยัสถ์
Nārāya นารายณ นารายณะ นารายณ์
pūr ปูรฺณ ปูรณะ บูรณ์
śabd ศพฺท ศัพทะ ศัพท์

6. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะให้ถือตามตารางเทียบเสียงสระภาษาฮินดีและตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาฮินดี

7. การเรียงสระและพยัญชนะในภาษาฮินดีที่ใช้ในตารางเทียบเสียงตามหลักเกณฑ์นี้ เรียงตามลำดับอักษรโรมัน

8. สระและพยัญชนะภาษาฮินดีที่เขียนด้วยอักษรโรมัน มีดังนี้

สระและพยัญชนะในระบบ
สระในระบบ
a = —ะ, —ั ā = —า i = —ิ ī = —ี u = —ุ
ū = —ู (เมื่ออยู่ต้นคำหรือตามหลังพยัญชนะ) = ฤ
e = เ— ai = ไ— o = โ— o (ตามหลังสระ) = ว au = เ—า
พยัญชนะในระบบ
วรรค ก (กะ) : k = ก (กะ) kh = ข (ขะ) g = ค (คะ) gh = ฆ (ฆะ) n = ง (งะ)
วรรค จ (จะ) : c = จ (จะ) ch = ฉ (ฉะ) j = ช (ชะ) jh = ฌ (ฌะ) ñ = ญ (ญะ)
วรรค ฎ (ฎะ) : = ฏ (ฏะ) ṭh = ฐ (ฐะ) = ฑ (ฑะ) ḍh= ฒ (ฒะ) = ณ (ณะ)
วรรค ต (ตะ) : t = ต (ตะ) th = ถ (ถะ) d = ท (ทะ) dh = ธ (ธะ) n = น (นะ)
วรรค ป (ปะ) : p = ป (ปะ) ph = ผ (ผะ) b = พ (พะ) bh = ภ (ภะ) m = ม (มะ)
อวรรค (เศษวรรค) : y = ย (ยะ) r = ร (ระ) l = ล (ละ) v = ว (วะ) ś = ศ (ศะ)
= ษ (ษะ) s = ส (สะ) h = ห (หะ)
สัญลักษณ์พิเศษ
(ใช้แทนจันทรพินทุ) = ง (ใช้แทนอนุสวาร) = ง = ห์
สระและพยัญชนะนอกระบบ
สระนอกระบบ
āī = —าย, —าอี iā = เ—ีย, —ยา u = —ุ
พยัญชนะนอกระบบ
q = ก kh = ข g = ค z = ซ d = ด
b = บ f = ฟ = ร h = รฺห h = ห, ฮ

9. การใช้เครื่องหมายพินทุ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูป โดยใส่ไว้ใต้พยัญชนะไทยที่ถอดมาจากพยัญชนะโรมันที่ไม่มีสระกำกับ เช่น

อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
candra จนฺทฺระ จันทระ จันทร์, จันทรา
jhān ฌานฺสี ฌานสี -

ยกเว้นพยัญชนะท้ายคำซึ่งเดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) มี a กำกับ แต่ในภาษาฮินดีตัดออกไป ไม่ต้องใส่พินทุใต้พยัญชนะนั้น เช่น

อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
karm กรฺม กรรมะ กรรม
pātāl ปาตาล ปาตาละ บาดาล

แต่ถ้าพยัญชนะท้ายคำไม่มี a กำกับมาแต่เดิม ก็ใส่พินทุกำกับไว้ด้วย เช่น

อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
brahmacārin พฺรหฺมจารินฺ พรหมจาริน -
samrā สมฺราฏฺ สัมราฏ -

10. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ใช้ในการทับศัพท์แบบปรับรูปในคำที่เป็นคำนอกระบบ (ไม่ได้มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต) โดยใส่บนพยัญชนะที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง เช่น

อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
bādshāh บาดฺชาหฺ บาดชาห์ -
Kutubminār กุตุบฺมินารฺ กุตุบมินาร์ -

11. การประวิสรรชนีย์ท้ายคำ ใช้ในการทับศัพท์แบบคงรูปและปรับรูป ดังนี้

11.1 ใช้ทับศัพท์สระ a เมื่ออยู่ท้ายคำทั้งแบบคงรูปและปรับรูป เช่น
อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
mantra มนฺตฺระ มันตระ มนตร์
śiya ศิษฺยะ ศิษยะ ศิษย์
11.2 ถ้าพยัญชนะท้ายคำมี a มาแต่เดิม (ในภาษาบาลีและสันสกฤต) แต่ในภาษาฮินดีได้ตัดออก ในการทับศัพท์แบบปรับรูปให้ประวิสรรชนีย์ด้วย เช่น
อักษรโรมัน ทับศัพท์ (แบบคงรูป) ทับศัพท์ (แบบปรับรูป) ภาษาไทยใช้
pūr ปูรฺณ ปูรณะ บูรณ์
sar สงฺสาร สังสาระ สงสาร, สังสาร (วัฏ)

ตารางเทียบเสียงสระภาษาฮินดี

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
A
a (ที่มิได้อยู่ท้ายคำ) - nar นร นระ นร, นระ, นรา
a (ตามด้วยพยัญชนะที่
ไม่มีสระตามและ
ไม่ใช่พยางค์สุดท้าย)
* —ฺ
แบบคงรูป
ไม่ปรากฏรูป samrā สมฺราฏฺ สัมราฏ -
** —ั
แบบปรับรูป
a (อยู่ท้ายคำ) —ะ ไม่ปรากฏรูป puya ปุณฺยะ ปุณยะ บุณย์
ā —า Nārāya นารายณ นารายณะ นารายณ์
[1]ai ไ— kailās ไกลาส ไกลาสะ ไกรลาส, ไกลาส
#āī —าย, —าอี आई kasturbāī กสฺตุรฺบาย, กสฺตุรฺบาอี กัสตุรบาย, กัสตุรบาอี -
[2]au เ—า gaurav เคารว เคารวะ เคารพ

* เครื่องหมายพินทุใส่ใต้พยัญชนะหลังสระ a ในคำทับศัพท์แบบคงรูป

** ยกเว้นพยัญชนะที่ตามมาเป็น h, v ไม่ต้องเปลี่ยนเป็นไม้หันอากาศ เช่น brahm = พรหมะ gaurav = เคารวะ Navaya = นวยะ และถ้าพยัญชนะที่ตามมาเป็น r ให้ใช้ "รร" เช่น karm = กรรมะ gandharv = คันธรรวะ

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
E
e เ— dev เทว เทวะ เทวะ, เทวา, เทพ
I
i —ิ Śiv ศิว ศิวะ ศิวะ
[3]ī —ี nārī นารี นารี นารี
# เ—ีย, —ยา इआ h กาเฐียวารฺ, กาฐยาวารฺ กาเฐียวาร, กาฐยาวาร -
O
o โ— lok โลก โลกะ โลก, โลกา
o (ตามหลังสระ) deo เทว เทวะ เทวะ, เทวา, เทพ
Rao, Rāo ราวฺ ราว -
U
u —ุ guru คุรุ คุรุ คุรุ, ครู
#u * —ุ Kutubminār กุตุบฺมินารฺ กุตุบมินาร์ -
[4]ū —ู pūr ปูรฺณ ปูรณะ บูรณ์
R
[5](เมื่ออยู่ต้นคำหรือ
ตามหลังพยัญชนะ)
pit ปิตฺฤ ปิตฤ -
i ฤษิ ฤษิ ฤษี, ฤๅษี

* มีบางคำออกเสียง "อะ" เช่น Mogul = โมคัล Trivandrum = ตริวันดรัม

ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาฮินดี

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
B
b Buddh พุทฺธ พุทธะ พุทธะ, พุทธ
śabd ศพฺท ศัพทะ ศัพท์
Śatābdi ศตาพฺทิ ศตาพทิ -
#b baā บรา บรา -
kitāb กิตาบฺ กิตาบ -
Kutubminār กุตุบฺมินารฺ กุตุบมินาร์ -
bh abhyās อภฺยาส อัภยาสะ -
Bhīm ภีม ภีมะ ภีมะ, ภีม
C
[6]c baccā บจฺจา บัจจา -
candra จนฺทฺระ จันทระ จันทร์
[7]ch chatr ฉตฺร ฉัตระ ฉัตร, ฉัตรา
D
d Buddh พุทฺธ พุทธะ พุทธะ, พุทธ
dās ทาส ทาสะ ทาส, ทาสา
#d dshāh บาดฺชาหฺ บาดชาห์ -
Delhī เดลฺฮี เดลฮี เดลี
[8] *ฑ amaru ฑมรุ ฑมรุ -
krīā กฺรีฑา กรีฑา กรีฑา
laū ลฑฺฑู ลัฑฑู -
dh dharm ธรฺม ธรรมะ ธรรม
Madhya Pradeś มธฺยะ ปฺรเทศ มัธยะ ปรเทศะ มัธยประเทศ
nidhi นิธิ นิธิ นิธิ
ḍh ḍhol โฒลฺ โฒละ -

* พยัญชนะ ฑ ในภาษาฮินดีออกเสียงใกล้เคียงเสียง ด ในภาษาไทย

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
F
#f फ़ faqīr ฟกีรฺ ฟกีร์ -
gaffār กฟฺฟารฺ กัฟฟาร์ -
G
g agni อคฺนิ อัคนิ อัคนี
go โค โค โค
[9]#g ग़ g บาคฺ บาค -
Gaznavid คซฺนวิดฺ คัซนวิด -
Gaznī คซฺนี คัซนี -
Giyas-ud-dīn คิยสฺอุดฺดีนฺ คิยัส-อุด-ดีน -
Mogul, Mugal โมคลฺ, มุคลฺ โมคัล, มุคัล โมกุล, มุคัล
Tuglākābād ตุคฺลากาบาด ตุคลากาบาด -
gh gh พาฆฺ พาฆ -
gho โฆษ โฆษะ โฆษะ, โฆษ
H
h brahm พฺรหฺม พรหมะ พรหม
Himālay หิมาลย หิมาลยะ หิมาลัย
#h ห, ฮ Ahmadābād อหฺมดาบาดฺ อัห์มดาบาด -
Hindū ฮินฺดู ฮินดู ฮินดู
ห์ : dukh ทุห์ข ทุห์ขะ ทุกข์
J
j jay ชย ชยะ ชัย, ชัยโย
vijñān วิชฺญาน วิชญานะ วิญญาณ
jh jhānsī ฌานฺสี ฌานสี -
K
k Kuru กุรุ กุรุ -
yak ยกฺษ ยักษะ ยักษ์, ยักษา
kh Kharo ขโรษฺฐี ขโรษฐี -
Sikh สิข สิขะ สิข, สิกข์
śikhar ศิขร ศิขระ ศิขร
[10]#kh ख़ Ālī Khān อาลี ขานฺ อาลี ขาน อาลี ข่าน
Bakht Khān บขฺต ขาน บัขต์ ขาน -
khilāfat ขิลาฟตฺ ขิลาฟัต -
L
l Lakma ลกฺษฺมณ ลักษมณะ ลักษมัณ, ลักษมณ์
vallabh วลฺลภ วัลลภะ วัลลภ, วัลลภา
M
m Mahādev มหาเทว มหาเทว มหาเทพ
sam สมฺราฏฺ สัมราฏ -
* ฮูง ฮูง -
** daṣṭrā ทงฺษฺฏฺรา ทังษฏรา -
sahitā สงฺหิตา สังหิตา -
sasār สงฺสาร สังสาระ สงสาร, สังสาร (วัฏ)
sayog สงฺโยค สังโยคะ สังโยค

* ใช้แทนจันทรพินทุ (candrabindu) เป็นเครื่องหมายกำกับสระเพื่อให้ออกเสียงขึ้นจมูกคล้ายเสียง "ง" จึงใช้ "ง" แทน

** ใช้แทนอนุสวาร (anusvāra) เป็นเครื่องหมายกำกับสระ เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะเศษวรรคจะออกเสียงขึ้นจมูกฟังคล้ายเสียง "ง" จึงใช้ "ง" แทน

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
N
n mantra มนฺตฺระ มันตระ มนตร์
nīti นีติ นีติ นีติ, นิติ
[11]nํ anํg องฺค อังคะ องค์
[12]ñ Sañjay สญฺชย สัญชยะ สญชัย, สัญชัย
[13] maan มณฺฑน มัณฑนะ มัณฑนา
P
p Pāaliputra ปาฏลิปุตฺระ ปาฏลิปุตระ ปาฏลีบุตร
pitā ปิตา ปิตา บิดา
ppt ปฺราปฺต ปราปตะ ปราบดา (ภิเษก)
samāpt สมาปฺต สมาปตะ -
ph phal ผล [ผะ-ละ] ผละ ผล [ผน]
Q
[14]#q क़ qilā กิลา กิลา -
R
r rājadhānī ราชธานี ราชธานี ราชธานี
[15]# ड़ baā บรา บรา -
baba บรฺบรฺ บรบร -
ī บีรี บีรี -
hiāvā กาเฐียวารฺ, กาฐยาวารฺ กาเฐียวาร, กาฐยาวาร -
[16]#ṛh *รฺห ढ़ Caīgaṛh จณฺฑีครฺห จัณฑีครห์ -

* รฺห แทนพยัญชนะตัวเดียวในภาษาฮินดีที่ออกเสียงเหมือน ร ตามด้วยกลุ่มลม

อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรเทวนาครี ตัวอย่าง
อักษรโรมัน ทับศัพท์
(แบบคงรูป)
ทับศัพท์
(แบบปรับรูป)
ภาษาไทยใช้
S
s Somadev โสมเทว โสมเทวะ โสมเทพ
vastu วสฺตุ วัสตุ วัสดุ, พัสดุ
[17]ś Kaśyap กศฺยป กัศยปะ กัศยป
śāstra ศาสฺตฺร ศาสตระ ศาสตร์
[18] aānan ษฑานน ษฑานนะ -
śiya ศิษฺย ศิษยะ ศิษย์
T
t tāl ปาตาล ปาตาละ บาดาล
tra ปาตฺระ ปาตระ บาตร
tapas ตปสฺ ตปัส ตบะ
[19] Bhaācārya ภฏฺฏาจารฺยะ ภัฎฎาจารยะ ภัฏฏาจารย์
īkā ฏีกา ฏีกา ฎีกา
th path ปถ ปถะ บถ
sthān สฺถาน สถานะ สถาน, สถานะ
thambh ถมฺภ ถัมภะ -
[20] jhuṭh ฌูฐฺ ฌูฐ -
ṭh ปีฐะ ปีฐะ บิฐ
ṭhākur ฐากุรฺ ฐากุรฺ ฐากูร
V
[21]v divya ทิวฺยะ ทิวยะ ทิพย์
Viśvanāth วิศวฺนาถ วิศวนาถะ วิศวนาถ
Y
y pey เปย เปยะ -
Yamunā ยมุนา ยมุนา ยมนา, ยมุนา
Z
#z ज़ āzād อาซาดฺ อาซาด -
Gaz คซฺนี คัซนี -
zangārī ซงฺคารี ซังคารี -

หมายเหตุ

# สระและพยัญชนะนอกระบบ

  1. บางครั้งมีผู้ใช้ y แทน ai เช่น Faizābād = ไฟซาบาด ใช้เป็น Fyzābād, Haiderābād = ไฮเดอราบาด ใช้เป็น Hyderābād และบางครั้งก็ใช้ ai แทน ay เช่น jay = ชยะ ใช้เป็น jai
  2. บางครั้งมีผู้ใช้ ow แทน au เช่น cauk = เจาก์ ใช้เป็น chowk
  3. บางครั้งมีผู้ใช้ ee แทน ī เช่น Mīra = มีรา ใช้เป็น Meerā, Nīra = นีรา ใช้เป็น Nee
  4. บางครั้งมีผู้ใช้ oo แทน ū เช่น Mūl = มูล ใช้เป็น Mool, Pūna = ปูนา ใช้เป็น Poo
  5. บางครั้งมีผู้ใช้ ri แทน เช่น pit = ปตฤ ใช้เป็น pitri
  6. บางครั้งมีผู้ใช้ ch แทน c เช่น candra = จันทระ ใช้เป็น chandra
  7. บางครั้งมีผู้ใช้ chh แทน ch เช่น chatr = ฉัตระ ใช้เป็น chhatr
  8. บางครั้งมีผู้ใช้ d แทน เช่น krīā = กรีฑา ใช้เป็น krīdā
  9. บางครั้งมีผู้ใช้ g, g., gh แทน g เช่น bāg = บาค ใช้เป็น bāg, bāg., bāgh
  10. บางครั้งมีผู้ใช้ kฺhฺ, kฺh แทน kh เช่น khilāfat = ขิลาฟัต ใช้เป็น kฺhฺilāfat, kฺhilāfat
  11. nํ ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค ก (k, kh, g, gh, n) จะออกเสียงเป็น "ง"
    และบางทีก็ใช้ n, ng แทน nํ เช่น anํg = อังคะ ใช้เป็น ang, angg
  12. ñ ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค จ (c, ch, j, jh, ñ) จะออกเสียงเป็น "ญ"
    และบางทีก็ใช้ n แทน ñ เช่น Sañjay = สัญชยะ ใช้เป็น Sanjay
  13. ที่เป็นตัวสะกดและตามด้วยพยัญชนะในวรรค ฎ (, ṭh, , ḍh, ) จะออกเสียงเป็น "ณ"
    และบางทีก็ใช้ n, n แทน เช่น maan = มัณฑนะ ใช้เป็น manan, manan
  14. บางครั้งมีผู้ใช้ แทน q เช่น qilā = กิลา ใช้เป็น ilā
  15. บางครั้งมีผู้ใช้ r แทน เช่น baā = บรา ใช้เป็น barā
  16. บางครั้งมีผู้ใช้ rh แทน ṛh เช่น Caīgaṛh = จัณฑีครห์ ใช้เป็น Caīgarh
  17. บางครั้งมีผู้ใช้ sh แทน ś เช่น śāstra = ศาสตระ ใช้เป็น shāstra
  18. บางครั้งมีผู้ใช้ s, sh แทน เช่น aānan = ษฑานนะ ใช้เป็น Saānan, Shaānan
  19. บางครั้งมีผู้ใช้ t แทน เช่น īkā = ฏีกา ใช้เป็น tīkā
  20. บางครั้งมีผู้ใช้ th แทน ṭh เช่น pīṭh = ปีฐะ ใช้เป็น pīth
  21. - บางครั้งมีผู้ใช้ w แทน v เช่น divya = ทิวยะ ใช้เป็น diwya
    - v ที่มี a ตามหลัง และเป็นพยางค์ท้ายของคำ บางครั้งจะตัด a ที่ตามมาออก แล้วเปลี่ยน v เป็น o เช่น deva ตัด a ท้ายคำออก เป็น "dev" แล้วเปลี่ยน v เป็น o เป็น deo ṭh

ดูเพิ่ม