ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพร่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Witit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pawyilee (คุย | ส่วนร่วม)
en:Common people
บรรทัด 14: บรรทัด 14:
[[หมวดหมู่:สังคมมนุษย์]]
[[หมวดหมู่:สังคมมนุษย์]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]
[[หมวดหมู่:วัฒนธรรมไทย]]
[[en:Common people]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:00, 16 เมษายน 2553

ไพร่ ในสังคมไทยสมัยโบราณหมายถึง สามัญชนทั่วไปที่ไม่ได้อยู่ในฐานะทาส หรือเจ้าขุนมูลนาย มีอิสระในการประกอบอาชีพ การตั้งบ้านเรือน มีครอบครัว แต่มีหน้าที่ในการถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเสีย "ส่วย" และถูกเกณฑ์ทหารในยามที่มีศึกสงคราม มีสองประเภทคือ ไพร่หลวง และ ไพร่สม

ไพร่หลวง คือไพร่ที่สังกัดกรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์มาทำงานตามราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงานหรือที่เรียกว่า "ไพร่ส่วย" การส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงาน เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ"

ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้มูลนายและขุนนางที่มีตำแหน่งทางราชการเพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มูลนายจะมีไพร่มากน้อยขึ้นอยู่กับ ยศ ตำแหน่ง ศักดินา ไพร่สมต้องทำงานให้ราชสำนักปีละ 1 เดือน ส่วนเวลาที่เหลือรับใช้มูลนายหรือส่งเงินแทน เมื่อถึงยามสงครามทุกคนต้องเป็นทหารป้องกันอาณาจักร เมื่อมูลนายถึงแก่กรรมไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรจะขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา

ระบบไพร่ดำรงอยู่จนกระทั่งถึงกลางสมัยรัตนโกสินทร์ และค่อยๆ จางหายไปเอง เมื่อมีการนำระบบภาษีอากร และระบบเกณฑ์ทหารแบบสมัยใหม่มาใช้

อย่างไรก็ตาม คำว่า"ไพร่"ยังคงมีใช้ในภาษาไทยสมัยปัจจุบัน ซึ่งหมายถึง คนชั้นต่ำ ตรงข้ามกับคำว่า "ผู้ดี" ซึ่งหมายถึงคนชั้นสูงของสังคม

อ้างอิง