ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิกกีว โซจุง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: hu:Ikkjú; ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ความหมายอื่น|นักบวช|การ์ตูน|เณรน้อยเจ้าปัญญา}}
{{ความหมายอื่น|นักบวช|การ์ตูน|เณรน้อยเจ้าปัญญา}}
[[ภาพ:IkkyuNM1.JPG|thumb|ภาพเหมือนของพระอิกคิว]]
[[ไฟล์:IkkyuNM1.JPG|thumb|ภาพเหมือนของพระอิกคิว]]
'''อิกคิว โซจุน''' {{ญี่ปุ่น|一休宗純|Ikkyū Sōjun}} (พ.ศ. 1937–2024) เป็นพระนิกาย[[เซน]]ชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วง[[ยุคมุโระมะจิ]] และเป็นต้นแบบของอิกคิวซังในการ์ตูน[[เณรน้อยเจ้าปัญญา]]
'''อิกคิว โซจุน''' {{ญี่ปุ่น|一休宗純|Ikkyū Sōjun}} (พ.ศ. 1937–2024) เป็นพระนิกาย[[เซน]]ชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วง[[ยุคมุโระมะจิ]] และเป็นต้นแบบของอิกคิวซังในการ์ตูน[[เณรน้อยเจ้าปัญญา]]


บรรทัด 20: บรรทัด 20:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}

[[หมวดหมู่:พระสงฆ์ญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคมุโระมะจิ]]
{{birth|1394}}{{death|1481}}
{{birth|1394}}{{death|1481}}


{{โครงชีวประวัติ}}
{{โครงชีวประวัติ}}

[[หมวดหมู่:พระสงฆ์ญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคมุโระมะจิ]]


[[de:Ikkyū Sōjun]]
[[de:Ikkyū Sōjun]]
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
[[es:Ikkyū]]
[[es:Ikkyū]]
[[fr:Ikkyū Sōjun]]
[[fr:Ikkyū Sōjun]]
[[hu:Ikkjú Szódzsun]]
[[hu:Ikkjú]]
[[it:Ikkyū Sōjun]]
[[it:Ikkyū Sōjun]]
[[ja:一休宗純]]
[[ja:一休宗純]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:50, 16 เมษายน 2553

ภาพเหมือนของพระอิกคิว

อิกคิว โซจุน ญี่ปุ่น: 一休宗純โรมาจิIkkyū Sōjun (พ.ศ. 1937–2024) เป็นพระนิกายเซนชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคมุโระมะจิ และเป็นต้นแบบของอิกคิวซังในการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญา

ประวัติ

อิกคิวเกิดที่เมืองเกียวโต ชื่อในวัยเด็กคือเซงกิกุมารุ (千菊丸) เขาเป็นลูกนอกสมรสของจักรพรรดิโกโคมัตสึ แม่ของอิกคิวถูกกลั่นแกล้งเพราะมาจากราชวงศ์ทางใต้จนต้องหนีออกจากราชวัง อิกคิวเริ่มบวชที่วัดอังโกะกุจิตอนอายุได้ 6 ขวบ และเปลี่ยนชื่อเป็นชูเคง (周建) เขามีความสามารถทางด้านการแต่งกลอนตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุ 13 ขวบ อิกคิวซึ่งขณะนั้นย้ายมาอยู่วัดเคนนินแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของพระที่กอบโกยทรัพย์สินยศฐาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน

เมื่ออายุได้ 17 ปี อิกคิวย้ายมาที่วัดไซกินเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเคนโอ โซอิ และได้ฉายาว่าโซจุน ต่อมาหลวงพ่อเคนโอมรณภาพ อิกคิวจึงเดินทางไปวัดอิชิยามะ อดอาหาร 7 วัน 7 คืน และพยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำเซตะ อิกคิวจึงอธิษฐานจิตว่า "ถ้าพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ" ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิกคิวก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิกคิวจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง

หลังจากนั้น เมื่ออายุได้ 23 ปี อิกคิวไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคะโซ โซดน แห่งวัดไดโตคุ อิกคิวสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "อิกคิว โซจุน" ขณะที่อยู่ที่วัดไดโตะกุนี้ท่านต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิกคิวยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้งอยู่เสมอ แต่ในที่สุดอิกคิวก็สามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ "เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่ เต็มไปด้วยอัตตา" คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ

เมื่อทราบว่าอิกคิวสามารถบรรลุแก่นธรรม หลวงพ่อคะโซมีความประสงค์ที่จะมอบใบสำเร็จเปรียญธรรมให้ แต่อิกคิวปฏิเสธด้วยเหตุผลว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมติ" และเริ่มออกธุดงค์

เมื่อท่านอายุได้ 75 พรรษา ระหว่างที่ธุดงค์เร่ร่อนหลบภัยสงครามภายในประเทศมาอยู่ที่เมืองซึมิโยชิ ท่านได้พบกับชินจิชะ หญิงศิลปินขอทานตาบอด ซึ่งภายหลังท่านได้รับนางเป็นภรรยา เมื่ออายุได้ 85 พระจักรพรรดิแต่งตั้งให้อิกคิวเป็น เจ้าอาวาสวัดไดโตะกุซึ่งเป็นวัดหลวงที่สำคัญที่สุดในสมัยนั้น เมื่อไม่สามารถขัดพระราชประสงค์ได้ อิกคิวจึงยอมรับตำแหน่ง แต่เพียงแค่วันเดียวก็ลาออกกลับมาอยู่วัดเมียวโชจิที่ท่านสร้างจวบจนวาระสุดท้าย ท่านมรณภาพเพราะโรคมาลาเรีย ในปีพ.ศ. 2024 เมื่ออายุได้ 88 ปี

อุปนิสัย

อิกคิวเป็นพระที่มีนิสัยประหลาด และปฏิเสธสังคมพระในขณะนั้นอย่างรุนแรง ทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็น อาบัติ เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและหนวดเครา มีสัมพันธ์กับผู้หญิง ซึ่งอิกคิวทำเพื่อต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอายกับการลวงโลก

อ้างอิง