ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมนุมเจ้าพระฝาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 2135302 โดย Tmd ด้วยสจห.
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Phra Fang.jpg|thumb|การแสดงแสงสีเสียง "ประวัติพระพุทธรูปพระฝางทรงเครื่อง" ชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมไทยสุดท้ายหลัง[[กรุงศรีอยุธยา]]เสียแก่[[ราชอาณาจักรพม่า|พม่า]] ที่[[พระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงทำลายได้ ทำให้แผ่นดินกลับรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง]]
'''ชุมนุมเจ้าพระฝาง''' เป็น[[สภาพจลาจลภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|ชุมนุมอิสระ]] ภายหลัง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] ในปี [[พ.ศ. 2310]] โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ '''พระพากุลเถระ (มหาเรือน)''' พระสังฆราชาแห่ง[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|เมืองสวางคบุรี (ฝาง)]]

'''ชุมนุมเจ้าพระฝาง''' เป็นชุมนุมอิสระที่แยกออกจากอำนาจ[[กรุงธนบุรี]] หลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี [[พ.ศ. 2310]] โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ '''พระพากุลเถระ (มหาเรือน)''' พระสังฆราชาแห่ง[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|เมืองสวางคบุรี (ฝาง)]]


พระพากุลเถระ (มหาเรือน) หรือเจ้าพระฝาง ท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (เวียงป่าเป้า) ได้ศึกษาเล่าเรียนพระศาสนาจากราชสำนัก[[กรุงศรีอยุธยา]] และได้รับการสถาปนาเป็น พระพากุลเถระ คณะฝ่าย[[อรัญวาสี]] อยู่ ณ วัดศรีอโยธยา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น[[พระราชาคณะ|พระสังฆราชาเจ้าคณะ]]เมืองสวางคบุรี กลับขึ้นไปจำวัดอยู่ที่[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี]] หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี [[พ.ศ. 2310]] ท่านจึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ใน[[สมณเพศ]] แต่ผู้คนก็พานับถือเรียกกันว่า '''เจ้าพระฝาง''' หรือ '''พระเจ้าฝาง''' เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ
พระพากุลเถระ (มหาเรือน) หรือเจ้าพระฝาง ท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (เวียงป่าเป้า) ได้ศึกษาเล่าเรียนพระศาสนาจากราชสำนัก[[กรุงศรีอยุธยา]] และได้รับการสถาปนาเป็น พระพากุลเถระ คณะฝ่าย[[อรัญวาสี]] อยู่ ณ วัดศรีอโยธยา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น[[พระราชาคณะ|พระสังฆราชาเจ้าคณะ]]เมืองสวางคบุรี กลับขึ้นไปจำวัดอยู่ที่[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี]] หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี [[พ.ศ. 2310]] ท่านจึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ใน[[สมณเพศ]] แต่ผู้คนก็พานับถือเรียกกันว่า '''เจ้าพระฝาง''' หรือ '''พระเจ้าฝาง''' เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ
บรรทัด 10: บรรทัด 9:


== ประวัติเจ้าพระฝาง ==
== ประวัติเจ้าพระฝาง ==

{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
'''พระพากุลเถระ (เรือน)''' หรือ '''"เจ้าพระฝาง"''' เป็นชาวเหนือ [[บวช]][[พระ]]แล้ว ลงมาร่ำเรียนพระไตรปิฎกที่[[อยุธยา]] สมัย[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เชี่ยวชาญได้ชั้นมหา เรียกตามชื่อเดิมว่า “มหาเรือน”
'''พระพากุลเถระ (เรือน)''' หรือ '''"เจ้าพระฝาง"''' เป็นชาวเหนือ [[บวช]][[พระ]]แล้ว ลงมาร่ำเรียนพระไตรปิฎกที่[[อยุธยา]] สมัย[[พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]] เชี่ยวชาญได้ชั้นมหา เรียกตามชื่อเดิมว่า “มหาเรือน”


บรรทัด 22: บรรทัด 21:


สองปีต่อมา กรมการเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] กราบทูลพระเจ้า[[กรุงธนบุรี]]ว่า เจ้าพระฝางประพฤติเป็นพาลและทุศีลมากขึ้น ตัวยังห่มผ้าเหมือนพระ แต่ ประกอบกรรมปาราชิก พวกพระที่เป็นแม่ทัพนายกองก็ออกปล้นข้าวปลาอาหารจากราษฎร เดือดร้อนกันไปทั่ว
สองปีต่อมา กรมการเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] กราบทูลพระเจ้า[[กรุงธนบุรี]]ว่า เจ้าพระฝางประพฤติเป็นพาลและทุศีลมากขึ้น ตัวยังห่มผ้าเหมือนพระ แต่ ประกอบกรรมปาราชิก พวกพระที่เป็นแม่ทัพนายกองก็ออกปล้นข้าวปลาอาหารจากราษฎร เดือดร้อนกันไปทั่ว



== [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ==
== [[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ==
[[ไฟล์:Phra Fang.jpg|thumb|การแสดงแสงสีเสียง "ประวัติพระพุทธรูปพระฝางทรงเครื่อง" ชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมไทยสุดท้ายหลัง[[กรุงศรีอยุธยา]]เสียแก่[[ราชอาณาจักรพม่า|พม่า]] ที่[[พระเจ้าตากสินมหาราช]]ทรงทำลายได้ ทำให้แผ่นดินกลับรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง]]


ล่วงมาถึงปีขาล [[พ.ศ. 2313]] มีข่าวมาถึง[[กรุงธนบุรี]]ว่า เมื่อเดือน 6 ปี[[ขาล]] เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีรับสั่งให้เตรียม[[กองทัพ]] จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่ง[[ปืนใหญ่]]มาถวาย และแขกเมือง[[ตรังกานู]] ก็นำ[[ปืนคาบศิลา]]เข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้
ล่วงมาถึงปีขาล [[พ.ศ. 2313]] มีข่าวมาถึง[[กรุงธนบุรี]]ว่า เมื่อเดือน 6 ปี[[ขาล]] เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีรับสั่งให้เตรียม[[กองทัพ]] จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่ง[[ปืนใหญ่]]มาถวาย และแขกเมือง[[ตรังกานู]] ก็นำ[[ปืนคาบศิลา]]เข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้
บรรทัด 77: บรรทัด 76:
== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:21, 3 เมษายน 2553

ชุมนุมเจ้าพระฝาง เป็นชุมนุมอิสระ ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2310 โดยมีผู้นำชุมนุมเป็นพระสงฆ์ คือ พระพากุลเถระ (มหาเรือน) พระสังฆราชาแห่งเมืองสวางคบุรี (ฝาง)

พระพากุลเถระ (มหาเรือน) หรือเจ้าพระฝาง ท่านเป็นชาวเมืองเหนือ (เวียงป่าเป้า) ได้ศึกษาเล่าเรียนพระศาสนาจากราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และได้รับการสถาปนาเป็น พระพากุลเถระ คณะฝ่ายอรัญวาสี อยู่ ณ วัดศรีอโยธยา ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชาเจ้าคณะเมืองสวางคบุรี กลับขึ้นไปจำวัดอยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 ท่านจึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ในสมณเพศ แต่ผู้คนก็พานับถือเรียกกันว่า เจ้าพระฝาง หรือ พระเจ้าฝาง เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ

ต่อมาหลังจากการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทราบข่าวเรื่องที่เจ้าพระฝางยกทัพยึดชุมนุมพิษณุโลกได้ และถึงกับส่งกองทัพไปปล้นแย่งชิงข้าวปลาราษฎรลงมาถึงเมืองอุทัยธานี และชัยนาท พระองค์จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปปราบในปี พ.ศ. 2313 โดยมีพระยายมราช(บุญมา) เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพหน้าของพระยายมราชได้เข้าโจมตีเมืองพิษณุโลกด่านหน้าของเจ้าพระฝาง ซึ่งมีหลวงโกษา(ยัง) คุมกำลังมาตั้งรับอยู่ภายในคืนเดียว แล้วจากนั้นกองทัพหลวงก็ยกไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้รบได้ 3 วัน เห็นศึกหน้าเหลือกำลังจึงพาพรรคพวกหลบหนีไปอยู่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งในขณะนั้นพม่าปกครองอยู่ กองทัพหลวงจึงยึดเมืองสวางคบุรีได้ และยังได้ลูกช้างเผือกซึ่งตกลูกระหว่างศึกมาอีกด้วย

หลังชุมนุมเจ้าพระฝางแตก เจ้าพระฝางได้หนีไปขึ้นต่อโปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทำให้โปมะยุง่วนได้กำลังจากเจ้าพระฝางเพิ่ม และท่านได้ยุงยงให้พม่ายกทัพมาหยั่งเชิงที่เมืองสวรรคโลกในปี พ.ศ. 2313[1] ซึ่งเป็นการสงครามกับเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในสมัยธนบุรี และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชคิดยกทัพไปยึดเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า[2]

ประวัติเจ้าพระฝาง

พระพากุลเถระ (เรือน) หรือ "เจ้าพระฝาง" เป็นชาวเหนือ บวชพระแล้ว ลงมาร่ำเรียนพระไตรปิฎกที่อยุธยา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เชี่ยวชาญได้ชั้นมหา เรียกตามชื่อเดิมว่า “มหาเรือน”

ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเรือนเป็นพระราชาคณะ ที่ พระพากุลเถระ อยู่วัดศรีโยธยาได้ไม่นาน ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น พระสังฆราชา ณ เมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) มีผู้คนเคารพนับถือมาก ท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสำคัญไว้ในโบสถ์วัดพระฝางสวางคบุรี

การตั้งชุมนุมเจ้าพระฝาง (ก๊กพระฝาง)

ครั้นกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 เจ้าพระฝางก็ซ่องสุมผู้คนได้หลายเมือง ตั้งตัวเป็นเจ้า แต่ไม่ยอมสึกจากพระ เปลี่ยนสีจีวรจากสีเหลืองเป็นสีแดง นับเป็นชุมนุมใหญ่ฝ่ายเหนือ ประชาชนเรียกกันว่า “เจ้าพระฝาง”

ปีชวด (พ.ศ. 2311) เจ้าพิษณุโลก ผู้นำชุมนุมสำคัญถึงแก่พิราลัย พระอินทรอากรผู้น้องขึ้นครองเมือง เจ้าพระฝางยกกองทัพไปตีพิษณุโลก สู้รบกันสามเดือน ชาวเมืองไม่ชอบเจ้าพิษณุโลกองค์ใหม่ แอบเปิดประตูรับกองทัพเจ้าพระฝางเข้าเมือง เมื่อชนะพิษณุโลก ประหารพระอินทรอากรแล้ว เจ้าพระฝางก็สั่งให้ขนทรัพย์สินจากเมืองพิษณุโลก และอพยพผู้คนไปปักหลักอยู่ที่เมืองสวางคบุรี ชื่อ เสียงของชุมนุมเจ้าพระฝางก็ยิ่งเลื่องลือระบือไกล

สองปีต่อมา กรมการเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท กราบทูลพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า เจ้าพระฝางประพฤติเป็นพาลและทุศีลมากขึ้น ตัวยังห่มผ้าเหมือนพระ แต่ ประกอบกรรมปาราชิก พวกพระที่เป็นแม่ทัพนายกองก็ออกปล้นข้าวปลาอาหารจากราษฎร เดือดร้อนกันไปทั่ว

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง

การแสดงแสงสีเสียง "ประวัติพระพุทธรูปพระฝางทรงเครื่อง" ชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมไทยสุดท้ายหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ที่พระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำลายได้ ทำให้แผ่นดินกลับรวมเป็นหนึ่งอีกครั้ง

ล่วงมาถึงปีขาล พ.ศ. 2313 มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า เมื่อเดือน 6 ปีขาล เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพ จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่งปืนใหญ่มาถวาย และแขกเมืองตรังกานู ก็นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนทัพเรือ ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ ทัพที่ 1 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จพระราชดำเนินไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2 พระยาอนุชิตราชา ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ 3 พระยาพิชัยราชา ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก

ฝ่ายเจ้าพระยาฝาง เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว จึงให้หลวงโกษา ยังคุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก

กองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษา ยัง หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เมืองพิษณุโลกแล้ว กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ 9 วัน กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง และต่อมาอีก 2 วัน กองทัพพระยาพิชัยจึงยกมาถึง เมื่อกำลังพร้อมแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงให้กำลังทางบก รีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรี พร้อมกันทั้งสองทาง รับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อย หนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูง ถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึก ทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้า และก็เป็นจริงตามนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็เสด็จพระราชดำเนินยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาพิชัยราชา คุมทัพไปทางตะวันตก ให้พระยายมราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในรัชกาลที่ 1) คุมทัพไปทางตะวันออก สองทัพสมทบกันโจมตีเมืองสวางคบุรี

สภาพเมืองสวางคบุรี ที่มั่นเจ้าพระฝาง ไม่มีกำแพง มีแต่ระเนียดไม้ขอนสักถมเชิงเทินดิน เจ้าพระฝางสู้ได้สามวันก็แตกพ่ายหนี พาลูกช้างพังเผือกหนีไปด้วย กองทัพพระเจ้ากรุงธนฯติดตามไป ได้ช้างพังเผือกคืน ตัวเจ้าพระฝางหายสาบสูญไป

พรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีละครหญิง สมโภชพระประธานวัดสวางคบุรี 7 วัน นับเป็นงานใหญ่เทียบเท่างานสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่พิษณุโลก

"เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด"

พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า เมืองพิษณุโลกมีพลเมือง15,000 คน เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวรรคบุรี มี 9,000 คน เมืองสุโขทัย มี 5,000 คน เมืองกำแพงเพชร และเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ 3,000 คนเศษ จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก พระยาพิชัยราชา ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็นพระยาพิชัย พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร พระยาอนุรักษ์ภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์ เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงคราม มีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช และให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย

เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงธนบุรี

พิธีดำน้ำพิสูจน์ความบริสุทธิ์พระสงฆ์ฝ่ายเหนือ จากพระราชพงศาวดาร

...หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยกกองทัพไปปราบปรามชุมนุมเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเสร็จแล้ว โปรดให้ทำการสมโภชองค์พระศรีมหาธาตุ ดำรัสให้ราชบัณฑิตจัดหาพระไตรปิฏกลงบรรทุกเรือเข้ากรุง เพื่อทำการจำลองเสร็จแล้วจะนำส่งคืน ทั้งให้สังฆการีนิมนต์พระอาจารย์สี วัดพนัญเชิงซึ่งหนีพม่าออกมาอยู่ ณ เมืองนครนั้น ให้รับเข้ามาอยู่ในกรุงธนบุรีพร้อมกับพระสงฆ์สามเณรศิษย์ทั้งปวงด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าตั้งให้พระอาจารย์สี ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สถิตอยู่ ณ วัดบางหว้าใหญ่ในเดือน 4 ปีฉลู เอกศกนั่นเอง

ครั้นถึงปีขาล โทศก 2333 เจ้าพระฝางซึ่งเป็นพระเถระ หรือพระสังฆราชาเจ้าคณะเมืองสวางบุรีที่พระพากุละเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แสวงหาอำนาจ ลาภ ยศ กันอย่างเปิดเผยโดยมิได้คำนึงถึงพระพุทธบัญญัติหรือพุทธวินัยกันเลย ได้ก่อให้เกิดความสกปรกอัปยศโสมมขึ้นในวงการของคณะสงฆ์ เป็นที่แปดเปื้อนต่อความบริสุทธิ์ผ่องใสแห่งพระบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โดยตั้งตัวเป็นใหญ่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งๆที่ตนเป็นพระ ประพฤติพาลทุจริตทุศีลก่อกรรมลามกบริโภคสุราร่วมกับพระสงฆ์อลัชชี

แล้วยังนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ จัดเป็นกองทัพทำการต่อต้าน จึงโปรดให้สืบเสาะจับพระสงฆ์เหล่าร้ายได้ตัวพระครูศิริมานนท์หนึ่ง พระอาจารย์หนึ่ง พระอาจารย์จันทร์ อาจารย์เกิดหนึ่ง ล้วนเป็นแม่ทัพอ้ายเรือน (เจ้าพระฝาง) ทั้งสี่รูป แต่พระครูเพชรรัตน์กับอ้ายเรือนพระฝางนั้นหาตัวได้ไม่ จึงดำรัสให้ผลัดผ้าเป็นคฤหัสถ์ทั้ง 4 คน แล้วจำส่งลงมาใส่คุก ณ กรุงธนบุรี

ในวันนั้น ให้นิมนต์พระสงฆ์เมืองเหนือมาพร้อมกันหน้าพระที่นั่ง แล้วให้หาขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยมาประชุมพร้อมกัน จึงดำรัสปรึกษาว่า พระสงฆ์บรรดาอยู่ฝ่ายเหนือนี้เป็นพรรคพวกอ้ายเรือนพระฝางทั้งสิ้น ย่อมถืออาวุธและปืนรบศึกฆ่าคนปล้นเอาทรัพย์สิ่งของ กินสุราเมรัยส้องเสพอนาจารด้วยหญิง ต้องจตุปาราชิกาบัติต่าๆ ขาดจากสิกขาบทในพระพุทธศาสนาล้วนลามก จะละไว้ให้คงอยู่ในสมณเพศฉะนี้มิได้ อนึ่ง พระสงฆ์ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ ก็จะแปลกปลอมปะปนกันอยู่มิรู้ว่าองค์ใดดีองค์ใดชั่ว จะได้ไหว้นบเคารพสักการบูชาให้เป็นเนื้อนาบุญ ได้มีผลานิสงส์แก่เราท่านทั้งปวง ให้พระสงฆ์ให้การไปตามสัตย์ตามจริง ถ้าได้ผิดในจตุปาราชิกแต่ประการใดประการหนึ่ง จะพระราชทานผ้าคฤหัสถ์ให้ผลัดสึกออกทำราชการ ที่ไม่รับนั้น จะให้ดำน้ำพิสูจน์สู้นาฬิกาสามกลั้น แม้ชนะนากาจะให้เป็นอธิการและพระครูราชาคณะฝ่ายเหนือ โดยสมควรแก่คุณธรรมที่รู้ แม้แพ้แก่นาฬิกาจะให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนตีแล้วสักข้อมือไว้มิให้บวชได้อีก แม้เสมอนาฬิกาจะถวายผ้าไตรให้บวชใหม่ แต่ถ้าเดิมไม่รับ ครั้นจะให้ลงดำน้ำพิสูจน์กลับคืนคำว่าได้ทำผิด จะให้ลงพระราชอาญาประหารชีวิตเสีย

ไฟล์:หาดแม่น้ำน่านหน้าวัดพระฝาง..jpg
หาดแม่น้ำน่าน หน้าวัดพระฝาง ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 5

อนึ่ง เมื่อพระสงฆ์จะลงดำน้ำนั้น ให้ตั้งศาลากั้นม่านคาดเพดานผ้าขาวแต่งเครื่องพลีกรรมเทพยดาพร้อมแล้ว จึงทรงพระสัตยาธิษฐานให้พระบารมีนั้น ช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพระสงฆ์ทั้งปวง ถ้าภิกษุสงฆ์องค์ใดมิได้ขาดสิกขาบทจตุปาราชิกขอให้บารมีของเราและอานุภาพเทพยดาอันศักดิ์สิทธิ์จงเป็นสักขีพยาน ช่วยอภิบาลบำรุงรักษาพระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น อย่าให้แพ้แก่นาฬิกาได้ ถ้าแลภิกษุองค์ใดถึงศีลวิบัติแล้ว เทพยดาจงสังหารให้แพ้แก่นาฬิกาเห็นประจักษ์แก่ดาโลก แล้วเสด็จทรงพระเก้าอี้อยู่ที่หาดทราย ให้พระสงฆ์ดำน้ำพิสูจน์ตัวต่อหน้าพระที่นั่ง พลางอธิษฐานด้วยเตชะพระบรมโพธิสมภาร ครั้งนั้นพระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิ์ก็ชนะนาฬิกาบ้าง เสมอนาฬิกาบ้าง ภิกษุผู้ทุศีลก็แพ้แก่นาฬิกาเป็นอันมาก เสนาบดีก็กระทำตามรับสั่งโดยสมควรแก่คุณและโทษ แต่ผ้าไตรที่พระสงฆ์พวกแพ้ต้องสึกนั้นให้เอาสมุกไปทาพระมหาธาตุเมืองสวางบุรี แล้วทรงพระกรุณาให้เย็บผ้าจีวรสบงให้ได้พันไตร จะบวชพระสงฆ์ฝ่ายเหนือ จึงดำรัสสั่งให้สังฆการีลงมาอาราธนาพระราชาคณะกับพระสงฆ์อันดับ ณ กรุงธนบุรีห้าสิบรูปขึ้นไปบวชพระสงฆ์ไว้ ณ หัวเมืองทุกๆเมือง และให้พระราชาคณะอยู่สั่งสอนในข้อพระวินัยสิกขาบท กับให้เก็บพระไตรปิฏกลงมาเป็นฉบับสร้าง ณ กรุงด้วย

โปรดให้พระพิมลธรรมไปอยู่เมืองสวางบุรี ให้พระธรรมโคดมไปอยู่เมืองพิชัย ให้พระธรรมเจดีย์ไปอยู่เมืองพิษณุโลก ให้พระพรหมมุนีไปอยู่เมืองสุโขทัย ให้พระเทพกวีไปอยู่เมืองสวรรคโลก ให้พระโพธิวงศ์ไปอยู่เมืองศรีพนมมาศทุ่งยัง

พร้อมกับสั่งให้ทำการสมโภชพระมหาธาตุวัดพระฝาง ทั้งทำการปฏิสังขรณ์อารามทั่วไป และสมโภชพระแท่นศิลาอาสน์ กับสมโภชมหาธาตุเมืองสวรรคโลกเช่นเดียวกัน...

อ้างอิง

  1. ดำรงราชานุภาพ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2478). พงศาวดาร เรื่องไทยรบพะม่าครั้งกรุงธนบุรี. พระนคร : อักษรเจริญทัศน์
  2. _________________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.).

ดูเพิ่ม