ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 197: บรรทัด 197:
*[http://www.cbh.moph.go.th/ โรงพยาบาลชลบุรี]
*[http://www.cbh.moph.go.th/ โรงพยาบาลชลบุรี]
*[http://www.ppkh.moph.go.th/ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี]
*[http://www.ppkh.moph.go.th/ โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี]
*[http://www.rtafhospital.org/thai/main/index.php โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช] กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
*[http://www.rtafhospital.org/thai/main/index.php โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช] [[กรมแพทย์ทหารอากาศ]] [[กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ]]
*[http://www.jhosp.th.gs/web-j/hosp/index.htm โรงพยาบาลจันทรุเบกษา] กรมแพทย์ทหารอากาศ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ
*[http://www.jhosp.th.gs/web-j/hosp/index.htm โรงพยาบาลจันทรุเบกษา] [[กรมแพทย์ทหารอากาศ]][[ กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ]]


== การเดินทางมาสู่คณะ ==
== การเดินทางมาสู่คณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:23, 2 ตุลาคม 2549

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Faculty of Medicine Chulalongkorn university
สัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาปนา4 มิถุนายน พ.ศ. 2490
คณบดีศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล
ที่อยู่
วารสารจุฬาลงกรณ์เวชสาร
(Chulalongkorn Medical J.)
สีสีเขียวใบไม้
มาสคอต
พระเกี้ยว ล้อมด้วยชื่อคณะ
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
(King Chulalongkorn Memorial Hospital)
เว็บไซต์www.md.chula.ac.th

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ประวัติ

ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชปรารภใน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ที่ทรงต้องการให้ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (หรือ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันนั้น) ผลิตแพทย์เพิ่มมากขึ้นให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน เพื่อสนองพระราชปรารภดังกล่าว อธิบดีกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น(ศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม พรมมาส)จึงได้ติดต่อประสานงานการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ผ่านทางผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัย สภากาชาดไทย(ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยคุณ) โดยขอใช้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่จึงก่อกำเนิดขึ้นในนาม "คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์" และสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ ภายใน 9 เดือนเศษนับจากวันที่ได้เริ่มมีการติดต่อครั้งแรก โดยมีพระราชกฤษฎีกาประกาศตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ลงวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2490 ประกอบด้วย 9 แผนกวิชา ได้แก่ แผนกกายวิภาคศาสตร์ แผนกสรีระวิทยา แผนกพยาธิวิทยา แผนกอายุรศาสตร์ แผนกศัลยศาสตร์ แผนกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา แผนกรังสีวิทยา แผนกกุมารเวชศาสตร์ และแผนกจักษุวิทยาและวิทยาโสตนาสิกลาริงซ์ ภายหลังได้โอนมาสังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2510 ปัจจุบันแบ่งส่วนราชการออกเป็น 21 ภาควิชาและสำนักงานเลขานุการคณะ สีประจำคณะคือ สีเขียวใบไม้ หมายถึงชีวิต

ในปีพ.ศ.2550 เป็นโอกาสพิเศษที่สำคัญยิ่งคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ครบรอบ ๙๐ ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และครบ ๖๐ ปีของการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นโยบาย

  • ปรัชญา - แพทย์จุฬาฯ คู่กาชาดไทย วิชาการก้าวไกลสู่สากล รับใช้ปวงชนด้วยคุณธรรม
  • วิสัยทัศน์ - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันวิชาการทางการแพทย์ที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มุ่งผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติและนานาชาติ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภาคภูมิใจในสถาบัน

วันอานันทมหิดล

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐรามาธิบดินทร

วันอานันทมหิดล เป็นวันที่มีความสำคัญต่อชาวแพทย์จุฬาฯ กล่าวคือเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงดำริที่จะจัดงานวันอานันทมหิดลขึ้นเป็นประจำทุกปี ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านซึ่งได้สร้างคุณูปการด่อวงการแพทย์และการศึกษา เพื่อเป็นการเผยแผ่พระเกียรติคุณให้เป็นที่ประจักษ์ ตลอดจนเป็นการเฉลิมพระเกียรติล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘ให้พสกนิกรได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์สืบไป

กิจกรรมต่างๆประกอบด้วยพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ซึ่งประดิษฐานหน้าอาคาร "อานันทมหิดล" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของ คณาจารย์ แพทย์ พยาบาล นิสิตแพทย์และหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน การจัดทำเข็มกลัดที่ระลึกเนื่องในวันอานันทมหิดล เพื่อออกรับบริจาคโดยนิสิตแพทย์ รายได้สมทบทุนมูลนิธิอานันทมหิดลและช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ การจัดการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์เนื่องในสัปดาห์วันอานันทมหิดล ชิงโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การจัดงานเสวนาเนื่องสัปดาห์วันอานันทมหิดล และกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์อื่นๆเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล


รายนามอดีต คณบดี

  • 1.ศาสตราจารย์อุปการคุณ พลตรี พระยาดำรงแพทยคุณ (นพ.ชื่น พุทธิแพทย์)
  • 2.ศาสตราจารย์ หลวงพรหมทัตตเวที (นพ.ไหมพรม ศรีสวัสดิ์)
  • 3.ศาสตราจารย์อุปการคุณ หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์ (นพ.เฉลิม พรมมาส)(รักษาการ)
  • 4.ศาสตราจารย์ พันเอก หลวงประกิตเวชศักดิ์
  • 5.ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์
  • 6.ศาสตราจารย์ พันตรี นายแพทย์ทวี ตุมราศวิน
  • 7.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สมัค พุกกะณะเสน
  • 8.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศริพร วณิเกียรติ
  • 9.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ยาใจ ณ สงขลา
  • 10.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา
  • 11.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรเทอง รัชตะปีติ
  • 12.ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ศุภวัฒน์ ชุติวงศ์
  • 13.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ปรีดา ทัศนประดิษฐ์

เกียรติประวัติ

  • พ.ศ.2502 การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาดำ (corneal transplantation) ครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2505 เปิดสาขาประสาทศัลยศาสตร์และแผนกวิสัญญีวิทยา เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2507 ริเริ่มรักษาไตวายด้วยเครื่องฟอกไตเทียมเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2508 เปิดหน่วยวิจัยคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวเป็นแห่งแรกของประเทศ
  • พ.ศ.2513 ริเริ่มให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกคลอดทุกราย
  • พ.ศ.2515 การผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2516 จัดตั้งห้องปฎิบัติการโครโมโซมแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2516 ริเริ่มการผ่าตัดสายตาด้วยเลเซอร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2516 ริเริ่มการใช้ ultrasound เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ.2521 ริเริ่มโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบทแห่งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2524 ริเริ่มการใช้ CT scan เป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ.2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามรายแรกของประเทศและรายที่ 3 ของโลก
  • พ.ศ.2525 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามาแทนนิ้วมือด้วยจุลศัลยกรรมครั้งแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2527 วินิจฉัยผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ.2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ.2530 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการแก้ไขการมีบุตรยากด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว (Test tube baby)รายแรกของประเทศไทย
  • พ.ศ.2531 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • พ.ศ.2543 คณะแพทยศาสตร์ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
  • พ.ศ.2547 คณะแพทยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education Supplement ให้อยู่อันดับที่ 60 ของโลก
  • พ.ศ.2548 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด
  • พ.ศ.2548 คณะแพทยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education Supplement ให้อยู่อันดับที่ 82 ของโลก

หลักสูตร

ปริญญาตรี

ประกาศนียบัตรบัณฑิต

  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก

ปริญญาโท

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

  • หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก

Higher Graduate Diploma of Clinical Sciences program

ปริญญาเอก

  • หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต

ภาควิชา

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

การเดินทางมาสู่คณะ

โยงภายนอก