ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sontaya lim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
นอกจากนั้น ได้ทำการวิจัยด้านการผลิตเพคตินจากเปลือกส้มโอซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นและนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและพัฒนาเป็นระบบนำส่งยารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพ
นอกจากนั้น ได้ทำการวิจัยด้านการผลิตเพคตินจากเปลือกส้มโอซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นและนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและพัฒนาเป็นระบบนำส่งยารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพ


งานวิจัยในกลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (PBiG) เน้นการใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น เพคติน ([http://en.wikipedia.org/wiki/Pectin pectin]), ไคโตแซน (chitosan), อัลจิเนต (alginate), เชลแล็ก (shellac) เป็นต้น
งานวิจัยในกลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (PBiG) เน้นการใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น เพคติน ([http://en.wikipedia.org/wiki/Pectin pectin]), ไคโตแซน (chitosan), อัลจิเนต (alginate), [[เชลแล็ก]] (shellac) เป็นต้น





รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:45, 12 กุมภาพันธ์ 2553

รองศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ (23 กุมภาพันธ์ 2513 -) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเภสัชศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านเทคโนโลยีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Technology)เน้นการพัฒนาและออกแบบรูปแบบยาและระบบนำส่งยา (Dosage Form and Drug Delviery Design)การผลิตยารูปแบบของแข็ง การใช้พอลิเมอร์ในทางเภสัชกรรมและการเกษตร และนาโนเทคโนโลยีทางเภสัชกรรม

ประวัติการศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” จังหวัดสมุทรสาคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) และปริญญาโท จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2537 และ 2539 ตามลำดับ และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์อยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่ Charles Sturt Universityประเทศออสเตรเลีย และสำเร็จการศึกษากลับมารับราชการอยู่ที่เดิม เมื่อปี พ.ศ. 2545 ในปี พ.ศ. 2550 ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในสาขาเกษตรศาสตร์ (การจัดการการผลิตสัตว์)


ประวัติการทำงาน

เข้ารับราชการในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อปี พ.ศ. 2539 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ตำแหน่งอื่นๆ ในปัจจุบัน

  • รองคณบดีฝ่ายวิจัยและระบบสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2551 -)
  • กรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2549 -)
  • หัวหน้ากลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (Pharmaceutical Biopolymer Group, PBiG) (พ.ศ. 2550 -)
  • ผู้อำนวยการแผนงานวิจัยเพคติน/เพคติกโอลิโกแซคคาไรด์จากเปลือกส้มโอ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2551 -)

ผลงานวิจัย

งานวิจัยและพัฒนาของรองศาสตราจารย์ ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เกี่ยวข้องกับการออกแบบรูปแบบยาหรือระบบนำส่งยาแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรม โดยเน้นการพัฒนาสารพอลิเมอร์จากธรรมชาติ (เช่น เพคตินจากเปลือกส้มหรือกากผลไม้ อัลจิเนตจากสาหร่ายทะเล หรือ ไคโตแซนจากเปลือกกุ้งหรือกระดองปู เป็นต้น) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตร ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบนำส่งยาและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตยาที่ได้ทำการศึกษาวิจัย เช่น

  • การออกแบบยาเม็ดโดยใช้เพคตินเป็นสารก่อเจล เพื่อชะลอการปลดปล่อยตัวยาที่ให้โดยการรับประทาน เนื่องจากเพคตินมีคุณสมบัติในการดูดน้ำและพองตัวเกิดเป็นชั้นเจลรอบเม็ดยาได้ ซึ่งยาเม็ดที่ออกแบบสามารถเตรียมได้ง่ายโดยใช้เครื่องมือที่มีอยู่เดิม ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือราคาแพง และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน
  • การพัฒนาระบบยาเม็ดเคลือบฟิล์มชนิดคอมพอสิตระหว่างเพคตินกับพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่ไม่ละลายน้ำ เพื่อใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยยาจากระบบนำส่งยาแบบนำวิถีไปยังอวัยวะเป้าหมาย (site-specific drug delivery system) ที่ลำไส้ใหญ่
  • การพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มยาเม็ดโดยอาศัยหลักการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ผิวประจันของเม็ดยากับเพคตินเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน เพื่อใช้ในการควบคุมการปลดปล่อยตัวยาออกจากเม็ดยา ซึ่งวิธีการนี้ช่วยลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ในการเคลือบ และไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงในการทำให้แห้ง
  • การออกแบบระบบเจลบีดเพื่อเก็บกักยาหรือยาโปรตีนสำหรับใช้ในการนำส่งยาที่ให้โดยการรับประทาน โดยอาศัยหลักการเกิดเจลระหว่างประจุ (ionotropic gelation) ซึ่งทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง ไม่ต้องใช้ความร้อนหรือแรงปั่นความเร็วสูง จึงไม่ทำให้โครงสร้างของยาโปรตีนเสียสภาพไป
  • การพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมการปลดปล่อยยาจากระบบนำส่งยาชนิดลอยตัวได้ในกระเพาะอาหารเพื่อให้ระบบคงอยู่ในทางเดินอาหารนานขึ้น เพื่อใช้สำหรับยาที่ต้องการให้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ในกระเพาะอาหาร ยาที่มีปัญหาการดูดซึม หรือยาที่มีปัญหาเรื่องความคงตัว
  • การศึกษากลไกการยึดเกาะเยื่อเมือกในทางเดินอาหารและการพัฒนาระบบนำส่งยาชนิดยึดเกาะเยื่อเมือก เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาคงอยู่ในบริเวณที่ต้องการหรือบริเวณที่ดูดซึมยา และการเกาะติดที่ชั้นเยื่อเมือกที่ปกคลุมเยื่อบุผิวทำให้ระยะทางที่ยาต้องแพร่ผ่านเข้าสู่กระแสเลือดสั้นลงทำให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น
  • การศึกษาโครงสร้างภายในของเม็ดเจลบีดโดยใช้เทคนิคการเกิดภาพของอิเล็กตรอนชนิดกระจายกลับ (back-scattered electron) เพื่อตรวจสอบโครงสร้างแบบร่างแหของพอลิเมอร์และศึกษาการกระจายของตัวยาสำคัญ และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดและเทคนิคเยือกแข็ง (Cryo-scanning electron microscopy)

นอกจากนั้น ได้ทำการวิจัยด้านการผลิตเพคตินจากเปลือกส้มโอซึ่งเป็นของเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรในท้องถิ่นและนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและพัฒนาเป็นระบบนำส่งยารูปแบบใหม่ๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้ประโยชน์เชิงสุขภาพ

งานวิจัยในกลุ่มวิจัยพอลิเมอร์ธรรมชาติสำหรับอุตสาหกรรมยา (PBiG) เน้นการใช้ประโยชน์จากพอลิเมอร์ธรรมชาติ เช่น เพคติน (pectin), ไคโตแซน (chitosan), อัลจิเนต (alginate), เชลแล็ก (shellac) เป็นต้น


เกียรติคุณและรางวัล

  • 2552 รางวัลนักวิจัยรุ่นกลางดีเด่นประจำปี 2552 (TRF-CHE-SCOPUS Researcher Award 2009) จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)และสำนักพิมพ์ Elsevier
  • 2552 รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2552 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 2548 รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย (รางวัลชมเชย) สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • 2548 รางวัลผลงานวิจัยดี ประจำปี พ.ศ. 2548 จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 2547 รางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ดีเด่น สกว.-สกอ. ประจำปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • 2547 รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2547 สาขาเภสัชศาสตร์ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • 2547 รางวัลทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2546 (จากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย)
  • 2545 Nagai Award Thailand 2002 (Outstanding Research) จาก Nagai Foundation Tokyo ประเทศญี่ปุ่น
  • 2545 Charles Sturt University Writing-Up Award จาก Charles Sturt University ประเทศออสเตรเลีย