ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวนอู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sontaya lim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Sontaya lim (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียงมีชื่อเต็มว่า(อำเภอฮอตั๋งไกเหลียง) ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง<ref name="ตัวละครสำคัญในสามก๊ก">กวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 63</ref> รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้าน[[ตำราพิชัยสงคราม|คัมภีร์พิชัยสงคราม]]และ[[คัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว]]<ref name="กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ">กำเนิดกวนอู, กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื้อ, องอาจ นิมิตกุล, สำนักพิมพ์เหยี่ยว, พ.ศ. 2528, หน้า 5</ref> เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปี<ref>[http://phuketbulletin.co.th/magazine/view.php?id=18 คาราวะเทพเจ้าจีน เทพเจ้ากวนอู]</ref>จนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู<ref name="ตัวละครสำคัญในสามก๊ก">กวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 63</ref>
กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียงมีชื่อเต็มว่า(อำเภอฮอตั๋งไกเหลียง) ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง<ref name="ตัวละครสำคัญในสามก๊ก">กวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 63</ref> รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้าน[[ตำราพิชัยสงคราม|คัมภีร์พิชัยสงคราม]]และ[[คัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว]]<ref name="กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ">กำเนิดกวนอู, กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื้อ, องอาจ นิมิตกุล, สำนักพิมพ์เหยี่ยว, พ.ศ. 2528, หน้า 5</ref> เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปี<ref>[http://phuketbulletin.co.th/magazine/view.php?id=18 คาราวะเทพเจ้าจีน เทพเจ้ากวนอู]</ref>จนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู<ref name="ตัวละครสำคัญในสามก๊ก">กวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า 63</ref>


ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบ[[โจรโพกผ้าเหลือง]]จนราบคาบในสมัย[[พระเจ้าเลนเต้]] แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลัง[[ต๊กอิ้ว]]ซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเลนเต้ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย
ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบ[[โจรโพกผ้าเหลือง]]จนราบคาบในสมัย[[พระเจ้าเลนเต้]] แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเลนเต้ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย


วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเลนเต้ สังหาร[[ฮัวหยง]]แม่ทัพของ[[ตั๋งโต๊ะ]]โดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบ[[งันเหลียง]]และ[[บุนทิว]]สองทหารเอกของ[[อ้วนเสี้ยว]] บุกเดี่ยวพันลี้หนีจาก[[โจโฉ]]เพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวนท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราว[[ศึกเซ็กเพ็ก]]โจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจาก[[ขงเบ้ง]]ให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อยโจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับ[[ประหารชีวิต|โทษประหาร]]ตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง
วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเลนเต้ สังหาร[[ฮัวหยง]]แม่ทัพของ[[ตั๋งโต๊ะ]]โดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบ[[งันเหลียง]]และ[[บุนทิว]]สองทหารเอกของ[[อ้วนเสี้ยว]] บุกเดี่ยวพันลี้หนีจาก[[โจโฉ]]เพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวนท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราว[[ศึกเซ็กเพ็ก]]โจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจาก[[ขงเบ้ง]]ให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อยโจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับ[[ประหารชีวิต|โทษประหาร]]ตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:53, 11 กุมภาพันธ์ 2553

กวนอู
แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก
เกิดพ.ศ. 703
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 762
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม關羽
อักษรจีนตัวย่อ关羽
ชื่อรองหวินฉาง หรือ หยุนฉาง หรือ หุนเตี๋ยง (雲長) -- ทีฆเมฆา
ฉางเซิง (長生) -- ทีฆชีวิน
สมัญญานามจ้วงโหมวโห (壯繆侯) -- เจ้าพระยาจ้วงโหมว
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
ชื่อในคติพุทธศาสนามหายานสังฆรามโพธิสัตว์
เฉียหลันปู๋ซ่า (伽藍菩薩)
เทพนาม
(ชื่อที่ให้แก่บุคคลในฐานะ
เทพเจ้าเมื่อวายชนม์ไปแล้ว)
กวนเซิ่งตี้จุน (關聖帝君) เทพกษัตริย์กวนอวี่
ชื่ออื่น ๆ
  • กวนกง (關公)
    พระยากวนอวี่
  • กวนเอ้อเหยฺ (關二爺)
    ท่านปู่รองกวนอวี่
  • เหม่ยหรันกง (美髯公)
    พระยาผู้มีหนวดงาม
  • กวนตี้ หรือกวนเต้ (關帝)
    สมเด็จพระจักรพรรดิกวนอวี่
爺 (เหยฺ) อ่านเป็น เย+จัตวา ไม่อ่านเป็น เหอ+ย

กวนอู (อังกฤษ: Guan Yu;จีนตัวย่อ: 关羽; จีนตัวเต็ม: 關羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้นฮวนเต้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้[1] [2] มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก[3] มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ

ในวัยหนุ่มฉกรรจ์กวนอูได้พลั้งมือฆ่าปลัดอำเภอและน้าชายตายจนต้องหลบหนีการจับกุม[4] และพบกับเล่าปี่และเตียวหุยจนร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องกันในสวนท้อ ร่วมทำศึกกับเล่าปี่มาโดยตลอด เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ครองเกงจิ๋วร่วมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมและจิวฉอง ภายหลังถูกแผนกลยุทธ์ปิดฟ้าข้ามทะเลของลกซุนและลิบองจนเสียเมืองเกงจิ๋ว กวนอูคับแค้นใจที่พลาดท่าเสียทีลกซุนและลิบองจึงนำทัพไปตีเกงจิ๋วเพื่อแย่งชิงคืน แต่ถูกจูเหียนและพัวเจี้ยงจับได้พร้อมกวนเป๋งที่เขาเจาสันและถูกประหารในปี พ.ศ. 762 รวมอายุได้ 59 ปี

ประวัติ

กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียงมีชื่อเต็มว่า(อำเภอฮอตั๋งไกเหลียง) ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง[4] รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว[5] เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปี[6]จนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู[4]

ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้าเลนเต้ แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเลนเต้ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย

วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเลนเต้ สังหารฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวนท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อยโจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง

เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกลอุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762

ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหารกวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้งหมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว"[7] ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้

ลักษณะนิสัย

จากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้บรรยายลักษณะนิสัยของกวนอูว่าเป็นผู้ที่มีนิสัยห้าวหาญ กิริยาท่าทางองอาจน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น กตัญญูรู้คุณคนและซื่อสัตย์เป็นเลิศ นิสัยรักความยุติธรรม มีคุณธรรมไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่าและผู้ไร้ทางสู้ ถือสัตย์ไม่ชอบการกดขี่ข่มเหง หยิ่งทรนงในศักดิ์ศรีและเชื่อมั่นในตนเอง ฝีมือเชิงยุทธ์เก่งกาจเนื่องจากชำนาญตำราพิชัยสงครามและคัมภีร์ชุนชิวแต่เด็ก[8] ความองอาจกล้าหาญไม่กลัวตายบวกกับฝีมือในเชิงยุทธ์ของกวนอู ความซื่อสัตย์จงรักภักดีสละแล้วซึ่งชีวิตต่อเล่าปี่รวมทั้งลักษณะที่สมเป็นชายชาติทหาร ทำให้โจโฉและซุนกวนต้องการตัวกวนอูเป็นอย่างมาก

ความสัตย์ซื่อ

เมื่อคราวที่เล่าปี่ทำศึกแพ้โจโฉที่เมืองชีจิ๋วแตกแยกพลัดพรากจากกวนอูและเตียวหุย เล่าปี่หนีไปอยู่กับอ้วนเสี้ยว เตียวหุยแตกไปแย่งชิงเมืองเล็ก ๆ และตั้งซุ่มเป็นกองโจร กวนอูถูกโจโฉวางกลอุบายล้อมจับตัวได้ที่เมืองแห้ฝือ และมอบหมายให้เตียวเลี้ยวมาเจรจาเกลี้ยกล่อม กวนอูขอสัญญาสามข้อจากโจโฉคือ "เราจะขอเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ประการหนึ่ง เราจะขอปฏิบัติพี่สะใภ้ทั้งสอง แลอย่าให้ผู้ใดเข้าออกกล้ำกรายเข้าถึงประตูที่อยู่ได้ จะขอเอาเบี้ยหวัดของเล่าปี่ซึ่งเคยได้รับพระราชทานนั้น มาให้แก่พี่สะใภ้เราทั้งสองประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งถ้าเรารู้ว่าเล่าปี่อยู่แห่งใดตำบลใด ถึงมาตรว่าเรามิได้ลามหาอุปราชเราก็จะไปหาเล่าปี่ แม้มหาอุปราชจะห้ามเราก็ไม่ฟัง"[9] โจโฉตกลงตามสัญญาสามข้อจึงได้กวนอูไว้ตามต้องการ

โจโฉนำกวนอูไปถวายตัวต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ พยายามเลี้ยงดูกวนอูอย่างดีเพื่อให้ลืมคุณของเล่าปี่แต่หนหลัง ให้เครื่องเงินเครื่องทองแลแพรอย่างดีแก่แก่กวนอูเพื่อหวังเอาชนะใจ สามวันแต่งโต๊ะไปให้ครั้งหนึ่ง ห้าวันครั้งหนึ่ง จัดหญิงสาวรูปงามสิบคนให้ไปปฏิบัติหวังผูกน้ำใจกวนอูให้หลง แต่กวนอูกลับไม่สนใจต่อทรัพย์สินและหญิงงามที่โจโฉมอบให้ ใจมุ่งหวังแต่เพียงคิดหาทางกลับคืนไปหาเล่าปี่ โจโฉเห็นเสื้อผ้ากวนอูเก่าและขาดจึงมอบเสื้อใหม่ให้ กวนอูจึงนำเสื้อเก่าสวมทับเสื้อใหม่ด้วยเหตุผลที่ว่า "เสื้อเก่านี้ของเล่าปี่ให้ บัดนี้เล่าปี่จะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ใส่ชั้นนอก หวังจะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า"[10]

โจโฉเห็นม้าที่กวนอูขี่ผ่ายผอมเพราะทานน้ำหนักกวนอูไม่ไหวจึงมอบม้าเซ็กเธาว์ของลิโป้ให้ สร้างความดีใจให้กวนอูเป็นอย่างยิ่งจนถึงกับคุกเข่าคำนับโจโฉหลายครั้งจนโจโฉสงสัยถามว่า "เราให้ทองสิ่งของแก่ท่านมาเป็นอันมากก็ไม่ยินดี ท่านไม่ว่าชอบใจและมีความยินดีเหมือนเราให้ม้าตัวนี้ เหตุไฉนท่านจึงรักม้าอันเป็นสัตว์เดียรัจฉานมากกว่าทรัพย์สินอีกเล่า"[11] [12] กวนอูจึงตอบด้วยเหตุผลว่า "ข้าพเจ้าแจ้งว่าม้าเซ็กเธาว์ตัวนี้มีกำลังมาก เดินทางได้วันละหมื่นเส้น แม้ข้าพเจ้ารู้ข่าวว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด ถึงมาตรว่าไกลก็จะไปหาได้โดยเร็ว เหตุฉะนี้ข้าพเจ้าจึงมีความยินดี ขอบคุณมหาอุปราชมากกว่าให้สิ่งของทั้งปวง"[11] [12]

ความถือคุณธรรม

ภายหลังจากเตียวเลี้ยวเจรจาเกลี้ยกล่อมกวนอูได้สำเร็จ โจโฉสั่งทหารเปิดทางให้กวนอูเข้าเมืองและจัดให้อยู่ร่วมเรือนเดียวกับพี่สะใภ้ทั้งสองคือนางกำฮูหยินและนางบิฮูหยิน หวังให้กวนอูคิดทำร้ายจะได้แตกน้ำใจจากเล่าปี่ โจโฉจะได้ครอบครองกวนอูไว้เป็นสิทธ์แก่ตัว แต่กวนอูให้พี่สะใภ้ทั้งสองนอนห้องด้านในและนั่งจุดเทียนดูหนังสือรักษาพี่สะใภ้อยู่นอกประตู เป็นการทรมานตนเองจนรุ่งเช้าในระหว่างเดินทางกลับฮูโต๋ เมื่อโจโฉรู้ดังนั้นก็เกรงใจกวนอูด้วยว่า "มีความสัตย์และกตัญญูต่อเล่าปี่"[13]

ความกตัญญูรู้คุณ

ไฟล์:3 Kingdom 009.jpg
กวนอูแทนคุณโจโฉด้วยการเปิดทางให้หลบหนี ในฉบับสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ ปี พ.ศ. 2538

ในคราวศึกที่ตำบลแปะแบ๊ อ้วนเสี้ยวนำทัพหมายบุกโจมตียึดครองฮูโต๋ โจโฉจัดทหารสิบห้าหมื่นแยกออกเป็นสามกองเข้ารับมือกับอ้วนเสี้ยว ในการทำศึกโจโฉสูญเสียซงเหียน งุยซกและไพร่พลจำนวนมาก ซิหลงเสนอให้เรียกกวนอูออกรบ โจโฉกลัวกวนอูออกรบแล้วจะเป็นการแทนคุณตนเองและจากไปแต่ซิหลงแย้งว่า "ข้าพเจ้าเห็นว่าเล่าปี่ไปอาศัยอ้วนเสี้ยวอยู่ แม้กวนอูฆ่าทหารอ้วนเสี้ยวคนนี้เสียได้ อ้วนเสี้ยวรู้ก็จะฆ่าเล่าปี่ เมื่อเล่าปี่ตายแล้วกวนอูก็จะเป็นสิทธิ์อยู่แก่ท่าน"[14] โจโฉเห็นชอบด้วยความคิดซิหลงกวนอูจึงถูกเรียกตัวออกศึก โจโฉพากวนอูขึ้นไปบนเนินเขาและชี้ให้ดูตัวงันเหลียง กวนอูจึงว่า "งันเหลียงคนนี้หรือ ข้าพเจ้าพอจะสู้ได้ ท่านอย่าวิตกเลย ข้าพเจ้าจะตัดศีรษะงันเหลียงมาให้ท่านจงได้"[14] และได้ตัดคอบุนทิวและงันเหลียง สองทหารเอกของอ้วนเสี้ยวดั่งคำสัตย์ที่ได้ลั่นวาจาไว้ แม้จะไม่ยอมเป็นข้ารับใช้โจโฉแต่ก็ยอมพลีกายถวายชีวิตในการทำศึกสงครามให้แก่โจโฉ เป็นชายชาติทหารเต็มตัว ช่วยทำศึกให้แก่โจโฉด้วยความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณเพื่อเป็นการทดแทนคุณโจโฉที่ได้เลี้ยงดูและปูนบำเหน็จรางวัลต่าง ๆ ให้มากมาย

นับจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ฝีมือง้าวในการทำศึกของกวนอูก็เป็นที่เลื่องลือกล่าวขานและรู้จักกันทั่วทั้งแผ่นดิน ในคราวที่โจโฉนำกำลังบุกลงใต้หวังยึดครองกังตั๋ง จิวยี่แม่ทัพของซุนกวนวางแผนการลอบฆ่าเล่าปี่โดยเชิญมากินโต๊ะ เล่าปี่หลงเชื่อถ้อยคำจิวยี่พาซื่อพาทหารไปกังตั๋งเพียงแค่ 20 คน นั่งดื่มเหล้ากับจิวยี่จนเมาในค่าย จิวยี่นัดแนะกับทหารไว้เมื่อเห็นตนเองทิ้งจอกเหล้าให้สัญญาณก็ให้ทหารที่เตรียมซุ่มไว้ออกมาฆ่าเล่าปี่ ระหว่างกินโต๊ะจิวยี่เห็นกวนอูยืนถือกระบี่อยู่ด้านหลังของเล่าปี่จึงถามว่าเป็นใคร เมื่อเล่าปี่ตอบว่า "กวนอูเป็นน้องข้าพเจ้าเอง"[15] จิวยี่ก็ตกใจจนเหงื่อกาฬไหลโทรมกาย เกรงกลัวฝีมือของกวนอูจนล้มเลิกแผนการฆ่าเล่าปี่

ในคราวศึกเซ็กเพ็ก ภายหลังจากขงเบ้งทำพิธีเรียกลมอาคเนย์ให้แก่จิวยี่และลอบหลบหนีด้วยแผนกลยุทธ์หลบหนีจากการถูกปองร้ายของจิวยี่ เดินทางกลับยังแฮเค้าพร้อมกับจูล่ง ขงเบ้งมอบหมายให้จูล่งคุมทหารสามพันไปซุ่มรอที่ตำบลฮัวหลิม ให้เตียวหุยคุมทหารสามพันไปซุ่มรอที่เนินเขาปากทางตำบลโฮโลก๊ก ให้บิต๊กและบิฮองคุมทหารไปดักรออยู่ตามชายทะเลคอยดักจับทหารโจโฉที่หลบหนีมา ให้เล่ากี๋คุมเรือรบไปตั้งอยู่ที่ตำบลฮูเชียงและให้เล่าปี่คุมทหารไปคอยดูแผนการเผาทัพเรือโจโฉของจิวยี่อยู่บนเนินเขา ขงเบ้งจงใจไม่เลือกใช้กวนอูทำให้กวนอูน้อยใจจึงกล่าวแก่ขงเบ้งว่า "ตัวข้าพเจ้านี้มาอยู่กับเล่าปี่ช้านานแล้ว แลเล่าปี่จะทำการสิ่งใดก็ย่อมใช้สอยข้าพเจ้าให้อาสาไปทำการก่อนทุกแห่ง ครั้งนี้ท่านแคลงข้าพเจ้าสิ่งใดหรือ จึงไม่ใช้ไปทำการเหมือนคนทั้งปวง"[16] ขงเบ้งจึงมอบหมายให้กวนอูคุมทหารห้าร้อยไปตั้งสกัดอยู่ทางฮัวหยง แต่ก็เกิดความคลางแคลงกวนอู ด้วยความเป็นคนสัตย์รู้จักคุณคน เกรงกวนอูจะนึกถึงคุณโจโฉที่เคยเอ็นดูทำนุบำรุงมาแต่ก่อนจึงไม่ฆ่าเสียและปล่อยให้หลุดรอดไป กวนอูจึงยอมทำทัณฑ์บนแก่ขงเบ้งด้วยศีรษะของตนเองถ้าไปดักรอโจโฉที่เส้นทางฮัวหยงแล้วปล่อยให้หลบหนีไปได้

โจโฉแตกทัพไปตามเส้นทางที่ขงเบ้งคาดการณ์ไว้จนถึงฮัวหยง พบกวนอูขี่ม้าถือง้าวคุมทหารออกมายืนสกัดขวางทางไว้ โจโฉเกิดมานะฮึกเฮิมจะต่อสู้แต่เรี่ยวแรงและกำลังของทหารที่ติดตามมานั้นอ่อนแรง เทียหยกจึงกล่าวแก่โจโฉว่า "จะหนีจะสู้นั้นก็ไม่ได้ อันน้ำใจกวนอูเป็นทหารนั้นก็จริง ถ้าเห็นผู้ใดไม่สู้รบแล้วก็มิได้ทำอันตราย ประการหนึ่งเป็นผู้มีความสัตย์ ทั้งรู้จักคุณคนนักด้วย แล้วท่านก็ได้เลี้ยงดูมีคุณไว้ต่อกวนอูเป็นอันมาก แม้ท่านเข้าไปว่ากล่าวโดยดี เห็นกวนอูจะไม่ทำอันตรายท่าน""[17] โจโฉเห็นชอบด้วยจึงว่ากล่าวตักเตือนกวนอูให้ระลึกถึงบุญคุณแต่ครั้งเก่าคราวที่กวนอูหักด่านถึง 5 ตำบล ฆ่า 6 ขุนพลและทหารเป็นจำนวนมาก ขอให้กวนอูเปิดทางให้หลบหนีไป กวนอูนั้นเป็นคนกตัญญูรู้คุณคน ได้ฟังโจโฉว่ากล่าวก็สงสารนึกถึงคุณโจโฉซึ่งมีมาแต่หนหลัง จึงยอมเปิดทางให้โจโฉหลบหนีไปโดยตนเองเลือกยอมรับโทษประหารตามที่ได้ลั่นวาจาสัตย์และทำทัณฑ์บนไว้แก่ขงเบ้ง

ความกล้าหาญ

กวนอูในฉบับสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์ของจีนแผ่นดินใหญ่ ปี พ.ศ. 2538

เมื่อคราวเล่าปี่ตั้งตนเป็นใหญ่ในเสฉวนและสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮันต๋ง ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเจ้าเมืองเกงจิ๋วซึ่งเป็นหัวเมืองเอกของเสฉวน แต่เดิมเกงจิ๋วเป็นของซุนกวน โลซกรับเป็นนายประกันให้เล่าปี่ยืมเกงจิ๋วโดยสัญญาว่าเมื่อได้เสฉวนจะคืนเกงจิ๋วให้ แต่เมื่อเล่าปี่ได้เสฉวนกลับไม่ยอมคืนเกงจิ๋วให้ตามสัญญา ซุนกวนให้จูกัดกิ๋นพี่ชายขงเบ้งเป็นทูตไปเจรจาขอคืน แต่เล่าปี่ก็แสร้งบิดพลิ้วไม่ยอมคืนแต่จะยกเมืองเตียงสา เมืองเลงเหลงและเมืองฮุยเอี๋ยวให้แทน โดยให้ไปเจรจาขอเกงจิ๋วคืนแก่กวนอูผู้เป็นเจ้าเมือง โลซกจึงวางแผนการชิงเกงจิ๋วคืนด้วยการเชิญกวนอูมากินโต๊ะ ณ ปากน้ำลกเค้า ถ้าเจรจาขอเกงจิ๋วคืนจากกวนอูไม่สำเร็จจะใช้กำลังเข้าแย่งชิงโดยให้กำเหลงและลิบองคุมทหารซุ่มรออยู่รอบด้าน

กวนอูรับคำเชิญของโลซก แต่กวนเป๋งเกรงกวนอูจะได้รับอันตรายหากไปกินโต๊ะตามคำเชิญ กวนอูจึงให้เหตุผลว่า "เหตุทั้งนี้เพราะจูกัดกิ๋นไปบอกซุนกวน โลซกจึงคิดกลอุบายให้เราไปกินโต๊ะแล้วจะได้ทวงเอาเมืองเกงจิ๋วคืนไปไว้เป็นกรรมสิทธิ์ซุนกวน ครั้นเราจะไม่ไปชาวเมืองกังตั๋งจะดูหมิ่นเราว่ากลัว พรุ่งนี้เราจะพาทหารแต่ยี่สิบคนลงเรือเร็วไปกินโต๊ะ จะดูท่วงทีโลซกจะเกรงง้าวที่เราถือหรือไม่"[18] แต่กวนเป๋งเกรงเล่าปี่จะตำหนิถ้าหากปล่อยให้กวนอูไปกังตั๋ง มิใยกวนเป๋งและม้าเลี้ยงจะห้ามปราม กวนอูก็ยืนยันคำเดิมตามที่ได้ลั่นวาจาไว้พร้อมกับกล่าวว่า "เจ้าอย่าวิตกเลย อันบิดานี้ก็มีฝีมือเลื่องลืออยู่ แต่ทหารโจโฉเป็นอันมากนับตั้งแสน บิดากับม้าตัวเดียวก็ยังไม่ต้องเกาฑัณฑ์แลอาวุธทั้งปวง ขับม้ารบพุ่งรวดเร็วเป็นหลายกลับ อุปมาเหมือนเข้าดงไม้อ้อแลออกจากพงแขม จะกลัวอะไรแก่ทหารเมืองกังตั๋งเพียงนี้ดังหนูอันหาสง่าไม่ ได้ออกปากว่าจะไปแล้วจะให้เสียวาจาไย"[18]

กวนอูข้ามฟากไปกินโต๊ะตามคำเชิญของโลซกโดยลงเรือเร็ว มีนายท้ายกะลาสีประมาณยี่สิบคนพร้อมธงแดงสำหรับกวนอู แต่งกายโอ่โถงใส่เสื้อแพรสีม่วง โพกแพรสีเขียวปราศจากเกราะป้องกัน มีจิวฉองแบกง้าวนั่งเคียงข้าง มีทหารฝีมือเยี่ยมติดตามมาด้วยประมาณเจ็ดแปดคน บุกเดี่ยวไปยังดินแดนกังตั๋งด้วยความองอาจกล้าหาญมิเกรงกลัวต่อความตายที่อาจเกิดขึ้นได้ในต่างแดน โลซกเห็นกวนอูแต่งกายมีสง่าน่าเกรงขามก็เกิดความหวาดกลัว เกรงจะเจรจาขอเกงจิ๋วคืนไม่สำเร็จ ครั่นคร้ามกวนอูขนาดเสพย์สุราก็มิอาจเงยหน้าขึ้นดูกวนอู[19] ไม่กล้าเอ่ยปากเจรจาขอเกงจิ๋วคืน รอจนกวนอูใกล้เมาจึงเอ่ยปากขอเกงจิ๋วคืนจากกวนอู

แต่แผนการของโลซกไม่ประสบความสำเร็จ กวนอูบอกปัดไม่ยอมคืนเกงจิ๋วโดยให้ไปเจรจาต่อเล่าปี่ แสร้งทำเป็นเมามายไม่ได้สติและฉวยง้าวจากจิวฉองที่ถือยืนคอยอยู่มาแกว่งไว้ในมือ อีกมือหนึ่งยึดเอามือโลซกไว้แล้วจูงมือเดินออกมานอกค่ายแล้วกล่าวว่า "ท่านหามากินโต๊ะนี้ก็ขอบใจแล้ว แต่เหตุใดจึงเอาการเมืองเกงจิ๋วมาว่าด้วยเล่า บัดนี้เราก็เมาสุราอยู่ แม้ไม่คิดถึงว่าได้รักกันมาแต่ก่อนก็จะขัดเคืองกันเสีย เราจึงอุตส่าห์ระงับโทสะไว้ เราจะลาท่านไปก่อนต่อวันอื่นเราจะเชิญท่านไปกินโต๊ะที่เมืองเกงจิ๋วบ้าง"[19] แล้วก็ลงเรือชักใบกลับเกงจิ๋วโดยอาศัยความกล้าหาญที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในตัวเอง ทำลายแผนการของโลซกที่จะทวงเอาเกงจิ๋วคืนได้สำเร็จจนกลายเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน

เมื่อคราวกวนอูนำกำลังทหารบุกโจมตียึดเมืองซงหยงและจับตัวอิกิ๋มกลับไปเกงจิ๋ว จึงแบ่งกำลังทหารจำนวนหนึ่งไปอยู่ที่ตำบลเกียบแฮซึ่งเป็นทางเข้าของเมืองอ้วยเซียเพื่อยึดครองตามคำสั่งขงเบ้ง แต่กวนอูเสียทีถูกทหารโจหยินยิงด้วยเกาฑัณฑ์อาบยาพิษที่ไหล่จนตกจากหลังม้า กวนเป๋งเป็นผู้ช่วยเหลือนำกวนอูกลับยังค่าย ลูกเกาฑัณฑ์ที่ไหล่กวนอูนั้นอาบด้วยยาพิษซึมซาบเข้าไปในกระดูกสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมากจนไม่อาจเคลื่อนไหวได้ กวนเป๋งได้เชิญฮัวโต๋ซึ่งเป็นหมอเอกชาวเมืองเกาจุ๋นมาช่วยรักษาบาดแผลจากพิษเกาฑัณฑ์ให้แก่กวนอู

กวนอูได้รับความเจ็บปวดจากพิษเกาฑัณฑ์ แต่เกรงทหารทั้งหมดจะเสียน้ำใจจึงสู้อุตส่าห์ระงับความเจ็บปวดและแสร้งทำเป็นปกติไม่มีอาการเจ็บปวดแม้แต่น้อย เรียกม้าเลี้ยงให้มาเล่นหมากรุกเพื่อหวังให้ทหารทั้งหมดมีน้ำใจ ฮัวโต๋มาทำการรักษาอาการบาดเจ็บให้แก่กวนอูและว่า "แผลเกาฑัณฑ์อาบด้วยยาพิษซาบเข้าไปในกระดูก ถ้ามิเร่งรักษานานไปไหล่จะเสีย"[20] และให้ทำปลอกรัดกวนอูไหวกับเสาเพื่อป้องกันไม่ให้ไหวตัว แต่กวนอูปฏิเสธและบอกว่า "อย่าพักเอาปลอกรัดเลย ท่านจะทำประการใดก็ตามแต่จะทำเถิด เราจะนิ่งให้ทำ"[20] และเอียงไหล่ให้ฮัวโต๋เอามีดเชือดเนื้อร้ายออก ใส่ยาและเอาเข็มเย็บบาดแผลไว้ เมื่อรักษาเสร็จกวนอูจึงว่า "เราหาเจ็บไม่ หายแล้ว"[20] และกล่าวสรรเสริญฮัวโต๋ประหนึ่งเป็นเทพดา ฮัวโต๋จึงว่า "แต่ข้าพเจ้ารักษาคนป่วยมานี้ก็มากอยู่แล้ว หาเหมือนท่านไม่ อันท่านนี้มีน้ำใจทนทานต่อความเจ็บไม่สะดุ้งสะเทือนเลยดีนัก"[20]

ความหยิ่งทรนง

แม้กวนอูจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความสัตย์ซื่อถือคุณธรรม กตัญญูรู้คุณและมีความกล้าหาญ แต่ถ้าพิจารณาจากวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรื่องราวชีวิตของกวนอูตั้งแต่เริ่มพบกับเล่าปี่และเตียวหุย จนถึงการจบชีวิตพร้อมกับกวนเป๋งเมื่อคราวเสียเกงจิ๋ว ก็อาจกล่าวได้ว่ากวนอูนั้นเป็นผู้ที่เหมาะสมและคู่ควรแก่การเป็นยอดวีรบุรุษ เป็นผู้กล้าที่กอปรไปด้วยสติปัญญาอันหลักแหลม เป็นยอดขุนพลผู้มีฝีมือล้ำเลิศจนเป็นที่กล่าวขานไปทั่ว สามารถกุมชัยชนะในการต่อสู้ทำศึกสงครามมานับครั้งไม่ถ้วน แต่สุดท้ายกวนอูก็พลาดท่าเสียทีให้แก่ขุนพลผู้เยาว์วัยเช่นลกซุน และต้องแลกเกงจิ๋วกับความผิดพลาดของตนเองด้วยชีวิต

ข้อเสียอันร้ายแรงของกวนอูคือความเย่อหยิ่งทรนงในศักดิ์ศรีและเชื่อมั่นในตนเองมากจนเกินไป ไม่เชื่อถือผู้ใดนอกจากตนเอง เมื่อคราวที่เล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งจากเขาโงลังกั๋งถึงสามครั้งเพื่อให้เป็นที่ปรึกษาในการทำราชการแผ่นดิน กวนอูไม่ยอมรับฟังคำสั่งของขงเบ้งด้วยเห็นว่าอายุน้อยกว่าตนเอง เตียวหุยและเล่าปี่ รวมทั้งเมื่อเล่าปี่ให้ความเคารพนับถือขงเบ้งประดุจอาจารย์ กวนอูยิ่งเกิดความน้อยใจในตนเองเป็นอย่างยิ่งจึงกล่าวว่า "ขงเบ้งนั้นอายุยี่สิบเจ็ดปีอ่อนกว่าท่านอีก แล้วก็ยังมิได้ปรากฏปัญญาแลความคิดมาก่อน เหตุใดท่านจึงมาคำนับขงเบ้งดังอาจารย์ฉะนี้"[21] และด้วยนิสัยที่ไม่ยอมอ่อนต่อผู้อื่น กวนอูจึงถูกขงเบ้งดัดนิสัยในคราวศึกทุ่งพกบ๋องด้วยการขอกระบี่และอาญาสิทธิ์ของเล่าปี่ไว้ในครอบครองเพื่อสั่งการแก่กวนอู

ขงเบ้งมอบหมายให้กวนอูคุมทหารพันนายไปซุ่มรอคอย ณ เขาอีสัน ให้เตียวหุยคุมทหารพันนายไปซุ่มรอคอย ณ ป่าอันหลิม ให้จูล่งคุมทหารยกไปเป็นกองหน้าและให้เล่าปี่คุมกำลังทหารไปเป็นกองหนุนจูล่ง กวนอูจึงกล่าวแก่ขงเบ้งว่า "ท่านจัดแจงเราทั้งปวงให้ยกไปทำการ ทั้งนี้ก็เห็นชอบอยู่แล้ว แลตัวท่านนั้นจะทำเป็นประการใดเล่า"[21] แต่เมื่อแผนการเผาทัพแฮหัวตุ้นของขงเบ้งประสบความสำเร็จ กองทัพของแฮหัวตุ้นสูญเสียไพร่พลเป็นจำนวนมากที่ทุ่งพกบ๋อง ทำให้กวนอูยอมรับในสติปัญญาของขงเบ้งและยอมเชื่อฟังคำสั่งของขงเบ้งมาโดยตลอด

ภายหลังเล่าปี่ตั้งตนเองเป็นใหญ่ในเสฉวน สถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮันต๋ง ได้มอบหมายให้บิสีถือตรามาแต่งตั้งให้กวนอูเป็นทหารเสือที่เอกของเล่าปี่ โดยเหล่าทหารเสือประกอบไปด้วย กวนอู เตียวหุย จูล่ง ม้าเฉียวและฮองตง เมื่อกวนอูได้ฟังดังนั้นก็โกรธจึงว่า "เตียวหุยก็เป็นน้องของเรา จูล่งเล่าก็ได้ติดตามพี่เรามาช้านานแล้ว ก็เหมือนหนึ่งเป็นน้องของเรา ฝ่ายม้าเฉียวเล่าก็เป็นชาติเชื้อตระกูลอยู่ แต่ฮองตงคนนี้เป็นแต่เชื้อพลทหารชาติต่ำ เป็นคนแก่ชราหาควรจะตั้งให้เสมอเราด้วยไม่ ซึ่งมีตรามาดังนี้หายังหายอมไม่ก่อน"[22]

ก่อนที่กวนอูจะเสียเกงจิ๋วและพ่ายแพ้จนถูกประหารชีวิต ซุนกวนได้ส่งจูกัดกิ๋นเป็นเถ้าแก่มาเจรจาสู่ขอบุตรสาวของกวนอูเพื่อแต่งงานกับบุตรชายของซุนกวน แต่กวนอูปฏิเสธด้วยเหตุผลที่ว่าบุคคลผู้สืบทอดแซ่ซุนมาสามชั่วอายุคนนั้น ถึงแม้จะยิ่งใหญ่ก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่ด้วยตนเองจึงไม่นิยมและนับถือซุนกวน ถือคติตีราคาค่าของตนเองยิ่งใหญ่กว่าซุนกวนด้วยถ้อยคำปฏิเสธการสู่ขอว่า "บุตรของเรานี้ชาติเชื้อเหล่าเสือ ไม่สมควรจะให้แก่สุนัข ท่านว่ามาดังนี้ ถ้าเรามิคิดเห็นแก่หน้าขงเบ้งน้องของท่าน เราก็จะฆ่าท่านเสีย อย่าว่าไปเลย"[23] [5] โดยที่กวนอูไม่ทันยั้งคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเล่าปี่และซุนกวน ซึ่งเล่าปี่มีฐานะเป็นราชบุตรเขยของแซ่ซุน อีกทั้งการปฏิเสธซุนกวนแบบไม่มีเยื่อใยของกวนอู กลายเป็นการสร้างชนวนให้ซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉ ทำลายยุทธศาสตร์สามก๊กของขงเบ้งจนเป็นเหตุให้กวนอูพ่ายแพ้และเสียชีวิต

และเมื่อกวนอูได้รับคำสั่งจากเล่าปี่ให้คอยรักษาเมืองเกงจิ๋ว ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการทำศึกสงคราม แต่ด้วยความหยิ่งทรนงและเชื่อมั่นในฝีมือตนเอง กวนอูก็มิได้ใส่ใจปฏิบัติตามคำสั่งของขงเบ้งที่กล่าวว่า "ท่านจะอยู่ภายหลังนั้น จงจัดแจงระมัดระวังตัวข้างฝ่ายเหนือคอยสู้โจโฉให้ได้ ฝ่ายใต้นั้นท่านจงทำใจดีประนอมด้วยซุนกวนโดยปรกติ เมืองเกงจิ๋วจึงจะมีความสุข"[24] จึงเป็นเหตุเสียเกงจิ๋วให้แก่ซุนกวนและทำให้ตนเองต้องเสียชีวิต

ครอบครัว

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนระบุว่า กวนอูมีบุตรจำนวน 4 คนได้แก่กวนเป๋ง กวนหิน กวนสกและบุตรสาว โดยสันนิษฐานว่ากวนหิน กวนสกและบุตรสาวนั้น เป็นบุตรของกวนอูซึ่งเกิดจากภรรยาที่เล่าปี่เป็นผู้สู่ขอให้เมื่อคราวกวนอูครองเมืองเกงจิ๋ว โดยหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนไม่ปรากฏชื่อของบุตรสาวและภรรยาของกวนอู[23] กวนหินเป็นบุตรชายคนโต ปรากฏตัวในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กภายหลังจากกวนอูและเตียวหุยเสียชีวิต แต่เดิมอยู่เมืองเกงจิ๋วร่วมกับกวนอู หลังจากกวนอูเสียชีวิตได้ติดตามเล่าปี่ออกทำศึกกับซุนกวนมาโดยตลอด กวนสกซึ่งเป็นบุตรชายคนรอง ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อคราวช่วยขงเบ้งรบกับเบ้งเฮ็ก และบุตรสาวของกวนอู ปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อคราวซุนกวนส่งจูกัดกิ๋นไปเป็นเถ้าแก่สู่ขอให้แก่บุตรชายของตน สำหรับกวนเป๋งเป็นบุตรบุญธรรม แต่เดิมเป็นบุตรชายของกวนเต๋ง ได้พบกับกวนอูเมื่อคราวที่กวนอูและซุนเขียนนำกำลังทหารยี่สิบคนไปทางทิศเหนือใกล้กับเมืองกิจิ๋วเพื่อพบเล่าปี่

กวนอูได้ไปขอพักอาศัยในบ้านป่าแห่งหนึ่ง กวนเต๋งผู้เป็นเจ้าของบ้านได้ยินกิตติศัพท์และชื่อเสียงของกวนอูมานานจึงว่า "ท่านกับเราเป็นแซ่เดียวกัน แต่ก่อนนั้นเราก็ได้ยินลืออยู่ว่าท่านมีฝีมือกล้าหาญ ประกอบทั้งความสัตย์ซื่อ ซึ่งได้พบท่านนี้เป็นบุญของเรา"[25] และนำกวนเป๋งและกวนเหล็งมาคำนับกวนอู โดยมอบกวนเป๋งบุตรชายคนเล็กให้เป็นบุตรบุญธรรมของกวนอูเมื่ออายุได้ 15 ปี โดยเล่าปี่เห็นเหมาะสมด้วยว่าขณะนั้นกวนอูยังไม่มีบุตรสืบสกุล[25] หลังจากกวนเป๋งเป็นบุตรบุญธรรมของกวนอู ได้ติดตามเคียงข้างกวนอู ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่ช่วยทำศึกตลอดเวลา เมื่อคราวที่กวนอูถูกจับได้ที่เขาเจาสัน กวนเป๋งวิ่งเข้าไปหาหมายจะช่วยเหลือกวนอู แต่ถูกจูเหียนคุมทหารเข้าล้อมจับตัวได้ก่อนถูกประหารชีวิตพร้อมกับกวนอู

อาวุธ

ไฟล์:ชิงหลง เยี่ยน เย เตา.jpg
ง้าวมังกรเขียวในฉบับสามก๊กฉบับละครโทรทัศน์

กวนอูมีอาวุธประจำกายคือง้าวรูปจันทร์เสี้ยว สร้างขึ้นเมื่อคราวเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุยออกเกลี้ยกล่อมราษฎร รวบรวมกำลังไพร่พลจัดตั้งกองทัพออกต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลือง ได้มีพ่อค้าม้าชื่อเตียวสิเผงและเล่าสงได้ร่วมบริจาคม้าจำนวนห้าสิบ เงินห้าร้อยตำลึงและเหล็กร้อยหาบสำหรับสร้างเป็นอาวุธจำนวนมาก[26] เล่าปี่ให้ช่างตีเหล็กเป็นกระบี่คู่แบบโบราณ เตียวหุยให้ช่างตีเหล็กเป็นทวนรูปร่างลักษณะคล้ายงู

สำหรับกวนอูให้ช่างตีเหล็กเป็นง้าวขนาดใหญ่รูปจันทร์เสี้ยว ประดับลวดลายมังกรขนาดความยาว 11 ศอกหรือประมาณ 3.63 เมตร หนัก 82 ชั่งหรือประมาณ 65.6 กิโลกรัม มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ชิงหลงเหยี่ยนเยฺว่เตา (จีน: 青龍偃月刀; พินอิน: qīnglóng yǎnyuèdāo) หรือง้าวมังกรเขียว (บ้างเรียกง้าวมังกรจันทร์ฉงาย) [27] ตลอดระยะเวลาในการตรากตรำทำศึกสงครามร่วมกับเล่าปี่และเตียวหุย กวนอูใช้ง้าวมังกรเขียวเป็นอาวุธประจำกายตลอดเวลาจนกระทั่งเสียชีวิต

เมื่อคราวโจโฉทำศึกกับตั๋งโต๊ะ กวนอูใช้ง้าวมังกรเขียวตัดคอฮัวหยงมาให้โจโฉที่หน้าค่ายด้วยความรวดเร็ว โดยที่ยังไม่จบเพลงรบและเหล้าที่โจโฉอุ่นมอบให้แก่กวนอูยังคงอุ่น ๆ สังหารงันเหลียงและบุนทิว สองทหารเอกของอ้วนเสี้ยวในคราวศึกตำบลแปะแบ๊ด้วยง้าวมังกรเขียวในเพลงเดียวเช่นกัน[28] ตลอดระยะเวลาการทำศึกกวนอูไม่เคยห่างจากง้าวมังกรเขียว เมื่อเล่าปี่ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเจ้าเมืองเกงจิ๋วร่วมกับกวนเป๋งและจิวฉอง โดยจิวฉองรับหน้าที่ดูแลรักษาง้าวมังกรเขียวและถือแทนกวนอู เมื่อซุนกวนให้โลซกทางเกงจิ๋วคืนจากเล่าปี่ โลซกได้เชิญกวนอูไปกินโต๊ะที่ค่าย ณ ปากน้ำลกเค้า จิวฉองก็คอยติดตามถือง้าวมังกรเขียวเคียงข้างกวนอูตลอด

เมื่อคราวที่กวนอูพลาดท่าเสียทีลิบองและลกซุนจนถูกล้อมอยู่ที่เมืองเป๊กเสีย ก่อนจะนำกำลังทหารจำนวนร้อยคนหักตีฝ่าออกมาจนถูกจับตัวได้พร้อมกับกวนเป๋งและถูกประหารชีวิตในภายหลัง ง้าวของกวนอูถูกพัวเจี้ยงยึดเอาไปใช้ แต่กวนหินบุตรชายของกวนอูเป็นผู้สังหารพัวเจี้ยงและนำง้าวของกวนอูกลับคืนมา[29]

ความเคารพนับถือ

เทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ

แต่เดิมจีนโบราณให้ความเคารพนับถืองักฮุยเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ สืบต่อกันมาเป็นเวลานานในฐานะเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ด้วยคุณธรรมความดีของงักฮุยส่งผลให้ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งความรักชาติและความจงรักภักดีเป็นที่กล่าวขานกันมาเป็นเวลานาน[30] แต่ปัจจุบันเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อได้เปลี่ยนมาเป็นกวนอูแทนในหลังยุคสามก๊กมานับพันปี กวนอูเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชาและศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก กวนอูเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพกราบไหว้บูชาในฐานะที่เป็นเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ

ไม่เพียงแต่ยกย่องให้กวนอูเป็นเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่ออย่างเดียวเท่านั้น หากแต่กวนอูได้รับสมญานามให้เป็นถึง จงอี้เสินอู่กวนเสิ้งต้าตี้ (จีน: 忠義神武關聖大帝; พินอิน: Zhōngyì Shénwǔ Guān Shèngdàdì) [31] ซึ่งมีความหมายคือมหาเทพกวนผู้ยิ่งใหญ่แห่งความจงรักภักดี คุณธรรมและความกล้าหาญ[32] โดยพระเจ้าเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงเป็นผู้แต่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2187 เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกเรื่องความสัตย์ซื่อและจงรักภักดีเพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ราษฎรซึ่งคนจีนถือความสัตย์เป็นใหญ่ร่วมกับความกตัญญูรู้คุณคน ทำให้กวนอูกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วและได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์สืบต่อมาเป็นเวลานาน[33] และได้รับการเคารพในฐานะเทพอุปถัมภ์และเทพผู้ปกป้องคุ้มครองของตำรวจ นักการเมืองและผู้นำทางด้านเศรษฐกิจ[34]

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณ กวนอูอาจมีชีวิตก่อนงักฮุยเป็นเวลาเกือบพันปี กล่าวคือกวนอูเป็นบุคคลสำคัญในสมัยยุคสามก๊ก (พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823) แต่งักฮุยมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822) [35] กวนอูและงักฮุยเป็นวีรบุรุษที่เป็นที่กล่าวขานกันสืบต่อกันมาเป็นเวลานานในเรื่องของความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี ในประเทศไทยชื่อเสียงและกิตติศัพท์ความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณคนของกวนอูอาจจะเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันมากกว่างักฮุย เนื่องจากกวนอูเป็นตัวละครสำคัญในสามก๊กซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพบู๊ (จีน: 武圣) และมีสถานะเทียบกับเทพบุ๋น (จีน: 文圣) คือขงจื๊อ

ในอดีตบรรพบุรุษของชนเผ่าแมนจู (จีน: 满族) คือพวกเผ่าหนี่ว์เจิน (จีน: 女真族) หรือจิน (พ.ศ. 1658 - พ.ศ. 1777) แมนจูเป็นชนเผ่าที่เรืองอำนาจขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับราชวงศ์ซ่งใต้ ภายหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายลงจนถึงราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง จนกระทั่งราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวแมนจู แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านมานานหลายร้อยปี แต่การที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืองักฮุยในฐานะวีรบุรุษต่อต้านเผ่าแมนจูหรือเผ่าจินก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งการให้การยกย่องและเคารพนับถืองักฮุยนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับราษฎรทั่วไป แต่ในสายตาของขุนนางบู๊และบุ๋นภายในราชสำนักชิง การให้ความเคารพนับถือบูชางักฮุยในฐานะวีรบุรุษต้านชนเผ่าจินเป็นการเปรียบได้กับการให้ความเคารพนับถือบูชาผู้ที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงนั่นเอง ดังนั้นราชสำนักชิงจึงวางกลอุบายยกย่องกวนอูให้เป็นอีกหนึ่งวีรบุรุษในประวัติศาสตร์จีน เพื่อให้กวนอูกลายเป็นที่ศรัทธาเคารพบูชาของสามัญชนทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้มีความสัตย์ซื่อ เพื่อเป็นการลดกระแสการเคารพนับถือและเชิดชูงักฮุยให้เบาบางลง[36]

เทพเจ้ากวนอู

กวนอูเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมในด้านความสัตย์ซื่อและความกล้าหาญ ได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นอย่างมากจากผู้ปกครองในหลายดินแดนว่าเป็นบุคคลดีเด่นในประวัติศาสตร์และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ได้รับการเคารพบูชากราบไหว้ กวนอูได้รับเกียรติอย่างสูงสุดคือได้รับการยกย่องให้เทียบเท่ากับขงจื๊อ คือได้รับการขนานนามว่า "เป็นนักบุญพฤติธรรม" และ "เทพเจ้าแห่งสงคราม"[37] ภายหลังจากกวนอูเสียชีวิต มีข่าวลือว่าศีรษะของกวนอูถูกฝังอยู่ทางตอนใต้ของเมืองลกเอี๋ยง ผู้คนที่ทราบข่าวและศรัทธาในตัวกวนอูจึงไปสร้างวัดเทพเจ้ากวนอูและวัดกวนหลินในเมืองลกเอี๋ยง เพื่อเป็นการสักการบูชากราบไหว้ในคุณความดีทั้งสี่ของกวนอูคือ "สัตย์ซื่อถือคุณธรรม กตัญญูรู้คุณและความกล้าหาญ"

ในการแสดงอุปรากรจีน หน้ากากกวนอูที่ใช้แสดงจะเป็นสีแดงล้วน มีความหมายถึงความสัตย์ซื่อและความกล้าหาญ รูปนัยน์ตาเรียวเล็กและวาดรูปคิ้วเหมือนหนอนไหม 2 ตัววางพาดลงมา และเนื่องจากเป็นที่รู้จักกันว่ากวนอูมีหนวดเครายาวมากจึงเรียกขานนามกวนอูว่า "ขุนนางเคราเขียว" และเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือกวนอู ในการแสดงอุปรากรจีนจึงไม่เลียนแบบลักษณะของกวนอูให้เหมือนทุกอย่าง หากแต่หน้ากากกวนอูจะเติมเพียงจุดดำลงบนหน้ากากด้วยหนึ่งจุด ซึ่งเป็นการแต้มจุดดำด้วยความตั้งใจของผู้แสดง[38]

ศาลเจ้ากวนอู

ศาลเจ้ากวนอูในเมืองลัวหยาง ประเทศจีน

ปัจจุบันมีวัดและศาลเจ้าของกวนอูจำนวนมากทั้งในประเทศจีน ประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้กวนอูกลายเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่มีวัดและศาลเจ้ามากที่สุด ในเมืองปักกิ่งสมัยราชวงศ์ชิง ในประเทศจีนเคยมีศาลเจ้ากวนอูถึง 116 แห่ง และมีศาลเจ้ากวนอูที่ประเทศไต้หวันถึง 500 แห่ง[39] นอกจากนี้กวนอูยังเป็นเทพพิทักษ์ในด้านการค้าขายเช่น การจำนอง, ช่างทอง, ผ้าไหม และผ้าต่วน

ในประเทศจีนศาลเจ้ากวนอูตั้งอยู่ที่ลัวหยาง ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจีน ภายในศาลเจ้าประกอบไปด้วยตำหนักสามตำหนัก ตำหนักหลักของศาลเจ้ากวนอูตั้งอยู่ภายใน ระยะทางผ่านจากประตูใหญ่เข้าไปประมาณ 50 เมตร มีสิงโตหินจำนวน 104 ตัวเรียงรายสองข้างทาง ที่บริเวณตำหนักใหญ่ (จีน: 大殿) มีรูปปั้นกวนอูขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้คนที่เคารพนับถือสักการบูชา ตำหนักที่สอง (จีน: 二殿) หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลัวหยาง

ซึ่งตามแผนที่ประเทศจีนในปัจจุบัน ตำแหน่งของเมืองกังตั๋งนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ภายในตำหนักมีรูปปั้นกวนอูในชุดเกราะพร้อมทำการศึกสงคราม รูปปั้นกวนอูภายในตำหนักที่สองหันใบหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ด้วยลักษณะใบหน้าถมึงทึง ดุดัน ดวงตาเบิกกว้างอย่างโกรธแค้น ซึ่งการจ้องมองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกวนอู เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นของกวนอูที่มีต่อซุนกวนในการถูกสั่งประหารชีวิต[40] ภายในตำหนักที่สามมีรูปปั้นกวนอูจำนวนสององค์ โดยรูปปั้นทางด้านซ้ายมือเป็นรูปปั้นกวนอูในลักษณะของการอ่านคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว ทางด้านขวามือเป็นรูปปั้นกวนอูในอิริยาบถพักผ่อน และทางด้านหลังของตำหนักที่สาม เป็นหลุมฝังศพขนาดใหญ่ที่เชื่อกันว่าเป็นสถานที่ที่โจโฉฝังศีรษะของกวนอูอย่างสมเกียรติในฐานะเจ้าเมืองเกงจิ๋ว

ในประเทศไทยศาลเจ้ากวนอูที่เป็นที่รู้จักของชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนมากที่สุดตั้งอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราช สร้างขึ้นโดยพระยาอาชาชาติ (เจ้าพระยาคลัง) หรือเฉินอี้ซาน เพื่อสำหรับให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในสมัยนั้น ภายในศาลเจ้ากวนอูทางด้านขวามือมีระฆังทองเหลืองใบใหญ่ตั้งอยู่ ที่ผิวระฆังมีอักษรจารึกระบุสร้างขึ้นในสมัยฮ่องเต้เต๋อจงในยุคสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2435 จึงสันนิษฐานได้ว่าศาลเจ้ากวนอูสร้างขึ้นในระหว่างปีดังกล่าว[41]

กวนอูในลัทธิเต๋า

กวนอูได้รับการยกย่องให้เป็น จักรพรรดิเทพกวน (จีน: 關聖帝君) และเป็นเทพพิทักษ์ตามความเชื่อของลัทธิเต๋า การบูชากวนอูเริ่มต้นในราชวงศ์ซ่ง ตามตำนานเล่าว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1220 ทะเลสาบน้ำเค็มซึ่งในปัจจุบันคือเซี่ยโจว (จีน: 解州鎮) เริ่มที่จะผลิตเกลือไม่ได้ จักรพรรดิฮุยจงจึงทรงมีรับสั่งให้นักพรตจางจี้เซียน (จีน: 張繼先) ตรวจหาสาเหตุ ซึ่งได้ทรงรับรายงานว่าเป็นฝีมือของชือโหยว (จีน: 蚩尤) เทพแห่งสงคราม นักพรตจึงอัญเชิญกวนอูเข้ามาต่อสู้จนเอาชนะชือโหยวและสามารถผลิตเกลือได้ดังเดิม พระจักรพรรดิจึงทรงพระราชทานนามให้กวนอูว่า ผู้เป็นอมตะแห่งฉงหนิง (จีน: 崇寧真君) และยกกวนอูให้เป็นเทพในเวลาต่อมา

ช่วงต้นราชวงศ์หมิง นักพรตจางเจิ้งฉาง (จีน: 張正常) บันทึกในหนังสือของตนเองในชื่อ ฮั่นเทียนซือซื่อเจีย (จีน: 漢天師世家) เพื่อเป็นการยืนยันตำนานนี้ ทุกวันนี้กวนอูได้รับการนับถือมากในลัทธิเต๋า หลายวัดเต๋าอุทิศเพื่อกวนอูโดยเฉพาะวัดจักรพรรดิกวนในเซี่ยโจวที่ได้รับอิทธิพลเต๋าอย่างมาก ทุกวันที่ 24 เดือน 6 ตามหลักจันทรคติ ซึ่งตรงกับวันเกิดของกวนอู จะมีขบวนแห่เฉลิมฉลองแด่กวนอูอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ

กวนอูในพุทธศาสนา

ตามแนวคิดของชาวพุทธในจีน กวนอูได้รับการยกย่องให้เป็น พระสังฆารามโพธิสัตว์ (จีน: 伽藍菩薩: แคนำผู่สัก) หมายถึงผู้พิทักษ์ธรรมของชาวพุทธ โดยคำว่า สังฆาราม ในภาษาสันสกฤตหมายถึงสวนชุมชนและหมายถึงวัด ดังนั้น พระสังฆาราม จึงหมายถึงผู้พิทักษ์พระรัตนตรัยนั่นเอง ดังนั้นกวนอูจึงเป็นตัวแทนของเทพผู้พิทักษ์ โดยวัดและสวนที่ตั้งรูปปั้นกวนอูนั้น รูปปั้นของกวนอูมักจะถูกวางไว้ ณ ส่วนไกลด้านซ้ายของพระอุโบสถ คู่กับ พระสกันทโพธิสัตว์ (จีน: 韋馱菩薩: อุ่ยท้อผู่สัก)

ตามตำนานชาวพุทธ ในปี พ.ศ. 1135 กวนอูได้ประกาศตนเป็นพุทธมามกะต่อหน้าจื้ออี่ (จีน: 智顗) ผู้ก่อตั้งนิกายสัทธรรมปุณฑริก ว่ากันว่าขณะนั้นจื้ออี่นั่งสมาธิอยู่ที่เขายฺวี่เฉฺวียน (จีน: 玉泉山) และตื่นจากสมาธิเพราะการปรากฏตัวของกวนอู กวนอูขอให้จื้ออี่สอนหลักธรรมให้ตนแล้วปวารณาตนขอรับศีลห้า จึงกลายเป็นที่กล่าวขานกันว่ากวนอูปวารณาตนเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาและเป็นผู้ช่วยเหลือจื้ออี่ก่อตั้งวัดยฺวี่เฉฺวียน (จีน: 玉泉寺) จนปรากฏตราบจนทุกวันนี้

ในวรรณกรรมสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้บรรยายไว้ว่าภายหลังจากที่กวนอูเสียชีวิตได้กลายเป็นอสุรกายที่เต็มไปด้วยความพยาบาทลิบองอยู่ในภูเขา และได้ไปปรากฏร่างต่อหลวงจีนเภาเจ๋ง (จีน: 普淨) บนยอดเขายฺวี่เฉฺวียน เพื่อเรียกร้องให้นำศีรษะตนเองกลับคืนมา จากการเทศนาของหลวงจีนเภาเจ๋งที่กล่าวว่า "กงเกวียนกำเกวียน ตัวฆ่าเขาเขาฆ่าตัว เมื่อท่านฆ่างันเหลียง บุนทิวแลนายด่านห้าตำบลเสีย ใครมาทวงศีรษะแก่ท่านบ้าง ครั้งนี้ท่านเสียทีแก่ข้าศึกถึงแก่ความตายแล้ว ท่านมาร้องทวงศีรษะแก่ใครเล่า"[42] ทำให้กวนอูได้ซาบซึ้งในรสพระธรรมและปวารณาตนเป็นผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธ

ความนิยมในรูปแบบอื่น ๆ

นอกจากกวนอูจะเป็นตัวละครจากวรรณกรรมสามก๊ก ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการกล่าวขานค่อนข้างมากจากนักอ่าน เป็นเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อที่คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชากราบไว้แล้ว ปัจจุบันได้มีสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับกวนอูอีกเป็นจำนวนมาก เช่น

ภาพยนตร์

Li Jiamin (ขวา) เล่นเป็นกวนอู ใน Riding Alone for Thousands of Miles
  • ในภาพยนตร์ชวนหัวของ โจว ซิงฉือ ในปี พ.ศ. 2537 เรื่อง พยัคฆ์ไม่ร้าย คัง คัง ฉิก ในส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ที่ โจว ซิงฉือพบว่าตนเองได้รับบาดเจ็บ มีกระสุนปืนฝังในกระดูก จึงเลือกที่จะนั่งมองดูภาพเปลือยของหญิงสาวเพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความเจ็บปวดในขณะที่ผ่าตัดนำกระสุนออก และภายหลังจากการรักษา โจว ซิงฉือได้รับคำถามว่าทำไมจึงเลือกที่จะนั่งมองดูภาพเปลือยของหญิงสาว ซึ่งคำตอบที่ได้คือเป็นการทำตามแบบกวนอูที่ได้รับบาดเจ็บจากเกาฑัณฑ์อาบยาพิษภายหลังจากนำกำลังทหารไปบุกเมืองอ้วนเซีย และเอียงไหล่ให้ฮูโต๋รักษาอาการบาดเจ็บพร้อมกับเล่นหมากรุกกับม้าเลี้ยง
  • ในภาพยนตร์เรื่อง My Name Is Bruce เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณพยาบาทของกวนอูที่ได้รับการปลดปล่อยโดยบังเอิญด้วยฝีมือแก๊งวัยรุ่น ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากวิญญาณพยาบาทจึงไปจ้างนักแสดงชื่อ บรูส แคมเบล ซึ่งเป็นนักแสดงหนัง B-Movie ให้มาปราบ โดยบรูส แคมเบลเข้าใจว่าเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเพียงการแสดง แต่ภายหลังพบว่าทั้งหมดเป็นเหตุการณ์จริง[43]
  • ในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กำกับโดย แดเนียล ลี และ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กำกับโดยจอห์น วู ในบทภาพยนตร์ได้มีการกล่าวถึงกวนอูด้วยเช่นกัน
    • ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กวนอูรับบทโดยตี้หลุง ในภาพยนตร์เรื่องนี้ กวนอูได้ไปต้านศึกโจโฉที่ทุ่งเตียงปันร่วมกับเตียวหุย ในขณะที่จูล่งไปค้นหาอาเต๊าบุตรของเล่าปี่ กวนอูยังได้ปรากฏตัวอีกครั้งในการแต่งตั้งขุนพลห้าทหารเสือแห่งจ๊กก๊ก
    • ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กวนอูรับบทโดยปาเซินจาปู โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ กวนอูปรากฏตัวครั้งแรกในตอนที่ได้ยกพลมาช่วยต้านศึกโจโฉให้กับเล่าปี่ที่กำลังอพยพราษฎรหนีทัพโจโฉ และได้มีบทบาทในการรบอีกหลายครั้ง ในสงครามระหว่างฝ่ายโจโฉและฝ่ายพันธมิตรเล่าปี่ซุนกวน ทั้งสงครามภาคพื้นดินและสงครามประชิดค่ายโจโฉ

ละครโทรทัศน์

  • สามก๊ก ฉบับละครโทรทัศน์ ของประเทศจีน ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิดชูและยกย่องวรรณกรรมอมตะของจีนเรื่องสามก๊ก ในปี พ.ศ. 2534 ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวของกวนอูตั้งแต่เริ่มพบกับเล่าปี่จนกระทั่งเสียชีวิต โดย ลู่ ซู่หมิง นักแสดงชาวจีนที่รับบทกวนอู

การ์ตูนญี่ปุ่น

  • มหาสงคราม ลูกแก้วมากะ (ญี่ปุ่น: 一騎当千) เป็นเรื่องราวของเหล่าขุนศึกสามก๊กที่กลับมาเกิดใหม่ เป็นนักเรียนมัธยมปลายสาวในญี่ปุ่นและดำเนินการต่อสู้ โดยตัวละครที่แทนกวนอูถือง้าวมังกรเขียวตามแบบฉบับของวรรณกรรมสามก๊ก แต่ถึงอย่างไรก็ตามการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนี้ถูกห้ามพิมพ์และจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากมีฉากที่ไม่เหมาะสมหลายฉากด้วยกัน
  • นอกจากนี้ ในการ์ตูน SD Gundam ปี พ.ศ. 2550 เป็นการเอาวรรณกรรมสามก๊กอันโด่งดังของจีน มาทำใหม่ในรูปแบบของกันดั้ม โดยเครื่องดับเบิ้ลเซต้ากันดั้ม ถูกออกแบบให้คล้ายกับลักษณะการแต่งกายและอาวุธของกวนอู

การ์ตูนไทย

  • ในการ์ตูน สามก๊ก มหาสนุก ผลงานการ์ตูนสามก๊กของสุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ ได้มีการกล่าวถึงกวนอูด้วยเช่นกัน โดยกำหนดให้อาชีพดั้งเดิมของกวนอูคือพ่อค้าขายถั่วเช่นเดียวกับในสามก๊ก ฉบับละครโทรทัศน์ของประเทศจีน กวนอูในสามก๊ก มหาสนุกจะมีลักษณะที่แตกต่างกับกวนอูในการ์ตูนทั่วไปเล็กน้อย คือ มีหนวดและเคราสั้น ซึ่งในการ์ตูนสามก๊กโดยทั่วไปจะวาดให้กวนอูมีหนวดและเครายาวตามคำบรรยายลักษณะของกวนอูในวรรณกรรม เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์สำคัญของกวนอู ลักษณะเด่นอีกอย่างกวนอูในสามก๊กมหาสนุกคือ บนผ้าโพกศีรษะจะมีอักษรไทย ปรากฏอยู่ ซึ่งแสดงถึงแซ่ของกวนอูคือ กวน

วิดีโอเกม

กวนอูจากเกมส์ไดนาสตี้วอริเออร์ 6
  • กวนอูเป็นนายทหารในเกมซีรีส์ Romance of the Three Kingdoms ซึ่งมักจะเป็นหนึ่งในตัวละครของเกม ที่มีค่าทักษะ "สงคราม" และ "ความเป็นผู้นำ" สูงสุด ทำให้กวนอูกลายเป็นหนึ่งในตัวละครที่ดีที่สุดของเกม
  • กวนอูถูกนำมาปรากฏตัวในเกม Sango Fighter เพียงเล็กน้อย
  • เกมเมเปิลสตอรี มีอุปกรณ์ที่ใช้ในเกมมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องแต่งกายและอาวุธของกวนอู
  • เกม Destiny of an Emperor กวนอูเป็นตัวละครในกลุ่มของเล่าปี่ และเป็นตัวละครที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด
  • เกม Emperor: Rise of the Middle Kingdom หรือ "อาณาจักรแห่งจอมจักรพรรดิ" ของค่ายเกม Sierra กวนอูได้รับการกำหนดให้เป็นวีรบุรุษลัทธิเต๋าที่มีความรู้ในลัทธิขงจื๊อ ออกสั่งสอนประชาชนภายในเกม

เกมไพ่

  • ในเกมไพ่ชุดเมจิกเดอะแกเธอริง ตอนชุดสามก๊ก ไพ่กวนอูกลายเป็นไพ่หายากที่สุด เนื่องจากเป็นไพ่ที่มีทักษะ "ทหารขี่ม้า"
  • ในเกมไพ่ของ History Channel กวนอูเป็นไพ่ที่มีความสามารถในการเริ่มต้นของการดำเนินเกมสูง

อ้างอิง

  1. กวนอู /เต้กู้น เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์
  2. กำเนิดเทพเจ้ากวนอู
  3. กวนอู...ทหารอาชีพ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คอลัมน์ชักธงรบโดยกิเลน ประลองเชิง วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551
  4. 4.0 4.1 4.2 กวนอู ตัวละครสำคัญในสามก๊ก, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พ.ศ. 2550, หน้า64 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "ตัวละครสำคัญในสามก๊ก" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  5. 5.0 5.1 กำเนิดกวนอู, กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื้อ, องอาจ นิมิตกุล, สำนักพิมพ์เหยี่ยว, พ.ศ. 2528, หน้า 5 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. คาราวะเทพเจ้าจีน เทพเจ้ากวนอู
  7. ซุนกวนให้เอาศีรษะกวนอูไปให้โจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 321
  8. จอมเทพวินัยธร กวนอู
  9. กวนอูขอคำมั่นสัญญาสามข้อจากโจโฉ, กวนอูขอคำมั่นสัญญาแล้วยอมอยู่กับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 341
  10. โจโฉมอบเสื้อผ้าใหม่ให้แก่กวนอู, กวนอูขอคำมั่นสัญญาแล้วยอมอยู่กับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 345
  11. 11.0 11.1 โจโฉมอบม้าเซ็กเธาว์ให้กวนอู, กวนอูขอคำมั่นสัญญาแล้วยอมอยู่กับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 347
  12. 12.0 12.1 กวนอู เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ, สามก๊ก ฉบับวณิพก, ยาขอบ, สำนักพิมพ์ผดุงศึกษา, พ.ศ. 2529, หน้า 384
  13. โจโฉหวังให้กวนอูแตกน้ำใจกับเล่าปี่, กวนอูขอคำมั่นสัญญาแล้วยอมอยู่กับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 344
  14. 14.0 14.1 โจโฉอุบายให้กวนอูฆ่างันเหลียงทหารเอกอ้วนเสี้ยว, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 352
  15. จิวยี่ให้เชิญเล่าปี่มากินโต๊ะ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 608
  16. เล่าปี่จัดทัพดักจับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 659
  17. กวนอูปล่อยโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 668
  18. 18.0 18.1 โลซกให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 177
  19. 19.0 19.1 โลซกครั่นคร้ามกวนอูจนไม่กล้าเงยหน้า, โลซกให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 178
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 กวนอูถูกเกาฑัณฑ์, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 292
  21. 21.0 21.1 แฮหัวตุ้นรับอาสาไปรบเล่าปี่, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 541 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "แฮหัวตุ้นรับอาสาไปรบเล่าปี่" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  22. เล่าปี่ให้กวนอูไปตีเมืองอ้วนเซีย, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 275
  23. 23.0 23.1 โจโฉกับซุนกวนคิดจะรวมกันรบกับเล่าปี่, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 272 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "โจโฉกับซุนกวนคิดจะรวมกันรบกับเล่าปี่" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  24. เล่าปี่ให้ไปเชิญขงเบ้งมาจากเมืองเกงจิ๋ว, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 136
  25. 25.0 25.1 เล่าปี่พบจูล่ง, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 391
  26. เริ่มกล่าวถึงเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 8
  27. ง้าวมังกรเขียว
  28. ถอนฟืนใต้กระทะ คอลัมน์ชักธงรบ กิเลน ประลองเชิง วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551
  29. กวนหินฆ่าพัวเจี้ยงชิงง้าวกวนอูกลับคืน, เล่าปี่ตีกองทัพซุนกวนแตกโดยลำดับ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 380
  30. งักฮุย เทพเจ้าแห่งความจงรักภักดี
  31. 文昌帝君【關聖帝君】傳奇 (เข้ารหัสแบบอักษรจีนตัวเต็ม Big5) (จีน)
  32. จงอี้เหรินหย่งเสินต้าตี้ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งความจงรักภักดี
  33. เทพเจ้ากวนอู วัดพนัญเชิงวรวิหาร
  34. เทพเจ้ากวนอู ผู้ได้รับการเคารพในหลายบทบาท หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์-ไลฟ์สไตล์-กวนอู วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551
  35. จากกวนอูถึงงักฮุย
  36. ทำไมเทพเจ้ากวนอูจึงมีคนรู้จักมากกว่าเทพเจ้าขุนพลงักฮุย
  37. ถามหา "คุณธรรม" ถามหาต้นแบบ "เทพเจ้ากวนอู"
  38. ตำนานเทพเจ้ากวนอู, วิภาวัลย์ บุณยรัตนพันธ์, สำนักพิมพ์เนชั่นบุ๊คส์, พ.ศ. 2551, หน้า 112
  39. เทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าจีน
  40. ศาลเจ้ากวนอู ลัวหยาง
  41. ศาลเจ้ากวนอู เยาวราช
  42. อสุรกายกวนอู, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 316
  43. My Name is Bruce movie trailer

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า กวนอู ถัดไป

แม่แบบ:กล่องสืบตำแหน่ง