ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 55: บรรทัด 55:
== ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]] ==
== ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]] ==
ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]]ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนทั่วไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อ[[สุขภาพและสิ่งแวดล้อม]]ของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนทั่วไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก
** ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและ[[แหล่งเพาะพันธุ์]]ของ[[แมลงนำโรค]]
**** ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและ[[แหล่งเพาะพันธุ์]]ของ[[แมลงนำโรค]]
** ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
**** ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
** ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
**** ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
** [[น้ำเสีย]]ที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้ง[[สารอินทรีย์]] [[สารอนินทรีย์]] [[เชื้อโรค]] และ[[สารพิษ]]ต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
**** [[น้ำเสีย]]ที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้ง[[สารอินทรีย์]] [[สารอนินทรีย์]] [[เชื้อโรค]] และ[[สารพิษ]]ต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
** ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่[[อากาศ]] ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ใน[[เขตชุมชน]] หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มี[[การฝังกลบ]]
**** ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่[[อากาศ]] ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ใน[[เขตชุมชน]] หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มี[[การฝังกลบ]]


วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย
วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย
**[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
**[[มหาวิทยาลัยมหิดล]] (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
บรรทัด 73: บรรทัด 75:
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)
**[[สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร]] (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)


**[[สมหมาย ขยันดี] (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้
**[[สมหมาย ขยันดี]] (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้


**[[จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ]] (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า
**[[จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ]] (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:30, 29 มกราคม 2553

ข้อมูลขยะมูลฝอยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มลพิษสิ่งแวดล้อม

ขยะมูลฝอยในถุงขยะ

ขยะมูลฝอย

ปัจจุบันนี้ในเมืองใหญ่ เราจะเห็นบางถนนสะอาด มีกระถางดอกไม้ ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง แต่บางถนนสกปรก มีถุงใส่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาดบางตอนสกปรก มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป น้ำมีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเศษอาหาร ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว เศษผ้า ใบไม้ร่วง เรียกรวมว่า ขยะมูลฝอย ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง จะสร้างความสกปรก ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน เช่น จำพวกเศษอาหาร นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน ควรรวบรวมใส่ถุง เพื่อส่งให้รถเก็บขยะต่อไปขยะมูลฝอยถ้าทิ้งกระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย

นิยามและความหมาย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ให้ความหมาย กุมฝอย น. ขยะ, เศษของที่ทิ้งแล้ว, คุมฝอย หรือ มูลฝอย ก็ว่า.

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้คำจำกัดความ หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และ หมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้คำว่า" มูลฝอย"จัดเป็นของเสียประเภทหนึ่ง โดยให้คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย (Waste) หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้าง จากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซ

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้นิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ขยะมูลฝอย” เพื่อควบคุม กำกับการจัดการ “ขยะมูลฝอย” ในภาคอุตสาหกรรม โดยได้นิยามคำว่า “สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสียจาก วัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย ซึ่งปรากฏในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘

ประเภทของขยะมูลฝอย

    • เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร
    • เศษแก้วแตก กระเบื้องแตก เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ อิฐ หิน และอื่น ๆ
    • วัสดุชิ้นใหญ่ เช่น รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้ ฯลฯ
    • วัสดุที่มีสารพิษ เช่น หลอดไฟ หลอดนีออน แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้ วัสดุติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน เป็นต้น
    • วัสดุที่ยังมีสภาพดี เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ขวดที่ไม่แตก ขยะมูลฝอยประเภทนี้ อาจนำไปขายต่อได้

การกำจัดขยะมูลฝอย

เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง ควรแยกให้เป็นประเภท เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย เศษแก้ว เศษกระจก และของมีคมต่าง ๆ ควรแยกต่างหาก ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้ เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย การกำจัดขยะมูลฝอย มีหลายวิธี เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองบนพื้นดิน การนำไปทิ้งทะเล แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเผากลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบ การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน

การเผาขยะ

คือ การเผาในเตาเผาสามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิดแต่ถ้าขยะมูลฝอยมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50 เตาเผาขยะต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยในการเผาไหม้ การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ เช่น ขี้เถ้า สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้

การฝังกลบ

ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน

คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้

การหมักทำปุ๋ย

ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้ มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัว ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์ จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

ลักษณะของขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่

  • ผักผลไม้ และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
  • กระดาษ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ฯลฯ
  • พลาสติก ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
  • ผ้า ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินินขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
  • แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
  • ไม้ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
  • โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง ฯลฯ
  • หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
  • ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋าลูกบอล ฯลฯ
  • วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น

ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย และประชาชนทั่วไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก

        • ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค
        • ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
        • ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
        • น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
        • ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ


วรรณกรรมและการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการจัดการขยะมูลฝอยในประเทศไทย

    • มหาวิทยาลัยมหิดล (2532) การศึกษาผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อคนงานในโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช โดย พบว่า จากจำนวนคนงานทั้งหมด 136 คน มีการติดเชื้อเอดส์ 6 คน และเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ 26 คน แม้ในการศึกษาไม่สามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าการติดเชื้อดังกล่าวมีสาเหตุมาจากขยะมูลฝอย แต่จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงภัยต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพนี้ได้
    • สุคนธ์ เจียสกุลและสสิธร เทพตระการพร (2544) ศึกษาเปรียบเทียบขยะมูลฝอยจากสถานบริการสุขภาพกับขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน พบว่า ร้อยละ 2 ของขยะมูลฝอยที่เปื้อนเลือด ตรวจพบไวรัสตับอักเสบ ตรวจพบเชื้อ Poliovirus และEchovirus ในผ้าอ้อมที่เป็นขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน
    • สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร (2544) ศึกษาสมรรถภาพปอดของผู้ที่ประกอบอาชีพเก็บขยะมูลฝอยที่บริเวณกองขยะมูลฝอยในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 40 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ส่วนของการศึกษาในเด็กที่ทำงานเก็บขยะมูลฝอยในกรุงมะนิลา จำนวน 194 คน พบว่า ร้อยละ 23 มีอาการไอเรื้อรัง ร้อยละ 19 มีอาการหายใจสั้นๆ ร้อยละ 3 ของเด็กมีอาการคล้ายกับเป็นโรควัณโรค และร้อยละ 53 มีสมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรในเมืองทั่วไป
    • อุทัย สินเพ็ง และคณะ (2540) ได้ศึกษาความเสี่ยงอันตรายของพนักงานทำความสะอาด เก็บกวาดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองนครสวรรค์ทั้งหมด 156 คน ส่วนมากร้อยละ 93.6 เป็นเพศหญิง พบว่าสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 49.6 โดยพบปัจจัยเสี่ยงคือฝุ่นรวม ซึ่งขณะปฏิบัติงานมีปริมาณเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และจากการศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (2544) ด้วยการสำรวจความคิดเห็นของซาเล้ง พบว่าโรคหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับซาเล้งบ่อยที่สุด ได้แก่ ปวดหลัง ปวดเอว รองลงมาคือ เป็นไข้ตัวร้อน ถูกของมีคมบาด โรคภูมิแพ้ เวียนศีรษะ หน้ามืด ตามลำดับ โดยสาเหตุของการเกิดโรคเหล่านี้เกิดจากการปฏิบัติตนขณะทำงานไม่ถูกต้อง เช่น ถูกของมีคมบาด เพราะไม่สวมถุงมือป้องกัน เป็นต้น แต่ในส่วนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดที่รวมถึงประชาชนที่อาศัยอยู่รอบบริเวณสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยด้วยไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการศึกษา
    • อุทัย สินเพ็ง และคณะ( 2540) ศึกษาปริมาณฝุ่นละอองที่มีผลต่อสมรรถภาพของปอดและสภาวะสุขภาพของคนงานกวาดถนน ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ พบว่า ปริมาณฝุ่นรวมขณะปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.806 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปริมาณฝุ่นขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลาย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.36 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานของสารเคมีในบรรยากาศ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย แต่จากการตรวจสมรรถภาพปอด พบว่า คนงานกวาดถนน ร้อยละ 49.6 มีสมรรถภาพปอดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ โดยความผิดปกติเป็นแบบลักษณะบกพร่องเชิงขยายตัว ร้อยละ 45.0 และลักษณะเชิงอุดกั้นร้อยละ 4.6
    • สุคนธ์ เจียสกุล, สสิธร เทพตระการพร (2544) การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของควันและกลิ่นที่ปล่อยจากปล่องควันโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อ ที่ผ่านมายังไม่มีการรายงาน มีเพียงการศึกษาตรวจวัดระดับเสียงและความร้อนว่าจะเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ โดยผลการศึกษาระบุว่าไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด กล่าวคือ จากผลการตรวจวัดระดับความดังของเสียง และความร้อนของโรงงานเตาเผาขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 พบว่า หัวเผา(Burner) ของเตาเผามีระดับความดังเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาทำงาน 8 ชม. เท่ากับ 86 dBA. ซึ่งเป็นค่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับพนักงานที่สัมผัสกับเสียง และมีค่าดัชนี WBGT อยู่ในช่วง 2.1 - 26.8 องศาเซนเซียส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัย (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2543)
    • สมหมาย ขยันดี (2542) ศึกษาการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยในน้ำใต้ดินจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครขอนแก่น โดยศึกษาลักษณะสมบัติของน้ำชะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และคุณภาพน้ำใต้ดินจากบ่อน้ำที่ขุดเจาะบริเวณรอบๆ สถานที่กำจัด ในรัศมี 1.5กิโลเมตร จำนวน 27 บ่อ ครอบคลุมพื้นที่หมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคำบอน หมู่ที่ 7 ต.โนนท่อน อ.เมือง จ. ขอนแก่น จำนวน 3 บ่อ และบ้านซำจาน อ.เมือง จ.ขอนแก่น จำนวน 24 บ่อ พบว่ามีการปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในบ่อน้ำตื้นระดับความลึกเฉลี่ยไม่เกิน 20 เมตร ปริมาณสารมลพิษที่ตรวจพบเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วพบว่า ปริมาณเหล็ก และแมงกานีส ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพน้ำบาดาล ที่ใช้บริโภค ส่วนปริมาณสารตะกั่ว ทองแดง และ แคดเมี่ยม มีปริมาณเกินมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อนุโลมให้มีได้ ผลของการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าน้ำชะขยะมูลฝอยจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สามารถปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดินได้
    • จรัสพงศ์ สร้อยระย้า และคณะ (2533) ได้ศึกษามลภาวะของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลในเขตภาคตะวันออก จำนวน 3 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง โดยเก็บตัวอย่างดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยจำนวนแหล่งละ 6 ตัวอย่าง สำหรับน้ำชะมูลฝอย เก็บในแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอย จำนวน 2 จุด ในแต่ละแหล่งที่ทิ้งขยะมูลฝอยนั้น ผลการศึกษาพบว่า
        • 1) ลักษณะและองค์ประกอบของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ของขยะมูลฝอยจากชุมชนเมืองในภาคตะวันออกของประเทศไทยไม่มีความแตกต่างจากน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยจากแหล่งอื่นๆ สารพิษโลหะหนักที่ตรวจพบในน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยของทั้ง 3 เทศบาล มีปริมาณสูงกว่าค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่มเล็กน้อย และเมื่อผ่านขบวนการ absorption จากดินแล้ว ทำให้ตรวจพบเป็นปริมาณน้อยมากในแหล่งน้ำดื่ม
        • 2) การปนเปื้อนของน้ำชะมูลฝอยในแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยสามารถตรวจพบได้เป็นระยะทางถึง 1,000 เมตร และความเข้มข้นของการปนเปื้อนของบ่อน้ำตื้นทุกบ่อมีแนวโน้มมากขึ้นในฤดูฝนในทุกเทศบาล ถึงแม้ว่าลักษณะดินรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของแต่ละ เทศบาลจะแตกต่างกัน
        • 3) ความเข้มข้นการปนเปื้อนจากสารอนินทรีย์ (Inorganic substance) ในบ่อน้ำตื้นที่อยู่ในรัศมี 500 เมตร จากจุดที่ทิ้งขยะมูลฝอยทั้ง 3 เทศบาล ไม่มีความแตกต่างกัน แต่เจือจางลงในบ่อน้ำที่มีระยะทางห่างกว่านี้ ส่วนความเข้มข้นการปนเปื้อนจากสารอินทรีย์ (Organic substance) ในระยะทาง 1,000 เมตร ไม่แตกต่างกัน
        • 4) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่มจากบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของทั้ง 3 เทศบาล มีลักษณะไม่สะอาดพอ ไม่น่าดื่ม มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ และอาจทำให้เกิดโรคได้ แต่ปริมาณสารพิษโลหะหนักไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานน้ำดื่ม
        • 5) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่ม บริเวณรอบจุดที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และเทศบาลเมืองระยอง เมื่อพิจารณาตามฤดูกาลเห็นได้ว่า ในฤดูแล้งน้ำจากบ่อน้ำตื้นของเทศบาลเมืองชลบุรีทุกบ่อในรัศมี 1,000 เมตร ปลอดภัยที่จะอุปโภคบริโภคได้ และบ่อน้ำตื้นของเทศบาลเมืองระยอง เฉพาะที่มีระยะห่างจากที่ทิ้งขยะมูลฝอย 1,000 เมตร เท่านั้นที่ปลอดภัย ส่วนในฤดูฝนทุกบ่อในรัศมี 1,000 เมตร ของทั้ง 3 เทศบาล มีสภาพของน้ำไม่สะอาดพอ ไม่น่าดื่ม แม้ว่า จะมีปริมาณสารพิษโลหะหนักไม่เกินค่าที่กำหนดก็ตาม
        • 6) คุณภาพของแหล่งน้ำดื่มรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของพื้นที่ศึกษา เมื่อพิจารณาถึงลักษณะดินที่ใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยแล้ว เห็นได้ว่า คุณภาพน้ำในฤดูแล้งในรัศมี 500 เมตร ของเทศบาลเมืองระยอง ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทรายและดินทรายร่วน มีความสกปรกและไม่ได้มาตรฐานเมื่อเทียบกับที่ทิ้งขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี ซึ่งมีลักษณะดินเป็นดินปนทราย คุณภาพน้ำในฤดูแล้ง ได้มาตรฐานน้ำดื่มทุกแหล่งน้ำทั้งนี้อาจเนื่องจากลักษณะดินที่เป็นดินทราย หรือทรายร่วนมีการซึมผ่านของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอย ผ่านได้เร็วและแพร่กระจายไปปนเปื้อนแหล่งน้ำใกล้เคียงได้ง่าย ผิดกับลักษณะดินที่เป็นดินร่วนปนทราย น้ำซึมผ่านขยะมูลฝอยไหลซึมผ่านได้ช้าและยังมีขบวนปฏิกิริยาในดิน(Soil Mechanism) อีกทำให้ความเข้มข้นของความสกปรกลดลงได้ในระหว่างที่มีการเคลื่อนที่ไปยังแหล่งน้ำใกล้เคียง
        • 7) ลักษณะของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา เจือจางกว่าน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองชลบุรี และเทศบาลเมืองระยอง แต่คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราสกปรกกว่าอีก 2 เทศบาล อาจเป็นเพราะดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนดินเหนียว อีกทั้งใช้เป็นที่ทิ้งขยะมูลฝอยเป็นเวลานาน ทำให้สะสมความสกปรกได้มากกว่าดินทรายและดินร่วนปนทราย หรืออาจเป็นผลเนื่องมาจากขบวนการปฏิกิริยาในดิน ของดินแต่ละชนิด
    • ศศิธร วงศ์หิรัญมาศ (2539) ได้ศึกษาแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้ที่ฝังกลบขยะมูลฝอยของเทศบาลนครสวรรค์ พบว่ามีปริมาณสารอินทรีย์อยู่ระหว่าง 8.5–256 มิลลิกรัมต่อลิตร (มาตรฐานองค์กรอนามัยโลก 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร) ฟอสเฟตมีปริมาณ 0.07-0.6 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรดและคลอไรด์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
    • วรรณพร แจ้งปิยะรัตน์, ธเรศ ศรีสถิตย์ (2535) ได้ศึกษาการปนเปื้อนของปรอท แคดเมี่ยม และแมงกานีส ในดินตะกอนใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร พบว่า ดินตะกอนในบริเวณบ่อพักน้ำชะขยะมูลฝอยของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุชและหนองแขม มีการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิด เช่น ปรอท แมงกานีส ในปริมาณสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะตะกอนดินบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอทและแมงกานีส เฉลี่ย 2.377 และ 311.0 ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ ส่วนบริเวณใกล้เคียงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม พบว่ามีการปนเปื้อนของปรอท และแมงกานีส เฉลี่ย 0.663 และ 845.8ไมโครกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และถ้าน้ำชะขยะมูลฝอยไหลลงสู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำเปลี่ยนแปลงไป อันเนื่องมาจากมีสารละลายมากเกินไป เช่น สารละลายโซเดียม แคลเซียมคาร์บอเนต เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งแล้วแต่ว่า น้ำชะขยะมูลฝอยที่มีคุณลักษณะเช่นใด
    • วีรวรรณ ปัทมาภิรัต (2530) ศึกษาน้ำชะขยะมูลฝอยจากโรงกำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร พบว่า มีโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูงปนเปื้อนอยู่ เช่น ปรอท มีความเข้มข้น เท่ากับ 3.5 –4.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ลักษณะสีของน้ำชะมูลฝอยเป็นสีน้ำตาลแก่จนถึงสีดำ และมีกลิ่นแอมโมเนียอย่างชัดเจน
    • ธรณิศาร์ ทรรพนันท์, ธเรศ ศรีสถิตย์ (2535) ได้ศึกษาปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักบริเวณบ่อรับน้ำชะขยะมูลฝอยที่สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช พบว่า มีปรอทปนเปื้อนอยู่ในช่วง 2.47 – 39.13 ไมโครกรัมต่อลิตร และสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขมพบในช่วง 1.13 – 3.74 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับแมงกานีส ตรวจวัดได้ 0.01–2.88 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนการตรวจวัด แคดเมี่ยมไม่พบในระดับที่สูงกว่า 0.03 มิลลิกรัมต่อลิตร
    • ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์, ประเสริฐ ศิริรัตน์ (2536) ศึกษาผลกระทบของน้ำชะขยะมูลฝอยต่อคุณภาพน้ำใต้ดินในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำตื้น และบ่อน้ำบาดาลรอบบริเวณที่ทิ้งขยะมูลฝอยในรัศมี 6 กิโลเมตร ผลการวิเคราะห์พบว่า มีการปนเปื้อนของสารมลพิษในน้ำบ่อตื้นบริเวณสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่ ในระยะ 40 เมตร มีปริมาณที่สูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก สารมลพิษที่พบว่าปนเปื้อน ได้แก่ คลอไรด์ เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว แคดเมี่ยม และแบคทีเรีย และการปนเปื้อนของน้ำชะขยะมูลฝอยสามารถปนเปื้อนไปได้ไม่เกิน 100 เมตรจากสถานที่ทิ้งขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองหาดใหญ่

การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปจึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง

การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย

การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอย มีขั้นตอนดังนี้

    • การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย คือการเก็บขยะมูลฝอยมาเก็บขนไปเทใส่รวบรวมในรถบรรทุกขยะเพื่อที่จะขนส่งต่อไปยังสถานกำจัดขยะมูลฝอย
    • การขนส่งขยะมูลฝอย เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งชุมชนต่าง ๆ ใส่ \ในรถบรรทุกขยะเพื่อนำไปยังสถานที่กำจัดหรืออาจขนขยะมูลฝอยไปพักที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าสถานีขนถ่ายขยะก่อนจะนำไปยังแหล่งกำจัดก็ได้

อ้างอิง

    • เอกสารประกอบการเรียน "เรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อม"
    • คู่มือบรรยายสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

แหล่งข้อมูลอื่น

  • [1] ขยะมูลฝอย
  • [2] ปัญหาขยะมูลฝอย
  • [3] มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอย

แม่แบบ:Link FA