ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขยะมูลฝอย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Clumsy (คุย | ส่วนร่วม)
Removing interwiki
บรรทัด 82: บรรทัด 82:


[[หมวดหมู่:ธรรมชาติ]]
[[หมวดหมู่:ธรรมชาติ]]

[[ar:مخلفات]]
[[ay:T'una]]
[[bg:Боклук]]
[[ca:Residu (deixalles)]]
[[cs:Odpad]]
[[cy:Sbwriel]]
[[da:Affald]]
[[de:Abfall]]
[[el:Απορρίμματα]]
[[en:Waste]]
[[eo:Rubo]]
[[es:Basura]]
[[et:Jäätmed]]
[[eu:Zabor]]
[[fa:زباله]]
[[fi:Jäte]]
[[fr:Déchet]]
[[gl:Lixo]]
[[gn:Yty]]
[[he:פסולת]]
[[hr:Otpad]]
[[hu:Hulladék]]
[[id:Sampah]]
[[is:Sorp]]
[[it:Rifiuti]]
[[ja:廃棄物]]
[[ko:쓰레기]]
[[lmo:Rumenta]]
[[nl:Afval (vuilnis)]]
[[nn:Søppel]]
[[no:Avfall]]
[[pl:Odpady]]
[[pt:Resíduo]]
[[qu:Q'upa]]
[[ru:Твёрдые бытовые отходы]]
[[sc:Arga]]
[[sh:Otpad]]
[[simple:Waste]]
[[sk:Odpad]]
[[sl:Odpadek]]
[[sq:Mbeturina]]
[[sr:Отпад]]
[[sv:Avfall]]
[[tl:Aa (dumi)]]
[[tr:Çöp]]
[[uk:Відходи]]
[[vec:Scoase]]
[[vi:Rác]]
[[wuu:垃西]]
[[yi:מיסט]]
[[zh:垃圾]]
[[zh-yue:垃圾]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:20, 29 มกราคม 2553

ข้อมูลขยะมูลฝอยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ มลพิษสิ่งแวดล้อม

ขยะมูลฝอยในถุงขยะ

ขยะมูลฝอย

ปัจจุบันนี้ในเมืองใหญ่ เราจะเห็นบางถนนสะอาด มีกระถางดอกไม้ ต้นไม้เรียงรายอยู่ข้างทาง แต่บางถนนสกปรก มีถุงใส่เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ตกทิ้งอยู่กลาดเกลื่อน ถ้าเราเดินทางไปทางเรือ เราจะเห็นแม่น้ำลำคลองบางตอนใสสะอาดบางตอนสกปรก มีขยะมูลฝอยลอยอยู่ทั่วไป น้ำมีสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเศษอาหาร ถุงพลาสติกที่ใช้แล้ว เศษผ้า ใบไม้ร่วง เรียกรวมว่า ขยะมูลฝอย ถ้าไม่ทิ้งให้เป็นที่เป็นทาง จะสร้างความสกปรก ขยะมูลฝอยที่กองอยู่บนดิน เช่น จำพวกเศษอาหาร นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของแมลงวันและหนู เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา ดังนั้นเราทุกคนจึงควรช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะมูลฝอยเกลื่อนกลาด ถ้าเป็นขยะมูลฝอยในบ้าน ควรรวบรวมใส่ถุง เพื่อส่งให้รถเก็บขยะต่อไปขยะมูลฝอยถ้าทิ้งกระจัดกระจาย ไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรกไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่านอกจากจะส่งกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย

นิยามและความหมาย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ให้ความหมาย กุมฝอย น. ขยะ, เศษของที่ทิ้งแล้ว, คุมฝอย หรือ มูลฝอย ก็ว่า.

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้คำจำกัดความ หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และ หมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ให้คำว่า" มูลฝอย"จัดเป็นของเสียประเภทหนึ่ง โดยให้คำจำกัดความของคำว่า ของเสีย (Waste) หมายความว่า ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใด ซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษ รวมทั้งกากตะกอนหรือสิ่งตกค้าง จากสิ่งเหล่านั้น ที่อยู่ในสภาพของแข็งของเหลวหรือก๊าซ

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้นิยามที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ขยะมูลฝอย” เพื่อควบคุม กำกับการจัดการ “ขยะมูลฝอย” ในภาคอุตสาหกรรม โดยได้นิยามคำว่า “สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว” หมายความว่า สิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงของเสียจาก วัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และน้ำทิ้งที่มีองค์ประกอบหรือมีคุณลักษณะที่เป็นอันตราย ซึ่งปรากฏในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. ๒๕๔๘

ประเภทของขยะมูลฝอย

    • เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร
    • เศษแก้วแตก กระเบื้องแตก เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ อิฐ หิน และอื่น ๆ
    • วัสดุชิ้นใหญ่ เช่น รถจักรยานพัง หรือเครื่องไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้ ฯลฯ
    • วัสดุที่มีสารพิษ เช่น หลอดไฟ หลอดนีออน แบตเตอรี่ที่ใช้การไม่ได้ วัสดุติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาล และวัสดุสารเคมีจากโรงงาน เป็นต้น
    • วัสดุที่ยังมีสภาพดี เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ขวดที่ไม่แตก ขยะมูลฝอยประเภทนี้ อาจนำไปขายต่อได้

การกำจัดขยะมูลฝอย

เริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวม การขนย้ายไปยังโรงงานและการทำลายขยะมูลฝอย เมื่อเรารวบรวมขยะมูลฝอยทิ้ง ควรแยกให้เป็นประเภท เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเก็บและทำลาย เศษแก้ว เศษกระจก และของมีคมต่าง ๆ ควรแยกต่างหาก ไม่ทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยอื่น ๆ เพราะอาจจะบาดหรือตำผู้อื่นได้ เราควรเก็บขยะมูลฝอยใส่ถุงและผูกปากถุงให้เรียบร้อย ใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันสุนัขคุ้ยเขี่ย การกำจัดขยะมูลฝอย มีหลายวิธี เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองบนพื้นดิน การนำไปทิ้งทะเล แต่วิธีการเหล่านี้ไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดภาวะมลพิษต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การเผากลางแจ้ง ทำให้เกิดควันและฝุ่นละอองในอากาศ วิธีกำจัดที่ถูกต้อง คือ การเผาในเตาเผาขยะ การฝังกลบ การหมักทำปุ๋ย และการแปรสภาพเป็นพลังงาน

การเผาขยะ

คือ การเผาในเตาเผาสามารถทำลายขยะมูลฝอยได้เกือบทุกชนิดแต่ถ้าขยะมูลฝอยมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 50 เตาเผาขยะต้องเป็นชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงจำพวกน้ำมันเตาช่วยในการเผาไหม้ การเผาในเตาเผาใช้เนื้อที่น้อย ส่วนที่เหลือจากการเผาไหม้ เช่น ขี้เถ้า สามารถนำไปใช้ถมที่ดินหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้

การฝังกลบ

ทำได้โดยนำขยะมูลฝอยมาเทลงในพื้นที่ที่เตรียมเอาไว้แล้วกลบด้วยดิน และบดให้แน่นอีกครั้งหนึ่ง การฝังกลบไม่สร้างความรำคาญและเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม

การแปรสภาพขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน

คือการนำขยะมูลฝอยที่ติดไฟได้มาทำเป็นเชื้อเพลิงสำหรับต้มน้ำ หรือผลิตไอน้ำเพื่อไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้

การหมักทำปุ๋ย

ใช้วิธีนำขยะมูลฝอยที่ส่วนมากเน่าเปื่อยได้ มาผ่านขบวนการบดหมักทำลายของโรงงานกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดการย่อยสลายตัว ขยะมูลฝอยที่ผ่านการหมักแล้ว จะถูกนำไปผึ่งต่อที่ลานผึ่งประมาณ 40-60 วัน เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปโดยสมบูรณ์ จากนั้นจะถูกนำไปร่อนแยกเอาส่วนที่จะใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

ลักษณะของขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอยอาจแบ่งออกได้ตามลักษณะส่วนประกอบของขยะมูลฝอย ได้เป็น 10 ประเภท ได้แก่

  • ผักผลไม้ และเศษอาหาร ได้แก่ เศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหารที่เหลือจากการปรุงอาหารและเหลือจากการบริโภค เช่น ข้าวสุก เปลือกผลไม้ เนื้อสัตว์ ฯลฯ
  • กระดาษ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเยื่อกระดาษ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ใบปลิว ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ ฯลฯ
  • พลาสติก ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก ภาชนะพลาสติก ของเล่นเด็ก ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ
  • ผ้า ได้แก่ สิ่งทอต่าง ๆ ที่ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและใยสังเคราะห์ เช่น ฝ้าย ลินินขนสัตว์ ผ้าไนลอน ได้แก่ เศษผ้า ผ้าเช็ดมือ ถุงเท้า ผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ
  • แก้ว ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้ว เช่น เศษกระจก ขวด หลอดไฟ เครื่องแก้ว ฯลฯ
  • ไม้ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ไม้ไผ่ ฟาง หญ้า เศษไม้ เช่น กล่องไม้เก้าอี้ โต๊ะ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน ฯลฯ
  • โลหะ ได้แก่ วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ทำจากโลหะ เช่น กระป๋อง ตะปู ลวดภาชนะที่ทำจากโลหะต่าง ฯลฯ
  • หิน กระเบื้อง กระดูก และเปลือกหอย ได้แก่ เศษหิน เปลือกหอย เศษกระดูกสัตว์เช่น ก้างปลา เครื่องปั้นดินเผา เปลือกหอย กุ้ง ปู เครื่องเคลือบ ฯลฯ
  • ยางและหนัง ได้แก่ วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางและหนัง เช่น รองเท้า กระเป๋าลูกบอล ฯลฯ
  • วัสดุอื่น ๆ ได้แก่ วัสดุที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มต่าง ๆ ข้างต้น

ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

ขยะมูลฝอยนับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอน การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเคลื่อนย้าย การขนส่งและการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้เนื่องจาก

    • ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค
    • ขยะมูลฝอย ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ
    • ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก
    • น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่ ปนเปื้อนแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคทั้ง แหล่งผิวดินและใต้ดิน
    • ขยะมูลฝอยทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ

การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย

ขยะมูลฝอยมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปจึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณาถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา ซึ่งก็คงจะหมายถึง มนุษย์ หรือผู้สร้างขยะมูลฝอย นั้นเอง

การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย

การเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย รวมถึงการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานกำจัดขยะมูลฝอย มีขั้นตอนดังนี้

    • การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย คือการเก็บขยะมูลฝอยมาเก็บขนไปเทใส่รวบรวมในรถบรรทุกขยะเพื่อที่จะขนส่งต่อไปยังสถานกำจัดขยะมูลฝอย
    • การขนส่งขยะมูลฝอย เป็นการนำขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากแหล่งชุมชนต่าง ๆ ใส่ \ในรถบรรทุกขยะเพื่อนำไปยังสถานที่กำจัดหรืออาจขนขยะมูลฝอยไปพักที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าสถานีขนถ่ายขยะก่อนจะนำไปยังแหล่งกำจัดก็ได้

อ้างอิง

    • เอกสารประกอบการเรียน "เรื่องมลพิษสิ่งแวดล้อม"
    • คู่มือบรรยายสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

แหล่งข้อมูลอื่น

  • [1] ขยะมูลฝอย
  • [2] ปัญหาขยะมูลฝอย
  • [3] มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอย

แม่แบบ:Link FA