ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มวยไท่เก๊กตระกูลอู่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thijs!bot (คุย | ส่วนร่วม)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
<!--[[File:Wu Chien-ch'uan Yun Shou.jpg|thumb|อู่อวี่เซียง]]-->
<!--[[File:Wu Chien-ch'uan Yun Shou.jpg|thumb|อู่อวี่เซียง]]-->
'''มวยไท้เก็กตระกูลอู่''' (มวยไท้เก็กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวย[[ไท่เก๊ก]]สายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์[[อู่อวี่เซียง]] (ค.ศ. 1870-1942)
'''มวยไท้เก็กตระกูลอู่''' (มวยไท้เก็กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวย[[ไท่เก๊ก]]สายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์[[อู่อวี่เซียง]] (ค.ศ. 1870-1942)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:06, 15 มกราคม 2553

มวยไท้เก็กตระกูลอู่ (มวยไท้เก็กตระกูลเฮ่อก็เรียก) เป็นมวยไท่เก๊กสายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์อู่อวี่เซียง (ค.ศ. 1870-1942)

มวยไท้เก็กสกุลอู่มีลักษณะเด่นคือ เคลื่อนไหวเป็นวงแคบ เน้นการใช้อี่(จิตชักนำร่างกาย) ทุกส่วนเคลื่อนไหวต่อเนื่องดุจน้ำไหล ภายนอกเหมือนเรียบง่ายแต่แฝงความละเอียดอ่อนไว้ภายใน หลักเบื้องต้นที่สำคัญได้แก่ คอ,ศีรษะและกระดูกสันหลังตั้งตรง(โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง(lower back)) เท้าข้างหนึ่งว่างข้างหนึ่งเต็ม(หยิน-หยาง) เท้าที่เต็มจะรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกายแต่ไม่เกร็งจนขาตาย ส่วนเท้าที่ว่างต้องเบาคล่องแต่ถูกอี่ควบคุม เท้าที่เต็มและว่างนี้จะต้องพร้อมสลับความเต็มและว่างในทันที ข้อศอกไม่ยกขึ้น หัวไหล่ผ่อนคลายอย่างเป็นธรรมชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวภายใน นอกจากนี้ยังมีหลักการอันละเอียดอ่อนอีกมากมาย แต่ในเบื้องต้นผู้ฝึกใหม่จะได้รับการสอนให้จมน้ำหนักของร่างกายลงล่างและรวมจิต(focus)ให้เป็นทิศทางเดียว ฝึกท่ายืนให้ต้นขาแข็งแรงยืนได้มั่นคงแล้วจึงฝึกการก้าวเท้า และฝึกท่ามวยและเทคนิค13ประการตามลำดับ เมื่อฝึกท่ามวยได้ดีแล้วจึงฝึกการผลักมือ(ทุ่ยโส่ว) เเละฝึกการต่อสู้อิสระทั้งการบุกและการป้องกัน

อย่างไรก็ดีในปัจจุบันผู้ฝึกมวยบางส่วน(โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)จะเน้นจุดประสงค์ด้านสุขภาพมากกว่าการต่อสู้จริง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนอาจให้ผู้ฝึกบางคนฝึกลัดขั้นตอนไปที่การฝึกกำลังภายในเร็วขึ้น และอนุโลมให้ผู้ที่ขาและหัวเข่าไม่แข็งแรงใช้ท่ายืนเเละท่าก้าวเท้าแบบประยุกต์ตามความเหมาะสม

เนื่องจากในอดีตอาจาย์ผู้สอนมวยไทเก็กตระกูลอู่ได้รับศิษย์ค่อนข้างน้อย วิทยายุทธ์ชนิดนี้จึงเผยแพร่ในวงจำกัด สำหรับในประเทศไทยมีการเชิญอาจารย์จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาฝึกสอนที่สวนลุมพินี

แหล่งข้อมูลอื่น